สงครามครูเสด (Crusades)

 


สงครามครูเสด (Crusades)

สงครามครูเสด (Crusades)


เป็นการพูดถึงการทำสงครามระหว่างศาสนาไม่ว่าจะเป็นแค่ต่างนิกาย ต่างพวกกัน แต่ส่วนใหญ่ตามที่

เข้าใจกันนั้นมักจะหมายถึงการทำสงครามระหว่าง ศาสนจักรคาทอลิก กับ อิสลาม มีเป้าหมายของสงคราม

คือการเถลิงอำนาจเชิดชูศาสนาและนิกายตัวเองให้เฟื่องฟูเจริญในดินแดนอารยธรรมที่สำคัญ ทั้งทาง

เส้นการค้า เมืองสำคัญของฝั่งตรงข้าม ซึ่งในความหมายนี้จะพูดถึงเมือง เยรูซาเล็มเป็นส่วนใหญ่เยรูซาเล็ม

เป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ความ ขัดแย้งเกี่ยวพันกับ  3 ศาสนา คือ ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ และศาสนา

อิสลาม คริสต์ศาสนิกชน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ที่เก่าแก่และมีการแย่งชิงกัน ระหว่าง คริสต์ และ

 อิสลามกันมายาวนานหลายครั้ง ทั้งในด้านของผู้ปกครองของอาณาจักรที่นับถือทั้งศาสนาคริสต์และ

อิสลามพยายามเข้ามาทำสงคราม แย่งชิงความเป็นใหญ่ สงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะ

อย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ ค.ศ. 1071 และตัดการเข้าถึงเยรูซาเล็ม ของคริสเตียน 

จักรพรรดิไบแซนไทน์ อเล็กซิสที่ 1 ทรงเกรงว่าทางเอเชียไมเนอร์ทั้งหมดจะถูกรุกราน พระองค์จึงทรง

เรียกร้องให้เหล่าผู้นำคริสเตียนตะวันตกและ สันตะปาปา ออกโรงมาช่วยเหลือกรุงคอนสแตนติโนเปิล

โดยการไปจาริกแสวงบุญหรือทำสงครามศาสนาเพื่อที่จะปลดปล่อยกรุงเยรูซาเล็มจากการปกครอง

ของมุสลิมอีกประการนึงคือการรุกรานเบียดเบียน ศาสนาคริสต์และทำลายศาสนสถานที่ศักสิทธิ์

จำนวนมาก การทำสงครามครูเสด เชื่อว่าเป็นความชอบธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย ในการปกป้องศาสนา 

ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ความเจริญของตัวเอง มักนำมาใช้ปลุกระดมโดยเฉพาะเรื่องความเชื่อและการปกป้อง

"ครูเสด" มาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง การยกกางเขนขึ้น 


สงครามครูเสด (Crusades)


สงครามครูเสดมีกี่ครั้ง 



 สงครามครูเสดมีทั้งหมด 9 ครั้ง (แล้วแต่บางที่จะนับ 8 จะรวมครั้งที่ 8 และ 9ไว้ด้วยกัน )



สงครามครูเสดครั้งที่ 1 ปี ค.ศ. 1095 - ค.ศ. 1099 



 นำโดย โรเบิร์ต เคอร์โทส ดยุกแห่งนอร์มังดีในที่สุดเมื่อปี 1099 กองทัพฝั่งคริสต์สามารถเอาชนะฝ่ายเติร์ก

ได้ถึงแม้ว่ากองทัพฝ่ายมุสลิมจะสู้อย่างเข้มแข็งแต่ก็ไม่สามารถต้านทานกำลังของชาวคริสต์ได้ท้ายที่สุด

นักรบครูเสดก็บุกฝ่าเข้าไปผลของสงครามครูเสดนั้น ทำให้ยุโรปเกิดความเปลี่ยนแปลงไปมากมาย การ

ทำการค้าการไปมาหาสู่ติดต่อกันดีขึ้นทำให้เกิดประโยชน์มากมายแก่ คนโดยทั่วไป





สงครามครูเสดครั้งที่ 2  (1147–1149)



ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาซึ่งเป็นหนึ่ง

ในนครรัฐครูเสดในปีก่อนหน้านั้น นำโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่ง

เยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้ง 2 พระองค์นั้น เดินทาง

แยกกันไปคนละทางแต่ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ให้แก่เซลจุคเติร์กครูเสดครั้งที่ 2 จบลงด้วยความล้มเหลว

เป็นชัยชนะของฝ่ายมุสลิม และเป็นสงครามที่นำไปสู่การเสียกรุงเยรูซาเล็ม 





สงครามครูเสดครั้งที่ 3  (1187–1192) 



เป็นสงครามกู้หน้าจากความพ่ายแพ้อันย่อยยับในครั้งที่แล้วของผู้นำทางฝั่งยุโรป และพยาเอาดินแดน

ศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมาภายใต้การนำของ ศอลาฮุดดีน ( ซาลาดิน ) แม่ทัพของฝั่งอิสลาม ผู้ใช้อำนาจใน

การลดอำนาจของรัฐคริสเตียนและยึดเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1187 โดยการนำของ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2

 แห่งอังกฤษและ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส แต่ภายหลังพระเจ้าเฮนรีที่ 2 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ.

 1189ผู้นำฝ่าย อังกฤษต้องเปลี่ยนไปเป็น สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษแทน  สมเด็จพระจักรพรรดิ

ฟรีดริชที่ 1 แห่งโรมันที่มีกองทัพขนาดมหึมาก็ทรงนำทัพไปแต่พระองค์ทรงจมน้ำตายไปอีกคน

สงครามครั้งนี้เกิดความขัดแย้งกันเองของทางฝั่งคริสเตียน การยึดคืนครั้งนี้ไม่สามารถทำได้สำเร็จ

แต่ก็มีการทำข้อตกลงสัญญาว่า ผู้แสวงบุญของคริสตจักร ที่ไม่พกพาอาวุธสามารถเข้าไปแสวงบุญ

ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ได้ แต่ก็ยังถือว่าสงครามครูเสดครั้งนี้ กองทัพผสมฝั่งคริสเตียนล้มเหลวไม่สามารถ

ยึดดินแดนคืนจาก ซาลาดิน ผู้นำปกครองของเมืองเยรูซาเล็ม





สงครามครูเสดครั้งที่ 4  (1202–1204)



จุดประสงค์แรกของสงครามก็เพื่อยึดเยรูซาเลมคืนจากมุสลิม แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1204 นักรบครูเสด

จากยุโรปตะวันตกก็เข้ารุกรานและยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์

ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์แทนที่ ซึ่งถือกันว่าเป็นวิกฤติการณ์สุดท้ายที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่าง

คริสต์ศาสนจักรตะวันออกและตะวันตก (East-West Schism) ระหว่างอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และ

 โรมันคาทอลิก






สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (1217–1221)  



พยายามยึดเยรูซาเล็มและดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดคืนโดยเริ่มด้วยการโจมตีรัฐมหาอำนาจของอัยยูบิด

ในอียิปต์โดยการนำของเลโอโปลด์ที่ 4 ดยุคแห่งออสเตรีย  และ สมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี

 แต่ต้องหันทัพกลับเพราะเสบียงร่อยหรอลง ไม่ได้รับชัยชนะตามเคยแม้จะตียึดเมืองท่าดามิเอตตาได้แล้ว

 และกำลังจะเข้าตีไคโร ก็ตาม





สงครามครูเสดครั้งที่ 6 (1228–1229)



สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 เป็นผู้นำและมีบทบาทมากที่สุดในสงครามครั้งนี้ แต่ก็มีทั้งบทบาทภายใน

ของโป๊ปพระสันตะปาปาเกรกอรีทำให้ไม่สามารถกู้ดินแดนได้สำเร็จ




สงครามครูเสดครั้งที่ 7  (1248–1254) 




สงครามครูเสดครั้งที่ 8 และ 9    (1270-1272)



ครั้งนี้เริ่มขึ้นโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1270  สุลต่านมามลุคไบบาร์เข้าโจมตีอาณาจักร

ครูเสดที่ยังเหลืออยู่และเดินทัพขึ้นไปทางเหนือถึงอาร์มีเนียซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของมองโกล

 เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่รวบรวมกองกำลังเพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสด ต่อมา

พระเจ้าหลุยส์เองก็เสด็จสวรรคตชาร์ลส์จึงกลายเป็นผู้นำของสงครามครูเสด แต่กองทหารก็เกิดโรคร้าย

ทำให้ต้องยุติสงครามลงโดยการตกลงกับสุลต่าน ในข้อตกลงนี้ฝ่ายคริสเตียนสามารถทำการค้าขายอย่าง

เสรีกับตูนิสได้ และที่พำนักสำหรับนักบวช ในเมืองก็ได้รับการการันตี ฉะนั้นสงครามครูเสดครั้งนี้จึงถือว่า

ได้รับความสำเร็จอยู่บ้าง 



สงครามครูเสดครั้งที่  9   เกิดหลังจากครั้งที่ 8 ไม่นานเป็นสงครามครูเสดครั้งสุดท้าย ที่เกิดขึ้นระหว่าง

ปี ค.ศ. 1271 – ค.ศ. 1272 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษก็เสด็จไปเอเคอร์เพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสด

ครั้งที่ 9 แต่เป็นสงครามที่ทางฝ่ายคริสเตียนพ่ายแพ้ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะพลังใจในการที่จะ

ดำเนินการสงครามเหือดหายไป ซึ่งเป็นการเสียที่มั่นสุดท้ายของครูเสด ผลของสงครามก็นำมาซึ่งการ

ล่มสลายของที่มั่นต่างๆ ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนไปด้วยในขณะเดียวกัน





มีสงครามครูเสดเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งมี

สงครามใหญ่ๆเกิดขึ้นถึง 9 ครั้ง และยังมีสงครามย่อยๆเกิดอีกหลายครั้ง เช่น ครูเสดชาวบ้าน ,

ครูเสดลิโวเนีย ,ครูเสดแอลบิเจนเซียน,ครูเสดปรัสเซีย,ครูเสดตอนเหนือ ,



สงครามออตโตมัน-ฮังการี   สงครามครูเสดทำให้พวกตะวันตกได้รับความรู้ใหม่ๆหลายอย่างจากพวก

มุสลิม เพื่อนำมาพัฒนาวิทยาการต่างๆมากมายเพื่อเอาไปสู้ กับมุสลิมอีกครั้ง แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถ

เอาดินแดนศักดิ์สิทธิ์กลับมาได้เพราะความแข็งแกร่งของอาณาจักรทางฝั่งมุสลิมสมัยนั้น


ด้วยอีกประการและความที่ คริสต์ ไม่เคยได้สู้แบบผู้นำทัพที่มีอำนาจบัญชาการกองทัพเดี่ยว

เหมือนในครั้งแรกการลำเลียงเสบียงส่งกำลังบำรุงไม่ดี การแวะไปตีทางนู้นทีนี้ทีเหมือนไปแสวง

หาดินแดน ความร่ำรวยซะมากกว่า เป้าหมายที่จะไปทำให้สำเร็จจริงๆเลยไม่สำเร็จเท่าครั้งแรกเลย

ซักทีมีเหตุให้ต้องพ่ายแพ้ไปตลอด