หมวดหมู่

หมวดหมู่สำคัญ

สงคราม 9 ทัพ ทั้ง 9 ทัพมีไรมาทางไหนบ้าง





สงคราม 9 ทัพ ทั้ง 9 ทัพมีไรมาทางไหนบ้าง


      เรื่องไทยรบกับพม่า*ในสมัยของพระเจ้าปดุงของพม่า ราชวงศ์คองบอง* ตรงกับ

ยุคของมหาราชกษัตริย์ของไทยอย่าง รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า

จุฬาโลก ที่พม่ายกมาตีไทย ถึง 9 ทัพ และทั้ง 9 ทัพนั้นต้องถอยทัพกลับไปแพ้ให้

แก่ไทยจะด้วยยุทธวิธีไหนเพราะอะไร เราพอจะบอกได้ว่ามันมีหลายสาเหตุที่มาจาก

พม่าและบางสาเหตุทางไทยที่ทำให้สงคราม 9 ทัพครั้งนี้จบลงด้วยการที่พม่า

ถอยทัพไป ทั้งเรื่องการส่งเสบียงการเดินทัพที่ลำบาก พม่าโดนตีตัดเสบียงอาหาร

และรวมถึงการส่งกำลังบำรุงที่ทำได้ยากเพราะไม่ได้มีการเสริมเสบียงจากในเขตไทย

เนื่องจากไทยใช้วิธีรบแบบใหม่ ต้องบอกว่าสยามแต่ไทยง่ายกว่าเรียกไทยละกัน

วิธีรบแบบใหม่นี้คือออกไปจัดการข้าศึกตั้งแต่เนิ่นที่ชายแดนไม่ยอมให้เข้ามาตั้งคู

ค่าย หรือตั้งตัวในแดนของตัวเองได้ทำให้พม่านั้นยากลำบากมากในการเดิทัพและ

โดนตอดเล็กตอดน้อยตลอดเวลา

              พระเจ้าปดุงเองนั้นหวังจะยกเอากำลังใหญ่หลวงทุ่มเข้ามาตีไทยเพื่อให้

ไม่มีทางรอดสู้ได้เลย แต่กลายเป็นจุดบอดคือ ยกมา 9 ทัพ 5 ทางมันมากเกินไป

ทำให้การส่งเสบียงบำรุงกำลังพลนั้นทำได้ยากที่จะส่งไปให้หมดทุกทิศทาง และ

การเดินเข้ามาหลายทางของพม่าทำให้เมื่อตรงไหนพลาดไปก็ทำให้อีกทัพนึงต้อง

ชะงัด มาไม่พร้อมกันไปต่อไม่ได้ นั่นเป็นสาเหตุที่พม่าแพ้ในสงคราม 9 ทัพ

(ในส่วนของพม่า)  ส่วนที่พม่าแพ้ทางไทยคือ ไทยจัดกองทัพเข้าไปรองรับทางที่

พม่าจะตีดั่งจะเห็นได้จาก กองทัพที่ 2 ยังไม่ได้ทำไรเป็นชิ้นเป็นอันก็ต้องกลับบ้าน

ไปแล้ว เพราะโดนตีดักจากทางยากบีบแคบ โดยไทยได้ตั้งทัพดัก ไว้ 3 ทัพ และ

อีก 1ทัพหนุน คือ


ทัพที่ 1 กรมพระราชวังหลัง มีกำลังพล 15,000 ไปคอนสกัดกั้นที่นครสวรรค์

คอยจัดการทัพจากทางเหนือคือทัพที่ 3 ของเจ้าเมืองตองอู  เพื่อช่วยเวลาที่

ทัพใหญ่สู้กันที่กาญจนบุรีกันทัพทางเหนือมาบรรจบ


ทัพที่ 2 มีกำลังพล 3 หมื่น ให้กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จขึ้นมาตั้งทัพที่เมือง

กาญจนบุรี(เก่า) คอยดักทัพหลวงของพระเจ้าปดุงเอาไว้


ทัพที่ 3 พระยาธรรมมา(บุญรอด) กับเจ้าพระยายมราช นำพล 5พัน ไปตั้งรักษา

ที่ราชบุรี รักษาทางลำเลียงของกองทัพที่ 2 ของกรมพระราชวังบวรฯและค่อยต่อสู้

ข้าศึกที่จะยกมาทางใต้หรือทางเมืองทวาย แต่ทัพนี้ประมาท ไม่ได้จัดกองลาด

ตระเวนออกไปสืบข่าวข้าศึก จึงไม่ทราบว่ามีกองทัพพม่าเข้ามาตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี

ถึง 3 ค่าย เมื่อกรมพระราชวังบวรฯ (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ) มีชัยชนะ

ที่ทุ่งลาดหญ้าแล้ว จึงมีรับสั่งให้พระยากลาโหมราชเสนา และพระยาจ่าแสนยากร

คุมกองทัพลงมาทางบก จึงทราบว่ามีกองทัพพม่าตั้งค่ายอยู่ที่นอกเขางู จึงยก

กองทัพเข้าตีค่ายพม่าจนพม่าแตกพ่ายไป และทั้ง 2 ท่านได้ยกทัพลงใต้ไปทาง

ชุมพร เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท มาถึงราชบุรีได้ทรงทราบว่าทั้ง

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์(บุญรอด)และพระยายมราช ประมาทต่อศัตรู จึงมีรับสั่งให้

ขังเอาไว้ที่ราชบุรี รอนำกลับไปประหารที่กรุงเทพฯ (กรุงรัตนโกสินทร์ ) แต่ด้วย

พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเห็นว่า

แม่ทัพทั้งสองเคยมีความดีความชอบมาก่อน จึงมีสาสน์ตอบขอชีวิตไว้ แต่ก็

ทรงโปรดให้ลงอาญาทำโทษตามกฏพระอัยการศึก กรมพระราชวังบวรฯ จึง

ลงพระราชอาญาให้โกนศีรษะแม่ทัพทั้งสอง เป็นสามแฉก แล้วแห่ประจานรอบค่าย

ถอดยศและฐานันดรศักดิ์ นี่คือฝั่งไทย


และเหตุผลที่ว่าทำไมพม่าจึงแพ้กลับไป


คราวนี้มาดูกันครับว่าทั้ง 9 ทัพของพม่านั้น มีใครมาทางไหนทำหน้าที่อะไร จะต้อง

ไปตีที่ไหนบ้าง แล้วโดนไทยเราสวนกลับอย่างไรมาดูกัน



1. ทัพที่ 1 (ทัพที่หนึ่ง) : หมายจะลงมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทยเรา

โดยกะจะตีเมืองชุมพรลงไปสงขลาโดยใช้ทัพบกและ ทัพเรือนั้นก็จะตีตามแนวชาย

ฝั่งทะเลตะวันตกจากเมืองตะกั่วป่า (อำเภอของจังหวัดพังงาในปัจจุบัน) ไล่ยาวลง

ไปถึงเมืองถลาง (ภูเก็ต) มีกำลังพลราว 1 หมื่น เรือรบอีก 15 ลำนำมาโดย

- แมงยี แมงข่องกยอ -

แต่กระทำการผิดพลาดเนื่องจากพระะเจ้าปดุงต้องการให้ทัพนี้มารวบรวมเสบียงให้

ทัพหลวงที่จะยกจากเมาะตะมะลงมาชุมพรด้วย แต่พอทัพหลวงยกลงมากลับไม่มี

เสบียงที่เพียงพอทำให้ พระเจ้าปดุงทรงพิโรธ ประหาร แมงยี แมงข่องกยอ แล้ว

ให้ - เกงหวุ่นแมงยี มหาสีหะสุระอัครมหาเสนาบดี - มาคุมทัพที่ 1แทน


   -- ผลการรบ --  ทัพนี้ยกลงมาโดยเกงหวุ่นแมงยีตีได้ เมืองกระบุรี

ระนอง ชุมพร ไชยา ส่วนทัพเรือให้ยี่หวุ่นยกไปตีเมืองถลาง เก็บได้เมืองรายทาง

อย่างตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และข้ามเข้าไปตีเมืองถลาง เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นเหตุการณ์

สร้างวีระสตรีของเมืองถลาง เนื่องจากพระยาถลางพึ่งจะถึงแก่อนิจกรรมลงไปยังไม่มี

ผู้ใดขึ้นรักษาเมืองถลาง คุณหญิงจันทร์ ภรรยาของพระยาถลาง และคุณหญิงมุก

น้องสาวของคุณหญิงจันทร์ ช่วยกันรวบรวมไพร่พลรักษาเมืองถลางเอาไว้อย่าง

เข้มแข็งกว่า 1 เดือนพม่าไม่สามารถตีหักเข้ามาเอาเมืองถลางได้จึงต้องเลิกทัพ

กลับพม่าไป ส่วนทางบกที่เกงหมุ่นแมงยียกลงไปถึงนครศรีธรรมราชนั้น ลงล่วงเข้า

ไปจะตีพัทลุงและสงขลาด้วย เจ้าเมืองพัทลุงพระยาแก้วโกรพดูท่าไม่สามารถจะสู้

ได้จึงหนีไปพร้อมพรรคพวก แต่มีพระภิกษุรูปนึงเป้นที่เคารพ เลื่อมใสของชาวบ้าน

มีคาถาอาคม ได้ทำของขลัง อย่างตระกรุด ผ้าประเจียด แจกจ่ายให้ชาวบ้าน

ที่มารวมพลกันเพื่อต่อสู้พม่านับพัน รบกันที่ไชยา พม่ายังไม่ทันได้ตั้งค่ายพักฝ่าย

ชาวบ้านก็ตั้งกำลังล้อมพม่าไว้ (เป็นทัพหน้าของเกงหวุ่นแมงยีอีกที) ฝ่ายไทยนำ

ทัพเข้าตะลุมบอนพม่าแตกหนีไป ทางเกงหวุ่นแมงยีรู้ว่าทัพหน้าของตนแตกพ่าย

มา ก็รีบยกพลหนีกลับพม่าไป



2. กองทัพที่ 2 (ทัพที่สอง) : ทัพที่ 2 นี้จะลงมาตีหัวเมืองไทยใน

ฝั่งตะวันตก อย่าง ราชบุรี เพชรบุรี และจะลงไปบรรจบกับกองทัพที่ 1 ที่เมืองชุมพร

ยกมามีกำลังพล 1 หมื่น เดินทางเข้ามาทางด่านบ้องตี้ นำโดย

- แม่ทัพอนอกแฝกคิดหวุ่น -


   -- ผลการรบ --  ทัพนี้รวมกันที่ทวาย แล้วยกมาตีที่ด่านบ้องตี้ซึ่งเป็น

ทางภูเขายากลำบากทุรกันดาลมาก ได้เข้าสู้รบกับฝ่ายไทยและแตกพ่ายไปตาม

ระเบียบ



3. กองทัพที่ 3 (ทัพที่สาม) : ทัพที่ 3 นี้ยกมาจากเมืองเชียงแสน

นำโดย เจ้าเมืองตองอู หวุ่นคยีสะโดะศีรีมหาอุจจะนะ ยกกำลังพลมา 3 หมื่น

เข้ามาทางเมืองเชียงแสนหมายจะลงมาตีนครลำปางและหัวเมืองแถวแม่น้ำแควใหญ่

และลำน้ำยม เรียงมาตั้งแต่ สวรรคโลก (อำเภอของจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ลงมา

สุโขทัยเพื่อจะให้เข้ามารวมบรรจบพอกับกองทัพหลวงที่กรุงเทพฯ


   -- ผลการรบ --  ทัพนี้ยกพ่านเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองร้างล่วงเข้าไปเขต

ลำปาง หมายจะตีเข้าลำปางแต่พระยากาวิละ รักษาเมืองอย่างงเข้มแข็ง จึงสามารถ

รักษาเมืองเอาไว้ได้แต่หัวเมืองอื่นทางเหนือรวมถึง สวรรคโลกนั้นไม่สามารถต้านทัพ

ของพม่าได้แตกพ่ายเสียหมด พม่าจึงตีกวาดเข้ามาได้ถึงพิษณุโลก ทัพนี้ยกลงเข้า

ไทยได้ มาเจอกับทัพของไทยที่สกัดอยู่ เนมะโยสีหปติ แม่ทัพฝ่ายพม่าจึงตั้งค่ายอยู่

ที่ปากพิง พิษณุโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จยกทัพหลวง

3 หมื่น ไปประทับที่เมืองอินบุรี แล้วมีรับสั่งให้ กรมพระราชวังหลังยหทัพตามเข้ามา

สมทบกับพระมหาเสนา เพื่อเข้าตีค่ายพม่าที่ปากพิง ไทยเข้าตีพม่าที่ปากพิงตั้งแต่

เช้าจรดเย็นล่วงไปถึงค่ำก็สามารถตีทัพพม่าที่ปากพิงแตกหมดทุกค่าย ศพพม่าลอย

เกลื่อนแม่น้ำลำคลองเพราะหนีตายไปทางน้ำแต่โดนไทยตามฆ่า นอนลอยเกือบพันศพ

จนน้ำในแม่น้ำลำคลองไม่สามารถนำมาดื่มกินได้


        ฝ่ายกองทัพเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฏา ยกมาถึงนครลำปางเห็นทัพพม่าของ

เจ้าเมืองตองอูล้อม อยู่จึงเข้าตีค่ายพม่า ฝ่ายพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางเห็นดังนั้น

จึงยกทัพออกมาตีกระหนาบพม่าอีกทาง ทำให้ทัพเจ้าเมืองตองอูแตกพ่ายหนีกลับเข้า

เชียงแสนไป หมดสิ้น



4. กองทัพที่ 4 (ทัพที่สี่) : ทัพที่ 4 นี้มีกำลังพลประมาณ 1หมื่นนิดๆ

(11,000 คน) ให้ เมียนหวุ่นแมงยีมหาทิมข่อง เป็นทัพหน้าเพื่อจะเข้ามาตีกรุงเทพฯ

โดยยกกองทัพลงมาตั้งที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อจะเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์


   -- ผลการรบ --  ยกเข้ามาทางเมืองไทรโยค ด่านกรามช้าง มาหยุดอยู่

ที่ชายทุ่งลาดหญ้าตั้งค่ายรอ และทัพที่ 5 ของเมียนเมหวุ่นก็ยกเข้ามาหยุดพร้อมกัน

เจอกับทัพของ กรมพระราชวังบวรฯ ทั้ง 2 ทัพสู้กันด้วยปืนใหญ่ ต่อมาพม่าได้หลง

อุบายกรมพระราชวงบวรฯ ด้วยพระองค์ให้ทหารออกจากค่ายในเวลากลางคืนและ

เข้ามาเมื่อตอนเช้าถือธงทิวเข้ามา พม่าอยู่ที่สูงเห้นเหมือนไทยกำลังเสริมกำลัง

อย่างหนักอยู่เรื่อยๆตลอด ลดทอดกำลังใจทัพหม่าลง เมื่อถึงจังหวะเหมาะมือทัพไทย

จึงเข้าตีพม่า พม่าทั้งกองทัพที่ 4 และ 5 แตกพ่ายเตลิดไปหมด



5. กองทัพที่ 5 (ทัพที่ห้า) : ทัพที่ 5 นี้มีเพียง 5 พันนำโดย

เมียนเมหวุ่น   มาตั้งที่เมืองเมาะตะมะเพื่อเป็นกองหนุนให้ทัพหน้า (ทัพที่ 4)


   -- ผลการรบ --  สมรภูมิเดียวกับกองทัพที่ 4 ของพม่าโดนทัพของกรม

พระราชวังบวรฯตีแตกไปพร้อมกัน ทัพหน้าของพระเจ้าปดุงที่ง 4 และ 5 แตกพ่ายหมด



6. กองทัพที่ 6 (ทัพที่หก) : ทัพนี้ให้ราชบุตรที่ 2 ตะแคงกามะ 

(ศิริธรรมราชา) เป็นแม่ทัพนำกำลังพล 12,000 มาตั้งคอยที่เมาะตามะเป็นทัพหน้าที่ 1

ของกองทัพหลวงจะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เพื่อเข้าตีกรุงเทพฯ


   -- ผลการรบ --  อยู่ในส่วนทัพหน้าของพระเจ้าปดุง เมื่อทัพหน้าที่ 4 และ

5 โดนตีแตก และขัดสนในเสบียงอาหารพระเจ้าปดุงจึงสั่งเลิกทัพกลับพม่า



7. กองทัพที่ 7 (ทัพที่เจ็ด) : ทัพที่ 7 ให้ราชบุตรที่ 3 ตะแคงจักกุ 

(สะโดะมันซอ) นำทัพเป็นแม่ทัพยกพลมา 11,000 มาตั้งทัพที่เมาะตะมะเช่นกันเพื่อ

เป็นทัพหน้าที่ 2 ของกองทัพหลวง


   -- ผลการรบ --  อยู่ในส่วนทัพหน้าของพระเจ้าปดุง เมื่อทัพหน้าที่ 4 และ 5

โดนตีแตก และขัดสนในเสบียงอาหารพระเจ้าปดุงจึงสั่งเลิกทัพกลับพม่า



8. กองทัพที่ 8 (ทัพที่แปด) : ทัพหลวง ของพระเจ้าปดุงเป็นจอมพล

ยกมาเอง เสด็จลงมาตั้งทัพที่เมืองเมาะตะมะ โดยยกกำลังพลมาทั้งสิ้น 5 หมื่น


   -- ผลการรบ --  เมื่อทัพหน้าของพระองค์ ทั้งทัพที่ 4 และ 5 นำโดย

เมียนหวุ่นแมงยีมหาทิมข่อง และ เมียนเมหวุ่นแตกพ่าย ประกอบกับเสบียงอาหาร

เริ่มขัดสนจากการเตรียมทัพที่ไม่พร้อมและมาหลายทางเกินทำให้พนะองค์ตัดสินใจ

ยกทัพกลับพม่า



9. กองทัพที่ 9 (ทัพที่เก้า) : ทัพที่ 9 ถือกำลังพล 5 พัน นำมาโดย

จอข่องนรทา  เข้ามาทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก เพื่อให้เข้ามาตีหัวเมือง

เหนือไล่ตั้งแต่เมืองตาก กำแพงเพชร และลงมาบรรจบกับทัพหลวงของพระเจ้าปดุง

ที่กรุงเทพฯ


   -- ผลการรบ --  ทัพนี้แม้มาน้อยยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าตีเมือง

ตากเมืองตากยอมอ่อนน้อมแต่โดยดีไม่สู้ด้วย พม่าจึงนำทัพไปตั้งที่บ้านระแหง แต่

หลังจากทราบข่าวว่ากองทัพพม่าที่ปากพิงแตกพ่ายหมดก็ถอนทัพกลับไปทางด่าน

แม่ละเมา


ครบถ้วนทั้ง 9 ทัพที่ยกมาและผลการรบที่พม่ารบกับไทย ในประวัติศาสตร์ทั้งไทย 

แลพม่ากันเลยครับ วันหน้าถ้ามีบทความหรือข้อมูลอะไรใหม่ๆ ความรู้รอบตัว หรือ

เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จะมาอัพเดทกันอีกจ้า