ประชาคมอาเซียน: ประเทศกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)





ประชาคมอาเซียน: ประเทศกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)




             กัมพูชา ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา(Kingdom of

Cambodia)  (เขมร)ตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาตั้งแต่พ.ศ. 2406 ต่อมาในช่วง

สงครามโลกครั้งที่ 2ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2

จบลง ฝรั่งเศสได้ขับไล่ ญี่ปุ่น จนกัมพูชากลับมาเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้ง

จนได้รับเอกราช วันที่ 9 พฤศจิกายน 2496


ภูมิประเทศ


ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำ

โขง มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด

เทือกเขาอันนัม

  กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่ง

ทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่

ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม

ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับ

ประเทศไทยด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดน

กับประเทศไทยเฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง


เมืองหลวง พนมเปญ


การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ


ก่อตั้ง

- อาณาจักรฟูนัน 611

- อาณาจักรเจนละ 1093

- จักรวรรดิแขมร์ 1345

- ตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส 2406

- ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส 9 พฤศจิกายน 2496

- ฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ 24 กันยายน 2536


พื้นที่  181,035 ตร.กม.


เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง

เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอุตสาหกรรม สิ่งทอ เกษตรกรรมก่อสร้าง

เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและ

การค้าระหว่างประเทศ


 ใน พ.ศ. 2548 มีการพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของ

กัมพูชาและเมื่อการขุดเจาะเชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2556 รายได้จากน้ำมัน

สามารถมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างจริงจัง เศรษฐกิจ ของกัมพูชา พืชที่

สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร

เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค แต่ในช่วงหลังมานี้การส่งออก

ข้าวของกัมพูชานั้นดีขึ้นเรื่อยๆทั้งคุณภาพข้าวและราคาที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคใน

ต่างประเทศและอาเซียนมากขึ้น


เชื้อชาติ ชาวเขมร 85% ชาวญวน 5% ชาวจีน 5 % อื่นๆ เช่นชาวไทยชาวลาว

ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ 3%


ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ

ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทยและภาษาจีน


รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในการบูรณะประเทศหลังสงครามกลางเมืองนานหลาย

ทศวรรษ กัมพูชามีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากร

มนุษย์มีการค้นพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชา

แต่บางส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทกับเพื่อนบ้านอยู่ยังไม่สามารถตกลงอาณาเขตบาง

แห่งกันได้ รายได้จากน้ำมันนั้นจะมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างมากถ้าสามารถ

ดำเนินการให้ถูกต้องได้อย่างเต็มที่ก็จะเป็นผลดีแก่กัมพูชา