กษัตริย์พม่าที่รบกับไทย
กับอยุธยาหรือไทยในทุกๆรัชกาล เพื่อนำไว้เป็นความรู้รอบตัวด้วยว่าพม่าและไทย
ทำสงครามกันในสมัยของกษัตริย์พม่าองค์ใดกันบ้างด้วยคำอธิบายเล็กๆน้อยๆหลัง
รายพระนามกษัตริย์พม่า (เป็นการรวบรวมขึ้นมาเองโดยผู้เขียนถ้าผิดพาดหรือตก
หล่นประการใดขอภัยท่านผู้อ่านมา ณ ที่นี้ด้วย) สงครามพม่ารบไทย
กองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้าสู่กรุงหงสาวดี |
1. พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ : ทรงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจ
เพราะตลอดรัชกาลพระองค์ทำสงครามเป็นส่วนใหญ่ อยูะยาแน่นอนก็เคยโดนบุก
มาแล้วน่าจะจำกันได้ก็สงครามที่ฝ่ายอยุธยาต้องเสียสมเด็จพระสุริโยทัย ในการ
ทำสงครามระหว่างอาณาจักรตองอูกับอาณาจักรอยุธยา
2. บุเรงนอง : ผู้พิชิต พิชิตอาณาจักรอยุธยา ล้านนา ล้านช้าง มณีปุระ ไทใหญ่
พระองค์ถือเป็นหนึ่งในสามมหาราชพม่าพร้อมด้วยพระเจ้าอโนรธามังช่อและ
พระเจ้าอลองพญา พระเจ้าบุเรงนองยังถือว่าเป็นกษัตริย์นักปกครองและบริหารที่
เก่งกาจมีความสามารถในการสงครามและการปกครองอย่างดี
3. พระเจ้านันทบุเรง : เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของพระเจ้าบุเรงนอง ผู้ที่
หมายจะจับตัวพระนเรศวรเป็นกลับไปอีกครั้งแต่สุดท้ายก็ทำไม่ได้จนในช่วงท้าย
ของชีวิตนั้นพระเจ้านันทบุเรงได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาหลายต่อหลายครั้ง
เพื่อปราบปรามอยุธยาลงให้ได้ประเทศราชอื่นๆจะได้ไม่แข็งเมืองตาม ที่น่าจะจด
จำกันได้คือโอรสของพระองค์คือ มังสามเกียดหรือพระอุปราชที่มาทำยุทธหัตถีกับ
สมเด็จพระนเรศวร และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จนถึงขั้นสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง
4. พระเจ้าอโนเพตลุน หรือ พระเจ้าอังวะมหาธรรมราชา : เคยทำศึกที่ทวาย
และเลยไปตีที่ตะนาวศรีของอยุธยาได้สู้รบกันกับอยุธยาแล้วแพ้ไปรวมทั้งไปทำศึก
ที่ล้านนาเพื่อจัดการความวุ่นวายเสร็จหลังจากนั้นอยุธยาก็ยกทัพไปล้านนาล้านนา
ก็กลับไปเข้าข้างไทยและไล่ขุนนางพม่าไปหมด
5. พระเจ้าปเย (พระเจ้ามหาสีหสุรสุธรรมราชา) : เป็นรช่วงเดียวกับรัชสมัย
ของ สมเด็จพระนารายณ์ และในสมัยของพระเจ้าปเยนั้นก็ได้รับศึกจากอยุธยา
ที่สมเด็จพระนารายณ์นั้นได้สั่งให้ยกเข้ามาตีอังวะเพื่อแก้แค้นที่กองทัพพม่ายก
ทัพเข้ามาติดตามครอบครัวชาวรามัญที่หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารครั้งนั้น
พระองค์โปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพไปตีเมือง
ทวาย เมืองเมาะตะมะ แต่สุดท้ายด้วยขัดสนซึ่งเสบียง ทหารเจ็บป่วยเป็นไข้กัน
มากมายจึงได้ยกทัพกลับ
6. พระเจ้าอลองพญา : ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง สามารถรวบรวมบ้าน
เมืองให้เป็นปึกแผ่น ปราบปรามมณีปุระ กอบกู้ล้านนาคืนจากอยุธยา ฟื้นฟูอาณา-
จักรหงสาวดีทรงเป็นกษัตริย์พม่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 1 ใน 3 พระองค์ ร่วมกับ พระเจ้า
อโนรธามังช่อ และ พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าอลองพญา สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง
กลับจากการทำสงครามกับอยุธยา ตามพงศาวดารไทยระบุว่าสิ้นพระชนม์เพราะ
ปืนใหญ่แตกที่วัดหน้าพระเมรุ แต่ทางพงศาวดารพม่าระบุว่าสิ้นพระชนม์เพราะ
ประชวร (พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุดท้ายของพม่าอีกด้วย)
7. พระเจ้ามังระ : เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในจำนวน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลอง-
พญาส่งกองทัพนำโดยเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเข้ามาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา
นานถึง 1 ปีกับสองเดือน แม้ถึงฤดูน้ำหลากก็ไม่หนี ก็สามารถเข้าตีพระนครได้ทำให้
เสียกรุงเป็นครั้งที่ 2 นับว่าเป็นสงครามพม่ารบไทย และทำให้ไทยยับเยินที่สุดนับ
ตั้งแต่มีสงครามมา
8. พระเจ้าจิงกูจา : พระโอรสของพระเจ้ามังระ ขึ้นครองราชย์ด้วยพระชันษา
เพียง 19 ปี พระเจ้าจิงกูจาต้องการรักษาอำนาจในล้านนาเอาไว้จึงส่งทัพเข้ามาช่วย
คนของพระองค์ที่ดูแลเชียงใหม่อยู่ แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้แก่ไทย ทางไทยจึงให้ทิ้ง
เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้างไม่มีประโยชน์อันใดเสียเพื่อภายหลังจะได้ไม่ต้อง
แย่งชิงกัน เชียงใหม่จึงกลายเป็นเมืองร้างอยู่ถึงประมาณ 15 ปี และหลังจากนั้น
ไทยกับพม่าก็ว่างสงครามกันมาเป็นเวลา 8 ปีเลยทีเดียว ( เชียงใหม่เคยร้าง 15 ปี
ถือว่าเป็นความรู้รอบตัวที่ดีเลยครับ อ่านมาจากหนังสือไทยรบพม่าครับ)
9. พระเจ้าปดุง : ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 ปีเดียวกับ
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ทรงทำสงครามกับไทยมากมายหลายครั้งทั้งศึกเล็ก
จนไปถึงศึกใหญ่อย่างสงคราม 9 ทัพนับว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงทำสงครามกับ
ไทยมากพระองค์นึงเลยทีเดียวผลัดแพ้ชนะในศึกเล็กๆกับไทยตลอดแต่ศึกใหญ่นั้น
ก็ยังไม่สามารถล้มไทยลงได้เลย พระองค์จึงไม่สามารถสร้างประวัติศาตร์ให้จารึก
ได้ว่าล้มสยามลงได้ ทั้งๆที่พยายามอยู่หลายครั้งก็ตามแต่
10. พระเจ้าจักกายแมง : ในสมัยเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า-
นภาลัย กับ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ไทยช่วยอังกฤษรุกรานพม่าผลสรุป
สุดท้ายพระเจ้าจักกายแมงก็ต้องขอยอมแพ้หลังจากโดนตีถอยร่นเรื่อยๆจนถึง
อังวะ