ประชาคมอาเซียน : ประเทศพม่า Myanmar







ประชาคมอาเซียน : ประเทศพม่า Myanmar

หมวด >> อาเซียน

สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar)



                  ประเทศพม่าหรือ เมียนมาร์ ชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่ง

สหภาพพม่า หรือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มีพรมแดนติดกับ อินเดีย

บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930

กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน


พรมแดน


ทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนานของจีน

ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับบังกลาเทศและอินเดีย

ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับลาวและไทย

ทางตะวันตกเฉียงใต้และใต้แนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน


เมืองหลวง   เนปีดอ


เมืองใหญ่สุด ย่างกุ้ง


ภาษาทางการ ภาษาพม่า


การปกครอง ระบบประธานาธิบดี


มีพื้นที่ 676,578 ตร.กม. พม่ามีประชากรกว่า 50 ล้านคน มีความหลากหลายทาง

เผ่าพันธ์และชาติพันธ์เช่นชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5%ยะไข่ 5%

กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%กว่า 90%   นับถือศาสนาพุทธนิกาย

เถรวาท หรือหินยาน


พม่าในยุคล่าอาณานิคมอังกฤษได้หมายเข้ามายึดครองพม่า เอามาเป็นหนึ่งใน

อาณานิคมเหมือนอินเดียและได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 จบลงด้วย

ชัยชนะของอังกฤษ ทำให้พม่านั้นเสียดินแดนอัสสัมมณีปุระ ยะไข่ และตะนาวศรี

จากการทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) ที่จำใจต้องทำ แต่แล้วพม่าก็ได้

ยกเลิกสนธิสัญญานั้นแล้วเริ่มต้นตอบโต้อังกฤษทำลายแหล่งผลประโยชน์

ของอังกฤษจนทำให้อังกฤษต้องเข้าทำสงครามกับพม่าอีกครั้งและอีกเช่นเคย

อังกฤษที่เป็นดั่งพญาราชสีห์เพราะเป็นมหาอำนาจ มีบริวาร อาณานิคมมากมาย

จนได้ชื่อว่า ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน ก็สามารถเอาชนะพม่าไปได้อีก

และอังกฤษก็ผนวกรวมหงสาวดีและดินแดนใกล้เคียงเข้าไปในเขตของตนอีก

ความวุ่นวายในพม่ายังเกิดไม่หยุดหย่อนจนในที่สุด  พระเจ้าธีบอตัดสินพระทัย

ยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศ

สงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428ซึ่งสงครามครั้งนี้เองที่

อังกฤษสามารถนำมาเป็นข้อกล่าวอ้างที่จะเข้าฮุบรวมเข้ายึดครองพม่าได้

เสร็จสรรพจบหมดพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และ

ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในการแยกตัวของพม่าจากอังกฤษ ในเชิงอยากจะ


ครอบครองต่อ แต่ต่อมาญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2พม่าเลยเจรจาขอ

เป็นเอกราชกับอังกฤษโดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้พม่าในวันที่ 4

มกราคม 2491


ประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 เขต  และ 7 รัฐ


เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง

แม่น้ำทวาย-มะริดปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ

ทำเหมืองแร่


ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน

สังกะสี


ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยก

จำนวนมากการทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมา

ตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น

ย่างกุ้ง และ มะริด และทวายเป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า


พม่านั้นเคยตกอยู่ในช่วงยากจนอย่างหนักแต่ในปีที่ผ่านมา 2556 พม่าได้ทำหาร

เปิดประเทศและ พัฒนาเศรษกิจ ของตัวเองซึ่งประเทศนี้มีศักยภาพเพียงพอต่อ

การเป็นประเทศชั้นนำได้ มีโครงการสร้างท่าเรือสินค้าที่ ทวาย มีการจัดการ

เลือกตั้งแบบประชาธิปไตย การริเริ่มครั้งนี้นับได้ว่าพม่าจะเป็นชาติที่กำลังพัฒนา

ในทางที่ดียิ่งขึ้น บวกกับทรัพยากร และ ศักยภาพของประเทศคาดว่าไม่นานนัก

เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนพม่าจะเติบโตทัดเทียมประเทศชั้นนำในย่านนี้แน่นอน

เพราะพวกเขานั้นมีความพร้อมด้านทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและบุคคลอยู่อย่าง

พรั่งพร้อม ไม่ได้แตกต่างจากที่อื่นและตอนนี้พวกเขาได้เปิดประเทศให้นัก

ลงทุนจากต่างชาติและการเมืองก็ดีขึ้นมามากแล้วหนำซ้ำยังมีภูมิประเทศที่

เหมาะสมในการขนส่งสินค้าทางน้ำ รวมทั้งแรงงานที่มีราคาถูกและมีฝีมือ

(ที่เคยเข้ามาทำงานที่ไทย)ทำให้พม่าเป็นอีกประเทศที่จะสามารถเป็นผู้นำ

ของภูมิภาคนี้ ถ้าสามารถจัดการปัญหาภายในประเทศ ทั้งการเมืองการแบ่ง

ชนชาติและปัญหาชนกลุ่มน้อยได้เพราะมีจีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในเอเชียคอยให้

การสนับสนุนอยู่ไม่ขาดในการแก้ไขปัญหานี้ของเมียนมาร์