พระนามจักรพรรดิ ราชวงศ์ถัง
ชื่อเท่ๆ ดูดีๆวันนี้เรามาดูว่าพระนามของจักรพรรดิแต่ละพระองค์ของราชวงศ์ถัง นั้นมี
พระองค์ใดบ้าง ราชวงศ์ถังมีฮ่องเต้ปกครองกี่พระองค์ราชวงศ์ถังปกครองแผ่นดินจีน
คริสต์ศตวรรษที่ 7 - 10 หรือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 15 ปีพ.ศ. 1161 - 1450 เป็น
เวลา 289 ปีแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ราชวงศ์ถัง และ ฟื้นฟูราชวงศ์ถัง เพราะไปสะดุดตรงช่วง
ราชวงศ์ราชวงศ์โจว(อู่โจว) ของพระนางบูเช็กเทียนสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน
ที่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนทรงสถาปนาราชวงศ์ของพระนางเอง จึงต้องยกไว้และต่อมา
หลังจากสมัยของพระนางก็ได้มี การฟื้นฟูราชวงศ์ถังขึ้นมาใหม่ รวมทั้งสิ้น ราชวงศ์ถังมี
ฮ่องเต้ หรือองค์จักรพรรดิทั้งสิ้น 21 พระองค์ 23 รัชสมัย
1. จักรพรรดิถังเกาจู่ : มีพระนามเดิมว่า หลี่ยวน เมื่อราชวงศ์สุยใกล้ล่มสลายลง
หลี่ยวน ที่รักษาแดนไท่หยวน จึงประกาศตัวเป็นอิสระต่อราชสำนักและสามารถเข้า
ยึดครองนครฉางอันเป็นฐานที่มั่น และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิถังเกาจู่
ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถังเมื่อพระชนม์ได้ 52 พรรษา
จักรพรรดิถังไท่จง : หรือหลี่ซื่อหมิน |
ของราชวงศ์ถังเลยทีเดียว สามารถรวบรวมดินแดนแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นการปกครอง
เป็นไปได้ด้วยดี มีการถามความเห็นโต้แย้งความเห็นฮ่องเต้ได้อย่างเสรีไม่มีความผิด
แต่ห้ามไม่ให้มีการไปพูดลับหลังเพราะให้มีสิทธิ์โต้แย้งต่อหน้าพระพักต์ได้แล้วก็ควรจะ
พูดตรงนั้น ถ้าใครมีการไปนินทาว่าร้ายหรืออะไรลับหลังแล้วโดนจับได้พระองค์ก็จะ
ทรงลงพระอาญา เพราะถือว่าให้ได้วิจารณ์ได้อย่างเปิดเผยแล้วกลับไม่ทำแต่ไปทำ
ลับหลังพระองค์จงต้องโดนลงโทษให้เข็ดหลาบ
3. จักรพรรดิถังเกาจง : ถังไท่จงพระราชบิดาทรงเลือกองค์ชายหลี่จื้อเป็นรัชทายาท
แทน รัชทายาทหลี่เฉิงเฉียน และ วุ่ยหวังหลี่ไท่ ที่แย่งชิงอำนาจกันจึงโดนปลดจาก
รัชทายาทส่วน วุ่ยหวังหลี่ไท่ โดนถอดยศเป็นสามัญชน รัชกาลของพระองค์ส่วนใหญ่
จะยุ่งกับการแก้ไขปัญหาในวังหลังเสียมาก
4. จักรพรรดิถังจงจง : เมื่อพระบิดา คือฮ่องเต้ถังเกาจง สิ้นพระชนน์ พระนาง
บูเช็กเทียนมารดาของพระองค์ก็ได้ยึดอำนาจไว้แล้วตั้งพระองค์ขึ้นเป็น จักรพรรดิ
แต่ให้หลัง 1 ปีก็โดนพระมารดาปลดลงแล้วตั้งให้พระอนุชาของพระองค์ คือ
จักรพรรดิถังรุ่ยจง ครองราชย์ต่อไป
5. จักรพรรดิถังรุ่ยจง : พระนามเดิมว่า หลี่ตั้น เมื่อ จักรพรรดิถังจงจง พระเชษฐา
ถูกพระราชมารดาปลดออกจากราชสมบัติ พระนางบูเช็กเทียนก็ตั้งพระองค์ให้ขึ้น
ครองราชย์แทนแล้วก็เหมือนคนพี่อย่าง ถังจงจง เพราะถังรุ่ยจงก็โดนปลดอีกหลัง
จากครองราชย์ได้ไม่ถึง 1 ปี เพราะอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่พระนางบูเช็คเทียน
6. จักรพรรดิถังจงจง : จักรพรรดิถังจงจงได้ขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่
ปลดไปเพราะพรนางบูเช็กเทียนที่ครองราชย์สถาปนาราชวงศ์โจวทรงสละราชสมบัติ
ด้วยวัย 85 ปี
7. จักรพรรดิถังชาง : ชางตี้ พระโอรสในจักรพรรดิถังจงจงเมื่อพระราชบิดาสวรรคต
ในปีค.ศ. 710พระองค์จึงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาเมื่อพระชนม์เพียง 15 พรรษาแต่
ครองราชย์ได้ไม่ถึงปีก็ทรงถูกปลดและสวรรคตเมื่อพระชนม์เพียง19พรรษาในปี
ค.ศ. 714
8. จักรพรรดิถังรุ่ยจง : ได้กลับมาทรงราชย์อีกครั้ง แต่ถังรุ่ยจงทรงครองราชย์ได้
เพียง 2 ปี ก็สละราชสมบัติให้องค์ชายขึ้นทรงราชย์เป็น จักรพรรดิถังเสวียนจง
9. จักรพรรดิถังเสฺวียนจง : หลังจากครองราชย์ต่อจากพระบิดาก็ทรงกวาดล้าง
อำนาจเก่า ปราบขุนนางกังฉิน (เหมือนจะดี) แต่เมื่อพระองค์รับสนมซึ่งได้ชื่อว่า
4 ยอดหญิงงามแห่งแผ่นดินจีน (บ้างก็บอก นางล่มเมือง) เท่านั้นแหละครับไม่ทรง
ปฏิบัติงานราชกิจอะไรเลย ลุ่มหลงแต่นางสนุมกุ้ยเฟย จนบ้านเมืองอ่อนแอหนำซ้ำ
ยังให้ญาติๆของ หยางกุ้ยเฟยเข้ามารับราชการโกงบ้านกินเมืองกระจุยกระจายใช้
อำนาจกร่างไปทั่วจนขุนนางทั้งบุ๋นและบู๊ไม่พอใจบุกเข้ายึดพระราชวังถังเสวียนจง
และหยางกุ้ยเฟยจึงต้อง อพยพย้ายหนีไปที่อื่นแต่ก็โดนตามทัน เหล่าทหารบังคับ
ให้หยางกุ้ยเฟยฆ่าตัวตายเพื่อลดความแค้นแก่ทหารและสนับสนุนหลี่เฮิงให้ขึ้นเป็น
จักรพรรดิถังซู่จง (นับจากสมัยของพระองค์ก็เข้าสู่ความตกต่ำของราชวงศ์ถังไป
เรื่อยๆ)
10. จักรพรรดิถังซู่จง : ขึ้นครองราชย์แทนจักรพรรดิถังเสวียนจง พระราชบิดาที่ถูก
เหล่านายทหารและขุนนางข้าราชการโค่นราชบัลลังก์ ในรัชกาลนี้มีกบฏอันลู่ซันตลอด
รัชกาลของเขานั้นอำนาจทั้งหมดตกอยู่ที่หลี่ ฝู่กั๋ว ขันทีมีชื่อ
11. จักรพรรดิถังไต้จง : ทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 762 (พ.ศ. 1305) เป็นจักรพรรดิ
ที่อ่อนแอและไร้อำนาจ เพราะอำนาจทั้งหมดอยู่ในกำมือของขันทีหลี่ฝู่กั่วจักรพรรดิ
ถังไต้จงสวรรคตลงในปี ค.ศ. 779 (พ.ศ. 1322) ครองราชย์ได้ 17 ปี ขณะพระชนม์
ได้ 53 พรรษา
12. จักรพรรดิถังเต๋อจง : ทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา ถังไต้จง ในปี ค.ศ. 779
(พ.ศ. 1312) ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดเป็นอันดับ 3 ในราชวงศ์ถังคือ 26 ปี
13. จักรพรรดิถังชุนจง : ทรงครองราชย์เพียง 6 เดือน ก็สละราชสมบัติให้องค์
รัชทายาทหลี่ซุน เนื่องจากทรงมีปัญหาเรื่องพระสุขภาพ
14. จักรพรรดิถังเสียนจง : พระองค์ทรงควบคุมอำนาจต่างๆโดยเฉพาะการทหาร
จากผู้ว่ามาไว้ที่พระองค์เองและราชสำนัก กวาดล้างอำนาจเก่าๆ ที่มีอยู่ให้อำนาจ
กลับมาอยู่ที่ราชสำนักแต่เหมือนเดิม ช่วงขันทีรุ่งเรืองอำนาจของราชสำนักที่พระองค์
นำกลับมา ตกอยู่ในมือขันทีชั่วซะเยอะ ต่อมาจักรพรรดิเสียนจงก็ถูกลอบปลงพระชนม์
โดยขันทีนามว่าเฉินหงจี ขณะพระชนม์ได้ 42 พรรษา
15. จักรพรรดิถังมู่จง : พระราชโอรสในจักรพรรดิถังเสียนจง ในสมัยของพระองค์นั้นมี
การทุจริตโกงกินกันเป็นอย่างมากส่งผลต่อความเป็นอยู่ของราษฎร รวมไปถึงสภาพ
เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ
16. จักรพรรดิถังจิงจง : โอรสองค์โตในจักรพรรดิถังมู่จงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาขณะ
พระชนม์เพียง15พรรษาแต่ทรงครองราชย์ได้เพียง2ปี ก็ถูกปลงพระชนม์โดยขันทีชื่อ
หลิวเคอหมิง (จะเห็นได้ว่าหลังจากสมัยของถังเสวียนจง ขันทีจะมีบทบาทมากมีอำนาจ
มากเนื่องจากกษัตริย์และบ้านเมืองอ่อนแอ) ทำให้ราชวงศ์ค่อยๆอ่อนแอตามไปด้วย
17. จักรพรรดิถังเหวินจง : พระราชโอรสองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิมู่จง
18. จักรพรรดิถังหวู่จง :
19. จักรพรรดิถังซวนจง : เป็นพระราชโอรสใน จักรพรรดิถังเสียนจง เป็นพระอนุชา
ของจักรพรรดิถังมู่จง ครองราชย์สืบต่อจาก จักรพรรดิถังหวู่จง พระราชนัดดา
20. จักรพรรดิถังยี่จง :
21. จักรพรรดิถังซีจง : เป็นสมัยที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอเป็นอย่างมากโดนกบฏหวงเฉา ลุกฮือ
แต่ได้จูเหวียนจง ทำให้อำนาจทั้งหมดตกอยู่ที่จูเหวียน (ซึ่งต่อมาเขาก็ได้เป็นปฐมกษัตริย์
แห่งเหลียงยุคหลัง)
22. จักรพรรดิถังเจาจง : แน่นอนในสมัยพระองค์ทรงตกอยู่ในอำนาจของจูเหวียนจง
(ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิถังซีจง) พระองค์จึงจำเป็นต้องยืมอำนาจของจูเหวียนให้มาปราบขันที
ที่มีอำนาจต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังยุคของ ถังเสวียนจงจนปราบได้ราบคาบแต่ในปีถัดมา
ถังเจาจงทรงถูกสังหารโดยจูเหวียนจง (น่าจะมาจากที่จูเหวียนจงไม่ต้องมาคานอำนาจกับ
ขันทีแล้วเพราะมีอำนาจเต็มที่กว่าแต่ก่อนมาก)
23. จักรพรรดิถังไอ : หรือจักรพรรดิไอตี้ เขาถูกจูเหวียนจง ตั้งขึ้นมาตอนพระชนม์เพียง
13 พรรษา เพื่อเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของเขา ต่อมาทรงครองราชย์ได้เพียง 3 ปีใต้อำนาจ
ของ จูเหวียนจง จักรพรรดิไอตี้ ก็โดนปลด เมื่อพระชนม์เพียง 16 พรรษา จูเหวียนจง
ได้ตั้งราชวงศ์โฮ่วเหลียงขึ้น ทำให้ราชวงศ์ถังล่มสลายลงไปในที่สุด
** ถึงราชวงศ์ถังจะยิ่งใหญ่อยู่ช่วงนึงแต่ก็ไม่ได้แข็งแกร่งมาตลอดในช่วงยุคหลังๆนั้น
ก็ไม่มีอะไรโดดเด่น การสร้างกำแพงเมืองจีนต่อเนื่องจึงไม่มีในยุคนี้จนไปถึงยุคของ
ราชวงศ์ซ้องก็ไม่ได้ ทำการต่อเติมในจุดของกำแพงเมืองจีน มาต่อเติมก็ช่วงเด่นๆหลักๆ
คือในราชวงศ์หมิงอีกที (เกร็ดเล็กน้อยจ้า) ส่วนเจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง ก็สร้างใน
ยุคของราชวงศ์หมิงเช่นกัน ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์สุดท้ายของชาวฮั่นด้วยนะจ๊ะ
ก่อนจะโดนแมนยูเอ้ย แมนจูยึดครอง ปละกลายเป็นราชวงศ์ชิง