ประเภทนักเขียนบล็อก & บทความ







ประเภทนักเขียน 


          บทความนี้เราจะมาดูกันว่าประเภทของนักเขียนต่างๆที่ทางเรานั้นนำเสนอ

นั้นมีแบบใดกันมั่ง และถ้าท่านเป็นนักเขียนท่านจะอยู่ในประเภทใดมาลองดูกัน

ประเภทนักเขียน ต่างๆที่ทางเราพอจะจับประเด็นและแยกประเภทออกมาให้ท่านดู

ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่


การเขียนบทความ



1.ชี้นำ

ท่านเป็นผู้เขียนบทความที่สรุปและออกความเห็นของตัวเองเพื่อให้คนอื่นคล้อยตาม

จูงใจและผลักดันความคิดตัวเองหรือแม้กระทั่งนำเสนอ โปรโมทมักเป็นบทความที่ค่อน

ข้างเป็นไปตามความต้องการของผู้เขียนหรือบทความโปรโมท และขายสินค้าก็ตามแต่



2.ลาก Coppy & Paste

ไม่ต้องพูดมากมากความลอกของคนอื่นมาทั้งดุ้น ที่จริงไม่จัดอยู่ในผู้เขียนบทความ

หรือเขียนบล็อก แต่ที่หยิบมานั้นอยากจะบอกว่าทุกอย่างมีลิขสิทธิ เป็นของผู้สร้างสรรค์

ถ้าไม่ได้รับอนุญาตเจ้าของบทความสามารถดำเนินคดีกับคนที่ลอกบทความมาได้ แต่

ส่วนใหญ่มักใช้วิธีการให้เครดิต ทำลิ้งกลับ ต่างๆนานาแต่ถ้าไม่ได้รับอนุญาตซะก่อน

ก็ผิดอยู่ดี



3.จับนิดผสมหน่อย รีไรท์ (rewrite)

การเขียนจากบทความของคนอื่นนำมาดัดแปลงยำนิดผสมหน่อย ปรุงๆไป (แหมะพูด

ยังกะทำยำวุ้นเส้น) เอาบทความคนอื่นที่มีโครงอยู่แล้วมาเขียนเล่าใหม่ในแบบของ

ตนเองมาผสมกับตัวเราเอง ซึ่งมันก้ไม่ผิดอะไร แต่มันก็ดูจะไม่สมควรไปนิดแต่ก็ทำได้

ถ้าเราไม่ได้ลอกเขามาทั้งดุ้นแค่นำแนวทางมาเขียนต่อเป็นของตัวเองเป็นทางลือกที่ดี

สำหรับเวลาที่ไอเดียหรือบทความที่เรานำมาเป็นต้นแบบนั้นดีมากจนเราอยากจะเขียน

ใหม่ในแบบตัวเอง



4.เรื่อยเปื่อย

อยากพิมพ์ไรก็พิมไปบ่นไปตามเรื่องออกแนวไดอารี่ จับประเด็นนู้นนั่นที่อยากเขียน

มาเขียนแล้ววิพากษ์วิจารณ์ไปเรื่อยในแบบของเราเอง



5.ขำขัน

คุณเป็นพวกที่เขียนบทความสไตล์ไหนก็แล้วแต่ มักจะแฝงความตกสนุกสนานเอาไว้

อยู่เสมอนี่เป็นอีกเทคนิคการเขียนบทความที่ทำให้ผู้อ่านติดตามในบทความที่คุณ

เขียนแต่บางทีตลกมากไปก็ไม่ได้สาระผู้อ่านอาจจะหนีก็เป็นได้



6.วิชาการ ความรู้ ประโยชน์

คุณเป็นผู้ให้ความรู้แน่นอนว่าข้อมูลที่ให้นั้นไม่ว่าจะเรื่องใด จำเป็นมากที่จะต้อง

เป็นความจริงและได้รับการยืนยันแล้วว่ามันจริงไม่งั้นคุณอาจจะซวยได้ถ้าโดน

ตอกกลับเรื่องข้อมูลหือโดนแฉว่ามั่วละก็ความน่าเชื่อถือของตัวคุณและบทความ

ที่คุณเขียนไม่ใช่แค่บทความที่มีปัญหาอย่างเดียวบทความก่อนหน้านี้และบทความ

หลังจากนี้ที่จะเขียนอาจจะโดนลดความน่าเชื่อถือลงไปอีก เรื่องข้อมูลที่ผิดนับเป็น

ข้อห้ามในการเขียนบทความ



7.เกาะกระแสสังคม

คุณมักจะเลือกเขียนสิ่งต่างๆรอบตัวที่เป็นกระแสสังคมหรือเป็นเรื่องที่คุณอาจจะจุด

ประเด็นมันขึ้นมาเองทำให้เป็นกระแส อยู่ที่คุณแล้วว่าจะเป็นผู้จุดหรือผู้ตามอันนี้

ค่อนข้างมาไวไปไว แต่ช่วงที่มันมานั้นด้วยกระแสจะทำให้มันเป็นที่สนใจอย่างมาก

จากทุกคน



8.ตั้งท่ารอจังหวะ สเต็ปพระเจ้า

คุณเป็นพวกรอของหวานด้วยความใจเย็นเวลามีเหตุการณ์อะไรจะชิงจังหวะชิงความ

ได้เปรียบผู้อื่นเปิดประเด็นหรือหาข้อมูลเชิงลึกของเรื่องนั้นๆและแสดงความเห็นด้วย

ความชาญฉลาดตบท้ายเหมือนรอจังหวะเออ ออ หรือเล่นตามน้ำถ้าดี ถ้าไม่ดีก็ชิง

จังหวะต่อต้านตามกระแสสังคมเหมือนผู้ที่สวรรค์ส่งมาโปรดไม่เคยผิดแพ้ไม่ได้

(สเต็ปพระเจ้า) ซึ่งเรียกว่าตีกินแบบนิ่มๆมักจะเป็นในหมวดของผู้ที่มีฐานผู้อ่านและ

ผู้ติดตามบทความของคุณอย่างหนาแน่นเรียกได้ว่าบางคนพูดไรเหล่าสาวกก็เชื่อ

ตามเลยทีเดียว



9.บทความ นิช niche

คุณมีความชำนาญเฉพาะทางเช่นกีฬา ฟุตบอล การเงิน การหาเงินทางเน็ต เรื่องหุ้น

เรื่องตกปลา การหาเงินจากเกมเรื่องที่เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มค่อนข้างเจาะจงถ้าคุณมี

ความชำนาญหรือเข้าใจและชอบในเรื่องที่เป็นเฉพาะเจาะจงและมีความต้องการ

ของผู้อ่านที่เยอะผู้สนใจที่เยอะแล้วละก็ รับรองว่าคุณไม่จำเป็นจะต้องพึ่งการค้นหา

จาก เสิร์ช มากมายนักแค่โปรโมทและทำการตลาดกับกลุ่มเป้าหมายดีๆเป็นการ

บอกต่อ ก็จะทำให้ผู้อ่านวนเวียนเข้ามาอ่านบทความของคุณไม่ขาดสายแล้ว

(ต้องเป็นบทความคุณภาพด้วยนะจ๊ะ)



10.ตามสภาพ แนะนำ (ไม่ชี้นำ)

คุณที่เขียนบทความสไตล์นี้ถ้าเป้นการเขียนถึงหนังก็คือการสปอยด์ดีๆนี่เอง ฮ่าๆๆ

แต่การเขียนแบบไม่ชี้นำแบบนี้แล้วถ้าสิ่งที่พูดเป็นความจริงทำให้คนได้วิเคราะห์

ตามหลักการของตัวเองเหมือนการเอาข้อมูลมาให้คนเลือกข้อมูลที่เรามีมาใส่ลงไป

ในบทความแล้วผู้อ่านจะมีความคิดเห็นอย่างไรก็เป็นวิจารณญาณของตัวผู้อ่านเอง

ผู้เขียนเป็นแค่ผู้บอกเล่าบอกข้อเท็จจริงที่ได้พบ ได้เห็น ได้เจอ ได้รับมา เช่น

เหตุการณ์รถชนใครผิดหรือถูกไม่รู้แต่ผู้เขียนนำมาบอกเล่าเรื่องราวตามที่ได้เห็นมา

ทั้งหมดให้ผู้อื่นได้รับฟังและพิจารณาเอาเองโดยไม่ขี้นำ หรือการเล่าเรื่องหนังที่ไปดู

ว่ามีอารมณ์อย่างไร บทประมาณไหนแต่ไม่ได้ชี้นำว่าควรเป็นอย่างไร หรือการนำ

ข้อมูลตัวนักกีฬา การเมือง ข้อมูล ข้อเท็จจริงโดยพื้นฐานของความเป็นกลางไม่

บิดเบือนให้ผู้อ่านคิดเอาเองตามแต่ใครจะคิดยังไง (แนวนี้มันใกล้เคียงกับสื่อใน

อุดมคติเลยนะ ย้ำว่าสื่อที่ดีต้องเป็นแบบนี้)