การนับและการเทียบศักราช
การนับศักราชเป็นการ แสดงถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ช่วงเวลาที่พูดถึงเหตุการณ์ต่างๆว่าอยู่ในช่วงใด
โดยระบุ บ่งชี้เป็นจำนวนปีศักราชแตกต่างกันไปแล้วแต่ละท้องที่ แต่ละความเชื่อหรือแต่ละผู้นำ ซึ่งมีการ
นับก่อนหลังแตกต่างกัน ประวัติศาสตร์ก็แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงควรรู้ว่าการนับประวัติศาสตร์แบบไหน
เป็นอย่างไร เริ่มจากอะไร ทั้งของไทยและสากล วันนี้ทาง บล็อกจะมานำเสนอข้อมูลกันว่าการนับ
ศักราชนั้น มีแบบไหนอย่างไรกันบ้าง
• แบบสากล
- ค.ศ. หรือ ศริสต์ศักราช หมายถึงการนับศักราชช่วงเวลานี้เริ่มนับโดยเริ่มตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ
เป็นปี ค.ศ. 1 ซึ่งถ้ามีเหตุการณ์ก่อนหน้านั่นคือก่อนหน้าพระเยซูประสูติ ให้เรียกว่าก่อนคริสตกาลหรือก่อน
คริสต์ศักราช
- พ.ศ. หรือ พุทธศักราช เป็นศักราชที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศหรือภูมิภาคแถบที่มีการนับถือ
ศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นการนับศักราช ของไทยด้วยก็ว่าได้ของไทยนั่นใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้
อย่างเป็นทางการในยุครัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
จนมาถึงเดี๋ยวนี้ พุทธศักราชในไทยนั้นจะเริ่มนับเมื่อตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว
ครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1
- ฮ.ศ. หรือ ฮิจเราะห์ศักราช ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพเป็นการนับศักราช
ในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพ
จากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดิน่า ตรงกับพุทธศักราช 1165
• แบบไทย นั้นมีการนับแบบ พ.ศ. แต่เราได้พูดไปในหัวของสากลไปแล้ว เลยจะมาดูส่วนที่เหลือ
ต่อจาก พ.ศ. กันเลย
- ม.ศ. หรือ มหาศักราช มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์
ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622) ใช้แพร่หลายในช่วง
ของอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น
- จ.ศ. หรือ จุลศักราช เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่าปรากฏอยู่
ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ ซึ่งเป็น 1 ใน
3 กษัตริย์พม่าผู้ยิ่งใหญ่ จะประสูติ เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อ กันว่าเป็นศักราช
ของชาวพม่า แต่เขตแคว้นรัฐ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง
และอาณาจักรอยุธยาใช้เล่าเหตุการณ์ยุคปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร บันทึกหลักฐาน
ต่าง จนถึงสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาราชของสยามเรา ได้ทรงประกาศยกเลิก
และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ขึ้นมาแทนที่
- ร.ศ. หรือ รัตนโกสินทร์ศก เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก พ.ศ.2324 เป็น ร.ศ. 1
รัตนโกสินทรศกเริ่มมีการใช้ครั้งแรก รัตนโกสินทรศกเริ่มนับเป็น 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 ดังนั้นจึงไม่มี
รัตนโกสินทรศก 0พ.ศ. 2432 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงให้ยกเลิกมาใช้แบบพุทธศักราช
เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงหลักฐานหรือประวัติศาสตร์ แต่ยังคงให้ขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน
เหมือนเดิม จนถึง พ.ศ.2484 จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม
- ศักราชจุฬามณี หรือเรียกอีกอย่างว่า ศักราชกฎหมายเป็นคำระบุศักราชที่พบในตำราหนังสือไทยเก่าๆ
ศักราชชนิดนีสันนิษฐานว่าเกิดใน สมัยของพระเจ้าปราสาททอง แต่ไม่ได้รับความนิยมใช้เกณฑ์เลข
258 ลบ ผลลัพธ์เป็นจุลศักราช แล้วจึงแปลงจุลศักราชเป็นพุทธศักราช
หลักการเทียบศักราช
การทำให้ศักราชอื่นๆเป็นพุทธศักราช - การทำให้พุทธศักราชเป็นศักราชอื่นๆ
ม.ศ. + 621 = พ.ศ. พ.ศ. - 621 = ม.ศ.
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. - 2324 = ร.ศ.
ค.ศ. + 543 = พ.ศ. พ.ศ. - 543 = ค.ศ.
ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ. พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ.