สัญญาปางหลวง (สัญญาหักหลัง)






สัญญาปางหลวง


      เป็นข้อตกลงความร่วมมือกันของ พม่า ไทใหญ่ ชิน คะฉิ่น ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก

การประชุมปางหลวงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่พม่า ไทใหญ่ ชิน กะฉิ่น ที่เป็นผลสืบเนื่อง

มาจากการประชุมปางหลวงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อต่อรองขอเอกราชจากอังกฤษ

ซึ่งดินแดนต่างๆทั้งหมด เป็นกลุ่มรัฐอิสระต่อกันที่อังกฤษรวบรวมกันไว้ เช่น พม่า คะฉิ่น

กลุ่มไทใหญ่รัฐมอญ คะยา กะเหรี่ยง และฉาน ซึ่งเป็นต่างกลุ่มต่างเหล่ากันมาก่อน เพื่อขอ

เอกราชจากอังกฤษนำโดย ออง ซาน มีข้อตกลงกันว่ารวมตัวกันก่อนเพื่อตกลงขอแยกตัว

เป็นเอกราชจากอังกฤษ แล้วอยู่รวมกัน 10 ปี จึงค่อยแยกตัวกันไปปกครองตนเองกันอิสระ

หลังการประชุมครั้งนี้ ในวันที่   7  ก.พ.  2490 ตัวแทนฝ่าย ชนกลุ่มน้อยและรัฐต่างๆต่อรอง

กับฝ่ายพม่าพร้อมกับตัวแทนฝ่านรัฐบาลอังกฤษเข้าร่วมประชุมเมื่อ 10 ก.พ. เพื่อเจรจากับ

ตัวแทนสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา(ชนกลุ่มน้อยและรัฐต่างๆ)จนเป็นที่มาของการ

ลงนามในสนธิสัญญาของ บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และตัวแทนจากรัฐต่าง ๆ จึงได้ร่วม

ลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวงเมื่อ 12 ก.พ. 2490


สาระสำคัญของ สนธิสัญญา ปางหลวง


 - ตัวแทนของชาวเขา จะได้รับการแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาข้าหลวงเกี่ยวกับพื้นที่ของรัฐ

ชายแดน


 - สมาชิกสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา ต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมการบริหาร

เฉพาะด้าน ที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและกิจการต่างประเทศ


 - ที่ปรึกษาข้าหลวงและผู้ช่วยที่ปรึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดินแดนของตนเองดูแลพื้นที่

ของตัวเอง


 - ประชากรในรัฐชายแดนมีสิทธิเท่ากับประชากรในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ


 - การดำเนินงานตามสนธิสัญญาต้องไม่ละเมิดสิทธิทางการคลังของรัฐฉาน รัฐชิน และ

รัฐกะฉิ่น



ข้อตกลงในการถอนตัวเป็นอิสระ 


ในระหว่างการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เพื่อตั้งสหพันธรัฐพม่า อย่างจริงจังนั้น กลุ่มคน

ที่ไม่ต้องการให้รัฐต่างๆแยกตัวปกครองกันเองนั้นได้ลอบสังหารอองซานและที่ปรึกษา

คนอื่นเสียชีวิต เมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490  ทำให้ร่างของรัฐธรรมนูญต่างๆนั้นที่เตรียม

การจะจัดแบ่งการปกครองกันต้องผิดแผนไป แต่เพื่อให้เกิดความสงบขึ้นจึงได้มีข้อตกลง

กันอย่างเช่น


 - อยู่รวมกันก่อน ต้องผ่านไป 10 ปีจึงถอนตัวได้


 -  จะต้องได้รับความเห็นชอบด้วยเสียง 2 ใน 3  ของสภาแห่งรัฐ (State Counil)


 - ผู้นำของรัฐต้องแจ้งให้ผู้นำของสหภาพทราบเพื่อดำเนินการลงประชามติในขณะที่

ร่างรัฐธรรมนูญมีเพียงรัฐฉานกับรัฐกะยาเท่านั้นที่มีสิทธิถอนตัว รัฐกะฉิ่นกับรัฐกะเหรี่ยง

ปฏิเสธการเข้าร่วมแต่แรกส่วนรัฐชินถูกกำหนดให้เป็นเขตปกครองพิเศษจึงไม่มีสถานะ

เป็นรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้


 - รัฐที่มิได้ใช้สิทธิถอนตัวเท่านั้น  ที่ยังคงสามารถใช้สิทธิต่างๆที่บัญญัติเอาไว้ได้

ซึ่งในภายหลัง มีการฉีกรัฐธรรมนูญ โดยการเข้ายึดอำนาจโดยนายพลเน วินก่อรัฐ

ประหารขึ้นเสียก่อนเมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2508 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ

จับผู้นำชนกลุ่มน้อยเข้าที่คุมขัง สิทธิในการถอนตัวจึงโดนยกเลิกไปอัติโนมัติ ทำให้

ในพม่าตามขอบชายแดนติดกับไทยและพื้นที่ชนกลุ่มน้อยชาวเขาต่างๆ ยังมีการสู้รบ

การต่อต้านกันอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นปัญหาแบ่งแยกดินแดนที่มีมานานของเมียนมาร์

และดูท่าทางจะจบลงยากเพราะเหมือนเป็นการหักหลังต่อข้อตกลงสัญญาที่มีต่อกัน

โดย ยะไข่เองก็ไม่ชอบพม่ามาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ไทใหญ่เป็นชนที่ต้องการเอกราช

และจัดตั้งประเทศของตัวเองเป็นอย่างมาก แต่จะรวมกันติดหรือไม่อีกเรื่องนึง ชนมอญ

ซึ่งเป็นคู่ปรับตลอดกาลของพม่าก็ไม่อยากจะอยู่ร่วมกันซํกเท่าไหร่ กะเหรี่ยงประกาศตน

มาแต่แรกแล้วว่าเมื่อหลุดจากอังกฤษกะเหรี่ยงต้องเป็นประเทศ แต่ก็โดนควบคุมและ

หักหลังในที่สุด คะฉิ่น   ปัจจุบันก็ยังปะทะกับกองทัพพม่าอยู่แต่ละพื้นที่ยังมีความรุนแรง

กันอยู่เรื่อยๆ สาเหตุที่พม่าต้องนำกำลังเข้าควบคุมและมีการฉีกรัฐธรรมนุญเหมือนการ

หักหลังกลุ่มสมาชิกสภาสูงสุดแห่งประชาชนชาวเขา เพราะถ้านับดูแล้วถ้ากลุ่มเหล่านี้

แยกตัวกันหมดประเทศแทบจะเหลือดินแดนไม่มากเลยเสียดินแดนไปเยอะ โดยเฉพาะ

รัฐฉาน คะฉิ่นกะเหรี่ยง ที่อยู่ติดขอบกับศูนย์กลางของพม่าหรือเมียมาร์มากอาจเป็น

อันตรายได้เลยยึดอำนาจรวมตัวกันเป็นสหภาพ ไปแบบนี้อยู่ที่ว่าต่อไปกลุ่มแบ่งแยก

ดินแดนเรียกร้องสิทธิการปกครองจะสามารถสู้กับรัฐบาลกลางได้หรือไม่เท่านั้นเอง

นับเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ของพม่า ที่มีการยกเลิกการแยกตัวเพื่อรวมเป็นชาติใน

ปัจจุบันส่งผลให้เกิดการสู้รบกับชนกลุ่มน้อยมากมาย ไม่จบไม่สิ้น


เกร็ดความรู้ ผู้ลงนามในสัญญาปางหลวงได้แก่ 

 - ฝ่ายพม่า  อองซาน

 - ฝ่ายคะฉิ่น

1. สะมาตูวาสิ่นวาหน่อง(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )

2. ตูวาจ่อริด(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )

3. เต่งระต่าน(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )

4. ตูวาเจ๊าะลุน(ตัวแทนจากเมือง บ้านหม้อ )

5. ละป่านกะหร่อง(ตัวแทนจากเมือง บ้านหม้อ )


 - ฝ่ายไทใหญ่ ประกอบด้วย

1. เจ้าขุนปานจิ่ง(เจ้าฟ้า น้ำสั่น )

2. เจ้าส่วยแต๊ก( เจ้าฟ้า ย่องฮ่วย )

3. เจ้าห่มฟ้า( เจ้าฟ้า แสนหวีเหนือ )

4. เจ้าหนุ่ม( เจ้าฟ้า ลายค่า )

5. เจ้าจ่ามทุน( เจ้าฟ้า เมืองป๋อน )

6. เจ้าทุนเอ( เจ้าฟ้า ส่าเมืองคำ )

7. อูผิ่ว( ตัวแทนจากเมือง สี่แส่ง )

8. ขุนพง( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

9. ติ่นเอ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

10. เกี่ยปุ๊( ตัวแทนนักศึกษากลุ่ม เพื่อเอกราชรัฐฉาน )

11. เจ้าเหยียบฟ้า(  ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

12. ทุนมิ้น ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

13. ขุนจอ ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )

14. ขุนที ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน


ฝ่ายชิน

1. ลัวะมง(ตัวแทนจากเมือง กะลาน )

2. อ่องจ่าคบ(ตัวแทนจากเมือง ต๊ะเต่ง )

3. กี่โหย่มาน(ตัวแทนจากเมือง ฮาคา )