วิธีการทางประวัติศาสตร์

 


วิธีการทางประวัติศาสตร์ 

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข้อเท็จจริง

ต่างๆในเรื่องนั้นๆ เพื่อนำไปประกอบกับหลักฐาน หาบทสรุปควมถูกต้องของประวัติศาสตร์เหล่านั้น 

วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นการสืบหาเหตุผลข้อมูล และตรวจสอบให้ถูกต้องที่สุดของเรื่องราว

เพื่อความถูกต้องเป็นจริงซึ่งสะท้อนถึงความเป็นจริงและเป็นไปได้ทุกอย่างที่สามารถพิสูจน์

มีหลักฐาน ไม่เลื่อนลอย ไม่แต่งเติม ไม่มีการเสริมเนื้อหาเหมือนวรรณกรรมหรือนิยาย




หลักการและปัจจัยสำคัญ ของ "วิธีการทางประวัติศาสตร์"  คือ


การรวบรวมข้อมูลหลักฐานที่เป็นจริงที่สุด นำมาพิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ซึ่งความเป็นไปได้จาก

หลักฐานที่มีทั้งหมดเพื่ออธิบายแนวคิดความเป็นมาหรือสภานการณ์ของประวัติศาสตร์ในเรื่องที่กำลัง

ศึกษาอยู่อย่างมีระบบมีการเปรียบเทียบองค์ความรู้ที่มีกับหลักฐานข้อมูลที่หาได้ เพื่อความถูกต้อง 

ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์




ปัญหาและอุปสรรคของวิธีการทางประวัติศาสตร์



หลักฐานข้อมูล ที่ได้รับนั้นมักไม่มากเพียงพอหรือสทบบรูณ์พอที่จะ ลงรายละเอียดชัดเจนไปในทางไหน

เช่นเรื่องพื้นที่ เรื่องชนชาติ เรื่องสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหลักฐานพวกนี้ที่เป็นสิ่งของ ที่ไม่ได้มีบันทึก

เอาไว้นั้นมักไม่สมบรูณ์ รวมทั้งการบันทึกหลักฐาน ในเรื่องที่ออกแนวข้อพิพาทระหว่าง 2 ฝั่ง 2ฝ่ายขึ้นไป

 มักจะไม่เหมือนกันมีความเอนเอียงสูง หลายครั้งหลายทีจึงต้องอาศัยบันทึกจากคนไกล เช่น ข้อพิพาท

สงครามเกี่ยวกับประเทศ บางครั้งแต่ละฝ่ายเขียนไม่ตรงกันในพงศวดาร  เลยต้องเอาบันทึกจากฝรั่ง

ที่เขียนในยุคนั้นมาเปรียบเทียบควบคู่ไปเพื่อหาข้อเท็จจริงให้มากที่สุด เพราะอย่างนี้ผู้ที่ศึกษา 

ประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงต้องไม่ลำเอียงเอนเอียงเข้าข้างหรือเชื่อในเหตุผลใดอย่างนึง

มากเกินไปจนลืมดูเหตุผล อื่นประกอบอาจทำให้เราไม่ได้ข้อเท็จจริงจาก ประวัติศาสตร์นั้นๆ ดีพอ




วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่



1.การกำหนดเป้าหมาย



  - เป็นขั้นตอนแรกที่เราจะสามารถกำหนด กรอบของเรื่องที่เราจะทำการศึกษาว่าจะทำอะไร ในเรื่องนั้นๆ

ของประวัติศาสตร์




2.การรวบรวมข้อมูล รวบรวมหลักฐาน



  - เป็นการนำหลักฐาน ข้อมูลต่างๆ มารวบรวมไว้เพื่อวิเคราะห์ เช่น จดหมายเหตุ ศิลาจารึก สิ่งของ 

บันทึกต่างๆ ข้อมูลจากคนในพื้นที่




3.การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน



  - หลังจากรวบรวมหลักฐานข้อมูลทั้งหมดแล้วก็นำมาวิเคราะห์วิจารณ์ ตีความหมาย ทั้งเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง

และที่เกี่ยวข้อง ใช้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่างๆ เข้าด้วยกันข้อมูลบางเรื่องอาจไม่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น

เลย แต่ก็อาจจะไปเป็นคำตอบของเรื่องราวถัดไปในเรื่องเดียวกัน ต้องละเอียด เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่า

เชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด




4.การคัดเลือกหลักฐาน



  - เป็นการเอาหลักฐานที่เราตีความ วิเคราะห์เรียบร้อยแล้วก็มาคัดเลือกหลักฐานที่สำคัญนำไปสู่ประเด็น

ที่เราต้องการหาและตรวจสอบดูว่า หลักฐานที่รวบรวมมาแล้วนั้น น่าเชื่อถือแค่ไหนเป็นการกรองข้อมูล

และหลักฐานที่ได้อีกขั้นนึงเพื่อความถูกต้องที่สุด




5.การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน



  - หลังจากได้หลักฐานที่น่าเชื่อถือตามการพิจารณา แล้วนั้น ก็มาหาจุดเชื่อมโยงของแต่ละอย่างแต่ละ

ข้อมูล ว่ามีจุดไหนนั้นสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้บ้าง สามารถนำมาประกอบข้อมูลเพื่ออ้างอิงและ

น่าเชื่อถือแค่ไหน




6.การสรุปเรียบเรียงและการนำเสนอข้อเท็จจริง



  - หลักจากข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมโยงและ วิเคราะห์อย่างดีแล้วนั้น ก็มาสรุปผลของเรื่องทั้งหมด 

เรียงเรียงลำดับก่อนหลังการจัดรูปแบบที่มาของหลักฐาน เนื้อหาโดยสรุป และการนำเสนอข้อเท็จจริงที่สุด

ที่สามารถวิเคราะห์ได้ พร้อมอ้างอิงหลักฐานและข้อมูลประกอบ 




มหาราช ( The Great ) คือ หมายถึง

 


มหาราช ( The Great ) คือ หมายถึง 


มหาราช คือ หมายถึง  เจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่

มหาราช ( The Great ) คือ หมายถึง



        มหาราช, เป็นคำที่ มหาชนประชาชนถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน ของตัวเอง 

ที่ทำ คุณูปการ คุณงามความดีที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันส่งผลถึงความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศ

ไว้แก่บ้านเมืองอย่างมากมาย หรือแก้กระทั้งการช่วยเหลือบ้านเมือง ให้ผ่านพ้นภัยอันตรายจากทั้งใน

แลtนอกอาณาจักร เป็นเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองด้วยความยุติธรรม หรือทศพิธราชธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี 

เป็นที่รักของเหล่าปวงชนผู้คนทั้งหลายจึงมีการยกย่องให้เป็นมหาราช ต่อท้ายพระนามของแต่ละพระองค์

 เช่น พระปิยมหาราช มหาราชกษัตริย์ไทย อเล็กซานเดอร์มหาราช, พระเจ้าอโศกมหาราช , 

พระเจ้าควางแคโทมหาราช , พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งสุโขทัย พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 

ของราชวงศ์จักรี ก็เช่นกัน หรือแม้แต่ ราชวงศ์คองบอง ที่มี พระเจ้าอลองพญาปฐมกษัตริย์ราชวงศ์คองบอง   

ซึ่งถือว่าเป็น 1 ใน 3 กษัตริย์พม่าผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นที่นับถือในประวัติศาสตร์พม่า


สมัญญานาม "มหาราช" สันนิษฐานว่ามาจาก "มหาราชา" ของเปอร์เซีย โดยสมัญญานาม "มหาราช" 


นี้ถูกใช้ครั้งแรกโดยกษัตริย์ผู้พิชิต พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย กษัตริย์แห่งอาเคเมนิด ไซรัสกษัตริย์

ของเปอร์เซีย  เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชีย

และได้ถูกพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช นำมาใช้หลังจากได้ทรงยึดครอง อาณาจักร เปอเซียได้ ซึ่งทั้ง 

2 พระองค์นั้นถือเป็น  กษัตริย์ ยอดนักรบ ของโลก  ซึ่ง คำว่า มหาราชนั้น ถูกใช้ไปในทางเชิดชูยกย่อง

บุคคลสำคัญ ผู้ที่ทำประโยชน์มากมายให้แก่กลุ่มชนนั้นๆ แล้วแต่จะยกย่องกันขึ้นมา

เป็นการให้เกียรตินี้ แก่ผู้ที่เหล่าปวงชนประชาชน นับถือ 


บุคคลสำคัญในสมัยยุคเรเนอซองส์ Renaissance

 


บุคคลสำคัญในสมัยยุคเรเนอซองส์ Renaissance


บุคคลสำคัญ ในสมัยรุ่งเรืองมาก ยุคเรเนอซองส์ Renaissance ก่อนจะเข้ายุคสงครามโลก ครั้งที่ 1ซึ่ง

ถือเป็นการสิ้นสุดของยุคข้อมูลรายละเอียด 

บุคคลสำคัญในสมัยยุคเรเนอซองส์ Renaissance


รายชื่อด้านล่างเป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง 



ผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ 



- มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther)



ศิลปินและนักสถาปนิก ที่สำคัญในสมัยเรอเนซองส์ 



- ฌอง โฟเคท์ (Jean Fouquet)



- เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)



- ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo)



-  ราฟาเอล (Raphael) 



-  ซานโดร  บอตติเซลลี (Sandro Botticelli)



- ติเตียน เกรกโก 



- อันเดรอา ปัลลาดีโอ Andrea Palladio



- ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi)



วิทยาศาสตร์ และ นักประดิษฐ์ ที่สำคัญในสมัยเรอเนซองส์ 



- โยฮันน์ กูเทนแบร์ก (Johannes Gensfleisch zur Laden zum Gutenberg)



- นิโคลัส โคเพอร์นิคัส ( Nicolaus Copernicus Torinensis)



- กาลิเลโอ  กาลิเลอี (Galileo Galilei)



- ไอแซก นิวตัน  ( Isaac Newton)



- ริชาร์ด เทรวิทิค (Richard Trevithick)



- จอห์น สมีตัน 



วรรณกรรม และนักเขียน และนักปราชญ์ ที่สำคัญในสมัยเรอเนซองส์ 



- ฟรองซัวส์ ราเบเลส์ (Francois Rabelais)



- ปีแยร์ เดอ รอนซาร์ด (Pierre de Ronsard) 



- วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare)



- คริสโตเฟอร์ มาร์โลว์ (Christopher Marlowe) 



- เดสิเดอริอุส อีราสมุส รอตเตอโรดามุส (Desiderius Erasmus Roterodamus 



- โทมัสมอร์ (Thomas More)



- โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) 



- จอห์น ล็อก (John Locke) 



- นิกโกเลาะ ดี แบร์นาโด เดย์ มาเกียเวลลี (Niccol? di Bernardo dei Machiavelli)





ยุคเรเนอซองส์ Renaissance คืออะไร

 



ยุคเรเนอซองส์ Renaissance คืออะไร

ยุคเรเนอซองส์ Renaissance คืออะไร


ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่อยู่ในช่วงปลายสมัยกลางถึงต้นสมัยใหม่ ซึ่งการเริ่มต้นของยุค

ฟื้นฟูศิลปวิทยาในช่วงปลายสมัยกลาง  เป็นปัจจัยสำคัญที่ชักนำโลกเข้าสู่สมัยใหม่ คือ วิทยาการต่างๆ

 จากยุคโรมัน ถูกฟื้นฟูขึ้นยกระดับมาและแผ่หลายกระจายไปในแถบยุโรป คือ 


ยุคเรเนอซองส์ Renaissance คืออะไร


ยุคสมัยเรเนอซองส์ Renaissance ความเป็น อยู่วิทยาการต่างๆ ทั้งด้าน ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์

 ศาสนาจิตรกรรมและประติมากรรม  สถาปัตยกรรม ซึ่งส่งผลเข้าไปแผร่หลายในยุโรปทั่วทุกประเทศ 

หรือเรียกอีกในอีกรูปแบบว่า เป็นยุคที่มีการใช้ชีวิต ละเมียด หรูหรา ฟู่ฟ่า อู้ฟู่ และการพัฒนาต่างๆ 

กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 16


ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1  ในยุคนี้มีบุคคลสำคัญก่อกำเนิด ขึ้นมากมายเช่น   เลโอนาร์โด ดา วินชี

มีเกลันเจโล (ไมเคิล แองเจลโล่) เซอร์ไอแซก นิวตัน  , มาร์ติน ลูเธอร์, ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี , 

กาลิเลโอ  กาลิเลอีวิลเลียม เชกสเปียร์  ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรืองเฟื่องฟู ด้านทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก 




ความหมายของ คำว่า เรเนอซองส์ Renaissance


เรเนอซองส์ Renaissance  หมายถึง การเกิดใหม่  การคืนชีพ ซึ่งเป็นการหมายถึงวิทยาการ องค์ความรู้

ต่างๆ สมัยกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก เป็นยุคที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบยุคของ กรีก

หรือโรมันเป็นอย่างใด แต่เป็นยุคแห่งการค้นคว้า สร้างสรรค์ ลักษณะเฉพาะของบุคคล แต่ละคนทั้งเรื่อง

วิทยาศาสตร์ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ ที่มีความกระตือรือร้นคิดค้นสิ่งใหม่ๆ แข่งขันกันสูง อาจเรียกได้ว่า

เป็น "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา"


ซึ่งจุดเริ่มต้นรากฐานของยุคนี้นั้นเริ่มต้นมาจาก อิตาลี หลังจากผ่านช่วงยุคกลางหรือยุคมืดมาเป็นเวลา

ยาวนานนับพันปี ยุคเรเนอซองส์ เหมือนเป็นการจุดเริ่มต้น ของการพัฒนาเพื่อเข้าสู้สมัยใหม่ วิทยาการ

ใหม่ๆ ความเป็นอยู่ ศิลปะ ความหรูหรา ต่างๆ เข้ามาอย่างเรื่อยๆแบบไม่สิ้นสุดเท่าที่จะสร้างสรรค์กันออกมา 

จึงเป็นยุคของความรู้ ยุคของนักปราชญ์ ยุคของผู้มีสติปัญญาที่รุ่งเรืองยุคหนึ่งในยุโรป ซึ่งในนั้นรวมถึงการ

ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดย มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) อีกด้วย  ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองของผู้มี

ความรู้อย่างแท้จริง เทคโนโลยีในสมัยเรเนอซองส์ ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนในช่วงปลายของสมัยใหม่



สถาปัตยกรรมเรเนอซองส์ 



ริเริ่มขึ้นโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี (ค.ศ. 1377 - ค.ศ. 1446) และเริ่มเป็นผลมาถึง ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15

 และรุ่งเรืองไปจนถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับ

ปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี

 อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ



ผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ 



มาร์ติน ลูเทอร์ Martin Luther โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของ

คริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เรียกว่าการปฏิรูปศาสนา

ฝ่ายโปรเตสแตนต์ นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของลูเทอร์เรียกว่า นิกายลูเทอแรนซึ่งเป็นนิกาย

ย่อยในนิกายโปรเตสแตนต์









การนับและการเทียบศักราช ( Era )

 


การนับและการเทียบศักราช


การนับศักราชเป็นการ แสดงถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ช่วงเวลาที่พูดถึงเหตุการณ์ต่างๆว่าอยู่ในช่วงใด

โดยระบุ บ่งชี้เป็นจำนวนปีศักราชแตกต่างกันไปแล้วแต่ละท้องที่ แต่ละความเชื่อหรือแต่ละผู้นำ ซึ่งมีการ

นับก่อนหลังแตกต่างกัน ประวัติศาสตร์ก็แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงควรรู้ว่าการนับประวัติศาสตร์แบบไหน 

เป็นอย่างไร เริ่มจากอะไร ทั้งของไทยและสากล วันนี้ทาง บล็อกจะมานำเสนอข้อมูลกันว่าการนับ

ศักราชนั้น มีแบบไหนอย่างไรกันบ้าง


การนับและการเทียบศักราช ( Era )


• แบบสากล



  - ค.ศ. หรือ ศริสต์ศักราช  หมายถึงการนับศักราชช่วงเวลานี้เริ่มนับโดยเริ่มตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ

เป็นปี ค.ศ. 1 ซึ่งถ้ามีเหตุการณ์ก่อนหน้านั่นคือก่อนหน้าพระเยซูประสูติ ให้เรียกว่าก่อนคริสตกาลหรือก่อน

คริสต์ศักราช




  - พ.ศ. หรือ พุทธศักราช เป็นศักราชที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศหรือภูมิภาคแถบที่มีการนับถือ

ศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นการนับศักราช ของไทยด้วยก็ว่าได้ของไทยนั่นใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้

อย่างเป็นทางการในยุครัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

จนมาถึงเดี๋ยวนี้  พุทธศักราชในไทยนั้นจะเริ่มนับเมื่อตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว

ครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1



  -  ฮ.ศ. หรือ ฮิจเราะห์ศักราช ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพเป็นการนับศักราช

ในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพ

จากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดิน่า ตรงกับพุทธศักราช 1165 





• แบบไทย  นั้นมีการนับแบบ พ.ศ. แต่เราได้พูดไปในหัวของสากลไปแล้ว เลยจะมาดูส่วนที่เหลือ

ต่อจาก พ.ศ. กันเลย



  -  ม.ศ. หรือ มหาศักราช   มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์

ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)  ใช้แพร่หลายในช่วง

ของอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น



  -  จ.ศ. หรือ จุลศักราช  เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่าปรากฏอยู่

ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ ซึ่งเป็น 1 ใน

3 กษัตริย์พม่าผู้ยิ่งใหญ่ จะประสูติ เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อ กันว่าเป็นศักราช

ของชาวพม่า   แต่เขตแคว้นรัฐ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง

 และอาณาจักรอยุธยาใช้เล่าเหตุการณ์ยุคปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร บันทึกหลักฐาน

ต่าง จนถึงสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาราชของสยามเรา ได้ทรงประกาศยกเลิก

 และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ขึ้นมาแทนที่



  - ร.ศ. หรือ รัตนโกสินทร์ศก  เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก พ.ศ.2324 เป็น ร.ศ. 1

 รัตนโกสินทรศกเริ่มมีการใช้ครั้งแรก รัตนโกสินทรศกเริ่มนับเป็น 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 ดังนั้นจึงไม่มี

รัตนโกสินทรศก 0พ.ศ. 2432 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

จน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงให้ยกเลิกมาใช้แบบพุทธศักราช 

เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงหลักฐานหรือประวัติศาสตร์ แต่ยังคงให้ขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน

เหมือนเดิม  จนถึง  พ.ศ.2484  จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม



  - ศักราชจุฬามณี หรือเรียกอีกอย่างว่า ศักราชกฎหมายเป็นคำระบุศักราชที่พบในตำราหนังสือไทยเก่าๆ

 ศักราชชนิดนีสันนิษฐานว่าเกิดใน สมัยของพระเจ้าปราสาททอง   แต่ไม่ได้รับความนิยมใช้เกณฑ์เลข 

258 ลบ ผลลัพธ์เป็นจุลศักราช แล้วจึงแปลงจุลศักราชเป็นพุทธศักราช 




หลักการเทียบศักราช



การทำให้ศักราชอื่นๆเป็นพุทธศักราช                - การทำให้พุทธศักราชเป็นศักราชอื่นๆ



ม.ศ. + 621 = พ.ศ.                                            พ.ศ. - 621 = ม.ศ.



จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.                                          พ.ศ. - 1181 = จ.ศ. 



ร.ศ. + 2324 = พ.ศ.                                          พ.ศ. - 2324 = ร.ศ.    



ค.ศ. + 543 = พ.ศ.                                           พ.ศ. - 543 = ค.ศ.

 


ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ.                                         พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ.        





เสื้อผ้าชนิดไหน ที่คุณไม่ควรใส่ลงในเครื่องซักผ้า

 


เสื้อผ้าชนิดไหน ที่คุณไม่ควรใส่ลงในเครื่องซักผ้า


1. ผ้าไหมแท้ : เหมาะกับการซักแห้งมากกว่า อาจเป็นรอยด่างหรือคราบน้ำได้


2. ผ้าไหมสังเคราะห์ : ไม่ควรนำเข้าเครื่องที่มีความร้อนหรืออบ เพราะทำให้เส้นใยหดตัวได้ 

ไม่คงทนต่อการละลายน้ำ ส่งผลให้เกิดปัญหาสีตกได้


3. ผ้าคอตตอนหรือผ้าฝ้าย  : หดหรือย้วยจากการซัก


4. ผ้าเรยอน : คือผ้าที่ทำมาจากไฟเบอร์ นิ่มลื่น มักใช้ทำชุดแขก กระโปรงหรือผ้าม่าน เป็นรอยง่าย 

ซับน้ำได้ดี แต่เปื่อยง่ายเช่นกัน


5. ผ้าขนสัตว์ : เส้นใยละลาย และพันกันได้ และหลุดร่วงง่าย


6. ผ้าสแปนเด็กซ์ : เช่นชุดว่ายน้ำ ชุดออกกำลังกาย หรือชุดโยคะ ที่มีความยืดหยุ่นสูง เมื่อซักเครื่อง

มักเสียทรงง่ายและยืดตัวมากเกิน


7. ผ้าที่ติดเครื่องประดับ : อาจเกิดการชำรุดเสียหาย ขาดจากการปั่นของเครื่องและเกิดการเกี่ยวกัน

กับเนื้อผ้าอื่นๆรวมไปถึงขาดเป็นริ้วตรงรอยต่อ


8. ผ้าลินิน : ทำจากเส้นใยของต้นแฟลกซ์ ควรซํกแห้งมากกว่าซักเครื่องเพราะอาจจะหดได้ ซักเครื่องได้

 แต่ต้องระวัง ควรซักแห้งมากกว่า


9. ผ้าถักไหมพรม : ยืดและหดตัว เสียรูปทรง หลุดรวมกันเป็นก้อนได้


10. ผ้าลูกไม้ : ฉีกขาดจากการซักได้ง่าย จากการปนกับเสื้อผ้าอื่น