ชื่อเดิม มหาลัยในไทย

 



ชื่อเดิม มหาลัยในไทย

เน้นมหาลัยที่ดังๆหรือเป็นที่รู้จัก กันแพร่หลายอะไรทำนองนี้ นะเอาชื่อเดิมของมหาลัยในไทย

ที่เคยมีมาก่อนชื่อปัจจุบันว่ามีชื่อเดิมว่าอะไรกันบ้าง ส่วนมหาลัยไหนมีชื่อเดียวมาตั้งแต่ต้น

จะไม่เอามาใส่ไว้นะ  ส่วนตัวย่อตามลิ้งนี้เลย ตัวย่อมหาลัยดังๆ


ชื่อเดิม มหาลัยในไทย


1. มหาวิทยาลัยนเรศวร : มาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 

และพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก


2. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน : โรงเรียนอาชีพช่างกล 

พ.ศ.2478: เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล” 

พ.ศ.2482: เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนช่างกลปทุมวัน” 

พ.ศ.2517: ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน”


3.  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม : เดิมชื่อว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม”  

พ.ศ. 2501 ยกฐานะ “โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม” เป็น “วิทยาลัยครู”  

ย้ายไปตั้งใหม่ที่ซอยสังขะวัฒนะ 2 ตั้งชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยครูจันทรเกษม” 

 พ.ศ. 2535 สถาบันราชภัฏจันทรเกษม


4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา :  “โรงเรียนราชวิทยาลัย” ชาวบ้านนิยมเรียกว่า 

“โรงเรียนฟากขะโน้น” หรือ “โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”  

“โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก”  

ปี 2458 จึงได้ใช้ชื่อเรียกว่า "โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา"

พ.ศ. 2501 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 

พ.ศ. 2535 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


5. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี : “วิทยาลัยครูจันทบุรี”  

พ.ศ. 2528 “วิทยาลัยรำไพพรรณี”  

พ.ศ. 2535 “สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี”


6. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ : โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์  

พ.ศ. 2535 สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์


7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  : วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ  

2518 เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ   

2531 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล


8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก : วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา  

พ.ศ. 2531  วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 

พ.ศ. 2532 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"


9. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน 

พ.ศ.2442  เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก  

พ.ศ. 2453 “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” 


10. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : พ.ศ. 2448 โรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ  

ได้ยกฐานะขึ้นเป็น วิทยาลัย ชื่อ "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์"  


11. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : “สถาบันเทคโนโลยีขอนแก่น”  

“มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” 


12. มหาวิทยาลัยทักษิณ : พ.ศ. 2511 วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา  ปี 2517 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา  พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคใต้ 


13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี :  พ.ศ. 2503 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี 


14. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ : 2502  โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เทคนิคไทย-เยอรมัน” 2514 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า


15. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี : วิทยาลัยสุรนารี


16. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ : 2501 โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย   พ.ศ. 2512 “วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา”  


17. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง


18. มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช : มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร


19. มหาวิทยาลัยบูรพา : พ.ศ. 2498  วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน   พ.ศ. 2517 ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน 


20. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : มหาธาตุวิทยาลัย / มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 


21. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย : มหามกุฏราชวิทยาลัย 


22. มหาวิทยาลัยมหิดล : พ.ศ. 2436 โรงเรียนแพทยากร 

พ.ศ. 2443 โรงเรียนราชแพทยาลัย  

พ.ศ 2486 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 


23. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม / 

โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ / 

โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ / 

วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / 

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / 

ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่

สถาปนาเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร" / 

เปลี่ยนชื่อ เป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้" / 

ได้รับการสถานปนาเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 


24. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : 2492 โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง  

2497 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา 


25. มหาวิทยาลัยศิลปากร : โรงเรียนประณีตศิลปกรรม 


26. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : มหาวิทยาลัยภาคใต้ 

( ชั่วคราวแบบไม่เป็นทางการ ตอนพึ่งเริ่มก่อตั้ง )


27. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต : โรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน  

พ.ศ.2480  “โรงเรียนการเรือนวังจันทรเกษม” 

พ.ศ. 2484 “โรงเรียนการเรือนพระนคร”  

2501 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู ชื่อ “วิทยาลัยครูสวนดุสิต”

พ.ศ. 2538  เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏสวนดุสิต” 


28. สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย : โรงเรียนนางพยาบาลสภากาชาดสยาม /

 โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยสภากาชาดไทย / 


29. สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา : โรงเรียนจิตรลดา / 

วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา / 


30. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง :  2503 ฝึกโทรคมนาคม นนทบุรี / 

 2507 เปลี่ยนฐานะเป็นวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี / 

2514 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า /  

2515 เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ศูนย์นนทบุรี

 2517 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตนนทบุรีลาดกระบัง /  

2522 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง / 


31. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ : วิทยาลัยไทยเทคนิค / 

พ.ศ. 2508 เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยกรุงเทพ”  


32. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี : วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี


33. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต : วิทยาลัยเกษมบัณฑิต


34. มหาวิทยาลัยพายัพ : วิทยาลัยคริสเตียนพายัพ / 

วิทยาลัยพายัพ


35. มหาวิทยาลัยศรีปทุม :  2513 วิทยาลัยไทยสุริยะ /  

2515 วิทยาลัยศรีปทุม


36. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย : พ.ศ. 2483 วิทยาลัยการค้า / 

พ.ศ. 2508 “วิทยาลัยการพาณิชย์” 


37. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ : วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์


โซเวียตเดิม มีกี่ประเทศ มีประเทศอะไรบ้าง

 


โซเวียตเดิม มีกี่ประเทศ มีประเทศอะไรบ้าง

ช่วงนี้ ปี2022 ที่ออกบทความนี้ นั่นแหละมีข่าวมีการทำสงครามกันระหว่าง ยูเครต - รัสเซีย ก็จะมีเรื่อง

ของโซเวียต นาโต้ หรือเรื่องวีโต้  ใหห้เราได้ศึกษาหรืออะไรมาให้เราไปหาต่อว่าคือไร เราเคยลงเรื่อง

เกี่ยวกับสหภาพโซเวียตไปแล้ว 

วันนี้เลยมาลงไว้เป็นบันทึกกันิดๆว่า สหภาพโซเวียตนั้น ตอนยังยิ่งใหญ่ มีประเทศอะไรบ้างเรียงเป็น 

ข้อๆจะได้ดูง่าย เอาไปใช้ง่ายๆ ถือว่าทวนความจำกัน เอาสั้นๆพอยาวไปจะเบื่อกันซะก่อน 

โซเวียต

ประเทศทั้ง 15 มี 11 ประเทศ ที่เข้าไปอยู่กลุ่ม CIS ( ฟีลกลุ่มในของโซเวียต )

โดยชื่อประเทศด้านล่าง จะเป็นตัวสีน้ำเงิน แต่ถ้าประเทศไหนไม่ได้อยู่อย่าง อสโตเนีย

ลัตเวีย จอเจียร์ และลิทัวเนีย จะใช้ตัวหนังสือสีแดง ส่วนยูเครนนั้นเดี๋ยวขอข่าวยืนยันอีกทีว่าออกรึยัง


1. รัสเซีย : แกนกลางของสกภาพ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของโซเวียต มีพลังงานแหละพื้นที่มหาศาลที่สุด


2. ยูเครน : เป็นเหมือนบ้านพี่เมืองน้องของรัสเซียมาก่อน เป็นที่ตั้งท่าเรือน้ำอุ่นของโซเวียตและรัสเซีย

 เป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนและพลังงานบางอย่างให้รัสเซียด้วย หลังการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองจาก

โปรรัสเซียมาเป็นโปรตะวันตก จึงเริ่มมีการแตกับรัสเซ๊ย โดนรัสเซียเข้าแทรกแซง ปี 2014 แคว้นไครเมีย 

ที่เป็นที่ตั้งกองเรือรบรัสเซียและอู่ต่อเรือ จนบานปลายมาเป็น เรื่อง ลูฮันส์ โดเนสต์ จน

กลายเป็นสงครามใหญ่ในปี 2022 นี้


3. ลัตเวีย : หลังออกจากโซเวียตได้ก็ลัตเวียเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป และนาโต้


4. มอลโดวา : ขื่อตอนอยู่ภายใต้โซเวียตคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย และตอนนี้กำลัง

มีข่าวการยื่นขอเข้าอียู


5. เบลารุส : ยังเป็นประเทศที่อยู่เคียงข้างกับรัสเซียในขณะนี้ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เป็น

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เด่นเรื่องป่าไม้และอุตสาหกรรมผลิตรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกล

ทางการเกษตรมีนาย อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียว

ของประเทศ หลังจากล่มสลายของสหภาพโซเวียตกินเวลากว่า 25 ปีแล้ว โดยชาวยุโรปได้ขนาน

ประเทศว่าเป็น เผด็จการแห่งสุดท้ายของยุโรป


6. ลิทัวเนีย : สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร 

มีทรัพยากรเด่นๆ อย่าง ไม้ อำพัน เชื้อเพลิงก๊าซ 


7. จอร์เจีย : เป็นประเทศที่พึ่งโดนรัสเซียรุกรานไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้โดยเสียเซาท์ออสซีเชีย 

จากสงครามสงคราม 5 วัน กับรัสเซีย


8. เอสโตเนีย : อยู่ในภูมิภาคบอลติก ต่อมาเอสโตเนียก็เข้าร่วมกับนาโต้ และอียู  (แต่ก็ไมได้โดนบุก

แบบยูเครน ทั้งที่มีดินแดนติดกับรัสเซียเหมือนกัน


9. อาเมเนีย : อุตสาหกรรมหลักของประเทศคือ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร อาหารสำเร็จรูป

 ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญได้แก่ ทองแดง อะลูมิเนียม เช่น เพชร แร่ธาตุ อาหาร พลังงาน 


10. อาเซอร์ไบจาน : ประเทศที่โคตรรวยประเทศนึงหลังออกจากสหภาพโซเวียตได้  สินค้าส่งออกหลัก

ของประเทศคือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่มาจากทะเลสาปแคสเปียน 

มีน้ำมันสำรองอันดับ 3 ของโลก


11. คาซัคสถาน : ชื่อตอนอยู่กับโซเวียตคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค  คาซัคสถานเป็น

สาธารณรัฐสุดท้ายที่แยกตัวออกมาก่อนที่จะเกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต


12. เติร์กเมนิสถาน : ตอนอยู่กับโซเวียตใช้ชื่อ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน อุตสาหกรรม

สำคัญของประเทศคือ อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สิ่งทอ อาหารแปรรูป 

พืชเศรษฐกิจ  ฝ้ายและธัญพืช  รวมถึง แพะ โค วัวสัตว์ปีก ทรัพยากรธรรมชาติ ปิโตรเลียม 

ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ซัลเฟอร์และเกลือ


13. ทาจิกิสถาน : ตอนอยู่กับโซเวียตใช้ชื่อ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก สินค้าสำคัญของประเทศ

 แร่ต่างๆ อะลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย ซีเมนต์ น้ำมันพืช เครื่องตัดโลหะ 

ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานน้ำ ยูเรเนียม ถ่านหิน ทองคำ เงิน ตะกั่ว


14. คีร์กีซสถาน : ตอนอยู่กับโซเวียตใช้ชื่อ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ เป็นประเทศเดียวใน

เอเชียกลางที่มีฐานทัพของทั้งรัสเซียและสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่  อุตสาหรรมที่สำคัญคือ เครื่องจักรขนาดเล็ก

 สิ่งทอ อาหารแปรรูป ซีเมนต์ รองเท้า ไม้ซุง ตู้เย็น เฟอร์นิเจอร์

ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ ยูเรเนียม ปรอท ถ่านหิน พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ ส่งออกทั้ง ทองคำ ปรอท

 ยูเรเนียม ก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักร ฝ้าย ขนสัตว์ เนื้อสัตว์ ยาสูบ รองเท้า เป็นคู่ค้าสำคัญ ของทั้ง จีน และ

 รัสเซีย และยังได้รับความช่วยเหลือต่างๆจากสหรัฐ และชาติตะวันตก


15. อุซเบกิสถาน : ตอนอยู่กับโซเวียตใช้ชื่อ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก มีที่ตั้งเสมือนเป็น

ใจกลางของเอเชียกลาง เป็นทะเลทรายล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูง เด่นเรื่อง สิ่งทอ อาหารแปรรูป

 เครื่องจักรกล อุตสาหกรรมโลหะ ก๊าซธรรมชาติเคมีภัณฑ์

ทรัพยากรธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม ถ่านหิน ทองคำ ยูเรเนียม เงินทองแดง ตะกั่ว สังกะสี 

ส่งออกที่สำคัญของประเทศคือ ฝ้าย ทอง ก๊าซธรรมชาติ ปุ๋ย โลหะเหล็ก สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร


**


ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก www.mfa.go.th


ซึ่งเป็นเว็บของกระทรวงการต่างประเทศ เป็นแหล่งอ้างอิงที่ถูกต้องที่สุด




CLMV คือ กลุ่มประเทศอะไร

 


CLMV คือ กลุ่มประเทศอะไร

CLMV ย่อมาจาก ชื่อประเทศในกลุ่มคือ


C = กัมพูชา (Cambodia)


L = ลาว (Laos)


M = เมียนมาร์ (Myanmar)


V = เวียดนาม (Vietnam)


กล่าวคือเป็นกลุ่มประเทศ ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) หรือ 

อาจจะอนุมานว่าเป็นประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ในตอนที่ตั้งขึ้น โดยมีการตั้ง CLMVT 

โดยการเพิ่มไทยเราเข้าไปด้วยอารมณ์คล้ายๆ อาเซียน+3+6+9  หน่อยๆประมาณนี้ ซึ่งประเทศเหล่านี้ 

เป็นประเทศต้นทางของแรงงานและ มีความสำคัญกับไทยเราเพราะมีพื้นที่ติดกับไทย

CLMV คือ กลุ่มประเทศอะไร


นิยมบริโภคสินค้าไทย และแทบทั้งหมดรับเงินบาทไทย โดยเฉพาะลาว เมียนมาร์ เวียดนาม นั่นชำระ

เงินบาทได้เลยในตามแหล่งท่องเที่ยว ในลาวหรือเมียนมาร์บางพื้นที่นั้นใช้เงินไทยได้ปกติเลยด้วยซ้ำ 

การเข้าไปทำธุรกิจหรือบุกตลาดประเทศเหล่านี้นั้นมีข้อพึงระวังอยู่นิดหน่อย เพราะระบบการปกครอง

ของประเทศค่อนข้างต้องศึกษาพอสมควรกับผู้ที่จะเข้าไปลงทุน โดยเฉพาะในลาวนั้นอาจจะจำเป็น

ต้องศึกษามากเป็นพิเศษ


   เป็นประเทศที่มีค่าแรงถูก ไทยเราหรือต่างชาติเข้าไปลงทุนเยอะ ส่วนใหญ่จะเป็น จีน เกาหลีใต้ 

และมีไทยพอสมควร