สัตว์น้ำประจำ 77 จังหวัดของไทย
สัตว์น้ำประจำ 77 จังหวัดของไทย
กรุงเทพมหานคร - ปลากระโห้ (ปลากระโห้ไทย)
ภาคเหนือ
- จังหวัดเชียงราย : ปลาบึก เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
- จังหวัดเชียงใหม่ : ปลากา หรือ ปลากาดำ ตามภาษาถิ่น ปลาเพี้ย
- จังหวัดน่าน : ปลาปากหนวด หรือ ปลาปีกแดง พบในภาคอีสาน, ภาคเหนือ และภาคกลาง
- จังหวัดพะเยา : ปลาบึก
- จังหวัดแพร่ : ปลากา (ปลาเพี้ย)
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน : กบทูด (เขียดแลว)เป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในที่พบได้ในประเทศไท
- จังหวัดลำปาง : ปลารากกล้วย หรือ ปลาซ่อนทราย
- จังหวัดลำพูน : อึ่งปากขวด (อึ่งเพ้า) ในปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
- จังหวัดอุตรดิตถ์ : ปลาตะโกก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จังหวัดกาฬสินธุ์ : ปลาเกล็ดถี่ (ปลากุ่ม) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น สร้อยเกล็ดถี่,
นางเกล็ด, เรียงเกล็ด, ลิง, พรม
- จังหวัดขอนแก่น : ปลาพรม (ปลาตาแดง) มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาสร้อยนกเขา
- จังหวัดชัยภูมิ : ปลาสลาด (ปลาตอง) ทางใต้บางพื้นที่เรียกปลาหลาด
- จังหวัดนครพนม : ปลาเผาะ (ปลายาง) ปลาท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยา
- จังหวัดนครราชสีมา : ปลาบ้า (ปลาโพง) อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ
- จังหวัดบึงกาฬ : ปลาบู่กุดทิง (ปลาบู่น้อย)
- จังหวัดบุรีรัมย์ : กุ้งฝอย พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด
- จังหวัดมหาสารคาม : ปูทูลกระหม่อม (ปูแป้ง) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 14 ของสัตว์ป่าจำพวก
ไม่มีกระดูกสันหลัง
- จังหวัดมุกดาหาร : ปลากดคัง (ปลากดแก้ว) (ปลากดเขี้ยว ) มีขนาดยาวได้ถึง 1.5 - 2 เมตร
และหนักได้ถึง 100 - 110 กิโลกรัมเลยทีเดียว
- จังหวัดยโสธร : ปลาชะโอน (ปลาเซียม)
- จังหวัดร้อยเอ็ด : ปลาหลดจุด
- จังหวัดเลย : ปลาเพ้า
- จังหวัดสกลนคร : ปลากา (ปลาอีก่ำ, ปลาอีตู๋)
- จังหวัดสุรินทร์ : ปลานวลจันทร์น้ำจืด หรือ ปลานวลจันทร์ พบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง
- จังหวัดศรีสะเกษ : กบนา
- จังหวัดหนองคาย : ปลายี่สก (ปลาเอินตาแดง) พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือ
และภาคอีสาน ที่จริงภาคใต้ก็มีแอดเคยตกได้ที่พังงา
- จังหวัดหนองบัวลำภู : ปลาสร้อยขาว (ปลาขาวสร้อย) เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน
- จังหวัดอุดรธานี : ปลาสร้อยลูกกล้วย (ปลาซ่า, ปลาคุยลาม) พบได้ทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในแม่น้ำสายหลัก
- จังหวัดอุบลราชธานี : ปลาเทโพ (ปลาปึ่ง) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "หูหมาด", "หูดำ" หรือ "ปึ่ง" ในภาษาเหนือ เป็นต้น
- จังหวัดอำนาจเจริญ : ปลาสร้อยขาว (ปลาขาวสร้อย)
ภาคตะวันตก
- จังหวัดกาญจนบุรี : ปลายี่สก
- จังหวัดตาก : ปลาตะพากส้ม (ปลาจาด) "ปลาปีกแดง"
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : ปลานวลจันทร์ทะเล (ปลานวลจันทร์, ปลาดอกไม้) สามารถอาศัยในน้ำกร่อย
หรือน้ำจืดได้
- จังหวัดเพชรบุรี : ปลาเวียน อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร
- จังหวัดราชบุรี : ปลายี่สก
ภาคกลาง
- จังหวัดกำแพงเพชร : ปลาตะพากเหลือง (ปลาตะพาก) อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่
- จังหวัดชัยนาท : ปลาแดง มีชื่อเรียกในภาคอีสานแถบแม่น้ำโขงว่า "เซือม", "นาง" หรือ "นางแดง"
เป็นต้น
- จังหวัดนครนายก : ปลาตะเพียนทอง ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาตะเพียนหางแดง", "ปลาลำปำ" หรือ
"ปลาเลียนไฟ" ปลากระแหทอง
- จังหวัดนครปฐม : กุ้งก้ามกราม พบได้ทั่วพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของอินโด-แปซิฟิกจากอินเดีย
- จังหวัดนครสวรรค์ : ปลาสวาย พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย
- จังหวัดนนทบุรี : ปลาเทพา หรือ ปลาเลิม
- จังหวัดปทุมธานี : ปลาบู่ทราย หรือ ปลาครีบทอง
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : กุ้งก้ามกราม (กุ้งนาง, กุ้งหลวง, กุ้งแม่น้ำ)
- จังหวัดพิจิตร : จระเข้น้ำจืด (จระเข้, จระเข้บึง) สมชื่อฉายาจังหวัดเลย ชาละวัน
- จังหวัดพิษณุโลก : ปลากดคัง (ปลากดแก้ว)
- จังหวัดเพชรบูรณ์ : แมงกะพรุนน้ำจืด (แมงยุ้มวะ, แมงยุ้มแยะ)
- จังหวัดลพบุรี : ปลาตะเพียนขาว
- จังหวัดสมุทรปราการ : ปลาสลิด เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย อร่อยมาก
มักอยู่ในอาหารไทย แทบทุกครัวเรือน
- จังหวัดสมุทรสงคราม : หอยหลอด
- จังหวัดสมุทรสาคร : ปลาทู
- จังหวัดสิงห์บุรี : ปลาช่อน ตามธรรมชาติแหล่งน้ำอาจหายากลง แต่ในเขื่อน ต่างๆยังถือว่า มีพอสมควร
- จังหวัดสุโขทัย : ปลาก้างพระร่วง อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำธารที่มีกระแสน้ำไหลแรงในภาคกลาง
ภาคตะวันออก และภาคใต้
- จังหวัดสุพรรณบุรี : ปลาม้า
- จังหวัดสระบุรี : ปูน้ำตกสระบุรี (ปูหิน) Waterfall crab
- จังหวัดอ่างทอง : ปลาตะเพียนทอง
- จังหวัดอุทัยธานี : ปลาแรด ปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมเลี้ยงกันที่แม่น้ำ
สะแกกรัง ในจังหวัดอุทัยธานี
ภาคตะวันออก
- จังหวัดจันทบุรี : ปลาบู่มหิดล ชอบอาศัยในบริเวณปากแม่น้ำ และป่าชายเลนที่สภาพเป็นอ่าว
- จังหวัดฉะเชิงเทรา : ปลากะพงขาว (ปลาโจ้โล้) เป็นปลาทะเลปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้
- จังหวัดชลบุรี : ปลาฉลามกบ อีกชื่อเรียกหนึ่ง "ปลาฉลามแมว"
- จังหวัดตราด : ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก (ปลาย่ำสวาท) ชื่อสามัญอื่น ๆ ว่า ปลากุดสลาด , ปลาเก๋าจุดฟ้า
- จังหวัดปราจีนบุรี : ปลาตะโกก
- จังหวัดระยอง : ปลาพลวงทอง อาศัยอยู่ตามต้นน้ำลำธารที่สะอาด และไหลแรงในป่าหรือน้ำตก
- จังหวัดสระแก้ว : ปลาบ้า (ปลาโพง)
ภาคใต้
- จังหวัดกระบี่ : หอยชักตีน (หอยสังข์ตีนเดียว) หรือ หอยสังข์กระโดด
- จังหวัดชุมพร : ปลาทู
- จังหวัดตรัง : พะยูน (ดุหยง) เป็นสัตว์น้ำชนิดแรกของประเทศไทยที่ได้รับการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน
- จังหวัดนครศรีธรรมราช : ปลาหมอ (ปลาหมอไทย)
- จังหวัดนราธิวาส : ปลาซิวข้างขวานใหญ่ (อีแก บุงโงะ มาแจ) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันมี
สถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว
- จังหวัดปัตตานี : ปลาสลิด
- จังหวัดพังงา : เต่าตนุ เป็นเต่าทะเล
- จังหวัดพัทลุง : ปลากระแห (ปลาลำปำ) กระแหทอง หรือ ตะเพียนหางแดง ภาษาอีสานเรียก เลียนไฟ
ภาษาเหนือเรียก ปก
- จังหวัดภูเก็ต : หอยมุกจาน (หอยมุกขอบทอง) เป็นหอยมุกขนาดใหญ่ นิยมเพาะเลี้ยงมากในทะเลเขตร้อน
- จังหวัดระนอง : ปูเจ้าฟ้า (ปูสิรินธร, ปูน้ำตก) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง
สัตว์ป่าแห่งประเทศไทย เป็นปูน้ำตกพบที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
- จังหวัดสตูล : ปลาการ์ตูนส้มขาว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
- จังหวัดสงขลา : ปลาตะกรับ (ปลาขี้ตัง) ชื่ออื่น ๆ เรียกว่า ปลากระทะ หรือ ปลาแปบลาย
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี : ปลาตะพัดเขียว (ปลาหางเข้) (ปลาแอโรวานา) มีนิสัยค่อนข้างดุ ก้าวร้าว ขี้ตกใจ
- จังหวัดยะลา : ปลาพลวงชมพู (อีแก กือเลาะฮ) สามารถเป็นอาหารแล้วยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย