ภูเขาสำคัญ เทือกเขาในประเทศไทย ทั้ง 17 แห่ง

 



ภูเขาสำคัญ เทือกเขาในประเทศไทย ทั้ง 17 แห่ง


ภาคเหนือ


1. เทือกเขาแดนลาว : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์  ทอดยาวจาก

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือมายังตะวันตกเฉียงใต้ ฝั่งตะวันตกของเชียงราย ตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่

มีความยาวทั้งสิ้น 1,330 กิโลเมตร  จุดที่สูงที่สุดคือดอยผ้าห่มปก 1 ในอันดับยอดเขาสูงในไทย ที่ความสูง 

 2,146 เมตร มีสถานที่สำคัญอย่าง วัดพระมหาชินธาตุเจ้า จุดชมวิวสองฝั่งสาย ที่วัดพระธาตุดอยเวา 

 ประเภทหิน หินแกรนิต, หินปูน



2. เทือกเขาจอมทอง :  เป็นแนวเขาที่อยู่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยไปทางตะวันตกของ

จังหวัดเชียงใหม่ จุดสุงสุดคือ ดอยอินทนนท์ สูงถึง 2,565 เมตร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของไทย 


3. เทือกเขาถนนธงชัย :  เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์ เริ่มจากจุดที่

เชื่อมต่อกับทิวเขาแดนลาวอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ มายังตะวันออกเฉียงใต้ ไล่ลงมาตั้งแต่จังหวัด

แม่ฮ่องสอน ตาก อุทัยธานี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ที่ 880 กิโลเมตร 

ต้นกำเนิดแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ แม่น้ำปาย เทือกเขาจอมทองก็เป้นส่วนหนึ่งของเทือกเขา

ธนนธงชัยจุดสุงสุดคือ ดอยอินทนนท์ 


4. เทือกเขาผีปันน้ำ : ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนใต้ของจังหวัดเชียงราย ไล่ลงมาทางตะวันตก

ของจังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ และสิ้นสุดที่จังหวัดลำปาง  ยาวประมาณ 412 กิโลเมตร

จุดที่สูงที่สุดอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา สูงราว 1,697 เมตร เป็นแนวทิวเขาขนาดใหญ่ 


5. เทือกเขาขุนดาล : เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ  ยาวมาทางแนวเหนือ-ใต้ของจังหวัดเชียงราย

 เชียงใหม่ ตัดผ่านลำพูน ลงมาจนถึงจังหวัดลำปาง เป็นเทือกเขาที่มีอุโมงค์รถไฟความยาว 1,326.05 เมตร

ลอดผ่าน  ส่วนที่สูงที่สุดของเทือกเขาคือ ดอยลังกา สูง 2,031 เมตร และเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติดอย

ขุนตาล  เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ตลอดจนเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ 


6. เทือกเขาหลวงพระบาง : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับลาว ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้

 ตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยาเลื่อนลงมาจนถึงจังหวัดพิษณุโลก เป็นทิวเขาแบ่งเขต

มาแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันใช้เป็นพรมแดนระหว่างไทยกับลาวในภาคเหนือ ประเภทหิน หินแกรนิต และ

 หินทราย อยู่ตรงเส้นแขตแดนไทยลาวพอดี ยาวประมาณ 590 กิโลเมตร 


7. เทือกเขาเพชรบูรณ์ : มีความยาวรวม 586 กิโลเมตร แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกตั้งแต่ทาง

ตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ผ่านจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น และชัยภูมิ มีความยาว 236 กิโลเมตร

เป็นทิวเขาทางตะวันตก ของแม่น้ำป่าสัก ทอดตัวผ่านถนนสายจังหวัดเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์

 และลพบุรี รวมความยาวประมาณ 350 กิโลเมตร จุดสูงสุดคือ ภูทับเบิก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ

 1,768 เมตร  มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ประเภทหิน หินทรายและหินแกรนิต


ภูเขาสำคัญ เทือกเขาในประเทศไทย ทั้ง 17 แห่ง


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



8. เทือกเขาพนมดงรัก : เป็นเทิกเขาที่อยู่ตรงพรหมแดนระหว่างไทย กับ เขมร ทอดตัวตามแนวตะวัน

ออก-ตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี รวมความยาวทั้งสิ้น 544 กิโลเมตร

ซึ่งติดทางตอนเหนือของเขมร ประเภทหิน หินทราย และ หินทรายแป้ง จุดสูงสุดคือ ภูขี้สึก เป็นภูเขาที่มี

ความสูง 753 เมตร (2,470 ฟุต) ในจังหวัดอุบลราชธานี 


9. เทือกเขาสันกำแพง : ทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครราชสีมา และ

ทางเหนือของจังหวัดนครนายก ผ่านจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว มีความยาวทั้งสิ้น 185 กิโลเมตร

อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาดงพญาเย็น  เป็นแนวพรมแดนธรรมชาติระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ มีพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาข้าว


10. เทือกเขาภูพาน : ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี 

ผ่านกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหารมีอุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ เป็นพื้นที่

ประวัติศาสตร์ทางการต่อสู้ทางการเมืองอันสำคัญ ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ขบวนการ

คอมมิวนิสต์ในเขตภูพานที่ได้รับอิทธิพลมาจาก โซเวียต และ คอม จีน อีกที



ภาคกลาง



11. เทือกเขาดงพญาเย็น : ทอดตัวต่อเนื่องจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ เป็นแนวกั้นเขตระหว่างภาคกลาง

และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มที่ลพบุรี ผ่านโคราช จนถึงนครนายก รวมความยาวประมาณ 129 กิโลเมตร

จนถึงเขาใหญ่ กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นแหล่งมรดกโลกแหล่งที่ 5 และเป็นลำดับที่ 2 ของมรดก

ทางธรรมชาติของไทย อีกด้วย ป่าดงดิบขนาดใหญ่ที่คั่นกลางระหว่างที่ราบลุ่มภาคกลางกับที่ราบสูง

ภาคอีสานระดับความสูง 1,167 ม.



ภาคตะวันออก


12. เทือกเขาจันทบุรี : อยู่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด 

จนจังหวัดจันทบุรี มีความยาวทั้งสิ้น 281 กิโลเมตร มีเขาสูงสุดในภาคตะวันออกคือเขาสอยดาว มีความสูง

 1,675 เมตร จากระดับน้ำทะเล ช่วยกั้นทิศทางของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  ตะเข็บของเขตแดน 3

 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และจันทบุรี


13. เทือกเขาบรรทัด : พรมแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดจันทบุรี และตราด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด

 ซึ่งส่วนใหญ่ของเทือกเขานั้นอยู่ฝั่งเขมรเยอะกว่าไทย ยาวประมาณ 144 กิโลเมตร

ว่ากันว่าเป็นแหล่งที่มีเสือชุกชุมมาก และยังมีเสือโคร่ง เสือดำ และหมี ที่ควรีอนุรักษ์ไว้จำนวนหนึ่่ง


ภาคตะวันตก 


14. เทือกเขาตะนาวศรี : เป็นแนวต่อเนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับ

สหภาพเมียนมาร์ เริ่มตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปทางใต้ ผ่านจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 

และชุมพร มีความยาวประมาณ 834 กิโลเมตร ถ้านับแบบยาวตลอดและลากยาวที่ต่อเนื่องจะลากผ่าน

คอคอดกระลงไปจนถึงคาบสมุทรมลายู  เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย  

ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล: 2,187 เมตร จุดสูงสุดคือ ทิวเขาตีตีวังซา ก่อตัวเป็นแนวยาวคล้าย

กระดูกสันหลังของคาบสมุทรมลายูตอนล่าง ส่วนเหนือของทิวเขาที่อยู่ในภาคใต้ของไทยมีชื่อเรียกว่า 

ทิวเขาสันกาลาคีรี



ภาคใต้



15. เทือกเขาภูเก็ต : เป็นแนวเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาตะนาวศรีเริ่มจากจังหวัดชุมพรทอด

ขนานไปกันชายฝั่งทะเลของชุมพร พังงา กระบี่ จนถึงจังหวัดนครราชสีธรรมราช รวมความยาวประมาณ

 517 กิโลเมตรมียอดเขาสูงอย่าง เขาพนมเบญจามีความสูงประมาณ 1,397 เมตร 


16. เทือกเขานครศรีธรรมราช : เป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาภูเก็ตโดยเริ่มจากจังหวัด

สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง จบที่จังหวัดสตูล ยาวได้ประมาณ 319 กิโลเมตร ผ่าโซนกลาง

ของภาคใต้โซนล่าง ยังถือเป็นส่วนนึงของเทือกเขาตะนาวศรีเช่นกัน จุดสูงสุดคือเขาหลวง ที่1,780 ม. 


17. เทือกเขาสันกาลาคีรี : ทอดยาวในแนวตะวันออก-ตะวันตก บางส่วนเป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทย

กับมาเลเซีย บริเวณจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมความยาว 428 กิโลเมตร และยังเป็น

ส่วนนึงของเทือกเขาตะนาวศรี ที่ลากยาวเลยไปถึงมาเลเซีย จุดที่สูงที่สุดคือ มีภูเขาสลับซับซ้อนทอดตัว

ยาว ประเภทหิน หินแกรนิต, หินปูนยอดเขาที่สูงที่สุด คือ  เขาฮูลูติติปาซา มีความสูงประมาณ 1,533 เมตร

 (5,030 ฟุต)ยอดเขาสูงที่อยู่ทางใต้สุดของประเทศไทย  อยู่ในเขต ยะลา ของไทย กับ รัฐเปรัก ของ

มาเลเซีย ส่วนเหนือของทิวเขาตีตีวังซาซึ่งเป็นทิวเขาย่อยของเทือกเขาตะนาวศรี