หมวดหมู่

หมวดหมู่สำคัญ

รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย List of prime ministers of Thailand

 


รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย List of prime ministers of Thailand


List of prime ministers of Thailand นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เป็นหัวหน้ารัฐบาลของ

ประเทศ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีมาตั้งแต่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม  

* เป็นการเรียงลำดับ การขึ้นดำรงตำแหน่ง บางคน เลยมีชื่อซ้ำ แต่จะทำกำกับไว้ให้


รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย



คนที่ 1. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) : 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 

- นายกรัฐมนตรีคนแรกของสยามภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ได้รับเลือกจากผู้นำคณะราษฎร




คนที่ 2. พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) : 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481

- เป็นผู้นำกองทัพ ถนนพหลโยธิน ตั้งชื่อตามพระยาพหลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อถนน

เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา



คนที่ 3. จอมพล ป. พิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) : 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ( 2 สมัย )

- เป็นผู้นำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ส่งเสริมลัทธิชาตินิยมไทยเป็นพันธมิตรไทยกับจักรวรรดิญี่ปุ่น

ในสงครามโลกครั้งที่สอง 

- เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ประเทศไทย"



คนที่ 4. ควง อภัยวงศ์ : 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 

- เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยถึง 3 สมัย คือตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 ถึง พ.ศ. 2488 

ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2489 และตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ถึงเมษายน พ.ศ. 2491 



คนที่ 5. ทวี บุณยเกตุ : 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

- เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ 17 วัน

- หนึ่งในคณะราษฎรสายพลเรือน และขบวนการเสรีไทย ผู้ก่อตั้งคุรุสภา และเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง 

พ่อสอนลูก



คนที่ 6. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช : 17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489

- เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยถึง 3 สมัย นักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์



**(รอบที่ 2 ). ควง อภัยวงศ์ : 31 มกราคม พ.ศ. 2489 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2489




คนที่ 7. ปรีดี พนมยงค์ ( หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ) : 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489

- เป็นผู้นำประเทศไทยโดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

และเป็นนายกรัฐมนตรี

- ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และรัฐศาสตร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธนาคารชาติไทย)



คนที่ 8. พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ( ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์ ) : 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

- ก่อนจะมาเป็นนักการเมือง เคยเป็นนายทหารเรือ มียศ พลเรือตรี



**(รอบที่ 3 ต่อเนื่อง 4 ) ควง อภัยวงศ์ 9 : พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491

(ลาออกเพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไป)

- 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2491(ถูกบังคับให้ลาออกคณะรัฐประหารใน 24 ชั่วโมง)



**(รอบที่ 2 ). จอมพล ป. พิบูลสงคราม : 8 เมษายน พ.ศ. 2491 - 16 กันยายน พ.ศ. 2500

- รอบนี้ เป็นๆออกๆ ต่อเนื่องกัน 6 รอบ อยู่ในอำนาจต่อเนื่อง 9 ปีกว่า



คนที่ 9. พจน์ สารสิน : 16 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501

- เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2493 จากนั้นดำรงตำแหน่ง

เอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา

- เลขาธิการคนแรกขององค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2500 

ถึง พ.ศ. 2506



คนที่ 10. จอมพลถนอม กิตติขจร : 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (รอบแรก)

- อยู่ในอำนาจ ทั้งแบบหัวหน้าคณะรัฐประหารและ อำนาจนายก เกือบ 10 ปี ทุกรอบ 



คนที่ 11.  สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 



**รอบที่ 2 จอมพล ถนอม กิตติขจร : 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 

(ลาออกเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา)



คนที่ 12. สัญญา ธรรมศักดิ์ : 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518

- เป็นนักนิติศาสตร์ อาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- ประธานองคมนตรี



**รอบที่2. หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช : 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2518



คนที่ 13. พลตรีหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช : 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 - 20 เมษายน พ.ศ. 2519

- เป็นนักการเมือง นักเขียน นักวิชาการ และศาสตราจารย์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร



**รอบที่3. หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช : 20 เมษายน พ.ศ. 2519 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 

(รัฐประหาร เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา)



คนที่ 14. ธานินทร์ กรัยวิเชียร : 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2520

- เป็นอดีตผู้พิพากษา นักการเมือง และศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย เป็นนายกรัฐมนตรีจากนั้นเขาได้รับ

แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี



คนที่ 15. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523

- การขอให้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2520 และได้รับการยกย่องว่า "นำพาประเทศไทยไปสู่

ประชาธิปไตย" (ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ประชาธิปไตย)

- ก่อตั้งอีสเทิร์นซีบอร์ดผ่านการก่อตั้ง ปตท. จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาล

 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์



คนที่ 16. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531

- เป็นนายทหาร นักการเมือง และรัฐบุรุษ ได้รับเครดิตในการยุติการก่อความไม่สงบของคอมมิวนิสต์  

- ประธานองคมนตรี



คนที่ 17. พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534

- เป็นนายทหาร นักการทูต และนักการเมือง รัฐมนตรีหลายกระทรวง ได้แก่กระทรวงการต่างประเทศ

 กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงกลาโหม



คนที่ 18. อานันท์ ปันยารชุน : เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่าง พ.ศ. 2534-2535 และอีกครั้ง

ในครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2535

- ริเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ 

สาขาบริการรัฐกิจ



คนที่ 19. พลเอก สุจินดา คราประยูร : 7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 

(ลาออกเนื่องจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)

- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบกไทย ผู้นำรัฐประหาร พ.ศ. 2534 ปราบปรามอย่างรุนแรงพฤษภาคมทมิฬ



**รอบที่2. อานันท์ ปันยารชุน : 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 - 23 กันยายน พ.ศ. 2535



คนที่ 20. ชวน หลีกภัย : 23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538

- ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย 2 วาระ อดีตประธานรัฐสภา หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์



คนที่ 21. บรรหาร ศิลปอาชา : 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 

- หัวหน้าพรรคชาติไทย สมาชิกรัฐสภาผู้แทนจังหวัดสุพรรณบุรี



คนที่ 22. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ : 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 

(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)

- เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบก และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพไทย

- ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ 



**รอบที่2. ชวน หลีกภัย : 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544



คนที่ 23. ทักษิณ ชินวัตร : 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 ( วาระแรก )


- วาระที่2 ต่อจากครั้งแรก 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (ยุบสภาผู้แทนราษฎร 

จัดการเลือกตั้งทั่วไป และเกิดรัฐประหาร)



คนที่ 24. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ : 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 29 มกราคม พ.ศ. 2551

- เป็นหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราว 



คนที่ 25. สมัคร สุนทรเวช : 29 มกราคม พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2551 (ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ให้พ้นจากตำแหน่ง)



คนที่ 26. สมชาย วงศ์สวัสดิ์ : 18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 



คนที่ 27. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554



คนที่ 28. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร : 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

- นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย



คนที่ 29. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา : 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ( 2 วาระ )

ไม่นับรวมตอนเป็น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

- หัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. รัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง 



คนที่ 30. เศรษฐา ทวีสิน : 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

- นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของแสนสิริ

- หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คนสนิทของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร



คนที่ 31.  :