อาเซียน คืออะไร









อาเซียน คืออะไร

หมวด >> อาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East


Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐ

กิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่

กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และ

อินโดนีเซีย

อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 630 ล้านคน




    อาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคม

ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือ

เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ  (The Bangkok Declaration)

อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

ความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม

การต่อรองทางการค้า ความสัมพันธ์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ

บรรดาสมาชิกในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อจะใช้เป็นการต่อรองทั้งในเรื่อง

ความมั่นคงการค้าขายเศรษฐกิจกับมหาอำนาจต่างๆที่อยู่โดยรอบ เป็นการทำให้

กลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน มีความเข้มแข็งมากขึ้น

เมื่อรวมตัวกันได้


ผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนมี 5 ประเทศ 


ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย


ผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ คือ


- .ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรี

กระทรวง พัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย


- นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย


-นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์


- นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์


- พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

จากประเทศไทย


หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศ

ในปัจจุบัน


8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม


28 ก.ค. 2538  เวียดนาม


23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว, พม่า


30 เม.ย. 2542 กัมพูชา


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน 


ช่วยกันร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจการค้าการขายและการธำรงรักษาสันติภาพ

และความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศ

สมาชิกอย่างสันติการค้า การลงทุน แรงงาน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

และความแข็งแกร่งและมั่นคงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


รวมด้วยกัน 7 ข้อดังนี้ 


 วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration)

มี 7 ประการ ดังนี้


1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม


2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค


3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และ

ด้านการบริหาร


4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย


5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม

การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต


6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศตลอด

ระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่

ยอมรับจากหลายฝ่าย ได้รับความสนใจมาเข้าร่วมของมหาอำนาจ ดังจะเห็นได้ว่า

มีการจัดประชุมและคู่สัญญาอย่าง อาเซียน +3+6 ซึ่งได้รวมเอาปะเทศนอกอาเซียน

มาร่วมทำข้อตกลงพันธกิจร่วมกันด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและ

วัฒนธรรม  ประชาคมอาเซียนในปี 2558 จะช่วยเปิดการค้าเสรีการลงทุนและการ

สนับสนุนการค้าขายกันภายในภายนอกได้ดียิ่งขึ้นจะสามารถทำให้ประเทศไทยเรา

รุ่งเรือง และเศรษฐกิจ ชีวิต ความเป็นอยู่ ของประชาชนชาวอาเซียน จะดีขึ้นถ้า

เรารู้จักบริหารมันให้เป็น