อาเซียน คืออะไร









อาเซียน คืออะไร

หมวด >> อาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East


Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐ

กิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่

กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และ

อินโดนีเซีย

อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 630 ล้านคน




    อาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคม

ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือ

เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ  (The Bangkok Declaration)

อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

ความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม

การต่อรองทางการค้า ความสัมพันธ์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ

บรรดาสมาชิกในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อจะใช้เป็นการต่อรองทั้งในเรื่อง

ความมั่นคงการค้าขายเศรษฐกิจกับมหาอำนาจต่างๆที่อยู่โดยรอบ เป็นการทำให้

กลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน มีความเข้มแข็งมากขึ้น

เมื่อรวมตัวกันได้


ผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนมี 5 ประเทศ 


ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย


ผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ คือ


- .ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรี

กระทรวง พัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย


- นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย


-นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์


- นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์


- พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

จากประเทศไทย


หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศ

ในปัจจุบัน


8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม


28 ก.ค. 2538  เวียดนาม


23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว, พม่า


30 เม.ย. 2542 กัมพูชา


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน 


ช่วยกันร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจการค้าการขายและการธำรงรักษาสันติภาพ

และความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศ

สมาชิกอย่างสันติการค้า การลงทุน แรงงาน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

และความแข็งแกร่งและมั่นคงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


รวมด้วยกัน 7 ข้อดังนี้ 


 วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration)

มี 7 ประการ ดังนี้


1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม


2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค


3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และ

ด้านการบริหาร


4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย


5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม

การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต


6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศตลอด

ระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่

ยอมรับจากหลายฝ่าย ได้รับความสนใจมาเข้าร่วมของมหาอำนาจ ดังจะเห็นได้ว่า

มีการจัดประชุมและคู่สัญญาอย่าง อาเซียน +3+6 ซึ่งได้รวมเอาปะเทศนอกอาเซียน

มาร่วมทำข้อตกลงพันธกิจร่วมกันด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและ

วัฒนธรรม  ประชาคมอาเซียนในปี 2558 จะช่วยเปิดการค้าเสรีการลงทุนและการ

สนับสนุนการค้าขายกันภายในภายนอกได้ดียิ่งขึ้นจะสามารถทำให้ประเทศไทยเรา

รุ่งเรือง และเศรษฐกิจ ชีวิต ความเป็นอยู่ ของประชาชนชาวอาเซียน จะดีขึ้นถ้า

เรารู้จักบริหารมันให้เป็น






ประชาคมอาเซียน : สิงคโปร์ (Republic of Singapore)







ประชาคมอาเซียน : สิงคโปร์ (Republic of Singapore)

หมวด >> อาเซียน

สิงคโปร์ หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ( Republic of Singapore)

ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ ติดกับรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซียและ

อยู่ทางเหนือของเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์เป็นเกาะภาคกลาง

และภาคตะวันตกเป็นเนินเขาซึ่งเนินเขาทางภาคกลาง เป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของ

ประเทศ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์ และภาคตะวันออกเป็น

ที่ราบต่ำ





เมืองหลวง สิงคโปร์


ภาษาทางการ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ


การปกครอง สาธารณรัฐ มีประธานาธิบดี เป็นผู้นำ


สิงคโปร์พื้นที่  710 ตร.กมมีประชากรกว่า  5,312,400 ประกอบด้วยชาวจีน (76.5%)

ชาวมาเลย์ (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)การนับถือศาสนา

พระพุทธศาสนา 33%   คริสต์ศาสนา 18% ไม่นับถือศาสนา  17%  ศาสนาอิสลาม

15%   ลัทธิเต๋า  11%   ศาสนาฮินดู  5.1%  อื่นๆ     0.9%


เศรษฐกิจ ของสิงคโปร์นั้นพึ่งพาการค้า เป็นหลัก โดยเฉพาะ ท่าเรือขนส่งสินค้า

ทางน้ำที่เป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจของสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลกไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก

เหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้าน

การค้าเพราะเป็นเมืองที่อยู่ปลายแหลมมลายูซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญโดยเป็นประเทศ

พ่อค้าคนกลางในการขายสินค้า


สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีเจ้าอาณานิคมเยอะมากเริ่มจาก โปรตุเกส ในปี 1511 แล้ว

ก็มาตกเป็นของชาวดัตช์พอมาถึงปี 1817 อังกฤษก็มาตีเนียนทำทีว่าจะตั้งสถานี

การค้าที่สิงคโปร์แต่สุดท้ายก็เข้ายึดครองสิงคโปร์เอาไว้  ในปี 1819 จวบจนมาถึง

สงครามโลกครั้งที่ 2ญี่ปุ่นเข้าครอบครองเอเชียเข้ามาทางเขตอาเซียน ประเทศ

ต่างๆด้านบน สิงคโปร์ล้วนแต่โดนมาหมด ทั้งพม่าและเวียดนาม โดยสิงคโปร์ก็

ตกอยู่ในชาตินั้นๆด้วย ส่วนไทยนั้นได้ประกาศตัวเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น

แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่น แพ้สงคราม สิงคโปร์จึงกลับมา

เป็นของอังกฤษตามเดิมหลังจาก สิงคโปร์ ได้รับเอกราช 16 กันยายน พ.ศ.

2506 ในนามของในฐานะรัฐหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา (มาเลเซีย)ก็ได้แยกตัว

ออกมา จากสหพันธรัฐมาลายาเนื่องจากไม่พอใจกับการเหยียดชนชาติของ

มาเลเซียมากนักจึงประกาศเอกราชในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508  ในชื่อว่า

สาธารณรัฐสิงคโปร์ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มี เศรษฐกิจดีที่สุดในย่านอาเซียน

มีกิจการ โรงกลั่นน้ำมันเป็นอันดับ 2 ของโลกด้านทรัพยากรของประเทศอาจจะ

เป็นจุดอ่อนแต่ทางด้านการค้าแล้วนั้นเป็นเมืองท่าที่สำคัญมากของโลกเลยทีเดียว

เป็นแหล่งกระจายสินค้า ชั้นดีที่สุดของ อาเซียนก็ว่าได้  สืงคโปร์ยังเป็นประเทศที่

ให้ความสำคัญด้านการศึกษาเป็นอย่างมากโดยถือได้ว่าสิงคโปร์มีสถาบันการศึกษา

ที่ดีที่สุดในอาเซียน และ ประชาชนค่อนข้างที่จะชอบในการทำงานการทำธุระกิจ

มากกว่าการทำอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรมเพราะพื้นที่ประเทศและทรัพยากรไม่

เอื้ออำนวย สิงคโปร์เปิดรับผู้มีความรู้ความสามารถที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามาร่วม

ทำงานด้วยกันอย่างเสรีภายใต้กฏหมายที่เคร่งครัดของประเทศ บ้านเมืองดูสะอาด

แต่ประชาชนในประเทศไม่ค่อยแต่งงานมีครอบครัวเพราะต่างคนต่างทำงานมีหน้าที่

การงานที่ค่อนข้างดี จึงทำให้จำนวนเด็กเกิดใหม่และประชากรในประเทศนั้นเพิ่มขึ้น

มาน้อยกว่าประเทศอื่น ด้วยความที่มีบุคลากรน้อยในด้านการกีฬา สิงคโปร์มักจะ

โอนสัญชาตินักกีฬามาจากประเทศอื่นหลายชนิดเช่นฟุตบอล ที่มักโอนมาจากพวก

ฝรั่ง หรือเอเชียที่สูงใหญ๋ปิงปอง ว่ายน้ำ มักโดนสัญชาติมาจากจีน ทำให้กีฬา

ประเภทเหล่านี้ของสิงคโปร์มักจะเก่งมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนด้วยกัน

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดีมากที่สุดในอาเซ๊ยนตลอดมาและจะเป็นหนึ่งใน

กลไลสำคัญที่จะช่วยนำพาประชาคมอาเซียน และภูมิภาคอาเซียนแห่งนี้เข้าสู่ระดับ

โลกได้ไม่ยาก





ประชาคมอาเซียน : มาเลเซีย (Malaysia)








มาเลเซีย (Malaysia)

หมวด >> อาเซียน

           มาเลเซียประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ

มาเลเซียตะวันตกอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน

มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตันเประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับ

สิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออกอยู่ทางตอนเหนือของ

เกาะบอร์เนียว




มาเลเซียมีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียแต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลาม


เมืองหลวง กัวลาลัมเปอร์


ภาษาทางการ ภาษามาเลย์


การปกครอง สหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ


มาเลเซียประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ ประกอบไปด้วย เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี

เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค

และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาประเทศมาเลเซียได้รับเอกราช

คืนจากอังกฤษมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1957เป็นสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมา

เมื่อรวมรัฐซาบาห์และ รัฐซาราวัดเข้าด้วยแล้ว ประเทศมาเลเซียจึงได้ถือกำเนิดขึ้น

ในวันที่ 16 กันยายนพ.ศ. 2506


มาเลเซียมีพื้นที่ 329,847 ตร.กม.


ประชากรกว่า 29 ล้านคน


สกุลเงิน       ริงกิต (RM) (MYR)


ประชากร ชาวมาเลย์เซีย ส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 กลุ่มชนเผ่าในรัฐ

ซาราวักและรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ

23.7 มาเลเซียเชื้อสายอินเดียอีกร้อยละ 7.1 มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติประชากรนับถืออิสลาม 55%นับถือศาสนา

พุทธ 25% นับถือคริสเตียน 13% นับถือศาสนาฮินดู 7%และลัทธิศาสนาพื้นเมือง

แห่งกรมตำรวจภูธรมาเลเซีย 4%


เศรฐกิจ สำคัญของมาเลเซีย


แน่นอนนอกจากน้ำมันยังมี ทางด้านเกษตร และอุตสาหกรรม รวมไปถึงทรัพยากร

ธรรมชาติอีกด้วย แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมันและแก๊ส

ธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญจึงทำให้มาเลเซียเป็นประเทศที่ร่ำรวยมากใน

ภูมิภาคแห่งนี้ และเป็นประเทศที่มีสภาพคล่องทางเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยมอีกด้วยพืช

เศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างนึงคือ ปาล์ม และ ยางพาราที่เป็นพืชเศรฐกิจ การทำ

ป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งส่งไม้ออกอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รองจากอินโดนีเซียนับว่าเป็นอีกประเทศชั้นนำของ กลุ่มอาเซียน ที่มีกำลังทั้ง

การลงทุนและวัตถุดิบพร้อมที่จะพาอาเซียนไปสู่ยุคเจริญรุ่งเรืองได้ไม่ยากเพราะ

ตัวมาเลเซียเองนั้นเป็นผู้นำทางเศรษกิจในภูมิภาคนี้ (ประชาคมอาเซียน)เป็น

รองแค่สิงคโปร์ชาติเดี่ยวเท่านั้น





ประชาคมอาเซียน : ฟิลิปปินส์ Philippines






ประชาคมอาเซียน : ฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

หมวด >> อาเซียน



ฟิลิปปินส์หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the

Philippines)เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะเยอะถึง 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก

ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม



เมืองหลวง มะนิลา


เมืองใหญ่สุด เกซอนซิตี


ภาษาทางการ ภาษาฟิลิปีโนและภาษาอังกฤษ


การปกครอง สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดีได้รับเอกราชจาก สเปนและ

สหรัฐอเมริกาวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 มีพื่นที่ 300,000 ตร.กม.จำนวนประชากร

กว่า 100 ล้านคน


สกุลเงิน เปโซฟิลิปปินส์ (PHP)


สภาพภูมิประเทศ เป็นหมู่เกาะ ซึ่งประกอบด้วย ภูเขา และที่ราบเล็กน้อย ซึ่งที่

ราบที่สำคัญถูกเรียกว่า ที่ราบมะนิลา ซึ่งเป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด อยู่ทางตอนกลอง

ของเกาะลูซอน ฟิลิปปินส์ แบ่งออกเป็น 17 เขต ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน

16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครองยกเว้นเขตนครหลวง ที่แบ่งออกเป็น

เขตพิเศษ 4 แห่ง


ฟิลิปปินส์นั่นประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 92.5 ของชาวฟิลิปปินส์

ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและร้อยละ 9

เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอันดับ 4

ของโลกอีกและประชาคมอาเซียน ด้วย


ผลผลิตทางการเกษตร


อ้อย มะพร้าว ข้าว ข้าวโพด กล้วย มันสำปะหลังอัดเม็ดสัปปะรด มะม่วง เนื้อสุกร

ไข่ เนื้อวัว ปลา


อุตสาหกรรม


ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์

จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตกปลา


ประเทศคู่ส่งออก สำคัญของฟิลิปปินส์ สหรัฐ  ญี่ปุ่น  จีน  ฮ่องกง  เกาหลีใต้

เยอรมันนี


ประเทศคู่ค้านำเข้าสำคัญ  ของ ฟิลิปปินส์  คือ  สหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  สิงคโปร์

จีนเกาหลีใต้ ไทย อินโดนีเซีย


ทรัพยากร ธรรทชาติที่สำคัญของ ฟิลิปปินส์ ไม้มะฮอกกานี


แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน


อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์

วัฒนธรรมฟิลิปปินส์จะมีส่วนคล้ายกับประเทศในละตินอเมริกา ประชาชนแบ่ง

ออกเป็นชุมนุมชนทางเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันมีการใช้ภาษามากกว่า

170 ภาษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาท้องถิ่น แต่จะใช้ ภาษาฟิลิปีโนและภาษาอังกฤษ

เป็นภาษาทางการภาษาที่นิยมใช้กันมาก ในหมู่ชาว ฟิลิปปินส์คือ  ภาษาสเปน

ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋วภาษาอินโดนีเซียภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ

ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ


ฟิลิปปินส์ มีสภาพเป็นหมู่เกาะรวมตัวกันเป็นประเทศ การประมงและดนตรีลาติน

นั้นมักเป็นของคู่กัน ชาวบ้านตามชายฝั่งมีทักษะเป็นอย่างมากในหารทำประมง

แต่ก็มีข้อเสียที่ประเทศนี้มักจะเจอภัยธรรมชาติที่รุนแรง เช่นน้ำท่วมใหญ่ พายุเข้า

ทำให้มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมากอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับพวก

เขาคือ วงการหมัดมวย พวกถึงนักมวนฟิลิปปินส์ทุกระดับแล้วนั้น ล้วนแต่ปฏิเสธ

ไม่ได้เลยว่ามีความน่ากลัว และประมาทไม่ได้เลยเป็นความภาคภูมิใจของพวก

เขาเลยทีเดียวประเทศแห่งนี้มักอุดมไปด้วยลูกครึ่งสวยหล่อน่าออกสเปนหรือ

ลาตินอเมริกา เยอะแยะเป็นอีกประเทศนึงในเวทีนางงามที่น่าจับตามอง


ประเทศฟิลิปปินส์ มีสไตล์เป็นของตัวเองชอบศิลปะพลาสติกประติมากรรม

และภาพวาด แต่พวกเขายังมีสไตล์ของตัวเองชอบการเต้นศิลปะการเคลื่อนไหว

บางส่วนของศิลปินที่มืชื่อเสียงมากที่สุดจากประเทศฟิลิปปินส์

Fernando Amorsolo, David Cortes Medalla,








ประชาคมอาเซียน : ประเทศพม่า Myanmar







ประชาคมอาเซียน : ประเทศพม่า Myanmar

หมวด >> อาเซียน

สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar)



                  ประเทศพม่าหรือ เมียนมาร์ ชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่ง

สหภาพพม่า หรือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มีพรมแดนติดกับ อินเดีย

บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930

กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน


พรมแดน


ทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนานของจีน

ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับบังกลาเทศและอินเดีย

ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับลาวและไทย

ทางตะวันตกเฉียงใต้และใต้แนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน


เมืองหลวง   เนปีดอ


เมืองใหญ่สุด ย่างกุ้ง


ภาษาทางการ ภาษาพม่า


การปกครอง ระบบประธานาธิบดี


มีพื้นที่ 676,578 ตร.กม. พม่ามีประชากรกว่า 50 ล้านคน มีความหลากหลายทาง

เผ่าพันธ์และชาติพันธ์เช่นชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5%ยะไข่ 5%

กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%กว่า 90%   นับถือศาสนาพุทธนิกาย

เถรวาท หรือหินยาน


พม่าในยุคล่าอาณานิคมอังกฤษได้หมายเข้ามายึดครองพม่า เอามาเป็นหนึ่งใน

อาณานิคมเหมือนอินเดียและได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 จบลงด้วย

ชัยชนะของอังกฤษ ทำให้พม่านั้นเสียดินแดนอัสสัมมณีปุระ ยะไข่ และตะนาวศรี

จากการทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) ที่จำใจต้องทำ แต่แล้วพม่าก็ได้

ยกเลิกสนธิสัญญานั้นแล้วเริ่มต้นตอบโต้อังกฤษทำลายแหล่งผลประโยชน์

ของอังกฤษจนทำให้อังกฤษต้องเข้าทำสงครามกับพม่าอีกครั้งและอีกเช่นเคย

อังกฤษที่เป็นดั่งพญาราชสีห์เพราะเป็นมหาอำนาจ มีบริวาร อาณานิคมมากมาย

จนได้ชื่อว่า ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน ก็สามารถเอาชนะพม่าไปได้อีก

และอังกฤษก็ผนวกรวมหงสาวดีและดินแดนใกล้เคียงเข้าไปในเขตของตนอีก

ความวุ่นวายในพม่ายังเกิดไม่หยุดหย่อนจนในที่สุด  พระเจ้าธีบอตัดสินพระทัย

ยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศ

สงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428ซึ่งสงครามครั้งนี้เองที่

อังกฤษสามารถนำมาเป็นข้อกล่าวอ้างที่จะเข้าฮุบรวมเข้ายึดครองพม่าได้

เสร็จสรรพจบหมดพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และ

ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในการแยกตัวของพม่าจากอังกฤษ ในเชิงอยากจะ


ครอบครองต่อ แต่ต่อมาญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2พม่าเลยเจรจาขอ

เป็นเอกราชกับอังกฤษโดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้พม่าในวันที่ 4

มกราคม 2491


ประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 เขต  และ 7 รัฐ


เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง

แม่น้ำทวาย-มะริดปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ

ทำเหมืองแร่


ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน

สังกะสี


ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยก

จำนวนมากการทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมา

ตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น

ย่างกุ้ง และ มะริด และทวายเป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า


พม่านั้นเคยตกอยู่ในช่วงยากจนอย่างหนักแต่ในปีที่ผ่านมา 2556 พม่าได้ทำหาร

เปิดประเทศและ พัฒนาเศรษกิจ ของตัวเองซึ่งประเทศนี้มีศักยภาพเพียงพอต่อ

การเป็นประเทศชั้นนำได้ มีโครงการสร้างท่าเรือสินค้าที่ ทวาย มีการจัดการ

เลือกตั้งแบบประชาธิปไตย การริเริ่มครั้งนี้นับได้ว่าพม่าจะเป็นชาติที่กำลังพัฒนา

ในทางที่ดียิ่งขึ้น บวกกับทรัพยากร และ ศักยภาพของประเทศคาดว่าไม่นานนัก

เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนพม่าจะเติบโตทัดเทียมประเทศชั้นนำในย่านนี้แน่นอน

เพราะพวกเขานั้นมีความพร้อมด้านทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและบุคคลอยู่อย่าง

พรั่งพร้อม ไม่ได้แตกต่างจากที่อื่นและตอนนี้พวกเขาได้เปิดประเทศให้นัก

ลงทุนจากต่างชาติและการเมืองก็ดีขึ้นมามากแล้วหนำซ้ำยังมีภูมิประเทศที่

เหมาะสมในการขนส่งสินค้าทางน้ำ รวมทั้งแรงงานที่มีราคาถูกและมีฝีมือ

(ที่เคยเข้ามาทำงานที่ไทย)ทำให้พม่าเป็นอีกประเทศที่จะสามารถเป็นผู้นำ

ของภูมิภาคนี้ ถ้าสามารถจัดการปัญหาภายในประเทศ ทั้งการเมืองการแบ่ง

ชนชาติและปัญหาชนกลุ่มน้อยได้เพราะมีจีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในเอเชียคอยให้

การสนับสนุนอยู่ไม่ขาดในการแก้ไขปัญหานี้ของเมียนมาร์







ประชาคมอาเซียน : อินโดนีเซีย Republic of Indonesia









ประชาคมอาเซียน : อินโดนีเซีย Republic of Indonesia

หมวด >> อาเซียน

 อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย Republic of

Indonesia เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีน

และทวีปออสเตรเลียและระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกมีพรมแดน

ติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี

และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์


เมืองหลวง จาการ์ตา


การปกครอง ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดีได้รับเอกราชจาก เนเธอแลนด์

17 สิงหาคมพ.ศ. 2488  แต่เป็นที่ยอมรับในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 หลังจาก

ตกเป็นเมืองขึ้น ของเนเธอแลนด์อยู่ 301 ปี


พื้นที่ 1,904,569 ตร.กม.


สกุลเงิน  รูเปียห์ (IDR)


ประชากร 248 ล้านคน ในการสำรวจเมื่อปี2554 โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา

ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม


อินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 จังหวัด2 เขตปกครองพิเศษและ


1 เขตนครหลวงพิเศษ


เศรษฐกิจ อินโดนีเซีย


หลักๆอยู่ที่ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคการบริการ ผลผลิตทางการ

เกษตรข้าว มันสำปะหลัง ถั่วลิสง ยาง โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม เนื้อมะพร้าวแข็ง

สัตว์ปีก เนื้อวัว เนื้อสุกร ไข่


อุตสาหกรรม  ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เครื่องประดับ รองเท้า

เหมืองแร่ ซีเมนต์ ปุ๋ยเคมี ไม้อัด ยาง อาหาร การท่องเที่ยว รวมไปถึงการทำประมง

ตามเขตชายฝั่งของประเทศอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม


สินค้าส่งออกที่สำคัญ  น้ำมันและก๊าซ อุปกรณ์ไฟฟ้า ไม้อัด สิ่งทอ ยาง


สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องมือเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง อาหารประเทศ


อินโดนีเซีย ถือว่าเป็นแหล่ง เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในย่านอาเซียน มีกำลังซื้อและ

เป็นตลาดใหญ่ของอาเซียน


     อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด และ พื้นที่มากที่สุดในอาเซียน

เลยทีเดียวการเปิดประชาคมอาเซียน จะทำให้ อินโดนีเซีย และประเทศใน

แถบนี้ได้รับผลประโยชน์ทางการค้ามากมายและแข็งแกร่งมากขึ้น






ประชาคมอาเซียน : เวียดนาม Vietnam








ประชาคมอาเซียน : เวียดนาม  Vietnam

หมวด >> อาเซียน

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)



          ประเทศเวียดนามหรือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งอยู่ทางด้าน

ตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน



พรมแดน

ติดกับประเทศจีน

ทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา

ทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้

ทิศตะวันออกและใต้ ทะเลตะวันออก


เมืองหลวง    ฮานอย   เมืองใหญ่สุด    โฮจิมินห์ซิตี


ภาษาทางการ ภาษาเวียดนาม


การปกครอง คอมมิวนิสต์


สกุลเงิน ด่อง (VND)


   มีพื้นที่  331,689 ตร.กม. มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็น

ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงและตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีที่ราบสูงตอนเหนือของ

ประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตรประเทศเวียดนาม

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น58 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร มีประชากรประมาณ

90 กว่าล้านคน และกว่า 80 เปอร์เซ็นป็นชาวเวียดสมัยการล่าอาณานิคม ฝรั่งเศส

ได้เข้ามา แสวงหาผลประโยชน์เข้ายึดครองเวียดนามเพื่อให้ได้มาซึ่งทรพยากร

และแหล่ง อาหารที่อุดมสมบูรณ์ของเวียดนาม จนต่อมาโฮจิมินห์ผู้นำกลุ่มพรรค

คอมมิวนิสต์อินโดจีนหรือกลุ่มเวียดมินห์ได้นำชาวบ้านชาวนาต่อต้านของเจ้า

อาณานิคมอย่างฝรั่งเศส จนสามารถประกาศเอกราชได้สำเร็จแต่แล้ว ฝรั่งเศส

ก็เข้ามาเอา เวียดนาม อีกครั้งจนเรื่องบานปลายกลายเป็นสงคราม และ ถึงขั้น

ที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองทัพเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ.2497 และมี

การทำสนธิสัญญาเจนีวาของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยอมรับเอกราชของ

เวียดนามแต่ก็มีปัญหากับ สหรัฐอเมริกา กับเวียดนามบางส่วนจนกลายเป็นแบ่ง

ดินแดนเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ฝั่งอเมริกา นั้น หนุนหลังเวียดนามใต้

เพื่อสู้กับเวียดนามเหนือ จนเข้าสู่สงครามแต่แล้วท้ายที่สุดความชำนาญการทาง

ภูมิศาสตร์และการเมืองภายใน อเมริกา จำต้องถอนทหารออกทำให้เวียดนามใต้

ต้องเผชิญกับ เวียดนามเหนือเพียงลำพัง จนในที่สุดกองกำลังเวียดนามเหนือ

และเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปีพ.ศ. 2518

การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2กรกฎาคม  พ.ศ. 2519

และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น


เศรษฐกิจของเวียดนาม พึ่งพา การเกษตร กับ อุตสาหกรรมเป็นหลัก ทั้งข้าว

ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย รวมไปถึงการทำประมง โดยเฉพาะข้าว

เวียดนามนั้นสามารถผลิตได้ต่อไร่มากที่สุดในอาเซียน และเป็นสินค้าส่งออก

หลักของประเทศอีกด้วยด้านอุตสาหกรรมก็มีทั้งอุตสาหกรรมทอผ้า การทำ

เหมืองแร่  ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติ จึงทำให้เวียดนาม

ค่อนข้างจะพร้อมก้าวไปข้างหน้าได้ตลอดเวลาทั้งการเรียนรู้จากเรื่องราวในอดีต

การรวมชาติและทรัพยากรที่มีอยู่เต็มเปี่ยม เวียดนามกำลังศึกษาและปรับปรุง

พัฒนาประเทศด้วยการให้ความสำคัญกับการงทุนทางการศึกษาและค้นคว้า

รวมไปถึงการไปดูงานต่างๆในด้านต่างๆที่ประเทศอื่นๆโดดเด่น เพื่อศึกษาและ

นำมาปรับใช้กับคนเวียดนาม นับว่าเป็นการพัฒนาที่ดีมากและรวมทั้งเวียดนาม

นั้นมีอิทธิพลต่อ ลาว และ เขมรอยู่พอสมควร (ค่อนไปทางมาก) ทรัพยากร หรือ

ความร่วมมือต่างๆจากทั้ง 2 ประเทศนี้จะมีส่วนช่วยให้เวียดนามนั้นสามารถที่จะ

พัฒนาตัวเองได้มากยิ่งๆขึ้นไปอีกด้วยประชากรกว่า 90 ล้านคน จะขับเคลื่อน


   เวียดนามเป็นยักษ์แห่งอาเซียนได้ไม่ยาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่า

เวียดนามจะเป็นอีกประเทศสำคัญของประชาคมอาเซียนอย่างแน่นอน





ประชาคมอาเซียน : ลาว Lao





ประชาคมอาเซียน : ลาว Lao 

(The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)




ประเทศลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


(The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR) อาเซียน



เป็นประเทศนึงในย่าน อาเซียนนี้ ที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร ธรรมชาติ และ

ไม่มีทางออกทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร


มีพรมแดน


ติดต่อกับจีนทางทิศเหนือ

ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก

ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้

และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง


เมืองหลวง เวียงจันทน์


ภาษาทางการ ภาษาลาว


การปกครอง คอมมิวนิสต์


ลาวได้รับเอกราชจากฝั่งเศสเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492  และได้

สถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.

2518 จำนวนประชากร(ประเมินเมื่อปร 2555)อยู่ที่ 6,800,000 คน(ตัวเลขตรงๆ)

ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 เป็นศาสนาพุทธนิกายเถรวาท


สกุลเงิน  กีบ(LAK)


      ความยาวพื้นที่ประเทศลาว ตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่า

กิโลเมตรส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร

ภูมิประเทศของ ลาว เป็น เขตที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม และภูเขาสูง มีแม่น้ำมากมาย

หลายสายแม่น้ำหลักและสำคัญที่สุดคือแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินทั้ง

ในด้านเกษตรกรรมการประมงการผลิตพลังงานไฟฟ้าการคมนาคมจากลาว

เหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาว

กับประเทศเพื่อนบ้านลาวแบ่งเป็น 16 แขวง ในหนึ่งแขวงจะมีหลาย เมืองซึ่งจะ

มีหนึ่งเมืองเป็นเมืองหลวงเรียกว่าเมืองเอก และ 1 เขตปกครองพิเศษเรียกว่า

นครหลวง

ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหิน

ลิกไนต์ สังกะสี ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่ง

น้ำผลิตไฟฟ้า มีการลงทุนจากต่างประเทศหลักๆก็ เป็น ไทยเวียดนาม ฝรั่งเศส

ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น  สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และ

เยอรมนี ที่เข้ามาร่วมกันลงทุนและแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกับทางลาวในการ

พัฒนาและผลิตสินค้า


สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาว ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป

ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ

กาแฟ


ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย

เยอรมนีโดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค

ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าจากไทยและบางครั้งชาวลาวมักข้ามเขตมาตามด่าน

ชายแดนเพื่อมาเลือกซื้อสินค้าจากไทยเข้าไปใช้เป็นจำนวนมาก เพราะสินค้าที่

ผลิตในไทยส่วนใหญ่คุณภาพดีและเป็นที่นิยมของชาวลาว

เงินไทยสามารถใช้ซื้อสินค้าได้ในบางเขตในลาว ประชากร ชนชาติต่างๆ

หลากหลายเชื้อชาติซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า"

สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดย ประมาณแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่

อยู่อาศัย

1.ลาวลุ่ม : ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ

68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศถือว่าเป็นกลุ่ม

ชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ


2.ลาวเทิง :  ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง คิดเป็นร้อยละ

22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด


3.ลาวสูง : ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ  คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9

ของจำนวนประชากรทั้งหมดอื่นๆ คือชาวลาวเชื้อสายเวียนนาม เชื้อสายจีน และ

ชาติอื่นๆคือเป็นร้อยละ 2 ของประเทศการแบ่งกลุ่ม ชาวลาว เช่น ลาวลุ่ม ลาวเทิง

ลาวสูงจำแนกมาจากถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น


   ลาวลุ่ม : จะใช้เรีกชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของ

                 ประเทศ


   ลาวเทิง : ใช้เรียกชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง


   ลาวสูง : ใช้เรียกชาวลาวที่อาศัยในเขตภูเขาซึ่งจะไปพ้องกับภูมิประเทศหลักๆ

ของ ประเทศลาว ตามที่ได้กล่าวมาก่อนในย่อหน้าแรกๆ ประชาคมอาเซียน



    ลาวเป็นประเทศที่มี ทรัพยากร ธรรมชาติที่ดี และ สภาพแวดล้อมที่สวยงาม

เหมาะแก่การท่องเที่ยวธรรมชาติหรืออนุรักษ์ ซ้ำยังมีวัฒนธรรมที่สวยงามผ้าซิ่น

ที่เป็นเอกลักษณ์รวมไปถึงวัดวาอารามเก่าๆ แต่การเดินทางในชนบทหรือบาง

เมืองของลาวนั้น ณ ปัจจุบันยังไม่ค่อยสะดวกนักเรื่องจากบางที่ยังเป็นถนนลูกรัง

และเกิดฝนตกน้ำท่วมบ่อยจนถนนแทบใช้การไม่ได้หรือใช้ได้ลำบากมาก

ประเทศลาวเป็นอีกประเทศนึงที่น่าสนใจ ในอาเซียนเลยทีเดียว





ประชาคมอาเซียน : ประเทศไทย (Kingdom of Thailand)





ประชาคมอาเซียน : ประเทศไทย (Kingdom of Thailand)


ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)




ประเทศไทย ชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พรมแดน

ด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา

ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย

ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า

ทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว


เมืองหลวง   กรุงเทพมหานคร


ภาษาทางการ ภาษาไทย


มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร


มีประชากรประมาณ 66 ล้านคน ประกอบด้วย 77 จังหวัด ประกอบด้วยไทย

สยามประมาณร้อยละ 75 ไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 ไทยเชื้อสายมลายูร้อยละ

3 ความหลากหลายทางเชื้อชาติโดยมีทั้ง ชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายลาวชาวไทย

เชื้อสายมอญ ชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมไปถึงกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอยู่

มากชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวชวา (แขกแพ) ชาวจาม  (แขกจาม) ชาวเวียด

ชาวพม่า และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ลีซอ ชาวม้ง ส่วย

ประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 93.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นศาสนา

ประจำชาติของแต่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพราะถือว่าทุกคนทุก

ศาสนามีสิทธิที่จะเลือกนับถือศาสนาของตัวเองอย่างเท่าเทียมกันศาสนา

อิสลาม มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 5.2 คริสต์ ซิกข์และฮินดู รวมประมาณ

ร้อยละ 1.4


การปกครอง  ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ


สกุลเงิน    บาท (฿) (THB)


ภูมิประเทศ


ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อนปกคลุมด้วยป่าไม้อันเป็นต้นน้ำที่

สำคัญของประเทศไทย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ของที่ราบสูงค่อนข้างแห้งแล้งและไม่ค่อย

เอื้อต่อการเพาะปลูก

ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศ และถือ

ได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

ภาคใต้  ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน มีจุดที่แคบลง ณ คอคอดกระ แล้วขยาย

ใหญ่เป็นคาบสมุทรมลายูเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสำคัญของประเทศ

ภาคตะวันตก เป็นหุบเขาและแนวเทือกเขาซึ่งพาดตัวมาจากทางตะวันตก

ของภาคเหนือ

ภาคตะวันออก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขาลูกเตี้ย ๆมีชายฝั่ง

ทะเลที่เรียบยาวและโค้งเว้ามีทิวเขาจันทบุรีอยู่ทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันออก

ทอดตัวไปทางด้านทิศตะวันตก จรดกับทิวเขาบรรทัด ซึ่งเป็นทิวเขาที่เป็นเส้น

แบ่งเขตระหว่าง ประเทศไทย กับประเทศกัมพูชา และมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่

หลายสายที่ไหลลงสู่อ่าวไทยได้แก่ แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี  แม่น้ำประแสร์

และแม่น้ำตราดวัฒนธรรมไทยรับเอาวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอมและดินแดน

บางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาวัฒนธรรมเอเชีย กล่าวคือ มีการ

ให้ความเคารพแก่บรรพบุรุษซึ่งเป็นการยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน

ชาวไทยมักจะมีความเป็นเจ้าบ้านและความกรุณาอย่างดีการทักทายตาม

ประเพณีของไทย คือ การไหว้ วัฒนธรรมของไทยถือว่าหลากหลายมากมาย

ส่วนใหญ่มักเกี่ยวโยงกับ ศาสนา และเรื่องสำคัญๆ ในอดีต หรือประเพณีต่างๆ

ต่างกรรมต่างวาระกันไปเช่น แบ่ง ตามภาค ตาม ความเชื่อ ตามสภาพแวดล้อม

เศรษฐกิจของไทย นับว่าหลากหลายไม่แพ้เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรม มีทั้ง

อุตสาหกรรม การส่งออกสินค้าและบริการ การท่องเที่ยว การบริการ

เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ


ตลาดนำเข้าสินค้าไทยที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  สิงคโปร์ ไต้หวันเกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย และ

อินโดนีเซีย


ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญที่สุดของประเทศ และยังเป็นประเทศที่

ปลูกส่งออกและยังถือเป็นสินค้าระดับพรีเมียมของไทยที่เป็นที่ยอมรับใน

ระดับโลกข้าวลำดับต้นๆของโลกนั้นจะมีข้าวไทยอยู่เสมอ รวมไปถึง

พืชเศรษฐกิจ อย่าง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ ที่มีคู่แข่งสำคัญของ

หลายประเทศในอาเซียน


ประเทศไทยส่งออกผลไม้ไปต่างประเทศได้มากมายนับว่าผลไม้เป็นอีก

สินค้าทำชื่อและทำเงินให้แก่ประเทศเป็นอย่างมาก  การส่งออกต่างๆ และยังมี

ปศุสัตว์ เช่น วัว สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ำทั้ง  ปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็มในกระชังการ

ทำนากุ้ง การเลี้ยงหอย รวมไปถึงการประมงทางทะเล


ความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย ถือได้ว่า เป็นสิ่งสำคัญของประเทศ

จนได้ชื่อว่า  "ครัวโลก" หรือแหล่งอาหารของโลก ยังรวมไปถึงเป็นผู้ส่งออก

อาหารรายใหญ่อันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว นับว่าในย่านอาเซียนไทยถือเป็น

กลไก สำคัญที่จะพัฒนาประชาคมอาเซียนให้ก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน เพราะ

ที่ตั้งของไทยนั้นสามารถเป็น Hub หรือศูนย์หลางการกระจายสินค้าและบริการ

หรือการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเปิดประชาคมอาเซียนด้านการ

ท่องเที่ยวประเทศไทยนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ โบราณสถาน

หรือทันสมัย ทางธรรมชาติก็อย่างเช่น ทะเล ชายหาดทางฝั่งอันดามัน และ

อ่าวไทยที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่หนีหนาวมาจากยุโรป

หรือจากหลายๆที่ที่ต้องการมาสัมผัสถึงสวรรค์เขตร้อนอย่างไทย น้ำตก อุทยาน

ป่าไม้ บรรยากาศของธรรมชาติสามารถรับกลิ่นอายของสิ่งเหล่านี้ได้ทั่วประเทศ

โบราณสถาน อย่างเช่นวัดวาอารามที่เก่าแก่ในอยุธยา หรือพระธาตุเหนือใต้

วัดงามในเมืองกรุง วัดเก่าตามต่างจังหวัดหรือสถานที่ทางประวัติศาสตร์

ปราสาทหินต่างๆ ซากกำแพงเมือง ตลาดน้ำ ฯลฯ  ในเรื่องทันสมัยนั้นกรุงเทพ

เป็นอีกแห่งนึงที่ชาวต่างชาติชอบมาเที่ยวทั้งช็อปปิ้ง กิน ดื่ม สถานที่เที่ยว

กลางคืน หรือ ช็อปตามตลาดที่มีอยู่ทั่วไปทั้งด่านชายแดน ในกรุง หรือ

ตลาดใหญ่ๆตามต่างจังหวัดมักคับคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาหาซื้อของดี

ราคาถูก อีกทั้งยังรวมไปถึง ของ Otop ฝีมือดี งาน แฮนด์เมดสวยงาม นับว่า

ไทยนั้นมีความพร้อมในแทบจะทุกด้าน จะติดตรงที่ว่า ปัญหาน้ำท่วมและ

รถติดตามเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวที่มีคนอาศัยอยู่มากเท่านั้น





ประชาคมอาเซียน: ประเทศกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)





ประชาคมอาเซียน: ประเทศกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)




             กัมพูชา ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา(Kingdom of

Cambodia)  (เขมร)ตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาตั้งแต่พ.ศ. 2406 ต่อมาในช่วง

สงครามโลกครั้งที่ 2ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2

จบลง ฝรั่งเศสได้ขับไล่ ญี่ปุ่น จนกัมพูชากลับมาเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้ง

จนได้รับเอกราช วันที่ 9 พฤศจิกายน 2496


ภูมิประเทศ


ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำ

โขง มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด

เทือกเขาอันนัม

  กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่ง

ทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่

ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม

ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับ

ประเทศไทยด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดน

กับประเทศไทยเฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง


เมืองหลวง พนมเปญ


การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ


ก่อตั้ง

- อาณาจักรฟูนัน 611

- อาณาจักรเจนละ 1093

- จักรวรรดิแขมร์ 1345

- ตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส 2406

- ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส 9 พฤศจิกายน 2496

- ฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ 24 กันยายน 2536


พื้นที่  181,035 ตร.กม.


เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง

เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอุตสาหกรรม สิ่งทอ เกษตรกรรมก่อสร้าง

เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและ

การค้าระหว่างประเทศ


 ใน พ.ศ. 2548 มีการพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของ

กัมพูชาและเมื่อการขุดเจาะเชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2556 รายได้จากน้ำมัน

สามารถมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างจริงจัง เศรษฐกิจ ของกัมพูชา พืชที่

สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร

เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค แต่ในช่วงหลังมานี้การส่งออก

ข้าวของกัมพูชานั้นดีขึ้นเรื่อยๆทั้งคุณภาพข้าวและราคาที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคใน

ต่างประเทศและอาเซียนมากขึ้น


เชื้อชาติ ชาวเขมร 85% ชาวญวน 5% ชาวจีน 5 % อื่นๆ เช่นชาวไทยชาวลาว

ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ 3%


ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ

ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทยและภาษาจีน


รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในการบูรณะประเทศหลังสงครามกลางเมืองนานหลาย

ทศวรรษ กัมพูชามีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากร

มนุษย์มีการค้นพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชา

แต่บางส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทกับเพื่อนบ้านอยู่ยังไม่สามารถตกลงอาณาเขตบาง

แห่งกันได้ รายได้จากน้ำมันนั้นจะมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างมากถ้าสามารถ

ดำเนินการให้ถูกต้องได้อย่างเต็มที่ก็จะเป็นผลดีแก่กัมพูชา





ประชาคมอาเซียน : บรูไน ดารุสซาลาม(Brunei Darussalam)





ประชาคมอาเซียน : บรูไน ดารุสซาลาม(Brunei Darussalam)


ชื่ออย่างเป็นทางการ เนการาบรูไนดารุสซาลาม Negara Brunei Darussalam



เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียน

ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วย

รัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันออก

เมืองหลวง(และเมืองใหญ่สุด) บันดาร์เสรีเบกาวัน

ภาษาทางการ ภาษามาเลย์

ได้รับเอกราช จากสหราชอาณาจักร 1 มกราคม พ.ศ. 2527

การปกครองของประเทศบรูไนสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีสุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์

คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิม

นิกายสุหนี่นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน

สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน (BND)


บรูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและตะวันออกโดยที่ประชากร

ร้อยละ 97อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตกและมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่

อาศัยอยู่ในด้านตะวันออกซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเตมบูรง

เมืองหลัก ๆ  ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เสรีเบกาวัน เมืองท่ามูอาราและเซรีอา

ภูมิอากาศในบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูงและฝนตกมาก

พื้นที่ รวม 5,770 ตร.กม. (163)2,226 ตร.ไมล์


                  ส่วนใหญ่ชาวบรูไน นับศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ 67% รองลงมาเป็น

ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ศาสนาคริสต์  ศาสนาฮินดู ความเชื่อพื้นเมืองและอื่นๆ

นอกจาก น้ำมันที่เป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำเงินเข้าประเทศมากมายแล้ว บรูไนยังมี

อุตสาหกรรมอย่างอื่นเช่นการผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้า

เพื่อส่งออกไปยัง อเมริกาและ ยุโรปยังรวมถึงการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ด้านอาหาร

แปรรูปเครื่องดื่ม เสื้อผ้า สิ่งทอ และ ของตกแต่งจากไม้วัสดุก่อสร้างต่างๆที่ไม่มี

ส่วนประกอบของโลหะอุตสาหกรรมของบรูไน ประสบปัญหาอยู่บ้างเนื่องจากการ

ขาดแคลนแรงงาน และ ช่างฝีมือมาช่วยในการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการ

ของตลาด จำเป็นต้องพึ่งแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลักซึ่งการเปิด

ประชาคมอาเซียน นี้จะทำให้บรูไนได้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมไม่มากก็น้อย


       ครอบครัวชาวบรูไนส่วนใหญ่มีรถใช้ครอบครัวละหลายคันอันเนื่องมาจาก

น้ำมันที่นั่นถูกมาก และแทนที่จะใช้รถคันเดียวในครอบครัวที่ค่อนข้างฐานะดีนั้นมัก

ใช้รถยนต์กันคนละคันไปในแต่ละที่แม้จะทางเดียวกันก็ตาม บ้านเมืองค่อนข้าง

สะอาดน่าอยู่และสงบเรียบร้อยดี แต่ไม่วุ่นวายมากนักสำหรับประเทศบรูไน




ประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ





กลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน 


           สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  Association of South

East Asian Nationsหรือที่เรียกว่า อาเซียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510


โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ


ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน 

ดารุสซาลามได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ 

พ.ศ. 2538 พม่าและลาวได้เข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้าย

คือกัมพูชา  เมื่อ พ.ศ. 2542ณ เวลาปัจจุบัน (พ.ศ.2556) มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 

10 ประเทศ มี สำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุง จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียวัตถุประสงค์

ที่สำคัญ คือการรวมตัวกันสร้างความแข็งแกร่งทั้งด้าน อำนาจการต่อรองกับ 

มหาอำนาจ และความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพในด้านการจัดการ

และด้าน เศรษฐกิจโดยภาพรวม โดย อาเซียน นั้นมีประชาชนของแต่ละประเทศ

รวม 600 กว่าล้านคนและเนื้อที่นับได้ กว่า 4.4 ล้าน ตร.กม. โดยการร่วมมือกันมี

มากมาย ดังเช่นเขตการค้าเสรี  บริการ การลงทุนร่วม ข้อตกลงการค้าเสรีกับ

ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือทาง

วัฒนธรรม การศึกษา เพื่อสร้างความแข็งแรงและนำพา สมาชิกในย่าน หรือกลุ่ม

เดียวกัน พัฒนาไปพร้อมๆ และดูแลซึ่งกันและกัน


     ประชาคมอาเซียน การรวมตัของผู้คนในอาเซียนมาเป็น ประชาคมอาเซียน

ที่แข็งแกร่งและสามารถต่อรองกับมหาอำนาจอื่นๆรวมถึงเป็นความร่วมมือเพื่อ

ช่วยเหลือกันในอาเซียนซึ่งเป็นผลดีต่อการรวมอยู่ของประชาคมอาเซียนอีกด้วย

สมาชิกทั้งหมดได้แก่





เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เป็น

ประเทศเล็กๆปกครองโดย สุลต่านพื้นที่ รวม 5,770 ตร.กม.ส่วนใหญ่ชาวบรูไน

นับศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่67% บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่ง เพราะมีอุตสาหกรรม

หลักคือน้ำมันดิบที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศ 



2.กัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)


ตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีพื้นที่  

181,035 ตร.กม.เมืองหลวง พนมเปญ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา 

95% เศรษฐกิจหลักของกัมพูชานั้นมาจากอุตสาหกรรม สิ่งทอ เกษตรกรรม 

ก่อสร้าง เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวและยังมี ทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด

ที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค 



3.อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 

Republic of Indonesia


เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีป

ออสเตรเลียและระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกการปกครอง 

ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดีมีประชากร 248 ล้านคน ในการสำรวจเมื่อปี 

2554 โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมีพื้นที่ 

1,904,569 ตร.กม.เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในกลุ่มอาเซียนทั้งหมด

และถือเป็น ตลาดที่ใหญ่มากในระแวกนี้



4.ประเทศลาว (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร  เมืองหลวงเวียงจันทน์ใช้ภาษาลาวเป็นภาษา

ทางการมีการปกครอง แบบคอมมิวนิสต์  มีประชากร ประมาณ 6.8 ล้านคนเป็น

ประเทศที่มีธรรมชาติสวยงาม มีทรัพยากรสำคัญได้แก่ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว 

หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน





มีพรมแดนติดกับ ภาคใต้ของไทย เรียกว่า มาเลเซียตะวันตก และอยู่ทางตอน

เหนือของเกาะบอร์เนียวเรียกว่ามาเลเซียตะวันออกเมืองหลวงคือกรุงกัวลาลัมเปอร์

ภาษาทางการคือภาษามาเลย์  มีการปกครองแบบสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้

รัฐธรรมนูญมีพื้นที่ 329,847 ตร.กม.   ประชากร กว่า 29 ล้านคน กว่าครึ่งมีเชื้อสาย 

มลายูมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติมีทรัพยากรธรรมชาติอี เช่น แร่ดีบุก 

แร่เหล็ก น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ของประเทศ



6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)


เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก 

ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กมเมืองหลวง

คือกรุงมะนิลาใช้ภาษาฟิลิปีโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ การปกครอง

แบบสาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี  มีพื้นที่ 300,000 ตร.กม. จำนวน

ประชากร กว่า 100 ล้านคน ประชากรกว่าร้อยละ 80 นับถือศาสนาคริส นิกาย

โรมันคาทอลิก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน 


  
7.สาธารณรัฐ สิงคโปร์  ( Republic of Singapore)


เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองหลวง สิงคโปร์ 

ภาษาทางการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ

การปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐมีประธานาธิบดี เป็นผู้นำ มี พื้นที่  710 ตร.กม 

มีประชากรประมาณ 5 ล้านคนเป็นแหล่งกระจายสินค้า ท่าเรือ แหล่งรวมสินค้า

การลงทุน ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และมีธุรกิจ น้ำมันเป็นอันดับ 2 ของโลก และ

ค่าครองชีพที่แสนแพง แต่เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองที่สุดในอาเซียน 



8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)


ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมือง

หลวงกรุงเทพมหานคร ภาษาทางการ ภาษาไทยมีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร 

มีประชากรประมาณ 66 ล้านคน ประกอบด้วย 77 จังหวัด ประกอบด้วยไทยสยาม

ประมาณร้อยละ 75 ไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 ไทยเชื้อสายมลายูร้อยละ 3 ความ

หลากหลายทางเชื้อชาติโดยมีทั้ง ชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อ

สายมอญ ชาวไทยเชื้อสายเขมร ประชากร กว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธ

ประเทศไทยถือได้ว่า เป็นแหล่งอาหารของโลก ยังรวมไปถึงเป็นผู้ส่งออกอาหาร

รายใหญ่อันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว 



9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)


 เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบ

สมุทรอินโดจีนมีพรมแดนติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ ประเทศลาวและ

ประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตกและอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ เมืองหลวงคือกรุง

ฮานอย  เมืองใหญ่สุดได้แก่กรุงโฮจิมินห์ซิตีภาษาทางการคือภาษาเวียดนาม 

มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ มีพื้นที่  331,689 ตร.กม.มีประชากรประมาณ 90 

กว่าล้านคนเวียดนามมีเศรษฐกิจที่ หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การเกษตร ที่เป็นอีก

แหล่งสำคัญใน ภูมิภาคนี้และของโลก อุตสาหกรรม โดยเฉพาะ สิ่งทอ รวมไปถึง 

ทรัพยากร ธรรมชาติ เช่น แร่ และน้ำมัน



10.สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of Myanmar)


เมืองหลวง กรุงเนปีดอ มีเมืองใหญ่สุดคือย่างกุ้ง(เมืองหลวงเก่า) ภาษาทางการ

ใช้ภาษาพม่า การปกครองแบบระบบประธานาธิบดี มีพื้นที่ 676,578 ตร.กม. 

พม่ามีประชากรกว่า 50 ล้านคนเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ จึงถือเป็นเรื่องดี

ของการเปิดประชาคมอาเซียนเลยก็ว่าได้  ประเทศพม่า กำลังก้าวข้ามปัญหา

ภายในเข้าสู่ยุคที่ดีขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ไปสู่แนวทางที่ดีัขึ้น



เมืองหลวง 10 ประเทศอาเซียน





เมืองหลวง 10 ประเทศอาเซียน



       ในภูมิภาคเอเขียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียนนั้น มีความหลากหลายทาง

วัฒนธรรมความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต และสไตล์ของแต่ละประเทศการพัฒนา

คุณภาพบุคคล ที่แตกต่างกันเช่นเดียวกับ เมืองหลวงของแต่ละประเทศในอาเซียน

นั้นก็สะท้อนถึงความเจริญที่ค่อนข้างจะดีที่สุดศูนย์รวมการทำงานพื้นที่ที่เป็นเหมือน

ห้องรับแขกของแต่ละประเทศซึ่งก็แตกต่างกันตามสภาพความเป็นอยู่ สถานที่ตั้ง

และความเจริญของแต่ละประเทศ บทความนี้จะนำเสนอชื่อของเมืองหลวงแต่ละ

เมืองในอาเซียน และ รายละเอียดตามท้ายเล็กน้อยพอสังเขปว่าแต่ละประเทศมี

เมืองหลวงชื่อว่าอะไร ตั้งอยู่ส่วนไหน และมีลักษณะจำเพาะอย่างไรกันมั่ง

ก่อนที่เราจะเปิด ประชาคมอาเซียน



1.ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)


เมืองหลวง : Bangkok(กรุงเทพมหานคร)


*** เป็นเมืองที่กว้างที่สุดของโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา

(ตอนกลางของประเทศไทย) มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง

คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีศูนย์รวยของความเจริญและเทคโนโลยีต่างๆมากที่สุด

ในประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างวัดวาอาราม หรือแหล่งช็อบปิ้งหรือจะ

เป็นเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินที่หลากหลายที่สุด(แต่รถติดระดับโลกเลยทีเดียว)



2.ฟิลิปปินส์  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  Republic of the Philippines


เมืองหลวง : กรุง มะนิลา(Manila)


***ตั้งอยุ่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา (Manila Bay) บนเกาะลูซอนซึ่ง

เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์บางส่วนของเมืองมี

ความยากจน อย่างไรก็ดี มะนิลาเป็นเมืองที่มีชนชาติรวมกันอยู่มากมาย และ

เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษาและอุตสหากรรมของประเทศ

มะนิลาคือศูนย์กลางของเขตมหานครที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน



3.เวียดนาม  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Vietnam


เมืองหลวง : ฮานอย(Ha Noi)


***ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของ

แม่น้ำแดงอุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร ไม้อัด สิ่งทอ สารเคมี และงาน

หัตถกรรมปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลี้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1553

โดยใช้ชื่อว่า "ทังล็อง" แปลว่า "มังกรเหิน"



4.อินโดนีเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)


เมืองหลวง : กรุง จาการ์ตา(Jakarta)


*** เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่ง

ตะวันตกเฉียงเหนือ จาการ์ตาได้พัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ

สังคมและการเมืองที่ทันสมัย



5.สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar)


เมืองหลวง : เน ปิดอว์ (Nay Pyi Taw)


*** มีความหมายว่า "มหาราชธานี" หรือ "ที่อยู่ของกษัตริย์" เป็นเมืองหลวงและ

ศูนย์กลางการบริหารของประเทศพม่าสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบกรุง

เนปยีดอตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาพะโคและเทือกเขาฉาน อยู่ทางทิศเหนือของ

นครย่างกุ้ง 323 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด7,054.37 ตารางกิโลเมตร มีความสูง

ระหว่าง 90-200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล



6.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)


เมืองหลวง : กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)


***เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มัก

จะเรียกย่อ ๆ ว่า KLกัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย

(Malaysian Federal Territories)ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอร์บนชายฝั่งตะวันตกตอน

กลางของคาบสมุทรมาเลเซีย



7.กัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)


เมืองหลวง : พนมเปญ (Phnom Penh)


*** เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า

การเมืองและวัฒนธรรมของกัมพูชา มีประชากรถึง 2 ล้านคนตั้งอยู่ในพื้นที่

ตอนกลางค่อนใต้ของกัมพูชาตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและโตนเลสาบ



8.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  Laos PDR


เมืองหลวง : เวียงจันทน์ (Vientiane)


*** เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง

เวียงจันทน์อยู่ในช่วงโค้งของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแนวกั้นระหว่างประเทศไทยและ

ลาว(ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬของไทย)



9.สาธารณรัฐ สิงคโปร์  ( Republic of Singapore)


เมืองหลวง : สิงคโปร์ (Singapore)


*** เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางใต้สุดของ

คาบสมุทรมลายูติดกับรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะ

สุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย



10.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)


เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)


*** เมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไน อยู่ในเขตการปกครองบรูไน-มูอารา

(เป็น 1 ใน 4 เขตการปกครองของประเทศบรูไน หนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียน

มีเมืองหลวงคือบันดาร์เสรีเบกาวันกับเมืองมูอารา) เป็นศูนย์กลางการเงินธุรกิจ

การค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียม

และก๊าซธรรมชาติด้วย เมืองหลวงของบรูไนเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ

เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไนสุเหร่าที่ใหญ่ที่สุด

ในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน และ กัมปงเอเยอร์