โอวาทปาติโมกข์ คืออะไร






โอวาทปาติโมกข์


 โอวาทปาติโมกข์เป็นหลักธรรมคำสอนที่สำคัญของศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าได้

ตรัสสอนไว้เนื่องในวันมาฆบูชา และเป็นคำสอนที่พระองค์ได้ทรงสอนไว้ตลอดปฐม

โพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าครั้งแรกเกิดขึ้นในวันมาฆบูชา


ที่มีความสำคัญ 4 ประการ (จาตุรงคสันนิบาต) คือ


1. พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย


2.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็น  "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นพระสงฆ์ที่พระ

พุทธเจ้าทรงทำการการอุปสมบทหรือบวชด้วยพระองค์เอง


3.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา 6 ข้อ


4.ตรงกับวันมาฆฤกษ์ ขึ้น 15 ค่ำ เพ็ญเดือน 3


โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักธรรม 3 ประการซึ่งเป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญของ

พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระ

อรหันต์ 1,250 รูปที่มาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม เมืองราชคฤห์

แคว้นมคธ


มีอยู่ 3 ส่วนดังนี้ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6



หลักการ


1.การไม่ทำบาปทั้งปวง ลด ละ เลิก ในการทำบาปทั้งปวงอยู่ในศีลในธรรม


2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำความดีรักษาศีล พูดดี คิดดี ทำดี เพื่อชีวิตที่ดีและ

ความสุข


3.การทำจิตให้ผ่องใส การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ไม่มักมากในเกม , ไท่พยาบาทมาดร้าย ,

ไม่หงอยเหงา ท้อแท้ สิ้นหวัง  , ไม่ฟุ้งซ่าน  , ไม่ลังเล (ที่จะทำความดี)




อุดมการณ์ 4


1.ความอดทน  อดทนอะกลั้นไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา และใจ มีความอดทนในสิ่งต่างๆ

ที่จะไม่ก่อให้เกิดความชั่ว


2.ความไม่เบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เว้นจากการรบกวน ทำร้าย ทำลายผู้อื่น


หรือเบียดเบียนให้เขาได้รับความลำบาก


3.ความสงบ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ ทำจิตใจให้อยู่ในทางสงบ


4.นิพาน การดับทุกข์ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุอของพระพุทธศาสนาคือการไม่มีทุกข์



วิธีการ 6  เป็นวิธีการและแนวทางที่ใช้เผยแพร่ศาสนาด้วยความเป็นธรรมและถูกต้อง


1.ไม่กล่าวร้าย ไม่ว่ากล่าวให้ร้ายใครหรือกล่าววาจาทำให้ผู้อื่นเสียหาย


2.ไม่ทำร้าย ไม่ทำร้ายทำลายทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไม่เบียดเบียนกัน


3.สำรวมในปาติโมกข์ การเคารพ ระเบียบ วินัย กติกา กฎ และธรรมเนียมปฎิบัติ

ประเพณีอันดีงาม


4.รู้จักประมาณ ในการใช้สอย การอุปโภค บริโภคอย่างพอดีและพอเพียง


5.อยู่ในสถานที่สงัด อยู่ในที่ๆสงบ สิ่งแวดล้อมที่ถูกที่ควรแก่การปฎิบัติฝึกฝนตนเอง


6.ฝึกหัดจิตใจให้สงบ  ทำจิตใจให้สงบ พัฒนาจิตใจให้มีคุณภาพที่ดี