จอร์จ วอชิงตัน (George Washington)
จอร์จ วอชิงตัน เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732
เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองที่โดดเด่นของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น
ระหว่าง ค.ศ. 1775 ถึง 1799 เขานำสหรัฐจนได้รับชัยชนะเหนือบริเตนใหญ่
ในสงครามปฏิวัติอเมริกัน (เป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
และไอร์แลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสิบสามอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ
อีกฝ่ายหนึ่ง)
เขาเริ่มต้นด้วยการทำอาชีพ เกษตร
ค.ศ. 1749 เขาถูกแต่งตั้งให้อยู่ในสำนักงานสำรวจ คัลเปเปอร์ เคาท์ตี้ (รัฐเวอร์จิเนียร์)
ซึ่งเป็นที่ดินแดนแห่งใหม่
ค.ศ. 1752 เมื่ออายุได้เพียง 20 ปี จอร์จ วอชิงตัน เข้าเป็นทหารมีหน้าที่ฝึกทหาร
กองหนุน
ค.ศ. 1753 วอชิงตันได้รับการร้องขอจากผู้ว่าการอาณานิคมแห่งเวอร์จิเนีย
ปี ค.ศ. 1754 จอร์จ วอชิงตัน ได้รับยศพันโทและได้เดินทางไปยังป้อม
Fort Duquesne เพื่อไปขับไล่ชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส เขาจัดการทหารหน่วย
สอดแนมของฝรั่งเศสไปกว่า 30 นาย แต่เขาก็ต้องพ่ายแพ้ในสมรภูมินี้ เพราะข้าศึก
มีกำลังเหนือหว่า พื้นที่คุ้นเคยชัยภูมิดีกว่าวอชิงตันได้รับการปล่อยตัวจากพวก
แคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส และได้กลับสู่เวอร์จิเนีย
ค.ศ. 1755 วอชิงตันเป็นนายทหารผู้ช่วยของนายพลเอ็ดวาร์ด แบร็ดด็อก
แห่งอังกฤษ แต่เหตุร้าย นายพลเอ็ดวาร์ด โดนลอบสังหารในระหว่างเดินทาง
ตามประวัติเล่าว่า ในการเดินทางหรือการเดินทัพนั้นตอนที่นายพลเอ็ดวาร์ด
โดนลอบสังหารเขาเป็นผู้ขี่มาตลุยไปทั่วทุกสมรภูมิเพื่อรวบรวมกำลังรบที่เหลือ
ของอังกฤษ เพื่อที่จะเตรียมการถอยทัพ หลังจากจบเรื่องวุ่น จอร์จ วอชิงตัน
จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลชายแดนแถบเทือกเขาเวอร์จิเนีย
โดยตบรางวัลให้เลื่อนยศเป็นพันเอกผู้บัญชาการแห่งกองกำลังเวอร์จิเนีย
ทั้งหมด
ค.ศ. 1758 วอชิงตันติดยศนายพลจัตวาในคณะเดินทางของ Forbes ที่บังคับให้
ฝรั่งเศสอพยพถอนทัพออกจาก Fort Duquesne หลังจากปีนั้นเขาได้ลาออกและ
กลับไปทำไร่ของเขาเป็นเวลาถึง 16 ปี ไปเป็นนัการเมืองท้องถิ่นที่เวอร์จิเนียแทน
6 มกราคม ค.ศ. 1759 จอร์จ วอชิงตัน ได้แต่งงานกับ มาร์ธา แดนดริดจ์ คัสทิส
ที่บ้านกลังนึงที่มีชื่อว่า ไวท์เฮาส์ (White House) ซึ่งชื่อบ้านนี้ได้กลายเป็นชื่อ
ทำเนียบขาวต่อมาในปัจจุบัน
- วอชิงตันได้รับเลือกให้เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของสภาประจำเวอร์จิเนีย
วอชิงตันมีบทบาทการเป็นผู้นำให้แก่ชาวอาณานิคมในการต่อต้านอังกฤษ
เกิดความขัดแย้งระหว่างอาณานิคมอเมริกันกับประเทศอังกฤษเพราะอาณานิคม
ไม่พอใจที่ถูกเรียกเก็บภาษี และปกครองโดยรัฐบาลอังกฤษ
ค.ศ. 1769 จอร์จ วอชิงตัน ได้ยื่นหนังสือข้อเสนอเรื่องการคว่ำบาตรสินค้าที่มา
จากอังกฤษ จนกว่าจะมีการยกเลิกพระราชบัญญัติทาวน์เชนด์ (ภาษีใบชา )
และในที่สุดมีนาคม 1770 ถูกบังคับให้ยกเลิก "กฎหมายทาวน์เซนด์
ค.ศ. 1774 วอชิงตันได้เห็นพระราชบัญญัติ (Intolerable Acts) ที่บีบคั้น
ลดทอนสิทธิประโยชน์ของชาวอาณานิคม โดนเฉพาะเรื่องการปิดอ่าวบอสตัน
จากกรณี Boston tea party ทำให้เขาจัดการประชุมโดยตัวเองเป็นประธาน
จนเกิดข้อตกลงแฟร์แฟ็กซ์ (Fairfax Resolves) ต่อมาเขาได้เข้าประชุม
เวอร์จิเนียครั้งที่ 1
(First Virginia Convention) และได้รับเลือกจากที่ประชุมให้เป็นตัวแทนไปประชุม
สภาอาณานิคมที่ 1 (First Continental Congress) อันเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การ
ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ
ค.ศ. 1775 ในการประชุมสภาอาณานิคมที่ 2 (Second Continental Congress)
เป็นการแสดงจุดยืนว่าเขาต้องการรบเพื่อให้ได้มาซึ่งอิสระภาพของเหล่า
อาณานิคมทั้งหลาย จอร์จ วอชิงตัน ได้ก่อตั้งกองทัพบกที่เรียกว่ากองทัพ
ฝ่ายอาณานิคม (Continental Army)ในวันที่ 14 มิถุนายน เขารบอยู่หลายสมรภูมิ
ส่วนใหญ่จะเสียเปรียบ
จนถึง ค.ศ. 1780 โดยคำสั่งของเขากองทัพนายพลจอห์น ซูวิลเลียน, ได้ตอบโต้
ต่อการที่ Iroquois และ Tory โจมตีชาวอาณานิคมอเมริกันในช่วงต้นของสงคราม
เป็นการรบชนะที่เด็ดขาด สามารถทำลายอย่างน้อย 40 หมู่บ้าน ในตอนเหนือ
ของนิวยอร์กและในวันสำคัญก็มาถึง วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1781 หลังจากชัยชนะ
ของกองทัพเรือฝรั่งเศส ทำให้กำลังทัพของอังกฤษต้องถูกกักอยู่ที่เวอร์จิเนีย
ทำให้ต้องยอมแพ้
สงครามได้ยุติลง กองทักโดยการนำของ จอร์จ วอชิงตัน ได้รับชัยชนะ เป็น
ชัยชนะที่ไม่ได้มีมากครั้งแต่เป็นครั้งสำคัญที่สุดของเขา หลังจากจัดการเรื่อง
การเข้ายึดครองและปัญหาระหว่างสภา กับ นายพลในกองทัพเขาก็ได้ลาออก
จากตำแหน่งไปอยู่ที่เมานต์เวอร์นอน ในช่วงเวลาสั้นๆ ไปทำหน้าที่การเมือง
ของเขาแบบเดิมจนต่อมา ทุกคนในสภาและคณะเลือกตั้ง มีมติเอกฉันท์เลือก
วอชิงตันเป็นประธานาธิบดี และเลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1792
เขายังคงได้รับคะแนนอิเล็กโทรรัล โหวต 100% เหมือนเดิม
2 สมัยซ้อน ซึ่งดูเหมือนว่าทุกคนจะต้องการให้เขาเป็นต่ออีกทางสภาก็เรียกร้อง
จะให้วอชิงตันเป็นต่อไปอีก แต่ทาง จอร์จ วอชิงตัน ได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีต่ออีกครั้งโดยใช้เหตุผลเรื่องสุขภาพที่ไม่ดี การที่เขาลาออกจาก
ผู้บัญชาการทหารในตอนที่ทำสงครามประกาศอิสระภาพสำเร็จนั้น เป็นเรื่องที่มี
อิทธิพลน่ายกย่องมากในยุโรปเปรียบเหมือนว่า เขาไม่ได้ใช้อำนาจทางทหาร
เข้าควบคุมและอยู่ในอำนาจแล้วส่งต่อให้สภาบริหารต่อ รวมถึง การที่เขาลาออก
หลังจากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครบวาระตามจริงก็จะหยุดตั้งแต่สมัยแรกแล้ว
แต่ทางสภาได้ขอให้เขาเป็นต่ออีกครั้ง พอหมดสาระที่สมัยที่ 2 สภาก็อยากให้เป็น
อีกแต่ วอชิงตัน รู้สึกว่าจะเป็นการกุมอำนาจบริหารมากเกินไปจึงบ่ายเบี่ยงอ้างเรื่อง
สุขภาพไม่ยอมรับตำแหน่งต่อ จึงหลายเป็นบรรทัดฐานของ ปธ.คนต่อๆไปว่า
ไม่ดำรงตำแหน่งเกิน 2 สมัย เว้นภายหลังที่ ปธ.รูสเวลต์ ที่ช่วงนั้นมีสงครามโลก
ครั้งที่ 2 จึงต้องสมัครเข้ามาต่อเป็นสมัยที่ 3 เพื่อจะมาจัดการเรื่องสงครามโดยเฉพาะ
แต่หลังจากนั้นก็มีการแก้กฏหมายว่าห้ามดำรงตำแหน่งเกิน 2 สมัย เรียบร้อย
จอร์จ วอชิงตัน ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ 30 เมษายน ค.ศ. 1789 – 4 มีนาคม ค.ศ. 1797
ค.ศ. 1797 วอชิงตันกลับไปยังเมานต์เวอร์นอน กลับมาทำไร่ (มีทาสทำตัวเอง
คงเป็นประมาณว่าจัดการเรื่องใหญ่ๆ ตอนนั้นยังไม่มีการเลิกทาส การเลิกทาส
อยู่ในช่วงสงครามกลางเมือง สมัยของ อับราฮัม ลินคอร์น)
จอร์จ วอชิงตัน ไม่เคยมีปัญหาเรื่องเงินนะครับ เพราะแต่งงานกับแม่ม้าย
ลูกติดมีที่ดินทรัพย์สิน มหาศาล มาตั้งแต่ก่อนเป็นผู้บัญชาการกองทัพประกาศ
เอกราชเสียอีก
วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799 จอร์จ วอชิงตัน เสียชีวิตช่วงเวลาหัวค่ำ เพราะเขา
เกิดเป็นหวัดหลังจาก ไปลุยหิมะ มีไข้และหลอดลมอักเสบและหลายเป็นปอดบวม
และด้วยการรักษาในสมัยนั้นทำให้เขาต้องเสียชีวิตลงด้วยวัย 67 ปี นับว่าเขาเป็น
บุคคลสำคัญคนนึงที่มีอิทธิพลต่อคนอเมริกันและผู้ปกครอง นักประชาธิปไตย
ในยุโรปเลยทีเดียวในยุคต่อๆมาด้วยเช่นกันการกระทำของเขานับว่าเป็นการ
เสียสละเพื่อส่วยรวมโดยแท้