บทความที่ดีควรเป็นอย่างไร
บทความที่ดี มีประโยชน์ให้ความรู้น่าสนใจ ในความหมายของผู้อ่านเป็นอย่างไร
กันครับจะเป็นเหมือนบทความนี้รึเปล่ามาดูกัน
กันครับจะเป็นเหมือนบทความนี้รึเปล่ามาดูกัน
ไม่ใช่เลยเหมือนการหลอกลวงเขาให้มาอ่านเท่านั้นไม่ได้ใส่ใจถึงว่า เขาต้องการอ่าน
อะไรแบบนี้เขาเรียกตบหน้ากันและดูถูกผู้อ่านมากๆ (มันแตกต่างกับเทคนิคการตั้งชื่อ
เรื่องโดยสิ้นเชิง)
2. ไม่เอียง : ถ้ารักจะเขียนบทความคุณภาพบทความดีๆก็อย่าใส่ความเอนเอียงลง
ในฝั่งใดฝั่งนึงใส่ข้อมูล ข้อดีข้อเสียให้ครบถ้วนให้ผู้อ่านตัดสินใจเอาเอง
(แบบนี้ใช้กับการโปรโมทสินค้าไม่ได้แน่ๆ ฮ่าๆ)
3. ไม่อคติ : การเขียนบทความที่ดีได้นั้นผู้เขียนจะต้องไม่มีอคติกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง
เช่นจะเขียนบทความเกี่ยวกับ กลุ่ม ฮามาส ประทะเดือด กับอิสราเอล แต่ผู้เขียนอคติ
ต่ออิสราเอลหรือ ฮามาส ส่งผมมายังบทความที่ออกมาในแนวอคติ แนะนำว่าส่วนตัว
ผู้เขียนอาจจะอคติก็ได้แต่บทความออกมาต้องเสนอความจริงและถูกต้องไม่มีอคติใดๆ
ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
4. ข้อมูลถูกต้อง : อันนี้สำคัญมากนะ ข้อมูลต้องน่าเชื่อถืออ้างอิงได้และถูกต้อง หรือ
คิดว่าถูกแต่ถ้าไม่แน่ใจว่าถูกก็ควรตั้งข้อสังเกตุเอาข้อมูลมารวมๆกันให้ผู้อ่านตัดสินใจ
เอาเองว่าควรเชื่อแบบไหนเพราะในโลกนี้มีสิ่งที่คนอื่นมาว่าถูกแต่อีกคนบอกผิดแม้จะ
มาจากแหล่งเดียวกันก็ตาม เราควรนำมาเสนอทั้ง 2 ด้านเลยยิ่งดี ถ้าไม่แน่ใจว่ามัน
ถูกต้องหรือมีข้อสงสัยประการใดก็ควร วงเล็บหรือทำคอมเม้นท์เอาไว้ให้ชัดเจน
5. ไม่ทำให้คนดีเสียหาย : อย่าพาดพิงถึงคนอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องหรือลากเขามาพูด
โดยมิใช่มีความจริงนอกจากจะทำให้เขาเสียหายแล้วยังจะโดนเขาฟ้องตูดบานอีกด้วย
นะจ๊ะ
6. หยาบคายไม่ให้เกียรติ : อันนี้ก็ไม่ควรนะครับ จะหยาบคายในบทความหรือหยาบ
คายต่อคนที่พูดถึงยังไงก็ไม่สมควรเพราะบทความเราใช่ว่าจะมีแต่คนที่บรรลุนิติภาวะ
ที่อ่านได้ เด็กๆเล็กๆก็อ่านได้อย่าเอาแค่สะใจของอิฉันส่วนตัว ความมันส์ในอารมณ์
ที่ได้หยาบมาทำให้อนาคตของชาติหรือคนที่ถูกกล่าวถึงต้องรู้สึกแย่ เคยได้ยินมั้ย
ว่าถ่อยแล้วเท่ ?? เท่ด้วยความคิดก็ได้ไม่ต้องถ่อยหรอก
7. ให้ความรู้ เกร็ดความรู้ : ขยายความในหัวข้อหรือเรื่องที่ผู้อ่านน่าจะไม่เข้าใจเช่น
ชื่อเรียกเฉพาะทางหรือความหมายอย่างอื่น ความรู้รอบตัวเสริมเข้าไปในบทความด้วย
จะดีมากแต่อย่าเยอะเกินไปจนหลงประเด็น การให้ความรู้แก่คน ทำให้บทความเรามี
คุณค่า นับว่าเป็น บทความที่ดี มากๆครับ
8. ไม่ชี้นำ : ถ้าจะแสดงความเห็นส่วนตัวก็ขอให้แยกชัดเจนรวมถึง แสดงให้ชัดว่านี่คือ
ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนมิใช่ข้อมูลที่ได้มาแต่เป็นความเห็นส่วนตัว
9. อยู่ในประเด็น : ไม่พูดเพ้อพร่ำเพ้อจนออกจากประเด็กของบทความ ไม่แวะออก
จากประเด็นบ่อยหรือหลงประเด็นทำให้บทความนั้นเสียไปเลยเพราะไม่ได้อยู่ในตัว
เนื้อหาซักเท่าไหร่
10. นำเสนออย่างสร้างสรรค์ : เช่นวลี สำนวนของผู้เขียนที่แปลกแตกต่างและ
ดีงาม (ดีงามคือสร้างสรรค์ไม่ใช่หยาบคาย) จะทำให้บทความนั้นน่าอ่านมากยิ่งขึ้น