Boston tea party งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน
ชนวนนำไปสู่สงครามการปฏิวัติอเมริกาโดยการที่ชาวอาณานิคมของอังกฤษได้ทำการ
ต่อต้านภาษีใบชาที่มาจากความไม่เป็นธรรม ชาวอาณานิคมของอังกฤษ ในเมืองบอสตัน
จึงได้ประท้วงรัฐบาลอังกฤษและเป็นชนวนสู่สงครามอิสรภาพของอเมริกา จากการที่
รัฐบาลอังกฤษได้ร่างและประกาศเรื่องนี้ใน พระราชบัญญัติทาวเซนต์ใต ค.ศ. 1767
และหนำซ้ำยังให้บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ขายใบชาแก่ชาว
อาณานิคมได้โดยตรง ทำให้พ่อค้าชาวอเมริกันเสียผลประโยชน์ การทำให้เสียประโยชน์
รวมไปถึงการขึ้นภาษีชาที่จะส่งไปขายยังอังกฤษ จนสร้างความไม่พอใจ ในปี ค.ศ. 1773
มีเรือสินค้า 3 ลำบรรทุกใบชามายังท่า
เรือบอสตันชาวอเมริกากลุ่มหนึ่งประมาณ 50 คนที่ไม่พอใจได้ทำการปลอมตัวเป็น
อินเดียแดงขึ้นไปบนเรือของอังกฤษที่จอดทอดสมออยู่ที่อ่านบอสตันแล้วโยนใบชาทิ้ง
ลงไปในทะเลทั้งหมด ทำให้รัฐบาลอังกฤษทำการตอบโต้โดยการประกาศปิดท่าเรือ
บอสตันและเป็นจุดเริ่มต้นของการออกพระราชบัญญัติการใช้กำลังบีบบังคับอาณานิคม
ใน ค.ศ. 1774จึงเป็นเหตุที่มา ของการเริ่มต้น สงครามปฏิวัติอเมริกา จนในที่สุด อเมริกา
ก็สามารถประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ที่เมืองฟิลาเดเฟีย
(วอชิงตัน ดี.ซี. ในปัจจุบัน) เกิดประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน
และการที่คนฝรั่งเศสเข้าช่วยอเมริกานี้เอง ทำให้ทหารที่เข้ามาร่วมรบในสงครามปฏิวัติ-
อเมริกา ได้ซึบซับแนวคิด วิธีการและความต้องการอิสรภาพของชาวอเมริกันทั้งมวล
เข้าไว้ จึงส่งผลเป็นแรงผลักดันไปจนเกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส และด้วยสภาพเศรษฐกิจ
ที่ย่ำแย่สถาบันกษัตริย์ที่อ่อนแอ ทำให้ฝรั่งเศสได้เข้าสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสจนกลายเป็น
แรงผลักและดันให้เกิดการปฏิวัติไปทั่วทั้งทวีปยุโรปในเวลาต่อมาอีกด้วย