5 ยอดฝีมือแห่งยุค




5 ยอดฝีมือแห่งยุค


         5 ยอดฝีมือแห่งยุคในเรื่องมังกรหยกมีจอมยุทธท่านไหนกันบ้างดีเด่น

อะไรยังไง มีความพิเศษ มีพลังยุทธขนาดไหนกันถึงได้ถูกยกให้เป็น

5 ยอดฝีมือแห่งยุค 





1.เฮ้งเตงเอี้ยง (เทพมัชฌิม หรือ กลางอิทธิฤทธิ์) : ยอดฝีมือนักพรตผู้เป็น

ปรมาจารย์ผู้ก่อตั้งนิกายช้วนจินก่า ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่ามีฝีมือดีที่สุดในบรรดา

5 ยอดฝีมือแห่งยุคเป็นคนมีเมตตา ฉลาดหลักแหลม มีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับใน

ยุทธภพ เขาเป็นอันดับหนึ่งของห้ายอดฝีมือแห่งยุคที่ชนะการประลองถกกระบี่ที่

เขาหัวซานครั้งแรก และได้คัมภีร์ยุทธเก้าอิมจินเก็งกลับมาแต่ไม่ต้องการที่จะฝึก

มันแค่ต้องการมันเก็บไว้เพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อยุทธภพในภายหลังหนำซ้ำในตอน

แรกมีความตั้งใจจะทำลายมันทิ้งเสียด้วยซ้ำ เขารู้ตัวว่ากำลังจะตายเลยเดินทาง

ไปต้าหลี่เพื่อขอให้ อ๋องต้วนสอนวิชาดรรชนีเอกสุริยันที่สามารถจัดการกับ

พิษประจิมได้เพื่อป้องกันการแย่งชิง คัมภีร์ยุทธเก้าอิมจินเก็ง หลังจากเขาตาย

ไปนั่นเอง


2.อึ้งเอี๊ยะซือ (มารบูรพา หรือ ภูตบูรพา) : บิดาของอึ้งย้งเป็นประมุขเกาะ

ดอกท้อ 1 ใน 5 ยอดฝีมือแห่งยุคที่ได้ชื่อว่าแปลกประหลาดในสายตาคนทั่วไป

เพราะเขาไม่ได้สนใจในจารีตประเพณีต่างๆมากมาย ทำอะไรไม่ได้สนใจสายตา

ใครแค่อยากจะทำมีนิสัยประหลาด ทำตัวลึกลับ ไม่ค่อยสุงสิงกับยุทธภพรักชอบ

ในวิชาความรู้ ถึงเขาจะดูแปลกประหลาดเป็นคนที่เข้าใจได้ยากแต่ก็เป็นคนที่มี

วิชาความรู้ติดตัวมากมาย ทั้ง วาดภาพ การแพทย์ ศิลปะ ดนตรี ค่ายกล

(ดูได้จากค่ายกลบนเกาะดอกท้อ) มีฝีมือทางด้านวรยุทธที่สูงและหลากหลาย

เรียกง่ายๆคือมี ทั้งบุ๋นและบู๊พร้อมในตัวคนเดียวและมีวิชาที่ตัวเองได้บัญญัติ

ขึ้นมากมาย ที่มีพูดถึงในหนังจีนกำลังภายในบ่อยๆคือ  เพลงกระบี่ขลุ่ยหยก

เพลงเตะพายุรวบใบไม้  ยอดวิชานิ้วดีดซึ่งเด่นชัดใน มังกรหยก ภาค 2 ที่สอน

เอี้ยก้วยรับมือกับ เทพธิดาไหมแดงงลี้ม๊กโช้ว สิ่งที่ยึดติดชีวิตเขา คือ ภรรยาที่

เสียไปกับลูกสาวสุดที่รัก


3.อั้งฉิกกง (ยาจกอุดร หรือ ยาจกเก้านิ้ว) : หนึ่งในห้ายอดฝีมือประมุขพรรค

กระยาจกชื่นชอบอาหารอร่อยและการกินเป็นชีวิตจิตใจ มีวิชาระดบัสุดยอดอย่าง

ฝ่ามือพิชิตมังกร เป็นคนฉลาดทันคน จริงใจ ชอบช่วยเหลือผู้ที่ตกยาก ด้วยความ

ที่เขาเป็นประมุขพรรคกระยาจกจึงมีสุดยอดวิชาอีกวิชานึงที่ทุกคนกล่าวขวัญคือ

วิชาไม้เท้าตีสุนัข ที่เป็นที่เลื่องลือว่าเป็นสุดยอดวิชาของพรรค เขาเป็นคนชอบ

ท่องเที่ยวไปมาไร้ร่องรอยตามหาตัวยากลำบากกว่าใครเพราะไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนไป

ที่ไหนนอกเสียจากว่าเขายอมปรากฎตัวออกมาเอง เขามีสุดยอดศิษญื 2 คนคือ

ก๊วยเจ๋งที่เขาถ่ายทอดวิชา ฝ่ามือพิชิตมังกร และอ้งย้งภรรยาก๊วยเจ๋งที่เขาถ่าย

ทอดวิชาไม้เท้าตีสุนัขให้พร้อมยกตำแหน่งประมุขพรรคกระยาจกให้ดูแลด้วย ศัตรู

คู่อาฆาตของ ขอทาน9 นิ้ว อั้งชิกกงคือ พิษประจิม อาวเอี้ยงฮง


4.อิดเต็งไต้ซือ (ราชันย์ทักษิณ หรือ อ๋องแดนใต้) : อ๋องต้วนแดนใต้ ผู้ที่มีวิชา

ดัชนีขั้นสูงสุดกว่าใครใน 5 ยอดฝีมือเป็นผู้ที่มียศเกียรติสูงกว่าใครเป็นฮ่องเต้

แคว้นต้าหลี่ชื่อ ต้วนตี่เฮง วิชาเด่นของ อ๋องต้วนคือ ดรรชนีเอกสุริยัน ต่อมาได้เข้า

สู่โลกแห่งธรรมเพราะเรื่องความรักความผิดพลาดที่ เอ็งโกวและจิวแป๊ะทงได้ทำไว้

การที่ไม่ได้ช่วยชีวิตลูกของนางที่เกิดกับจิวแป๊ะทง ซึ่งได้ลักลอบมีความสัมพันธ์

กันทำให้เขารู้สึกผิด อ๋องต้วนเป็นผู้ที่มีกำลังภายในยอดเยี่ยมมากคนนึงเคยช่วย

ชีวิตศิษย์รักของอั้งชิกกง และ ลูกสาวสุดที่รักของมารบรูพาคืออึ้งย้ง ในบรรดา 5

ยอดฝีมือแห่งยุคทุกคนถ้า อั้งชิกกงเป็นพี่ใหญ่สุด อิดเต็งไต้ซือก็เหมือนเป็นผู้ที่ทุก

คนเกรงใจและให้ความเคารพมากที่สุด และเป็นคนที่อาวเอี้ยงฮงไม่มีเรื่องด้วยอีก

คนนึง


5.อาวเอี๊ยงฮง (พิษประจิม) : นับเป็นตัวร้ายในเรื่องมังกรหยกที่ทุกคนไม่อยาก

ไปยุ่งด้วยเก่งและถนัดด้านการใช้พิษ ลอบกัด มักใหญ่ไฝ่สูงหวังในสุดยอดวิชา

และการครองยุทธภพเป็นจ้าวแห่งการใช้พิษ เป็นวรยุทธสายดำที่เจ้าเลห์ ฉลาด

เป็นกรดที่น่ากลัวและอันตรายที่สุดคนนึงแต่ในความชั่วร้ายของเขาก็มีเรื่องที่น่า

ชื่นชมคือเขาเป็นผู้ที่หยิ่งในเกียรติตัวเองไม่ยอมผิดคำพูดหรือทำสสิ่งที่ทำลาย

เกียรติตัวเอง ไม่ยอมผิดคำพูดของตัวเองวิชาเด่นคือวิชาคางคก และมีไม้เท้า

อสรพิษที่ร้ายกาจ ใครโดนเข้าไปถึงขั้นตายได้ ขนาด อั้งชิกกงโดนเข้าไปยังเจ็บ

หนักเอาการ เกือบจะเอาชีวิตไม่รอดแต่ด้วยความโลภในวิชาเก้าอิม ผู้ฉลาด

อย่างอาวเอี๊ยงฮงก็พลาดไปฝึกวิชาเก้าอิมแบบกลับทิศ ฉบับที่ก๊วยเจ๋ง ร่วมมือกับ

อั้งชิกกง ทำขึ้นเพื่อหลอกให้เข้าฝึกจนลมปรานแตกซ่าน ธาตุไฟเข้าแทรก เป็น

คนเสียสติ (แต่ฝีมือไม่ได้ลดลงเลยแค่บ้าๆบอๆ กว่าเดิม) ภายหลังอาวเอี๊ยงฮง

รับเอี้ยก้วยเป็นบุตรบุญธรรม  และได้สอนวิชาคางคกให้เขาจนพลาดไปทำร้าย

ศิษย์ร่วมสำนักจนเป็นเรื่องราวของ มังกรหยกภาค 2 ขึ้นมา เป็นคู่ปรับกับ

อั้งชิกกง มาโดยตลอดจนวาระสุดท้ายถึงได้ลืมเรื่องบาดหมางความแค้นที่มี

ต่อกันและจากไปอย่างสงบพร้อมคู่รักคู่แค้นของเขา




ไทยเสียดินแดน





การเสียดินแดนของไทย


     รวมการเสียดินแดนของไทยเอาไว้ ทั้งการเสียไปจากการสู้รบแย่งชิง การเสีย

ไปจากการโดนข่มขู่จากการล่าอาณานิคมที่ชาติตะวันตกเข้ามารุนรานพื้นที่ทั่ว

โลกรวมถึงแถบนี้ และการเสียดินแดนเพื่อแลกกับเรื่องราวสิทธิต่างๆการพัฒนา

ต่างๆของไทยเอง 


1.เกาะหมาก (รัฐปีนัง) : เสียให้กับจักรวรรดิอังกฤษในวันที่ 11 สิงหาคม 2329 


คิดเป็นพื้นที่รวม 375 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 1 อ่านต่อ >> เกาะหมาก (รัฐปีนัง)


2. มะริด ทวาย ตะนาวศรี : เมืองท่าที่สำคัญไปในรัชกาลที่ 1 เป็นการเสียให้

แก่พม่าคิดเป็นพื้นที่ ราวๆ 55,000 ตร.กม.  พ.ศ.2336

อ่านต่อ >> มะริด ทวาย ตะนาวศรี


3.เสียบันทายมาศ หรือพุทไธมาศ : ใน พ.ศ.2353 ให้ญวณในรัชกาลที่ 2 และ

ได้ตกเป็นของฝรั่งเศส สุดท้ายในปัจจุบัน พื้นที่ตรงนั้นเป็นส่วนนึงของจังหวัด

กัมปอต ของกัมพูชา อ่านต่อ >> เสียบันทายมาศ


4. แสนหวี เมืองพง เชียงตุง : เสียให้กับพม่าในปีพ.ศ. 2368 ในรัชกาลที่ 3 พื้นที่

62,000 ตร.กม.เมื่่ออังกฤษได้ให้เอกราชแก่พม่าแล้วนั้น ดินแดนทั้ง 3 นี้ก็ตกไปเป็น

ของพม่าโดยสิ้นเชิง อ่านต่อ >> แสนหวี เมืองพง เชียงตุง


5. รัฐเปรัค : เสียให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2369  ในสมัยรัชกาลที่ 3  ทางเปรัคเองก็

มีท่าทีหันไปพึ่งอังกฤษตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2367 อังกฤษกำลังสร้างอำนาจทาง

แหลมมลายู อ่านต่อ >> รัฐเปรัค


6. สิบสองปันนา : ประมาณ 90,000 ตร.กม. ช่วงรัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่ทางใต้สุดของ

มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 1 พฤษภาคม 2393

อ่านต่อ >> สิบสองปันนา


7. เขมรส่วนนอกและเกาะ 6 เกาะ : ในรัชกาลที่ 4 พื้นที่มากถึง 124,000

ตร.กม. วันที่ 15 กรกฎาคม 2410 ให้ฝรั่งเศส อ่านต่อ >> เขมรส่วนนอก


8.การปราบฮ่อ และการเสีย สิบสองจุไท (หัวพันห้าทั้งหก) : พื้นที่ประมาณ

87,000 ตร.กม. เสียให้แก่ฝรั่งเศส ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอม

เกล้าเจ้าอยู่หัว อ่านต่อ >> สิบสองจุไท


9. ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ13 เมืองกะเหรี่ยง) :

เสียให้แก่อังกฤษ ในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ 30,000 ตร.กม. ในวันที่ 27 ตุลาคม

พ.ศ. 2435 อ่านต่อ >> ฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน



10. เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) :

เป็นการเสียดินแดนครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 พื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ  143,000

ตร.กม. ให้แก่ฝรั่งเศสในวันที่  3 ตุลาคม 2436  อ่านต่อ >>  ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง


11. เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง  : ในช่วงรัชกาลที่ 5 พื้นที่รวม  25,500 ตร.กม.

เสียให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อเอาไปแลกเอาจันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส

อ่านต่อ >>  ฝั่งขวาแม่น้ำโขง


12. มลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้แก่ฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 5

พื้นที่ 51,000 ตร.กม.เพื่อแลกกับดินแดนไทยที่ ฝรั่งเศสยึดไป อย่างตราด เกาะกง

และด่านซ้ายและอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับของฝรั่งเศสในประเทศ

ไทย  อ่านต่อ >>  มลฑลบูรพา


13. หัวเมืองมลายู (รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรี)  :  ในรัชกาลที่ 5

พื้นที่ 80,000 ตร.กม. ในปี 2451 เป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่างสยามกับอังกฤษ

อ่านต่อ >> หัวเมืองมลายู


14. เขาพระวิหาร   ( ยังไม่มีบทความ  )









SOS คืออะไร





SOS คืออะไร 


             ตอบ SOS อาจจะ ย่อมาจาก Save Our Souls(โปรดช่วยรักษาวิญญาณของเรา)

(เซฟ อาวเวอรฺ โซลส์) เป็นคำ ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ขอความช่วยเหลือ เมื่อ

เวลามีเหตุคับขันใช้ในการขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน การขอความช่วยเหลือ เมื่อ

เกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นรหัสมอร์สไว้ใช้เมื่อในภาวะฉุกเฉินเป็นสัญญาณแสดงภัยพิบัติสากล

(...  ––– ...) รหัสมอร์ส จุด 3 ขีด 3 จุด 3 ซึ่งบัญญัติตั้งแต่ปีค.ศ.1908 ให้เป็นสัญญาณ

แสดงภัยพิบัติสากล



... คือตัว S --- คือตัว O ... คือตัว S ได้เป็น SOS เป็นรหัสมอร์สที่ง่ายมากและสะดวกที่

จะใช้ขอความช่วยเหลือที่เร่งด่วนซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในเหตุรายทางทะเล เพราะ ชาวเรือ

ใช้แค่รหัสมอร์สในการติดต่อสื่อสารโดยเฉาะในเหตุด่วนเหตุร้ายเช่น เรือประสบอุบัติเหตุ

เรือจะล่ม ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ บางคนอาจจะแปลว่า Save Our Ship (ช่วย

เรือของพวกเราด้วย) หรือ Save Our Sea ก็ได้ (ใช้ในเรือ) แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่

ภาษาที่ใช้สื่อสารปกติหรอกครับไม่น่าจะมีคำแปลเพราะเป็นแค่รหัสมอร์สที่เข้าใจตรงกัน

ว่า ข้อความช่วยเหลือในเหตุคับขันอย่างเร่งด่วน  ศึกษารหัสมอร์สได้ ที่นี่ ครับ เอาไว้

เป็นสาระ ความรู้ ว่า SOS  มันคือรหัสขอความช่วยเหลือแล้วกันครับ

SOS คืออะไร สำหรับท่านที่สงสัยมานานคงพอทราบคตำตอบกันบ้างแล้วนะครับ



SMF คืออะไร ย่อมาจาก





SMF คืออะไร


            SMF ย่อมาจาก Stone Metal Fire หินเหล็กไฟ เป็นวงดนตรีชื่อดังสุดๆของไทย

เอ้ยไม่ใช่แล้วคนละ SMF กัน โถให้ตายเถอะผิดๆ


           เอาใหม่ๆครับ SMF ย่อมาจาก Simple Machines Forum  เป็นฟอรั่มซอฟต์แวร์

สำหรับใช้สร้างฟอรั่ม, เว็บบอร์ด หรือกระดานสนทนาเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตโดยรองรับ

การทำงานของฐานข้อมูลหลากหลายชนิด ได้แก่ MySQL, SQLite หรือ PostgreSQL ด้วย

ความที่ใช้ภาษาพีเอชพี ( PHP ) ในการพัฒนา รวมถึงการแพร่หลายของระบบฐานข้อมูล

MySQL ระบบที่ใช้จัดการกับกระดานข่าว(Web board)



          ที่เราไปเล่นอยู่ตามเว็บต่างๆนั่นแหละครับซึ่งง่ายต่อการใช้งาน มีระบบสมาชิกใน

ตัวเองสามารถจัดการสมาชิก จัดการกับสิทธิ์ต่างๆของสมาชิก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับ

ตัวเซิร์ฟเวอร์ผู้ให้บริการแต่ละเจ้า สามารถใช้เป็นกระดานสนทนา กระดานข่าว พูดคุย

แลกเปลี่ยนความเห็นของกลุ่มบุคคล โปรโมทสินค้า ประชาสัมพันธ์  ส่งต่อข้อมูลได้เป็น

อย่างดี ปรับแต่งง่ายใช้งานสะดวก สามารถใช้เป็นแหล่งรวมของผู้อ่านในบล็อกของเรา

หรือเว็บก็ได้อีกด้วยจัดการสมาชิกและเนื้อหาได้ง่าย สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและดู

รูปแบบได้ที่ simplemachines.org ตามนั้นเลยครับใครเก่งภาษาอังกฤษไปศึกษา

ไว้เป็นความรู้รอบตัวได้ครับ


SMF คืออะไร ย่อมาจาก คงพออธิบายให้ทุกท่านเข้าใจแล้วบ้างนะครับ (ไม่ใช่วงดนตรี

แน่นอน ฮ่าๆ)





สัญญาปางหลวง (สัญญาหักหลัง)






สัญญาปางหลวง


      เป็นข้อตกลงความร่วมมือกันของ พม่า ไทใหญ่ ชิน คะฉิ่น ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก

การประชุมปางหลวงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่พม่า ไทใหญ่ ชิน กะฉิ่น ที่เป็นผลสืบเนื่อง

มาจากการประชุมปางหลวงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อต่อรองขอเอกราชจากอังกฤษ

ซึ่งดินแดนต่างๆทั้งหมด เป็นกลุ่มรัฐอิสระต่อกันที่อังกฤษรวบรวมกันไว้ เช่น พม่า คะฉิ่น

กลุ่มไทใหญ่รัฐมอญ คะยา กะเหรี่ยง และฉาน ซึ่งเป็นต่างกลุ่มต่างเหล่ากันมาก่อน เพื่อขอ

เอกราชจากอังกฤษนำโดย ออง ซาน มีข้อตกลงกันว่ารวมตัวกันก่อนเพื่อตกลงขอแยกตัว

เป็นเอกราชจากอังกฤษ แล้วอยู่รวมกัน 10 ปี จึงค่อยแยกตัวกันไปปกครองตนเองกันอิสระ

หลังการประชุมครั้งนี้ ในวันที่   7  ก.พ.  2490 ตัวแทนฝ่าย ชนกลุ่มน้อยและรัฐต่างๆต่อรอง

กับฝ่ายพม่าพร้อมกับตัวแทนฝ่านรัฐบาลอังกฤษเข้าร่วมประชุมเมื่อ 10 ก.พ. เพื่อเจรจากับ

ตัวแทนสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา(ชนกลุ่มน้อยและรัฐต่างๆ)จนเป็นที่มาของการ

ลงนามในสนธิสัญญาของ บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และตัวแทนจากรัฐต่าง ๆ จึงได้ร่วม

ลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวงเมื่อ 12 ก.พ. 2490


สาระสำคัญของ สนธิสัญญา ปางหลวง


 - ตัวแทนของชาวเขา จะได้รับการแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาข้าหลวงเกี่ยวกับพื้นที่ของรัฐ

ชายแดน


 - สมาชิกสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา ต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมการบริหาร

เฉพาะด้าน ที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและกิจการต่างประเทศ


 - ที่ปรึกษาข้าหลวงและผู้ช่วยที่ปรึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดินแดนของตนเองดูแลพื้นที่

ของตัวเอง


 - ประชากรในรัฐชายแดนมีสิทธิเท่ากับประชากรในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ


 - การดำเนินงานตามสนธิสัญญาต้องไม่ละเมิดสิทธิทางการคลังของรัฐฉาน รัฐชิน และ

รัฐกะฉิ่น



ข้อตกลงในการถอนตัวเป็นอิสระ 


ในระหว่างการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เพื่อตั้งสหพันธรัฐพม่า อย่างจริงจังนั้น กลุ่มคน

ที่ไม่ต้องการให้รัฐต่างๆแยกตัวปกครองกันเองนั้นได้ลอบสังหารอองซานและที่ปรึกษา

คนอื่นเสียชีวิต เมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490  ทำให้ร่างของรัฐธรรมนูญต่างๆนั้นที่เตรียม

การจะจัดแบ่งการปกครองกันต้องผิดแผนไป แต่เพื่อให้เกิดความสงบขึ้นจึงได้มีข้อตกลง

กันอย่างเช่น


 - อยู่รวมกันก่อน ต้องผ่านไป 10 ปีจึงถอนตัวได้


 -  จะต้องได้รับความเห็นชอบด้วยเสียง 2 ใน 3  ของสภาแห่งรัฐ (State Counil)


 - ผู้นำของรัฐต้องแจ้งให้ผู้นำของสหภาพทราบเพื่อดำเนินการลงประชามติในขณะที่

ร่างรัฐธรรมนูญมีเพียงรัฐฉานกับรัฐกะยาเท่านั้นที่มีสิทธิถอนตัว รัฐกะฉิ่นกับรัฐกะเหรี่ยง

ปฏิเสธการเข้าร่วมแต่แรกส่วนรัฐชินถูกกำหนดให้เป็นเขตปกครองพิเศษจึงไม่มีสถานะ

เป็นรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้


 - รัฐที่มิได้ใช้สิทธิถอนตัวเท่านั้น  ที่ยังคงสามารถใช้สิทธิต่างๆที่บัญญัติเอาไว้ได้

ซึ่งในภายหลัง มีการฉีกรัฐธรรมนูญ โดยการเข้ายึดอำนาจโดยนายพลเน วินก่อรัฐ

ประหารขึ้นเสียก่อนเมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2508 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ

จับผู้นำชนกลุ่มน้อยเข้าที่คุมขัง สิทธิในการถอนตัวจึงโดนยกเลิกไปอัติโนมัติ ทำให้

ในพม่าตามขอบชายแดนติดกับไทยและพื้นที่ชนกลุ่มน้อยชาวเขาต่างๆ ยังมีการสู้รบ

การต่อต้านกันอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นปัญหาแบ่งแยกดินแดนที่มีมานานของเมียนมาร์

และดูท่าทางจะจบลงยากเพราะเหมือนเป็นการหักหลังต่อข้อตกลงสัญญาที่มีต่อกัน

โดย ยะไข่เองก็ไม่ชอบพม่ามาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ไทใหญ่เป็นชนที่ต้องการเอกราช

และจัดตั้งประเทศของตัวเองเป็นอย่างมาก แต่จะรวมกันติดหรือไม่อีกเรื่องนึง ชนมอญ

ซึ่งเป็นคู่ปรับตลอดกาลของพม่าก็ไม่อยากจะอยู่ร่วมกันซํกเท่าไหร่ กะเหรี่ยงประกาศตน

มาแต่แรกแล้วว่าเมื่อหลุดจากอังกฤษกะเหรี่ยงต้องเป็นประเทศ แต่ก็โดนควบคุมและ

หักหลังในที่สุด คะฉิ่น   ปัจจุบันก็ยังปะทะกับกองทัพพม่าอยู่แต่ละพื้นที่ยังมีความรุนแรง

กันอยู่เรื่อยๆ สาเหตุที่พม่าต้องนำกำลังเข้าควบคุมและมีการฉีกรัฐธรรมนุญเหมือนการ

หักหลังกลุ่มสมาชิกสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา เพราะถ้านับดูแล้วถ้ากลุ่มเหล่านี้

แยกตัวกันหมดประเทศแทบจะเหลือดินแดนไม่มากเลยเสียดินแดนไปเยอะ โดยเฉพาะ

รัฐฉาน คะฉิ่นกะเหรี่ยง ที่อยู่ติดขอบกับศูนย์กลางของพม่าหรือเมียมาร์มากอาจเป็น

อันตรายได้เลยยึดอำนาจรวมตัวกันเป็นสหภาพ ไปแบบนี้อยู่ที่ว่าต่อไปกลุ่มแบ่งแยก

ดินแดนเรียกร้องสิทธิการปกครองจะสามารถสู้กับรัฐบาลกลางได้หรือไม่เท่านั้นเอง

นับเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ของพม่า ที่มีการยกเลิกการแยกตัวเพื่อรวมเป็นชาติใน

ปัจจุบันส่งผลให้เกิดการสู้รบกับชนกลุ่มน้อยมากมาย ไม่จบไม่สิ้น


เกร็ดความรู้ ผู้ลงนามในสัญญาปางหลวงได้แก่ 

 - ฝ่ายพม่า  อองซาน

 - ฝ่ายคะฉิ่น

1. สะมาตูวาสิ่นวาหน่อง(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )

2. ตูวาจ่อริด(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )

3. เต่งระต่าน(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )

4. ตูวาเจ๊าะลุน(ตัวแทนจากเมือง บ้านหม้อ )

5. ละป่านกะหร่อง(ตัวแทนจากเมือง บ้านหม้อ )


 - ฝ่ายไทใหญ่ ประกอบด้วย

1. เจ้าขุนปานจิ่ง(เจ้าฟ้า น้ำสั่น )

2. เจ้าส่วยแต๊ก( เจ้าฟ้า ย่องฮ่วย )

3. เจ้าห่มฟ้า( เจ้าฟ้า แสนหวีเหนือ )

4. เจ้าหนุ่ม( เจ้าฟ้า ลายค่า )

5. เจ้าจ่ามทุน( เจ้าฟ้า เมืองป๋อน )

6. เจ้าทุนเอ( เจ้าฟ้า ส่าเมืองคำ )

7. อูผิ่ว( ตัวแทนจากเมือง สี่แส่ง )

8. ขุนพง( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

9. ติ่นเอ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

10. เกี่ยปุ๊( ตัวแทนนักศึกษากลุ่ม เพื่อเอกราชรัฐฉาน )

11. เจ้าเหยียบฟ้า(  ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

12. ทุนมิ้น ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

13. ขุนจอ ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

14. ขุนที ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน


ฝ่ายชิน

1. ลัวะมง(ตัวแทนจากเมือง กะลาน )

2. อ่องจ่าคบ(ตัวแทนจากเมือง ต๊ะเต่ง )

3. กี่โหย่มาน(ตัวแทนจากเมือง ฮาคา )




12 เดือนในภาษาอังกฤษ & ตัวย่อ





เดือนในภาษาอังกฤษ & ตัวย่อ


เดือนในภาษาอังกฤษ ทั้ง 12 เดือน มีทั้งตัวย่อของเดือน ทั้งของภาษาไทย และ

ภาษาอังกฤษถือเป็นเกร็ดความรู้ ตัวย่อต่างๆไทย & อังกฤษ เล็กๆน้อยๆ มานำเสนอ

กันครับ




เดือนในภาษาอังกฤษ & ตัวย่อ ( ไทย & อังกฤษ )


1.เดือน มกราคม (ม.ค.) = January (Jan.)


2.เดือน กุมภาพันธ์  (ก.พ.) = February (Feb.)


3.เดือน มีนาคม  (มี.ค.) = March (Mar.)


4.เดือน เมษายน  (เม.ย.) = April (Apr.)


5.เดือน พฤษภาคม  (พ.ค.) = May (May)


6.เดือน มิถุนายน  (มิ.ย.) = June (Jun.)


7.เดือน กรกฎาคม  (ก.ค.) = July (Jul.)


8.เดือน สิงหาคม  (ส.ค.) = August (Aug.)


9.เดือน กันยายน  (ก.ย.) = September (Sep. or Sept)


10.เดือน ตุลาคม  (ต.ค.) = October (Oct.)


11.เดือน พฤศจิกายน  (พ.ย.) =  November (Nov.)


12.เดือน ธันวาคม  (ธ.ค.) = December (Dec.)


>>> ภาษาน่ารู้

12 เดือนในภาษาอังกฤษ & ตัวย่อ




Veto (วีโต้) คืออะไร





Veto คืออะไร


        วีโต้ คือ พี่วีได้ออกมาโต้ข่าว เอ้ยไม่ใฃ่ละ Veto คือการยับยั้ง อำนาจในการยับยั้ง

การใช้อำนาจยับยั้งมีอำนาจในการโต้แย้งยับยังมติต่างๆ เป็นอำนาจที่มีความสำคัญมาก

เรียกว่าสิทธิในการ Veto วีโต้ ซึ่งเป็นอำนาจสิทธิขาดที่จะเสนอและยับยั้งเหตุการใดๆ

ก็ได้ ของประเทศหรือองกรณ์นั้นๆ



Veto (วีโต้) คืออะไร




เช่น ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมาชิกภาวร 5 ชาติ อันได้แก่


จีน = ผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นฝ่ายพันธมิตรที่สำคัญของอเมริกาในภาคพื้น

เอเชีย (สมัยที่อเมริกาต้องการจีนแผ่นดินใหญ่มาคานอำนาจรัสเซีย แต่ตอนนี้จีนกับ

รัสเซียก็จับมือกันแทนที่เมกาไปแล้ว) *ซะอย่างงั้น


สหรัฐอเมริกา = มหาอำนาจของโลกและในสงครามโลกครั้งที่ 2


อังกฤษ (สหราชอาณาจักร) = พันธมิตรที่ใกล้ชิดและคอยยันทัพของเยอรมันนาซี

ไม่ให้ครองยุโรปได้สำเร็จเพราะเหลือแต่แค่อังกฟษกับรัสเซียเท่านั้นที่เยอรมันไม่

สามารถเจาะไข่แดงในยุโรปได้


ฝรั่งเศส = ประเทศที่มีองกรณ์ลับให้การสนับสนุนในการทำสงครามและคอยจัดการ

กับกองทัพนาซีแม้จะโดนยึดครองโดยนาซีแต่กองกำลังใต้ดินของพวกเขาก็ยังสำคัญ

และเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับอเมริกาอีกด้วย


รัสเซีย = เมื่อเยอรมันคิดแผนพลาดโดยเปิดแนวรบกับรัสเซีย ทำให้ต้องรับศึกหลาย

หน้าเป็นเหตุให้ยากลำบากในการทำสงครามเพิ่มขึ้นเพราะรัสเซียสามารถยันทัพนาซี

และกดดันกลับไปจนถึงสามารถเข้าตีกรุงเบอร์ลิน นับว่าเป็นตัวจักรสำคัญอีกอย่างนึง

ในสงครามโลก




มีการกล่าวกันว่าที่ อเมริกาผลักดันจีนให้เข้าไปมีส่วนในคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง

สหประชาชาติ UNSC เพราะเข้ามาสมัยสงครามเย็นเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในคณะ

มนตรีความมั่นคงเพราะในขณะนั้น รัสเซียกับสหรัฐ ไม่ค่อยลงรอยกันเลยเอาจีนที่เป็น

คอมฯ คนละสายกันเข้ามาแบ่ง อำนาจไว้ ซึ่งแต่ก่อนสิทธินี้เป็นของรัฐบาลจีนไต้หวัน

แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและอำนาจอะไรก็แล้วแต่ UN ยึดสิทธิสมาชิกของจีนไต้หวัน

ไปให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนที่แผ่นดินใหญ่แทนทุกประเทศล้วนเป็นมหาอำนาจทั้งนั้นใน

การสงครามโลกครั้งที่ 2 เก้าอี้ทั้ง 5 ตัวนี้ ที่มีสิทธิ วีโต้  มติต่างๆของชาติสมาชิกที่เหลือ

นั้นซึ่งเป็นสมาชิกที่ประเทศอื่นๆล้วนผลัดเปลี่ยนกันมาในแต่ละครั้งแทน เอาง่ายๆคือ

สิทธิในการวีโต้หรือการมีมติคว้ำบาตรใน 5 ประเทศนี้ไม่ยอมก็จบทำไม่ได้คือ ถ้าสมาชิก

อื่นๆเห็นว่าควรคว้ำบาตรประเทศ ... แต่ สมาชิกในกลุ่ม สมาชิกถาวร ไม่เห็นด้วยก็เป็นอัน

จบทำไม่ได้ ฉะนั้นสิทธิในการ วีโต้ Veto นั้นเป็นอำนาจที่สามารถยับยั้ง มติ ของเสียง

ส่วนใหญ่ได้โดยสิ้นเชิง  เอาไว้ประดับความรู้รอบตัวนิดๆหน่อยครับ


คำ "Veto" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน แปลว่า "ข้าสั่งห้าม"   มีความหมาย

ตรงๆตามตัวอักษรว่า "ห้าม" หรือ "ขัดขวาง"




เสียดินแดนครั้งที่ 13 หัวเมืองมลายู





รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรี


   ในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ 80,000 ตร.กม. ในปี 2451 เป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่างสยาม

กับอังกฤษ การเสียดินแดนครั้งนี้ค่อนข้างจะดูเบากว่าครั้งอื่นๆเนื่องด้วยความที่เอาไป

แลกกับผลประโยชน์ของสยามมากกว่าการบังคับขู่เข็ญจากทางฝรั่งเศส 


ดินแดนนี้แลกกับอำนาจศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษ หรือคนใน

ปกครองของอังกฤษสามารถดำเนินคดีโดยศาลไทยได้โดยไม่ต้องผ่านกงศุลอังกฤษซึ่ง

จะทำให้คนไทยเสียเปรียบในเวลาเกิดเรื่องคดีความฟ้องร้องกันขึ้นและทางไทยหรือ

สยามในขณะนั้นตัดสินใจยก 


รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรี เพราะเหตุใด


1. เพื่อขอกู้เงิน มาสร้างทางรถไฟสายใต้จากเพชรบุรีลงไปจนถึงชายแดนมลายู เพื่อ

ติดต่อกับดินแดนปลายแหลมมลายูทั้งหมด


2. เป็นการปลดหนี้สินที่ทางสยามมีอยู่กับจักรวรรดิอังกฤษนั้นทางหัวเมืองมลายูเหล่านั้น

จะเป็นคนชดใช้เอง


3. เพื่อแลกกับอำนาจศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในดินแดนไทย

หลังจากเสียเปรียบในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่เคนทำไว้กับอังกฤษ


4.ซักวันนึงดินแดนเหล่านั้นอังกฤษก็ต้องหาทางเอาไปไม่ทางใดก็ทางนึงแทนที่จะให้

เขาเอาไปแบบเสียเปล่าก็ชิงยกมาเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับทางอังกฤษเสียเลย


5.ดินแดนเหล่านั้นมักเกิดกบฎขึ้นอยู่บ่อยๆแถมยังไกลยากต่อการที่ทัพใหญ่จากทาง

กรุงเทพจะไปปราบปรามได้สะดวก

สนธิสัญญาเบาว์ริง 

ซึ่งดูแล้วเป็นการตัดปัญหาในดินแดนเหล่านั้นไปโดยปริยายเมื่อส่งมอบให้อังกฤษแถม

ยังได้ประโยชน์กลับมาให้ประเทศชาติอาจจะดูเสียหน้าที่ต้องเสียแผ่นดินไปบ้างแต่ถ้า

เทียบกับประโยชน์ที่ชาติจะได้รวมถึงแก้ปัญหาในพื้นที่และเป็นการป้องกันที่จะเสีย

ดินแดนเหล่านั้นไปแบบฟรีๆที่ไม่ได้อะไรเลยถือว่าการเสียดินแดนครั้งนี้มีประโยชน์กับ

ทางสยามไม่ทางใดก็ทางนึงอยู่พอสมควร แถมยังได้ยกเลิกอนุสัญญาลับปี พ.ศ.2440

ที่ไทยเสียเปรียบต่ออังกฤษมานานซึ่งข้อแลกเปลี่ยนนี้นำเสนอโดย นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล

ที่ปรึกษาราชาแผ่นดินชาวอเมริกันซึ่งทำให้ไทยได้เงินกู้จากอังกฤษจำนวน 4-5 ล้านปอนด์

โดยที่จ่ายดอกเบี้ยต่ำระยะชดใช้ประมาณ 40 ปี  การลงนามในสัญญาสำเร็จขึ้นในวันที่ 10

มีนาคม 2451 เป็นการเสียดินแดนครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 5





เสียดินแดนครั้งที่ 12 มณฑลบูรพา





เสียดินแดนพระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ


     พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ 51,000 ตร.กม.

เพื่อแลกกับดินแดนไทยที่ ฝรั่งเศสยึดไป อย่างตราด เกาะกง และด่านซ้ายและอำนาจ

ศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับของฝรั่งเศสในประเทศไทย


     สาเหตุ : หลังจากที่ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดจันทบุรีและทางสยามต้องทำสนธิสัญญา

เพื่อแลกเปลี่ยนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงไปให้แก่ฝรั่งเศสนอกจากจะเสียดินแดนฝั่งขวา

แม่น้ำโขงแล้วเหมือนกับว่าหมาป่าจอมตระกะอย่างฝรั่งเศสนั้นยังไม่ยอมหยุดเล่นแง่กับ

ทางสยามอีกครั้งหลังจากที่ทำสนธิสัญญากันใน ร.ศ. 122 แล้วทางฝรั่งเศสก็ถอนตัวออก

จากจันทบุรีหลังจากที่ตัวเองยึดครองมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี แต่ได้เข้าไปทำการยึด

เมืองตราด และเกาะต่างๆ รวมถึงเกาะกง(เมืองประจันตคีรีเขตต์) เกาะกูดแทน โถๆๆๆ

อนิจจา น่าสงสารคนสยาม โดยอ้างว่าเพื่อเป็นหลักประกันว่าสยามจะปฏิบัติตามอนุ

สัญญาใหม่โดยเคร่งครัด(จะกลัวอะไรกับสยามเห็นขู่เอาๆ )

มอบตราดให้ฝรั่งเศส

ซึ่งเป็นแค่ความต้องการมักมากในมณฑลบูรพาที่ฝรั่งเศสอยากได้เสียมากกว่า เช่นเดียวกับ

จันทบุรี ตราดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญทางทะเลที่เอาไว้รับศึกและสังเกตุการณ์กำลังข้าศึก

ทางฝั่งเขมรเป็นเมืองท่าสำคัญของทางฝั่งไทย มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มากมายและที่

สำคัญประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทย ดังนั้นจึงจะยอมเสียไปไม่ได้เด็ดขาดพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเจรจาเพื่อฝรั่งเศสคืนตราด และเกาะต่างๆที่ฝรั่งเศสยึด

ไปให้แก่ทางสยามโดยหลักคือ เมืองตราด เมืองด่านซ้ายแหลมสิงห์ยาวไปถึง เกาะกง

(เมืองประจันตคีรีเขตต์)และขอยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตคนของฝรั่งเศสและคน

บังคับของฝรั่งเศสกล่าวคือ ยอมให้ไทยมีสิทธิชำระคดีความต่างๆ ที่ชาวฝรั่งเศสหรือคน

ในบังคับฝรั่งเศสเป็นโจทย์หรือจำเลยจะต้องมาขึ้นรับการพิจารณาคดีกับทางศาลไทย

 (ซึ่งเมื่อก่อนไม่ได้เป็นแบบนี้ส่งผลให้ไทยเสียเปรียบมากเวลามีเรื่องกับคนฝรั่งเศส)แต่

ศาลกงสุลของฝรั่งเศสก็ยังคงมีอำนาจที่จะเรียกคดีจากศาลไทยไปพิจารณาใหม่ได้

ทางฝรั่งเศสจึงสบโอกาศที่ตัวเองต้องการยื่นข้อเสนอเอา


มณฑลบูรพาซึ่งเป็นเขมรส่วนในคือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ  เป็น

เงื่อนไขแลกเปลี่ยนซึ่งในที่สุดทั้งไทย (สยามในขณะนั้น) และทางฝรั่งเศสเห็นชอบด้วย

ตรงกัน และได้มีการลงนามทำสนธิสัญญาร่วมกันในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 ฝรั่งเศส

ได้ถอนทหารออกจากเมืองตราดและที่ต่างๆที่ยึดไว้แต่.................(เอาอีกละ อะไรอีกละ)

ไม่ยอมถอนทหารออกจากเมืองประจันตคีรีเขตต์ หรือเกาะกงนั่นเอง คือไม่ยอมคืนให้

ไทยทำให้ปัจจุบันเกาะกง หรือปัจจันตคิรีเขตต์ กลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของกัมพูชาไป

มีคนกัมพูชาเชื้อสายไทยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งการเสียดินแดนเขมรส่วนในนี้เพื่อแลก

กับตราดนั้นเป็นการเสียหลังจากเสียเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศสไปในวันที่ 15 กรกฎาคม

2410 ห่างกันเกือบ 39 ปี




เสียดินแดนครั้งที่ 11 ฝั่งขวาแม่น้ำโขง





ฝั่งขวาแม่น้ำโขง


       เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง  : ในช่วงรัชกาลที่ 5 พื้นที่รวม  25,500 ตร.กม.

เสียให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อเอาไปแลกเอาจันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส


   สาเหตุ : หลังจากวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบมาปิดอ่าวไทยและแม่น้ำ

เจ้าพระยาโดยการวางแผนของนายโอกุสต์ ปาวี ซึ่งอ้างสิทธิเหนือดินแดนลาวฝั่งซ้าย

แม่น้ำโขงทำให้สยามต้องเสียดินแดนส่วนนั้นพร้อมกับจ่ายค่าเสียหายให้แก่ฝรั่งเศส

เป็นเงินจำนวนมากอีกด้วย

นายโอกุสต์  ปาวี

    ซึ่งมาในรอบนี้เป็นการเสียแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 2 จุดห่างกันแต่เสียพร้อมกัน

ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ.122 (พ.ศ.2446) ซึ่งการเสียดินแดนครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก

วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสเล่นแง่กับสยามโดยหลังจากที่สยามยอมทำสนธิสัญญา

ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสไปแล้วนั้น ทางฝรั่งเศสยังไม่ยอมลดละที่

จะหาเรื่องไทย หรือสยามในขณะนั้นด้วยการไปยึดเอาเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน เพื่อ

ให้สยามยอมทำตามได้ปฏิบัติตามสัญญาแต่เมื่อสยามทำตามสัญญาครบถ้วนแล้ว

ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารออกไปฝรั่งเศสทำการยึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 10 ปี

สาเหตุหลักใหญ่ใจความเลยคือ ดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงนั้นแหละที่ฝรั่งเศส

ยังไม่ได้ไปหลังจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112  ทำให้ฝรั่งเศสเล่นแง่กับทางสยาม เพราะใน

พื้นที่นั้นมีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารอยู่พอสมควรและที่สำคัญเลยคือ

บ่อเกลือที่มีอยู่มากมาย ฝรั่งเศสเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนเหล่านั้นและจะเป็น

การจัดระเบียบพื้นที่ผลประโยชน์ของตัวเองได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเลยต้องการอยากจะ

ได้ไปจากสยามหรือไทยซึ่งดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสได้ไปนั้น

อยู่ในเขตที่ติดกับภาคเหนือของไทยตรงข้ามกับหลวงพระบาง ปัจจุบันคือแขวง

ไชยบุรีของลาวกับที่อยู่ตรงภาคอีสานตรงข้ามกับจำปาศักดิ์ของลาว (ปัจจุบีนมีพื้นที่

อยู่ในแขวงจำปาศักดิ์) ซึ่งมีพื้นที่ติดเขมรคือจังหวัดสตึงแตรงอยู่ทางตอนเหนือสุด

ของเขมรและจังหวัดพระวิหารด้วยเหตุที่สยามยอมแลกเพราะจันทบุรีเป็นเมืองสำคัญ

เมืองใหญ่และเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางทะเลที่ไม่ควรจะต้องตกเป็นของศัตรู รวม

ถึงง่ายต่อการจัดระเบียบการปกครองในมณฑลพายัพอีกด้วยทำให้เขตแดนทางทะเล

เพิ่มขึ้นและอีกเหตุผลสำคัญคือในจันทบุรีคนส่วนใหญ่เป็นไทย ซึ่งสำคัญต่อประเทศ

มากกว่าเลยต้องยอมแลก โดยมีการทำสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 (พ.ศ.2446)

ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเรื่องการกำหนดเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดน

ในปกครองของฝรั่งเศส การลงนามฝั่งไทยคือ พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)

พระยาสุริยานุวัตร (เกิดบุนนาค)


และทางฝรั่งเศสคือ  เธโอพีล เดลกาสเซ (Theophile Delcasse) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

การต่างประเทศของทางฝรั่งเศสการเจรจามีขึ้น ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 (พ.ศ.2446)  และมีการลงนามในวันที่ 13 กุมภาพันธ์

ร.ศ. 122 (พ.ศ.2446)




ไฮแจ็ค Hijack คือ





ไฮแจ็ค Hijack 


ไฮแจ็ค Hijack คือ การจี้ปล้น บีบบังคับ, ปล้นกลางทาง ใช้กำลังเข้ายึด (โดยเฉพาะ

ยานพาหนะ)และยังสามารถหมายถึงการจี้เครื่องบิน หรือ aircraft hijacking, skyjacking

หรือจะเรียกว่า ไฮแจ็คเฉยๆก็เป็นที่รู้กัน และยังใช้เกี่ยวกับการปล้น บีบบังคับกลางทาง

อย่าง เรือ, รถไฟ ได้อีกด้วยไม่มีไรมากครับ เอาไว้เป็นความรู้รอบตัว ละกันครับเผื่อใคร

ยังไม่รู้ ในเรื่องภาษา

ไฮแจ็ค Hijack

     ส่วนใหญ่การไฮแจ็คนี้ในปัจจุบันมักทำโดยสลัดอากาศ เพื่อต้องการอะไรบางอย่าง

หรือ ผู้ก่อการร้ายที่ต้องการจะต่อรองกับรัฐบาลหรือไม่อย่างนั้นก็คือการไฮแจ็คเครื่องบิน

ไปชนตึก ทำลายเป้าหมายในเขตเมืองให้ได้รับความเสียหายมากที่สุดอย่างเหตุการณ์ 911

(ไนน์วันวัน) ที่ชนตึกแฝด เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์นั่นเองหรือในตอนนี้ (เดือนมีนาคม 2014)

ที่ทางการมาเลย์ออกมาให้ข่าวยอมรับแล้วว่าเครื่องบิน MH370 ของตนถูกไฮแจ็คจาก

ทะเลจีนใต้วกข้ามกลับไปยังแถบ มหาสมุทรอินเดียว (ประเด็นนี้จบไป)


        หรือบางครั้งการไฮแจ็คเพื่อลักพาตัวบุคคลสำคัญทางการเมืองทางเทคโนโลยี

ทางทหาร หรือเพื่อต่อรองเอาอะไรสักอย่างของผู้ไม่หวังดีส่วนมากการไฮแจ็คเครื่องบิน

มักจะเกิดการสูญเสียซะเป็นส่วนใหญ่ อาจเกิดจากนักบิน หรือลูกเรือ ที่อาจเป็นคนรู้เห็น

กับสลัดอากาศหรือกระทำการบางอย่างให้นักบินต้องทำตามหรือกำจัดลูกเรือและนักบิน

ซึ่งไม่ง่ายมักต้องรู้ข้อมูลการบิน ข้อมูลเครื่องลำนั้นแหละรู้รหัสลับที่นักบินจะรู้กันกับลูกเรือ

ในแต่ละเครื่อง และยังพอมีเวลาให้แจ้งกลับไปยังศูนย์ภาคพื้นดินว่าเกิดเหตุการณ์ ฉะนั้น

การจี้เครื่องบินถือว่ายากมาก ใครที่ทำได้มักจะต้องได้รับการช่วยเหลือทางใดทางนึง

หรือต้องเตรียมตัวศึกษาข้อมูลต่างๆมาอย่างดีเพราะเครื่องบินในปัจจุบันนั้น มีระบบติดตาม

ส่งสัญญาณมากมายทั้งในตัวเครื่องบินอุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ภาคพื้นดิน ดาวเทียม รวมถึง

ตัวเครื่องยนต์ก็มีการส่งข้อมูลกลับไปยัง ผู้ผลิตทุกครั้งถ้าเครื่องบินหายไปจากจอเรดาห์หรือ

ออกนอกเส้นทางก็จะตามสืบได้จากอุปกรณ์ที่ทันสมัยเหล่านี้




เสียดินแดนครั้งที่ 10 ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง





อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว


เป็นการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 พื้นที่รวมทั้งสิ้น

ประมาณ 143,000 ตร.กม. ให้แก่ฝรั่งเศสในวันที่  3 ตุลาคม 2436



 ผู้มีบทบาทสำคัญในวิกฤตการณ์ครั้งนี้คือนายโอกุสต์ ปาวี รองกงสุลฝรั่งเศสประจำ

นครกรุงเทพ ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่มีบทบาทในตอนที่ไทยเสีย สิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส

นายปาวีเป็นนักการทูตฝรั่งเศสที่มีอุดมการณ์ที่จะแสวงหาอาณานิคมให้กับประเทศของ

ตนอย่างแรงกล้าโดยเฉพาะในแถบอินโดจีน และแน่นอนในลาวก็เป็นสิ่งที่นายปาวี

ปรารถนาลึกๆแล้วฝรั่งเศสต้องการดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง หรือ ลาวอยู่แล้วตั้งแต่

ได้สิบสองจุไทไป เลยอ้างสิทธิ (อ้างสิทธิตามเคย) ว่าดินแดนลาว ลานช้างนั้นเคยเป็น

ของญวนมาก่อนเมื่อญวนตกเป็นของฝรั่งเศสดินแดนต่างๆที่เคยเป็นของญวนก็ต้องตก

เป็นของฝรั่งเศสด้วยทางสยามนั้นไม่ยอมทำตามเลยเกิดการต่อสู้กัน ฝรั่งเศสนำเรือรบ

จากพนมเปญเข้ามาทางอ่าวไทยเพื่อปิดแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อที่จะเข้ามายังพระนคร

เรือรบฝรั่งเศส 3 ลำถูกโจมตีโดยป้อมปืนของสยามและเรือปืน 5 ลำจอดทอดสมอ

อยู่ด้านหลังแนวสิ่งกีดขวาง 


ประกอบไปด้วย เรือมกุฎราชกุมาร, เรือทูลกระหม่อม, เรือหาญหักศัตรู, เรือนฤเบนทร์บุตรี

 และ  เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ทางไทยไม่สามารถยอมได้ จึงมีการปะทะต่อสู้กัน เรือของ

ทางฝรั่งเศสหลุดเข้ามาได้ 2 ลำ เข้ามาปิดแม่น้ำเจ้าพระยาเขาได้ทำการปิดล้อมและ

หันกระบอกปืนมาทางพระบรมมหาราชวังเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่าวิกฤติการณ์ปากน้ำ

( Paknam Incident ) 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 หรือวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ในขณะนั้น

นายโอกุสต์ ปาวี รองกงสุลฝรั่งเศสประจำนครกรุงเทพฯ  ได้ทำการยื่นคำขาดมาแก่

ทางสยามจำต้องยอมยกดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และต้องจ่าย

เงินค่าเสียหายให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่  3 ตุลาคม 2436  ทั้งสิ้น 3 ล้านฟรังก์ รัชกาลที่ 5

จำต้องเอาเงินถุงแดง (พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ได้จากการค้าสำเภาที่เป็นมรดก

จากรัชกาลที่ 3) และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในรัชกาลที่ 5 มาชำระให้แก่ฝรั่งเศส

ซึ่งใน 3 ล้านฟรังก์นั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 2 ล้านฟรังก์แรกเป็นค่าเสียหายจากการรบ

อีก 1 ล้านฟรังก์ เป็นค่าทำขวัญครอบครัวทหารผู้เสียชีวิตของทหารฝรั่งเศส ซึ่งแบ่ง

เป็นจ่ายเป็นเงินเหรียญ  2.5 ล้านฟรังก์ และอีก 5 แสนฟรังก์จ่ายเป็นเช็คส่งไปที่ไซ่ง่อน


The French Wolf And Siamese Lamb เป็นการ์ตูนล้อเลียน ว่าหมาป่าผู้ยิ่งใหญ่อย่างฝรั่งเศส

กำลังข่มเหงรังแกแกะน้อยอย่างสยามในดินแดนที่เป็นของแกะน้อยมาก่อนหมาป่าอย่าง

ฝรั่งเศส



           เรือลูแตง (Lutin )หนึ่งในเรือที่เข้ามาปิดแม่น้ำเจ้าพระยาและหันปากกระบอกปืนมาที่

พระบรมมหาราชวัง



เสียดินแดนครั้งที่ 9 ฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน





ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน 


  (5 เมืองเงี้ยว และ13 เมืองกะเหรี่ยง)เสียให้แก่อังกฤษ ในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ 30,000

ตร.กม. ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435


     สาเหตุ : ปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐฉานและรัฐกะยาในสหภาพพม่า

ดินแดนแถบนี้เต็มไปด้วยชนกลุ่มน้อยอยู่เป็นจำนวนมากทั้งไทใหญ่และกะเหรี่ยงเป็น

ดินแดนที่ค่อนข้างเข้าถึงยากเกินกว่าที่อำนาจของล้านนาจะเข้าไปถึงและยังเป็นพื้นที่

ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ทำให้อังกฤษสนใจพื้นที่แถบนี้เป็นอย่างมาก เพราะเหตุนี้หลัง

จากอังกฤษสามารถยึดครองพม่าได้เสร็จสรรพแล้วอีกทั้งมีสถานีการค้าอยู่ที่อินเดีย

อีกซึ่งเป็นเขตที่ติดต่อกันได้ง่ายระหว่างพม่าและอินเดียสมประโยชน์ในด้านทรัพยากร

ของอังกฤษ  เป็นอย่างยิ่งอังกฤษเลยใช้วิธีการอ้างศิทธิว่าพื้นที่ในดินแดนฝั่งซ้าย

แม่น้ำสาละวินนี้เคยเป็นของพม่ามาก่อนเพราะฉะนั้นจึงต้องตกเป็นของอังกฤษ

ฝ่ายไทยหรือสยามในขณะนั้นก็อ้างสิทธิโดยชอบว่าดินแดนแถบนั้นอยู่ภายใต้การ

ครอบครองของอาณาจักรล้านนนามาเป็นเวลานับร้อยปีมาแล้ว ทางฝั่งพม่าก็ยอมรับ

เรื่องนี้มานานและได้ใช้แม่น้ำสาละวินเป็นเส้นกั้นเพื่อแบ่งเขตแดน อังกฤษถึงจะรู้

ดังนั้นแต่ด้วยความที่ป่าแถบนั้นอุดมสมบูรณ์มีผลประโยชน์ให้เก็บเกี่ยวก็ไม่สนใจ

และอ้างว่าไม่ยอมรับเพราะไม่มี การทำเขตแดนเป็นลายลักษณ์อักษร  

 
        และประชากรในแถบนั้นยังเป็นคนท้องถิ่นที่อยู่ในเขตพม่าไม่ใช่คนของสยาม

ที่อยู่ที่นั่น  อังกฤษในฐานะผู้อยู่เหนือพม่าและดินแดนชายขอบของล้านนาที่ยังไม่

เด่นชัดจึงอ้างสิทธิเข้ายึดครองโดยไม่สนใจฝั่งสยามเพราะทหารสยามในขณะนั้น

ไม่มีกำลังรบที่จะต่อกรกับแสนยานุภาพของจักวรรดิอังกฤษได้เลย


      จำต้องยอมให้อังกฤษมีอำนาจและปกครองดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน

แถบนั้นไปทั้งหมด สยามก็เป็นฝ่ายยอมยุติยกหัวเมืองเงี้ยวและกะเหรี่ยงให้อังกฤษไป




การปราบฮ่อ การเสียสิบสองจุไท (หัวพันห้าทั้งหก)





เสียดินแดนครั้งที่ 8 สิบสองจุไท


   การปราบฮ่อ และการเสีย สิบสองจุไท (หัวพันห้าทั้งหก) : พื้นที่ประมาณ

87,000 ตร.กม.เสียให้แก่ฝรั่งเศส ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว


     สาเหตุ : สิบสองจุไท ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเวียดนามมีเมืองเอกคือเมือง

แถนหรือแถงซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนาม เมืองเดียนเบียนฟู (เดียนเบียนฟูสมัยปกครอง

โดยอาณาจักรหอคำเชียงรุ่งมีชื่อเรียกว่า แถน) เป็นเมืองของชาวไทดำ ไทขาว

ชาวไททรงดำ (เป็นกลุ่มชาวไทกลุ่มหนึ่ง ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสองจุไทเดิม )

     ดินแดนเหล่านี้เป็นของสยามมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นต้นมา

จนมาถึงในสมัยของรัชกกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มต่อต้านราชวงศ์แมนจู

ของจีนโดยเรียกกลุ่มตัวเองว่า กบฏไท้ผิง ที่รบกันในดินแดนจีนได้พ่ายแพ้มาจากใน

ช่วงปี พ.ศ. 2405 บางส่วนหลบอยู่ตามขอบและซ่อนอยู่ใน มณฑลต่างๆของจีน

และบางส่วนอพยพลงมาแถวๆตะเข็บรอยต่อของจีนและประเทศลาวรวมถึงเวียดนาม

ทางตอนเหนือ ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในดินแดนสิบสองจุไท พ.ศ. 2408 พวกจีนฮ่อที่

อพยพมาได้ทำการปล้นตีทำการปล้นบ้านเมืองในเขตสิบสองจุไทและเมืองพวน

ซึ่งตอนนั้นเป็นของสยามซึ่งปัจจุบันเป็นตำแหน่งของแขวงเชียงขวาง


การปราบฮ่อครั้งที่ 1 พ.ศ. 2418 ผลการปราบปราม  พวกฮ่อล่าถอยไป


ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2426  ฮ่อได้นำกำลังเข้ายึดเมืองหัวพันห้าทั้งหก (ประกอบด้วย


เมืองสบแอด เชียงค้อ  เมืองซำเหนือ  เมืองโสย  เมืองซำใต้ เรียกกันว่าเมืองหัวพัน

ห้าทั้งหก )ซึ่งเป็นดินแดนทางใต้ของ สิบสองจุไท การครั้งนี้ไม่สามารถทำได้สำเร็จ

ต้องยกทัพกลับเพราะขาดเสบียงอาหารเนื่องจากสู้รบกันยาวนานและทำให้กำลังของ

ไทยอ่อนลงและแม่ทัพคือพระยาราชวรากูลถูกฮ่อยิงบาดเจ็บ


ครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2428 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสั่งกองทัพใหญ่ไปปราบฮ่ออีกครั้ง โดย

ใช้กำลังทหารจากกรุงเทพ ฯ เพื่อจะยึดคืนเอาเมืองพวนและ เมืองหัวพันห้าทั้งหกมี

นายพันเอกเจ้าหมื่นไวยวรนาถหรือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี  (เจิม แสง-ชูโต) เป็น

แม่ทัพยกไปปราบฮ่อในแคว้นหัวพันห้าทั้งหกซึ่งยกกำลังไปจากกรุงเทพ พร้อมอาวุธ

ที่ทันสมัยในขณะนั้นจนสามารถ ปราบฮ่อได้สำเร็จ  เมื่อปราบฮ่อในแคว้นนี้ได้แล้ว

จึงได้ยกกำลังไปปราบฮ่อในแคว้น สิบสองจุไท รุกไล่ต่อ จนสามารถปราบฮ่อได้ในปี

 พ.ศ.2430แต่ได้มีกองทัพของฝรั่งเศสเข้ายึดครอง สิบสองจุไทและ เมืองหัวพันห้า

ทั้งหก โดยอ้างว่าดินแดนเหล่านั้นเคยเป็นของญวนมาก่อนตอนนี้ฝรั่งเศสได้ปกครอง

ญวนแล้วจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสต่อไปด้วยเมื่อทางสยามได้เข้ามายังสิบสองจุไท

ฝรั่งเศสได้ถือว่าสยามรุกล้ำอาณาเขตในปกครองของฝรั่งเศสและเพื่อมาปราบฮ่อ

ที่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ด้วย(ทั้งๆที่ฝรั่งเศสไม่ได้ทำอะไรเลยการปราบฮ่อทุกครั้ง

ฝรั่งเศสไม่เคยช่วยเลย  อยู่ดีๆมาอ้างเอาดื้อๆ) ฝรั่งเศสและสยามไม่ยอมกันจึงได้

ตั้งประจันหน้ากัน ทางสยามเห็นว่าจะไปรบกับฝรั่งเศสนั้นคงเป็นไปได้ยากหากเกิด

สงครามขึ้นจริงลำพังฝรั่งเศสเองนั้นก็สู้ด้วยยากอยู่แล้วหากฝรั่งเศสใช้คนพื้นเมือง

และกำลังสนับสนุนจากญวนซึ่งอยู่ใก้ลกว่าทางฝั่งสยามมาเป็นทัพหน้ารวมเข้าไปอีก

อาจจะเสียหายหนักกว่าเก่า (น่าจะเป็นเรื่องที่ถ้าเพลี้ยงพล้ำแก่ฝรั่งเศสขึ้นมาฝรั่งเศส

อาจจะเหลี่ยมจัดอ้างเอาดินแดนเพิ่มหรือให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการเกิดสงคราม)

ซึ่งคงหนักกว่าเก่ากับดินแดนที่ห่างไกลแบบนั้น โดยในเบื้องต้นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้

เลยเกิดการทำสัญญากันที่เมืองแถง(เบียนฟู) ในปี พ.ศ. 2431 ทางสยามเลยจะตั้งอยู่

ที่เมืองหัวพันห้าทั้งหกส่วนฝรั่งเศสตั้งกำลังไว้ที่สิบสองจุไทซึ่งถือว่าเป็นการยก

สิบสองจุไท ให้เป็นสิทธิของฝรั่งเศสไปโดยปริยายและต่อมาไทยก็เสียดินแดนเหล่า

นี้ทั้งสิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหกอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2436 เมื่อฝรั่งเศสได้เข้ายึด

ดินแดนลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

การปราบฮ่อ การเสียสิบสองจุไท (หัวพันห้าทั้งหก) ก็ตกเป็นของฝรั่งเศสไป




เสียดินแดนครั้งที่ 7 เขมรส่วนนอก





เขมรส่วนนอกและเกาะ 6 เกาะ


            ในรัชกาลที่ 4 พื้นที่มากถึง 124,000 ตร.กม. วันที่ 15 กรกฎาคม 2410

        สาเหตุ : เนื่องจากไทยกับญวนทำสงครามเพื่อแย่งชิงเขมรส่วนนอกกันมานาน

หลายปีสงครามครั้งนั้นเรียกว่า อานามสยามยุทธ สู้รบกันอยู่นานหลายสิบปีจนมีการ

สงบศึกกันโดยตกลงกันว่าจะให้เขมรเป็นประเทศราชของสยามต่อไปแต่ก็ต้องส่ง

บรรณาการไปให้ญวนเสมือนประเทศราชของญวนด้วย (แต่ไทยมีสิทธิในการสถา

ปนากษัตริย์เขมรดั่งเดิม)



ต่อมารัชกาลที่ 3 พรบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรง โปรดเกล้าฯ สถาปนา

กษัตริย์แห่งเขมรโดยให้ นักองด้วง ขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี

หรือสมเด็จพระหริรักษ์รามสุริยะมหาอิศวรอดิภาพ ในปี 2397 เขมรได้แอบส่งสารลับ

ไปยังฝรั่งเศส โดยขอให้ฝรั่งเศสนั้นช่วยกู้ดินแดนที่เสียไปให้ญวณ ให้กลับมาอยู่กับ

เขมรอีกครั้งและมาช่วยคุ้มครองเขมรให้พ้นจากทั้งอำนาจของสยามและญวน แต่

ไม่กี่ปีถัดมาสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็กพระจอม

เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯให้ นักองราชาวดี หรือสมเด็จพระนโรดมพรหม

บริรักษ์ ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมรองค์ต่อไป หลังจากที่โดนน้องชายอย่างพระสีวัตถาและ

ลุงคือ สนองสู จ้องและได้ทำการแย่งบัลลังค์แต่ด้วยความช่วยเหลือจากทางสยาม

จึงได้ครองราชย์สำเร็จในช่วงก่อนปี 2406 นั้นฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจในดินแดน

แถบอินโดจีนหรือ ญวนมากขึ้นและได้เข้ามาบีบบังคับโดยใช้กำลังทั้งทางกองเรือ

และทางการทูตให้สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ ยอมให้อำนาจแก่ฝรั่งเศสในการ

เข้ามาปกครองและให้เขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสและพระองค์ยังคงเป็น

กษัตริย์อยู่ และได้ทำสัญญากันในปี 2406ฝรั่งเศสเข้ามาเอาผลประโยชน์โดยเอา

เปรียบทางการค้ากับไทยและต้องการดินแดนเพื่อเข้าไปใกล้กับแม่น้ำโขงเพราะ

ต้องการจะล่องเรือเข้าไปยังจีนผ่านทางนั้นและเมื่อรู้ว่าไทยได้ทำสัญญาลับกับ

เขมรว่าดินแดนเขมรส่วนนอก

ยังเป็นของไทยไม่ใช่ของฝรั่งเศสทางฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดกับไทยให้ยกเลิกสัญญา

ฉบับนั้นและยอมสละดินแดนเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศสเสียฝรั่งเศสจึงได้ส่งกองเรือ

เข้ามาประชิดเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข่มขุ่ทางฝ่ายสยามหลายครั้งทางไทย

เห็นว่าไม่มีทางจะต่อสู้กับฝรั่งเศสได้ จึงต้องยอมไปในพ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) -

ไทยจำต้องยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส รับรองให้เขมรส่วนนอกด้าน

ติดกับโคชินไชนารวมเกาะอีก 6 เกาะเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศส

บังคับกษัตริย์นโรดมพรหมบริรักษ์แห่งเขมรให้ยอมยกดินแดนดังกล่าวไปอยู่ใต้การ

ปกครองของตนในปี พ.ศ. 2406




เสียดินแดนครั้งที่ 6 สิบสองปันนา





สิบสองปันนา


     สิบสองปันนา ประมาณ 90,000 ตร.กม. ช่วงรัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่ทางใต้สุดของ

มณฑลยูนนานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 1 พฤษภาคม 2393 เสียให้แก่พม่า


           สาเหตุ : เกิดการก่อกบฎแย่งราชสมบัติกันในเมืองเชียงรุ้งหลังจาก เจ้าหม่อม

มหาวัง เจ้าเมืองคนก่อนได้ตายไป เจ้ามหาขนานได้ขึ้นมาเป็นเจ้าเมืองแทนแต่เจ้า

สาระวันเขยของเจ้าเมืองคนเก่าไม่พอใจและได้จับ เจ้ามหาขนานฆ่าทิ้งเสียแล้วไปพึ่ง

ใบบุญจากฝั่งจีนให้มาหนุนกหลังอำนาจของตัวเอง ทางด้านหม่อมหน่อคำ ลูกชายของ

เจ้ามหาขนานที่โดยเจ้าสาระวันฆ่าไปก็ได้หนีไปพึ่งใบบุญฝั่งพม่า ทางพม่าได้ยินดังนั้น

เลยอาสาช่วยเหลือโดยส่งกำลังไปยึดเมืองเชียงรุ้งแล้วให้ หม่อมหน่อคำ ขึ้นไปเป็น

เจ้าหน่อคำ ครองเมืองต่อไปเจ้าสาระวันหรือเจ้าแสนหวีฟ้าก็เลยต้องหลบหนีเข้าไป

อยู่ในจีนแต่อนิจจาเจ้าหม่อมหน่อคำก็ถูกกบฎสังหาร คราวนี้เจ้าแสนหวีฟ้าเลยเข้าไป

คุยกับกษัตริย์พม่าเพื่อขอเข้าไปครองเชียงรุ้งอีกครั้งและสำเร็จ ทำให้เจ้าแสนหวีฟ้า

สามารถเป็นเจ้าเมืองเชียงรุ้ง แต่ก็ปกครองได้ไม่ดีขูดรีดไถประชาชน ทำให้ชาวบ้าน

ลุกฮือขับไล่จนต้องไปพึ่งพม่าและได้ส่งน้องชายที่เป็น อุปราชมาขอให้ไทยช่วย

รัชกาลที่ 3 เห็นว่าจะบุกไปตีเอาเชียงรุ้งคืนต้องตีเอาเชียงตุงซึ่งเป็นฐานที่พม่าจะใช้

มาให้ได้เสียก่อนจึงให้หัวเมืองล้านนาจัดกำลังพลเข้าตีแต่ด้วยความที่การเข้าตีไม่

สามัคคีพร้อมเพรียงกันทำให้ไม่สามารถตีเชียงตุงแตกได้ ทำให้ไม่สามารถเข้าไป

ตีเอา สิบสองปันนาคืนมาได้เลยตกเป็นของพม่าไป มาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ให้

กรมหลวงวงศาธิราชสนิท   ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จเนื่องจาก

หัวเมืองล้านนาไม่ให้ความร่วมมือเท่าไหรร่นักเลยต้องเสียสิบสองปันนาให้แก่พม่า

และต่อมาเลยเป็นดินแดนของจีนไปปัจจุบันดินแดนส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน

ไปแล้วอยู่ในเขตมณฑลของจีน ยูนนาน

 เสียดินแดนครั้งที่ 6 สิบสองปันนา







เสียดินแดนครั้งที่ 3 บันทายมาศ หรือพุทไธมาศ





บันทายมาศ


    เสียบันทายมาศ หรือพุทไธมาศ : ใน พ.ศ.2353 ให้ญวณกับฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 2

 ในสมัยรัชกาลที่ 2 หลังจากที่รัชกาลที่ 1 สวรรคตในปี พ.ศ. 2352 เจ้าผู้ครองญวน

พระเจ้าญาลอง (องเชียงสือ) หมดความเกรงกลัวต่อสยามเนื่องจากทางสยามนั้นกำลัง

ผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน

พระเจ้าญาลอง  (องเชียงสือ) GiaLong 


และสงครามกับพม่าที่เมืองถลาง จึงได้เข้ามายึดเอาไปแล้วขับไล่ข้าราชการสยาม

ออกตั้งขุนนางญวนมาว่าราชการแทนและได้มีการราชทูตญวนเข้ามาถวายราชสาส์น

และเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งทูลขอเมืองบันทายมาศคืน ซึ่งพระองค์ก็พระราช

ทานคืนให้พระองค์ทรงเห็นว่ามิสามารถต่อกรกับญวณในขณะนั้นได้จึงได้ยอมไป เพราะ

ญวนกลับมาจากเรื่องวุ่นวายภายในได้จึงอยากจะเข้ายึดครองเขมรอีกครั้งทาง

บันทายมาศเป็นเหมือนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ( คล้าย ตราดกับ จันทบุรีในตอนที่

ฝรั่งเศสยึดไป) ญวนจึงต้องการและขอยึดไว้ทางสยาม จะยกทัพไปปราบก็เกรงว่าศึกกับ

พม่า พระเจ้าปดุงยังไม่เรียบร้อยดีนักเพราะพม่าได้เข้ารุกไล่หัวเมืองทางใต้ชายฝั่งอันดามัน

อย่างตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ภูเก็ต จึงจำเป็นต้องยกกำลังไปรักษาตีคืนมาก่อนจึงได้ยอมยกให้


          จนมีเหตุในพ.ศ. 2376 รัชกาลที่ 3 ที่ญวนเข้ามาตีเขมร ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราช

ของสยามทำให้ ทรงตัดสินใจส่งกองทัพโดย โปรดเกล้าฯ ให้


       เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปรบกับญวน

 และชิงบันทายมาศคืนมาให้ได้ สงครามนั้นเรียกว่าสงคราม " อานามสยามยุทธ "

รบกันนานนับ 10 ปี จนต่างฝ่ายต่างอ่อนกำลังลง จนต้องทำสัญญาสงบศึกกัน ทางสยาม

ยังมีสิทธิบนดินแดนเขมรอยู่แต่ก็ไม่สามารถเอาบันทายมาศคืนมาได้ปัจจุบัน บันทายมาศ

เป็นส่วนนึงของจังหวัด กัมปอต ของกัมพูชา




อานามสยามยุทธ คือ





" อานามสยามยุทธ "


          อานามสยามยุทธ หรือ สงคราม สยาม - ญวน (ไทย - เวียดนาม) ซึ่งเกิดใน

รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ซึ่งเป็นศึกที่ต่อมาจากการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ในปี 2371 การสงครามสยาม - ญวน

กินเวลาอยู่ราว 14 ปีระหว่าง พ.ศ. 2376 - 2390  ซึ่งสงครามอานามสยามยุทธครั้งนี้

ก่อความเสียหายใหญ่หลวงอย่างหนักแก่ทั้ง 2 อาณาจักรเป็นอย่างมาก เป็นอีกหนึ่ง

สงครามที่ยาวนานและน่าติดตามรวมถึงมีการพูดถึงไม่มากในประวัติศาสตร์ไทย เพราะ

ส่วนใหญ่มักให้ความสนใจกับศึกที่มาจากฝั่งพม่าเพราะมีการศึกบ่อยครั้งและไทยเราโดน

กระทำมากกว่าด้านอื่น



  สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นจากที่ในช่วงนั้นญวนได้เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวหลังจากปราบปราม

สงครามกลางเมืองแย่งชิงอำนาจกันมาในยุคเดียวกับปลายอยุธยาและรัชกาลที่ 1 และ

ต้องการประกาศแสนยานุภาพรวมถึงเล็งเห็นประโยชน์ของดินแดนลาว และเขมรที่ในขณะ

นั้นเป็นประเทศราชส่งบรรณาการให้ทางสยามอยู่ทำให้ญวนต้องการอยากจะได้มาครอบ

ครองเป็นของตนไว้หรืออยากจะแบ่งชิ้นเค้กอันหอมหวานมาครอบครองเป็นของตนบ้าง

ซึ่งแต่เก่าก่อนเราจะเห็นว่าส่วนใหญ่เราจะรบกันแต่พม่าซะมากกว่า ซึ่งการรบกันของไทย

และเวียดนามหรือ สยามและญวนในสมัยนั้นเป็นการแย่งชิงพื้นที่อำนาจเหนือดินแดน

เขมรซึ่งมีพื้นที่เป็นทุ่งราบติดกับญวน มากกว่าจะเข้าไปทางลาวที่ติดเทิอกเขาสูงอย่าง

เทือกเขาอันนัมที่เป็นปราการธรรมชาติขวางตลอดแนวทิศตะวันตกของประเทศเวียดนาม

ต่อกับลาวอยู่ ในตอนนั้นอังกฤษแผ่อำนาจอิทธิพลรบกวนอยู่ทางแหลมมลายูแต่สยาม

เลือกที่จะไม่ประทะกับอังกฤษใช้วิธีผ่อนหนักผ่อนเบาเพราะคงเห็นแล้วว่ามาต่อรบกับ

ญวนคงสำคัญกว่าในทางตะวันออกเพราะมีดินแดนเขมรและอาจจะรวมถึงลาวด้วยเป็น

เดิมพันที่ใหญ่กว่าที่จะเสียไม่ได้อีกทั้งยังจะรวมเรื่องเสียบันทายมาศไปคราวก่อน อยู่ใน

วาระการยึดกลับคืนด้วย โดย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรด

เกล้าฯให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)เป็น แม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและ

หัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏและให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)

เป็นแม่ทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่

เมืองไซง่อน

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 


การรบทางบกกับทางน้ำนั้นไม่ประสานกันเนื่องจากทางฝ่ายไทยนั้นไม่ชำนาญภูมิศาสตร์

ทางน้ำเอาเสียเลยไม่ชำนาญภูมิประเทศ และเรือไทยมีสมรรถนะที่ด้อยกว่า เรือญวน

ทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถทำการได้ดั่งหวัง เพราะทั้งขนาดและประสิทธิภาพ เรือปืน

แต่ต่อมาได้มีการต่อเรือรบใหม่ ที่ทันสมัยและประสิทธิภาพไม่ต่างจากญวนทางบกก็

พลัดกันแพ้ชนะรุกคืบบถอยร่นกันคนละที 2 ทีค่อนข้างสูสีกันมาก แต่การรบครั้งที่ เจ็บตัว

ทั้ง 2 ฝั่งทั้งกำลังพล เสียอาหาร และความเหน็ดเหนื่อยเอือมระอาที่ต้องทำสงคราม

ยืดเยื้อยาวนานกว่า 14 ปีทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงปลงใจว่ายกเลิกการศึกครั้งนี้และมีการ

เจรจาสงบศึกอานามสยามยุทธใน พ.ศ. 2390 เพราะมีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและ

กำลังคน และอื่นๆอีกมากมายอีกทั้งญวนเองก็หวั่นกลัวผู้ล่าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศสที่

รุกรานรุกคืบเข้ามาไม่หยุดหย่อนจึงมีการตกลงกันให้เมืองเขมร  เป็นเมืองขึ้นทั้งไทยและ

ญวน ทำให้ไทยที่คาดว่าจะเอา บันทายมาศกลับคืนมาด้วยนั้นก็ต้องปล่อยเลยตามเลยไป

(อานามสยามยุทธ )



เสียดินแดนครั้งที่ 2 มะริด ทวาย ตะนาวศรี





มะริด ทวาย ตะนาวศรี


 เมืองท่าที่สำคัญไปในรัชกาลที่ 1 เป็นการเสียให้แก่พม่าคิดเป็นพื้นที่ ราวๆ 55,000

ตร.กม.  ใน พ.ศ.2336 


      มะริด ทวาย ตะนาวศรี เป็นดินแดนยุทธศาสตร์สำคัญทั้งด้านการทหารและ

ด้านการค้า เนื่องจากทางเจ้าเมืองทวายในยุคนั้นฝักใฝ่เข้ากับทางพม่ามากกว่าทาง

สยามต้องการอยู่ในอารักขาของทางพม่ามากกว่าพม่ายกพลกว่า 5 หมื่นนายเข้า

ปะทะกับทางสยาม ตอนพม่าจะเข้าตีทวายนั้นถึงเมืองทวายจะเป็นของสยาม


         แต่...ข้าราชการกรมการเมืองด้านในยังคงเป็นของพม่าอยู่ทำให้ จึงทำให้

มีไส้ศึกส่งข่าวและปั่นป่วน ทางสยามต้องเจอทั้งศึกภายในและศึกภายนอกทำให้

ประสบปัญหาอย่างหนักในการรักษาดินแดนแถบนั้น และไม่สามารถรักษาเมืองไม่ได้

ปีพ.ศ.2336 ทวายจึงถูกพม่าตีกลับคืนไปได้ในที่สุด ซึ่งเกิดเหตุการณ์ไส้ศึกแบบนี้

เช่นเดียวกัน ในเมืองมะริดทำให้ กรมพระราชวังบวรสถานมหาสุรสิงหนาทที่ตั้งรบ

อยู่ที่มะริด เกิดความลำบากเป็นอย่างมากเช่นเดียวกันเมื่อรู้ว่าทัพหลวงที่ทวายถอย

กลับไปอยู่ในเขตดินแดนสยามแล้ว จึงถอยทัพกลับเช่นกันไทยจึงเสียดินแดน มะริด 

ทวาย ตะนาวศรี ไปให้แก่พม่านับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


    ซึ่งเมื่อภายหลังอังกฤษยึดพม่าแล้วรวมพม่าเข้าไปเป็น มณฑลนึงของอินเดียทำให้

ทวายตกเป็นของอังกฤษและเมื่อพม่าได้เอกราช  มะริด ทวาย ตะนาวศรีก็ตกเป็นของ

พม่าจนถึงปัจจุบัน