ข้อควรระวังในการเขียนบทความ 2
ถ้าเป็นในเฟสบุ๊ค facebook นั้นการอัพเพจนั้นการใช้รูปสื่อสารกับลูกเพจกับคนอื่น
นั้นย่อมดูดีมากกว่าเพราะทำให้เข้าใจง่าย แต่ในเว็บหรือบล็อกนั้นคุณควรจะมีข้อมูล
ที่เป็นตัวหนังสือได้ด้วยเพราะมันมีผลต่อหน้าการค้นหาของ search engine ถ้ามีแต่
รูปไม่มีเนื้อหาจะเสียเปรียบในด้านนี้เป็นอย่างมาก
6.เว้นวรรค ย่อหน้า
การเขียนบทความนั้นจังหวะช่องไฟ เว้นวรรคก็สำคัญเว้นวรรคให้ถูกจังหวะให้คำ
ต่อเนื่องไม่ใช่พิมพ์2-3 ประโยคเว้นทีนึงแบบ งงๆ เช่นฉันไปเที่ยว ที่ภาคเหนือ
แหม่มันช่างสวยงามมาก ฉันเลย คิดว่าจะ เขียนบทความ เพื่อเล่าเหตุการณ์ (-..-)
(เว้นเยอะไปไม่สวยเลย) กับแบบนี้ .. ฉันไปเที่ยวที่ภาคเหนือ แหม่ มันช่างสวยงาม
มาก ฉันเลยคิดว่าจะเขียนบทความเพื่อเล่าเหตุการณ์ดูดีกว่ากันตั้งเยอะเช่นเดียวกัน
กับการย่อหน้าสมควรย่อหน้าในช่วงที่กำลังขึ้นหัวข้อหรือพูดในเรื่องที่แปลกแยก
ออกไปจากเรื่องข้างต้นเช่นคุณพูดถึงเรื่องสัตว์เลี้ยงอย่างแมวอยู่ในย่อหน้าแรก
พอจะมาพูดถึงสุนัขคุณควรขึ้นบรรทัดใหม่ แล้วย่อหน้าเป็นอีกเรื่องนึงให้ชัดเจน
ไปเลยคนอื่นจะได้เห็นความแตกต่างของเนื้อหาและอ่านง่ายขึ้น
7.ความถูกต้อง ภาษา และคำหยาบ
ความถูกต้อง - ของภาษาที่ใช้ เช่น สระ พยัญชนะ ภาษาอังกฤษ การเรียกทับซับ
คำที่ให้ความหมายต้องชัดเจนและเข้าใจไม่เขียนคำผิด
ภาษา - อย่าพยายามใช้ภาษาวิบัติ หรือภาษาพูดนำมาเขียน เช่น อยู่ เขียนเป็น
อยู่เป็น เขียนเป็น เปน อย่างนี้ต้องระวังครับ
คำหยาบ - อย่าพยายามใช้คำหยาบลงในบทความของเรามันจะทำให้ดูไม่สุภาพ
ผู้อ่านที่ชอบคำหยาบก็มีเยอะ คนที่ชอบก็มีแต่คนที่ชอบคำหยาบก็สามารถอ่านแบบ
ไม่หยาบได้ธรรมดามาตราฐานแต่คนที่ไม่ชอบคำหยาบนั้นถ้าเจอบทความหยาบๆ
ก็ปิดหนีไปเลยเสียผู้อ่านไปน่าเสียดายนะครับ
8.ไม่อคติ เอนเอียง
ควรเขียนบทความตามความเป็นจริงไม่เอนเอียงหรืออคติต่อสิ่งใดมากเกินไป
คนที่เขียนได้ถูกหลักความเป็นจริง มีหลักฐานและหลักการไม่เอนเองมักได้รับความ
นิยมจากผู้อ่านเพราะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ลำบากใจแม้จะเป็นฝ่ายซ้ายหรือขวา
ก็ตาม เพราะทุกอย่างอยู่บนหลักความเป็นจริง
9.ตรวจทาน
ตรวจสอบความถูกต้องของบทความ ทั้งภาษา การเขียน ข้อมูล และเรื่องที่จะเขียนว่า
เขียนถูกเขียนครบ ตรงตามประเด็นหรือไม่
ข้อห้ามควรระวังในการเขียนบทความ