การล่มสลายของอาณาจักรใหญ่ในอดีต 3




การล่มสลายของอาณาจักรใหญ่ในอดีต

  หน้าที่แล้วพูดไป ถึง7 ข้อมาหน้านี้มาดูกันต่อที่ข้อที่ 8

                       ลิ้งหน้าที่แล้ว >> การล่มสลายของอาณาจักใหญ่ในอดีต 2

มาดูกันต่อที่ข้อ 8 เลยครับ การล่มสลายของอาณาจักรใหญ่ในอดีต

8. วัฒนธรรม ขูดรีดและคอรัปชั่น : ในกรณีนี้จะยกตัวอย่างอินเดียในการปกครอง

ของอังกฤษ โดยบริษัทอีสต์อินเดีย ในช่วงแรกก็ไปในเน้นในทางการค้าจนเริ่มเข้าสู่

การแทรกแซงทางการเมืองกลายเป็นมีอำนาจในบางเขต สามารถเก็บภาษีและปกครอง

ในบางท้องที่ของอินเดีย จนต่อมาอีสต์อินเดียก็เริ่มแสดงตัวอย่างชัดเจนที่จะครองครอง

อินเดีย มีการรบแย่งชิงดินแดนเกิดขึ้นได้อาณาเขตในอินเดียมาอย่างมากมายจนกลาย

เป็นว่าอินเดียมีอำนาจครอบคลุมอินเดียไปเสียแล้ว สร้างความแข็งแกร่งให้กับจักรวรรดิ

อังกฤษเป็นอย่างมากเพราะในช่วงแรกที่ครองอินเดียได้อังกฤษแทบจะไม่ยุ่งอะไร

เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมของชาวอินเดียในแต่ละพื้นที่เลย สนใจแค่

เก็บเกี่ยวแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเองแค่นั้นพอจนต่อมาในรุ่นใหม่อังกฤษเริ่มมีการ

เปลี่ยนท่าที เช่นห้ามทำตามวัฒนธรรมที่แลดูป่าเถื่อน (แต่เป็นลัทธิความเชื่อของ

ชนพื้นถิ่นมาก่อน) พิธีกรรมอะไรที่มีความป่าเถื่อนอังกฤษสั่งห้ามไปซะหมด

พยายามเปลี่ยนชาวอินเดียให้ไปนับถือศาสนาคริสต์ ปัญหาเรื่องวรรณะ ที่เป็นเรื่อง

ละเอียดอ่อนซึ่งอังกฤษมองข้ามไป รวมถึงการไปมีปัญหากับบรรดาองค์ชายที่มี

ดินแดนอยู่ไม่ได้อยู่ภายใต้ของอังกฤษแต่อังกฤษก็ไปรวบเอาดินแดนเขามาปกครอง

หนำซ้ำยังพยายามขูดรีดภาษี หาค่าใช้จ่ายให้ต้องจ่ายบ้างเพื่อลดทอนกำลังของ

อำนาจในแต่ละเมืองที่ยังแข็งข้อ รวมไปถึงการใช้อำนาจทหารอยู่ในที่ต่างวรรณะ

กันมาปกคองการจ่ายเงินเดือนที่ไม่เป็นเหล่านี้ทำให้ อีสต์อินเดียเจอความยุ่งยาก

ถึงขนาดก่อกบฏ เกิดการจลาจล ปล่อยนักโทษแหกคุกจนอังกฤษต้องเข้ามา

ควบคุมจัดการด้วยตัวเองหรือเรื่องชาวแอชแทค (แม็กซิโก) ที่โดน

        เฮอร์นัน คอร์เตช พิชิตได้แต่เขาเลือกที่จะปกครองโดยให้กษัตริย์

ครองราชย์อยู่และตนเป็นคนกำกับดูแลอีกทีนึง ไม่เข้าไปทำลายวิถีชีวิตของชาว

บ้านใครเคยทำอะไรก็ไปทำอย่างนั้น และค่อยๆเอาวัฒนธรรมรวมถึงศาสนาเข้าไป

ซึบซับทีละนิดมากกว่าที่จะห้ามหรือบังคับ แต่ด้วยเหตุที่ว่าลูกน้องของเขานั้นขูดรีด

เอาเปรียบชาวบ้านจึงทำให้โดนประชาชนต่อต้าน เกิดเรื่องจนประชาชนไม่พอใจฆ่า

กษัตริย์ของตนตาย ทำให้คอร์เตซไม่สามารถปกครองได้อย่างสงบจนต้องใช้กำลัง

จนต้องถอนตัวออกมาและเข้าไปรบใหม่สามารถยึดเมืองไว้ได้ หลังจากยึดครองได้

เขาก็ไม่ทำซ้ำรอบเก่าเขาปล่อยให้วิถีชีวิตชาวบ้านเป็นไปอย่างเดิมและรับสินค้า

แทนภาษีไม่มีการขูดรีดแต่ต่อมาก็เหมือนเดิมรับเงินทุจริตเข้ากระเป๋าจนกษัตริย์

สเปนต้องปลดเขาและส่งคนใหม่เข้ามาแทน แต่คนใหม่ก็เหมือนเดิมประชาชนรับ

บทหนักไปเสียไม่น้อยกับการโดนขูดรีด (ทั้ง 2 ตัวอย่างที่ยกมาแม้ไม่สามารถลุก

ฮือจนแยกตัวออกมาปลดแอกตัวเองได้ แต่ก็สร้างความยุ่งยากให้ไม่น้อย)ถ้าทำ

แบบนี้พร้อมๆกันหลายๆเขตที่ปกครองหรือยึกมา คิดว่าเจ้าของอาณานิคม

จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายคงเอาตัวไม่รอดเช่นกัน


9. ผู้ปกครองห่วย : ไม่สนใจงานบริหาร ไม่สนใจประชาชน ทำให้ประชาชน

เดือดร้อนไม่แก้ปัญหาบ้านเมืองปล่อยให้ขุนนางโกงกินขูดรีดการบริหารงานปกครอง

ที่ไม่มีประสิทธิภาพไม่มีอำนาจสั่งการ ทำให้เกิดการก่อกบฏเหมือนที่ หลี่ จื้อเฉิง

ก่อกบฏขึ้นในปลายยุคราชวงศ์หมิง จนได้รับฉายาว่า "กษัตริย์ผู้กล้า" ทั้ง ๆ ที่ไม่

ใช่เป็นกษัตริย์ เป็นกบฏชาวนา ที่ไม่พอใจต่อการบริหารบ้านเมืองของทางการ

จนสามารถบุกยึดเมืองหลวงแต่ก็บริหารบ้านเมืองไม่เป็นจัดการไม่ได้ ประกอบกับ

ทาง อู๋ ซานกุ้ย ไม่ต้องการรับคำสั่งของ หลี่ จื้อเฉิง เพราะอู๋ ซานกุ้ยเป็นขุนนางหมิง

มาก่อน ซ้ำหลี่ จื้อเฉิงยังส่งคนมาทวงทหารคืนเมื่อเขารู้เช่นนั้นจึงร่วมมือกับกองทัพ

แมนจูนอกด่าน เปิดด่านซันไห่กวน ที่แมนจู(ศัตรูของหมิง) เข้ามาจัดการ หลี่จื้อเฉิง

ทำให้ต้องแตกหนี และราชวงศ์หมิงของชาวฮั่นก็สิ้นสุดลง กลายมาเป็นปกครอง

โดยชาวแมนยู เอ้ย แมนจู และละสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นมาในที่สุด


10. ทหารห่วย : รั้วของชาติผู้ป้องกัน และดูแลความสงบสุขของอาณาจักร เมื่อ

อ่อนแอก็ไม่สามารถทำอะไรได้สู้ใครก็ไม่ได้ แต่สาเหตุของเรื่องนี้มีหลายสาเหตุ เช่น

แม่ทัพอ่อนแอ บุคลากรไร้ความสามารถผู้ปกครองไม่ใส่ใจไม่ดูแล (แบบราชวงศ์ซอง

ของจีน) หรือสมัยอยุธยาของไทยเราก็มีความอ่อนแอในบางช่วงหรือมาจากการ

ผลาญเงินไปในทางอื่นจนไม่มีงบในการดูแลทหาร การแตกสามัคคีกันของเหล่า

บรรดาขุนนาง ขัดขากันเองของชนชั้นปกครอง (เด็กใครเด็กมัน)คนมีฝีมือไม่ได้ทำงาน

 ออกแนว คุณค่าของคนอยู่ที่คนของใครเสียมากกว่า


** จากที่สังเกตุแต่ละหัวข้อนั้น ส่วนใหญ่นั้นมีปัญหาจากภายในหรือทำตัวเองแทบ

ทั้งนั้น อาณาจักรใหญ่ถ้าปกครองอย่างเข้มแข็ง มีระบบลดปัญหาซึ่งเป็นปัจจัยภาย

ในออกไป ยากนักที่จะเสียดินแดน อาณาจักรหรือจักรวรรดิใหญ่ๆนั้น ย่อมจัดการ

บริหารดินแดนและปกครองลำบากอยู่แล้วยิ่งถ้าผู้รุกรานเข้มแข็งยิ่งบากต่อการดูแล

จำต้องกำจัดปัญหาภายในทำกองทัพให้เข้มแข้งประชาชนอยู่ดีไม่มีกบฏ ด้วยเหตุผล

ที่ว่ามาแล้วสุดท้ายก็จบลงที่มันเป็นไปตามกาลเวลาเป็นธรรมดาของดลก สิ่งไหนที่

พุ่งไปสู่จุดสูงสุดย่อมมีวันที่ต้องตกลงมา เจริญสุดก็ย่อมมีความเสื่อมถอยเป็นธรรมดา

อาณาจักรอยุธยาเป็นดินแดนแผ่นดินทองเมืองท่าสำคัญค้าๆขายๆอยู่มาถึง 417 ปีก็

ยังต้องแตกสลายไปเพราะการทหารที่อ่อนแอคนมีฝีมือมีน้อยเน้นค้าขายมากกว่า

ป้องกันจักรวรรดิไบแซนไทน์เจริญถึงขีดสุดขนาดเมืองแฝดอย่างโรมันตะวันตกล่ม

สลายไปแล้วอาณาจักรโรมันตะวันออกที่มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุง คอนสแตนติโนเปิล

ซึ่งตอนหลังรู้จักกันในชื่อ อาณาจักรไบแซนไทน์ก็ยังอยู่มาได้ต่ออีก 1000กว่าปี

และความเจริญรุ่งเรืองทั้งการค้าการเมือง และดินแดนที่กว้างใหญ่นั้นก็มีทั้งศึกใน

อาณาจักรเองและจากพวกเติร์กข้างนอก อย่างออตโตมัน อีกทำให้ต้องล่มสลายไป

ออตโตมันล่มสลายไปในคราวต่อมา หลังจากได้ชื่อว่าเป็นผู้ป่วยของยุโรป หรือจะ

เป็นกรีกที่เป็นนครรัฐรวมตัวกันยิ่งใหญ่มาจากยุคของอเล็กซานเดอร์  มองโกลของ

เจงกิสข่านที่รุ่นหลังก็แยกแผ่นดินกันบริหาร ฝรั่งเศสของนโปเลียนก็ด้วยเฃ่นกันที่

เคยครองยุโรปกลับต้องมาเฉือนดินแดนแบ่งให้ชาติอื่นไป หรืออีกหลายๆที่ มักไม่

ยั่งยืนล้วนแปรเปลี่ยนตามกาลเวลาตามปัจจัยที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ใครจะรู้ต่อไป

อเมริกาอาจจะไม่ใช่ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกเหมือนปัจจุบันนี้ อาจจะเป็นไทยก็ไดที่ขึ้นมา

เหนือกว่าทุกชาติ ทุกอย่างล้วนไม่แน่นอน (แหม่)