เคล็ดลับง่ายๆ ตั้งรหัสผ่านยังไงให้ปลอดภัย (ไม่โดนแฮก) Password

 


เคล็ดลับง่ายๆ ตั้งรหัสผ่านยังไงให้ปลอดภัย (ไม่โดนแฮก)


  วันนี้เราจะมาเสนอวิธีการตั้งรหัสผ่านแบบง่ายๆ กันครับว่าตั้งอย่างไรให้ปลอดภัย และ ตั้งแบบไหน

ที่ไม่ปลอดภัยและเดาง่าย สำหรับ อีเมล บล็อก ไว้ใช้ในการเขียนบทความ หรือะไรทั้งหลาย 

มาลองดูกันดีกว่าครับ 


Password


การตั้งพาสเวิร์ด


1. อย่าตั้งง่ายเกิน : เช่น 12345678 สะดวกไปมันเดาง่าย (อันนี้น่าจะรู้กันอยู่แล้ว) บางเว็บเขาจะ

ให้ตั้งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ด้วย และอาจจะใช้เครื่องหมายอย่าง # ด้วยอะไรงี้



2. ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน : เช่น Gmail ใช้อีกอัน Facebook ใช้อีกอัน อย่าให้ซ้ำเหมือนกัน

เวลาโดนแฮกหรือพลาดท่าโดนขโมยรหัสใดไปจะได้สูญเสียน้อยที่สุดไม่โดนทั้งหมดทั้งยวง



3. เปลี่ยนบ่อยๆ : เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆอย่าใช้อันเดิมนานๆ อาจจะ 90 วันเปลี่ยนซักครั้งเอาที่

พอจำได้ อย่าใช้ของเดิมนานๆเสี่ยงต่อการโดนดัก การเดาของคนสนิทได้ด้วย



4. รหัสผสม : ใช้ตัวเลข สัญลักษณ์ และตัวอักษรพิมพ์เล็กกับพิมพ์ใหญ่ผสมกัน ในรหัสสามารถ

ช่วงล่อหลอกคนที่กำลังดัก ให้งุนงงได้ (อย่า งงเองหละ) เป้นการตั้งรหัสที่ค่อนข้างยากต่อการเดา



5. ไม่นำข้อมูลส่วนตัวไปตั้งรหัส : เช่น เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์  วันเดือนปีเกิด 

เหมือนที่เขาห้ามว่าอย่างตั้งรหัสบัตรเอทีเอ็มเป็นวันเกิดเวลาหายพร้อมกระเป๋าตัง

บัตรประชาชน จะโดนกดจนหมดเพราะมันเเดากันง่าย อันนี้ป้องกันคนสนิทแอบเดา

รหัสเราได้อีกด้วย



6. ทำ 2 ชั้น : เช่นในGmail จะมีการยืนยัน 2 ชั้นทั้งทางอีเมลสำรองหรือ ส่งขอความมาทางโทรศัพท์

เพื่อยืนยันรหัสเข้าใช้งาน ถือว่าเป็นความปลอดภัยที่เซฟ 2ชั้นได้ดีอีกทางนึงเลย



7. ลักษณะจำเพาะ : อย่าตั้งอะไรที่เดาง่ายๆ เช่น เราชอบอุลตร้าแมน เพื่อนมันรู้ + ตั้งวันเกิดเช่น

เกิดวันที่ 20 ตั้งไปว่า Ultraman20 แบบนี้หวานเลย อย่าตั้งอะไรที่เจาะจงตัวเองหรือลักษณะเฉพาะตัว

มากเกินไปมันทำให้คนรู้จักจับทางเราได้ง่าย



8. ล็อกอินให้ปลอดภัย : เวลาไปล็อกอินรหัสผ่านข้างนอก ที่ไม่ใช่คอมพ์ตัวเองหรือคอมพ์ตัวเอง

ก็อย่าเซฟรหัสเอาไว้ เกิดอันตรายจากการโดนดักพาสจากผู้ไม่หวังดี เวลาไปล็อกอินข้างนอก 

ควรจะรีบเปลี่ยนพาสทันทีเพื่อความปลอดภัยใน บัญชีใช้งานที่คุณล็อกอิน



9. อีเมลสำรอง : ใช้อีเมลสำรองในการ ป้องกันอีกชั้นนึง เวลาที่ลืมรหัสหรือต้องการกู้รหัสผ่าน

กลับมา สามารถทำผ่านอีเมลสำรองได้ครับ



10. ไม่จดเก็บไว้ : โดยเฉพาะในคอมพิวเตอร์ยิ่งไม่สมควรจดรหัสเอาไว้ เพราะอาจมีโทรจันแอบแฝง 

ไวรัส เข้ามาขโมยข้อมูลของเราไปได้ทุกเมื่ออีกทั้งยังรวมถึงผู้มาใช้คนอื่นที่เราไม่สามารถรู้ได้อีกด้วย 

ทางที่ดีถ้าจะจด ควรทำเป็นปริศนาหรือ ซ้อนข้อความเอาที่เราเข้าใจคนเดียวไว้ในสมุดจบมิดชิด

และในสมุดจดอาจจะไม่ต้องบ่งบอก ว่าอันนี้คือรหัสของอะไร หรือ ทำอักษรเช่น รหัสคือ 

TMLOVERY อาจเขียนภาษาจดเอาไว้ที่ The mummy love red wing คือคำอาจจะไม่ต้อง

มีความหมายเอาที่เราจำได้แต่ดูธรรมดาว่าไม่โดดเด่นว่าคือรหัส


11. อย่ากดลิ้งมั่วเด็ดขาด อย่าแสกนคิวอาร์ หรือใดๆที่ไม่ชัวร์ มั่นเสี่ยงมาก ตรวจสอบก่อนให้ดี

คิดให้เยอะ มีสติตลอด


ปล. ทางที่ดีที่สุดคือ สมองความจำ จำให้ได้ต่อให้ตั้งยากแค่ไหน ก็ไม่มีปัญหา