วิธีการทางประวัติศาสตร์

 


วิธีการทางประวัติศาสตร์ 

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข้อเท็จจริง

ต่างๆในเรื่องนั้นๆ เพื่อนำไปประกอบกับหลักฐาน หาบทสรุปควมถูกต้องของประวัติศาสตร์เหล่านั้น 

วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นการสืบหาเหตุผลข้อมูล และตรวจสอบให้ถูกต้องที่สุดของเรื่องราว

เพื่อความถูกต้องเป็นจริงซึ่งสะท้อนถึงความเป็นจริงและเป็นไปได้ทุกอย่างที่สามารถพิสูจน์

มีหลักฐาน ไม่เลื่อนลอย ไม่แต่งเติม ไม่มีการเสริมเนื้อหาเหมือนวรรณกรรมหรือนิยาย




หลักการและปัจจัยสำคัญ ของ "วิธีการทางประวัติศาสตร์"  คือ


การรวบรวมข้อมูลหลักฐานที่เป็นจริงที่สุด นำมาพิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ซึ่งความเป็นไปได้จาก

หลักฐานที่มีทั้งหมดเพื่ออธิบายแนวคิดความเป็นมาหรือสภานการณ์ของประวัติศาสตร์ในเรื่องที่กำลัง

ศึกษาอยู่อย่างมีระบบมีการเปรียบเทียบองค์ความรู้ที่มีกับหลักฐานข้อมูลที่หาได้ เพื่อความถูกต้อง 

ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์




ปัญหาและอุปสรรคของวิธีการทางประวัติศาสตร์



หลักฐานข้อมูล ที่ได้รับนั้นมักไม่มากเพียงพอหรือสทบบรูณ์พอที่จะ ลงรายละเอียดชัดเจนไปในทางไหน

เช่นเรื่องพื้นที่ เรื่องชนชาติ เรื่องสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหลักฐานพวกนี้ที่เป็นสิ่งของ ที่ไม่ได้มีบันทึก

เอาไว้นั้นมักไม่สมบรูณ์ รวมทั้งการบันทึกหลักฐาน ในเรื่องที่ออกแนวข้อพิพาทระหว่าง 2 ฝั่ง 2ฝ่ายขึ้นไป

 มักจะไม่เหมือนกันมีความเอนเอียงสูง หลายครั้งหลายทีจึงต้องอาศัยบันทึกจากคนไกล เช่น ข้อพิพาท

สงครามเกี่ยวกับประเทศ บางครั้งแต่ละฝ่ายเขียนไม่ตรงกันในพงศวดาร  เลยต้องเอาบันทึกจากฝรั่ง

ที่เขียนในยุคนั้นมาเปรียบเทียบควบคู่ไปเพื่อหาข้อเท็จจริงให้มากที่สุด เพราะอย่างนี้ผู้ที่ศึกษา 

ประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงต้องไม่ลำเอียงเอนเอียงเข้าข้างหรือเชื่อในเหตุผลใดอย่างนึง

มากเกินไปจนลืมดูเหตุผล อื่นประกอบอาจทำให้เราไม่ได้ข้อเท็จจริงจาก ประวัติศาสตร์นั้นๆ ดีพอ




วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่



1.การกำหนดเป้าหมาย



  - เป็นขั้นตอนแรกที่เราจะสามารถกำหนด กรอบของเรื่องที่เราจะทำการศึกษาว่าจะทำอะไร ในเรื่องนั้นๆ

ของประวัติศาสตร์




2.การรวบรวมข้อมูล รวบรวมหลักฐาน



  - เป็นการนำหลักฐาน ข้อมูลต่างๆ มารวบรวมไว้เพื่อวิเคราะห์ เช่น จดหมายเหตุ ศิลาจารึก สิ่งของ 

บันทึกต่างๆ ข้อมูลจากคนในพื้นที่




3.การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน



  - หลังจากรวบรวมหลักฐานข้อมูลทั้งหมดแล้วก็นำมาวิเคราะห์วิจารณ์ ตีความหมาย ทั้งเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง

และที่เกี่ยวข้อง ใช้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่างๆ เข้าด้วยกันข้อมูลบางเรื่องอาจไม่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น

เลย แต่ก็อาจจะไปเป็นคำตอบของเรื่องราวถัดไปในเรื่องเดียวกัน ต้องละเอียด เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่า

เชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด




4.การคัดเลือกหลักฐาน



  - เป็นการเอาหลักฐานที่เราตีความ วิเคราะห์เรียบร้อยแล้วก็มาคัดเลือกหลักฐานที่สำคัญนำไปสู่ประเด็น

ที่เราต้องการหาและตรวจสอบดูว่า หลักฐานที่รวบรวมมาแล้วนั้น น่าเชื่อถือแค่ไหนเป็นการกรองข้อมูล

และหลักฐานที่ได้อีกขั้นนึงเพื่อความถูกต้องที่สุด




5.การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน



  - หลังจากได้หลักฐานที่น่าเชื่อถือตามการพิจารณา แล้วนั้น ก็มาหาจุดเชื่อมโยงของแต่ละอย่างแต่ละ

ข้อมูล ว่ามีจุดไหนนั้นสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้บ้าง สามารถนำมาประกอบข้อมูลเพื่ออ้างอิงและ

น่าเชื่อถือแค่ไหน




6.การสรุปเรียบเรียงและการนำเสนอข้อเท็จจริง



  - หลักจากข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมโยงและ วิเคราะห์อย่างดีแล้วนั้น ก็มาสรุปผลของเรื่องทั้งหมด 

เรียงเรียงลำดับก่อนหลังการจัดรูปแบบที่มาของหลักฐาน เนื้อหาโดยสรุป และการนำเสนอข้อเท็จจริงที่สุด

ที่สามารถวิเคราะห์ได้ พร้อมอ้างอิงหลักฐานและข้อมูลประกอบ