8 มหาราชกษัตริย์ไทย




8 มหาราชกษัตริย์ไทย

  มหาราชกษัตริย์ไทย ราชวงศ์ไทย ประวัติศาสตร์ไทยพระกษัตริย์ไทย ตั้งแต่

สุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี รวมไปถึง กรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันมีพระองค์ใดกันบ้าง

หลังจากที่เราเคนพูดถึง มหาราชกษัตริย์พม่า ซึ่งพูดเกี่ยวกับ 3 กษัตริย์พม่าผู้ยิ่งใหญ่

ซึ่งถูกนับเป็นมหาราชมาบทความนี้เราจะมาเรียงพระมหาราชของไทยเราบ้างว่าทั้ง 8

พระองค์คือพระองค์ใดกันบ้าง


มหาราชกษัตริย์ไทย


1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  : พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วง

แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841

ทรงสู้รบปกป้องขยายดินแดนทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง

และรวมไปถึงทรงประดิษฐ์อักษรไทย ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ

วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี ทรงนำพุทธศาสนาเข้ามา

ในอาณาจักรอีกด้วย


2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  : มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ กอบกู้เอกราช

ให้แก่อยุธยาหลังจากที่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทำสงครามยุทธหัตถีสร้างชื่อ

ระบือไกลสู้รบปกป้องขยายดินแดนทรงรวบรวมอาณาจักรให้กว้างไกลสร้างความมั่นคง

ให้แก่อาณาจักร เป็นคนที่พม่าเกรงกลัวเป็นอย่างมากจนหลังจากพระองค์ทรงชนช้าง

กระทำยุทธหัตถีเอาชนะพระมหาอุปราชาได้ พม่าก็ไม่กล้ามาบุกไทยอีกเลยเป็นเวลา

นาน


3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  : พระมหากษัตริย์ของอยุธยา ทรงพระปรีชา

สามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง สามารถพิชิตเชียงใหม่และหลายๆหัวเมือง

ของพม่าทางด้านการค้าขายเศรษฐกิจ รวมถึงการคบค้าสมาคมกับต่างขาติทรงพระ

ปรีชาในด้านกวี และทรงส่งเสริมการกวี  ซึ่งถือเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีไทยมีการ

เจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างฝรั่งเศส และพระองค์ยังได้นำวิทยาการสมัย

ใหม่ในยุโรปเข้ามาใหสยามมากมายเช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ

รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปา

ภายในพระราชวังอีกด้วย


4. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  : เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัย

อาณาจักรธนบุรี ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

รวบรวมแผ่นดินจาก ชุมนุมหรือกลุ่มต่างๆที่แตกออกมาจากอาณาจักรเดิมให้กลับมา

เป็นปึกแผ่นมั่นคง


5. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  : ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์

จักรี ทรงทำศึกกับพม่าหลายครั้งเพื่อปกป้องแผ่นดินทรงวางรากฐานการปกครองและ

การป้องกันอาณาจักรเอาไว้อย่างมั่นคง ทรงสร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีที่เข้มแข็ง

ได้แก่ ป้อมปราการ, คลอง ถนนและสะพานต่างๆ มากมาย มีแม่น้ำเป็นคูเมืองธรรมชาติ

มีชัยภูมิเหมาะสม และสามารถรับศึกได้เป็นอย่างดี ศึกกับพม่าที่เป็นที่รู้จักดีในสมัยของ

พระองค์คือ สงคราม 9 ทัพ


6. สมเด็จพระปิยะมหาราช  : รัชกาลที่ 5 ทรงบริการพัฒนาประเทศไปในหลายๆ

ด้านทั้งเรื่องการปกครอง การรถไฟการไปรษณีย์ การไฟฟ้าและการประปาขึ้นเป็นครั้ง

แรก การเลิกทาส รวมทั้งการปกป้องประเทศ ยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษา

เอกราชของประเทศไว้ซึ่งอยู่ในช่วงยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ทรงการปฏิรูป

การปกครองให้ทัดเทียมเพื่อจะได้ไม่ล้าหลังชาติตะวันตก เป็นที่รักของประชาชน ผู้คน

มักออกพระนามว่า "ปิยมหาราช" แปลว่า มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก และว่า

"พระพุทธเจ้าหลวง"


7. สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า  : พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการ

เมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญ

ที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือ

วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบันขึ้น องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง

สหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

เจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่

ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี  ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง ทรงตั้งกรมมหรสพ เพื่อ

ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยทรงส่งทหารเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 เข้าร่วมกับ

ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรและชนะสงครามทำให้ประเทศไทยมีอำนาจในการเจรจา

เรื่องราวระหว่างประเทศได้มากขึ้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวชิรพยาบาลและ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทรงจัดตั้งกองเสือป่า  รวมถึงเมืองจำลอง "ดุสิตธานี" ซึ่ง

ปกครองในประบอบประชาธิปไตยไว้อีกด้วย


8. สมเด็จพระภัทรมหาราช  : พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย ทรงมีพระปรีชาสามารถ

รอบด้าน ทรงแก้ปัญหาทุกข์ยากของราษฎร ทรงปัดเป่าทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชนใน

เขตทุรกันดาร  ทรงตั้งโครงการเพื่อพัฒนาด้านต่างๆ มากมาย ฝนเทียม ด้านการเกษตร

การชลประทาน การสาธารณสุข และอื่นๆอีกมากมาย  และมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือ

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลกพระองค์นึง