เขื่อนใหญ่ที่สำคัญในไทยมีเขื่อนอะไรบ้าง

    

 


เขื่อนใหญ่ที่สำคัญในไทยมีเขื่อนอะไรบ้าง

เขื่อนใหญ่ที่สำคัญในไทยมีเขื่อนอะไรบ้าง

ประเทศไทย 77 จังหวัดประเทศไทย นั้น หลายจังหวัดมีเขื่อน มีอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ภายในจังหวัด 

แต่ถ้าจะให้นึกถึงเขื่อนใหญ่ เขื่อนที่สำคัญ

เขื่อนที่มีชื่อเสียง หรือใช้ผลิตไฟฟ้า ทดน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วม แก้ปัญหาภัยแล้ง หรือเป็นที่

ท่องเที่ยวที่สำคัญนั้น ก็มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับ เขื่อน ทั่วประเทศ

เขื่อนใหญ่ที่สำคัญในไทยมีเขื่อนอะไรบ้าง


ภาคเหนือ 



- เขื่อนภูมิพล : เดิมชื่อ เขื่อนยันฮี  ตั้งอยู่บนแม่น้ำปิงที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก สร้างปิดกั้น

           แม่น้ำปิง  ใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งด้านการเกษตรของอุปโภค-บริโภค คมนาคม ท่องเที่ยว

          ระบายน้ำ ผลิตไฟฟ้า


- เขื่อนสิริกิตต์ : ชื่อท้องถิ่นว่า เขื่อนท่าปลา เขื่อนผาซ่อม เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดใน

           ประเทศไทยก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน  ปิดกั้นแม่น้ำน่าน ณ บริเวณเขา

           ผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

           ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงาน  แอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ 

- เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล :  เดิมชื่อว่า เขื่อนแม่งัด ตั้งอยู่บนลำน้ำแม่งัด สาขาแม่น้ำปิง 

           ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา

           สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  

           ประโยชน์ ส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกของราษฎร ผลิตกระไฟฟ้า แหล่งประมงน้ำจืด

           ขนาดใหญ่ แหล่งท่องเที่ยว


- เขื่อนกิ่วลม : ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านแลง อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นการดูแลของสำนักชลประทานที่2 

           ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางขึ้นไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธิน ประมาณ 38 กิโลเมตรเศษ

           เป็นเขื่อนในการดูแลของกรมชลประทาน เพื่อเก็บกักน้ำบนแม่น้ำวัง และสามารถส่งให้ราษฎร

           ทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ที่ก่อนหน้านั้นมีปัญหาขาดแคลนน้ำในการดำรงชีวิตและการเพาะปลูก


- เขื่อนแม่กวงอุดมธารา : กั้นลำน้ำแม่กวง ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 

           เป็นเขื่อนดินเก็บกักน้ำ ป้องกัน น้ำท่วมบริเวณสองฝั่งของลำน้ำแม่กวงในเขตอำเภอดอยสะเก็ด

           สันกำแพง สารภี จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอป่าซาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

           เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา ท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ


- เขื่อนแจ้ห่ม : หรือ เขื่อนกิ่วคอหมา ตั้งอยู่ที่ ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง  เพื่อเป็น

           แหล่งน้ำสำหรับการเกษตรกรรม แหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค แหล่งน้ำสำหรับการอุตสาหกรรม

           ประมงน้ำจืด  ลดน้ำท่วม สำรองน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมของ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แหล่งท่องเที่ยว 


- เขื่อนแม่จาง : เขื่อนแม่จาง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง  


- เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง : เป็นเขื่อนขนาดเล็กอยู่ห่างจากเขื่อนภูมิพลลงมาทางท้ายน้ำ 5 กิโลเมตร

           อ.สามเงา จ.ตาก



ภาคกลาง


- เขื่อนแก่งกระจาน : ตั้งอยู่ที่บริเวณเขาเจ้าและเขาไม้รวกประชิดกัน ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน

           จ.เพชรบุรี เป็นเขื่อนอเนกประสงค์  ผลิตกระแสไฟฟ้า พื้นที่ชลประทาน การเพาะปลูก การประมง

           แหล่งท่องเที่ยว 


- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ : เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำที่ใหญ่ ยาว ลึก ที่สุดในประเทศไทย ตำบลหนองบัว

           อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี

           เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  สถานที่ท่องเที่ยว


- เขื่อนทับเสลา : ตั้งอยู่ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เป็นเขื่อนชลประทานกั้นลำห้วยทับเสลา 


- เขื่อนคลองโพธิ์ : ตั้งอยู่ใน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ 


- เขื่อนพระรามหก : เขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย สร้างกันแม่น้ำป่าสักเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้

           ในการเกษตร ตำบล ท่าหลวง อำเภอ ท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


- เขื่อนขุนด่านปราการชล : เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก 

           ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายกกั้นแม่น้ำนครนายก 

           การบริหารจัดการน้ำฤดูฝน เพื่อป้องกันภัยจากน้ำ บริหารน้ำในฤดูแล้ง แก้ไขปัญหาน้ำเสีย

           ทุ่งบางหอย อุปโภคบริโภค ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำ ท่องเที่ยว  การเกษตร 


- เขื่อนกระเสียว : กั้นลำห้วยกระเสียวตั้งอยู่ที่ บ้านนาตาปิ่น หมู่ที่ 3 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง

           จังหวัดสุพรรณบุรี 


- เขื่อนเจ้าพระยา เป็นเขื่อนทดน้ำ ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย  ก่อสร้าง 

           พ.ศ. 2495 เปิดใช้ พ.ศ. 2500 ตั้งอยู่ที่บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 4 ตำบลบางหลวง 

           อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท กั้นแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้ประโยชน์ ด้านป้องกันน้ำท่วม 

           การชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร  ใช้ผลิตไฟฟ้า 


- เขื่อนปราณบุรี  บ้านวังวนชลประทาน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นลักษณะ

           ของเขื่อนดินที่กั้นอยู่บนแม่น้ำปราณบุรี


- เขื่อนนายก แม่น้ำนครนายก อ.เมือง จ.นครนายก เขื่อนทดน้ำที่มีประตูระบาย


- เขื่อนนเรศวร ตั้งอยู่บนแม่น้ำน่าน เป็นเขื่อนทดน้ำกั้นลำน้ำน่าน ที่บริเวณบ้านหาดใหญ่ 

           อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มีลักษณะเป็นเขื่อนทดน้ำ มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนนเรศวร


- เขื่อนเพชรบุรี แม่น้ำเพชรบุรี อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี


- เขื่อนคลองโพธิ์ ตั้งอยู่ใน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ 


- เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน บ้านเขาหินลาด ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

           เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก อุปโภค-บริโภค แก้ปัญหาอุทกภัย 



ภาคตะวันตก


- เขื่อนวชิราลงกรณ : เขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทยที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก 

           ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย บริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 

           ปิดกั้นแม่น้ำแควน้อย 


- เขื่อนท่าทุ่งนา : ตั้งอยู่บริเวณบ้านท่าทุ่งนา ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี อยู่ห่างจาก

           เขื่อนศรีนครินทร์ลงมาท้ายน้ำประมาณ 25 กิโลเมตร ผลิตกระแสไฟฟ้า 


- เขื่อนแม่กลอง เป็นเขื่อนกั้นน้ำบนแม่น้ำแม่กลองในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ผลิต

           กระแสไฟฟ้า 


- เขื่อนศรีนครินทร์ 



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน) 


- เขื่อนสิรินธร : เขื่อนดินเอนกประสงค์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ตั้งอยู่ในอำเภอสิรินธร   จังหวัด

           อุบลราชธานี เป็นแหล่งประมง แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด ด้านการชลประทาน 

           การป้องกันอุทกภัย การประมง เดิมมีชื่อว่า “เขื่อนลำโดมน้อย” สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อย 

           สาขาของแม่น้ำมูล


- เขื่อนจุฬาภรณ์ : หรือ เขื่อนน้ำพรม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

           ปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย ใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การชลประทาน 

           และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด และเป็นแหล่งท่องเที่ยว 


- เขื่อนอุบลรัตน์ : เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่

           ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และ ตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง 

           จังหวัดหนองบัวลำภู ปิดกั้นแม่น้ำพองสาขาย่อยของแม่น้ำชี ประโยชน์ในด้านการชลประทาน 

           การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง และการป้องกันอุทกภัย 


- เขื่อนลำปาว : ตั้งอยู่ในอำเภอสหัสขันธ์, อำเภอคำม่วง, อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 

           เพื่อปิดกั้นลำน้ำปาวและห้วยยาง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ใช้ประโยชน์

           ทางการเกษตร 


- เขื่อนลำตะคอง : กั้นขวางลำตะคอง ตั้งอยู่ในตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา  

           ใช้ประโยชน์ ผลิตไฟฟ้า ท่องเที่ยวจุดแวะชมวิว


- เขื่อนห้วยหลวง ตำบล: โคกสะอาด อำเภอ: เมืองอุดรธานี จังหวัด: อุดรธานี วัตถุประสงค์สร้าง

           เพื่อการชลประทาน สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานจำนวน 94,830 ไร่


- เขื่อนลำพระเพลิง กั้นน้ำที่ภูเขาโซ่ และภูเขาหลวงที่ประชิดกันบริเวณบ้านบุหัวช้าง ตำบลตะขบ

           อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม  อยู่ในความ

           ดูแลของกรมชลประทาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอวังน้ำเขียว ใช้ประโยชน์ใน

           การเกษตรกรรมและป้องกันอุทกภัย


- เขื่อนลำนางรอง พื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงตามพระราชดำริ เขื่อนลำนางรองเป็น

           เขื่อนดิน   อ.โนนดินแดง บุรีรัมย์ 


- เขื่อนน้ำอูน เขื่อนดินกั้นแม่น้ำอูน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร  น้ำอูนเป็นสาขาที่สำคัญที่สุด

           ของแม่น้ำสงคราม ในตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ประโยชน์ของเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ

           ไว้ใช้ในการชลประทาน และแหล่งท่องเที่ยว


- เขื่อนห้วยหลวง ตำบล โคกสะอาด เมืองอุดรธานี จังหวัด อุดรธานี เพือการเกษตร การประมง

           และการจ่ายน้ำเพื่อผลิตปะปา สถานที่ท่องเที่ยว


- เขื่อนน้ำพุง  สร้างกั้นลำน้ำที่ไหลจากเทือกเขาภูพาน จำนวน 2 ลำน้ำด้วยกันคือ ลำน้ำพุง และ

           ลำน้ำแข้ตั้งอยู่บริเวณน้ำตกคำเพิ่ม บ้านคำเพิ่ม ต.โคกภูอ.กุดบาก จ.สกลนคร ปัจจุบันขึ้นอยู่กับ 

           อ.ภูพาน  เป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ ผลิตกระแสไฟฟ้า ท่องเที่ยว ป้องกัน อุทกภัยใน

           ฤดูน้ำหลาก และใช้ด้านการชลประทาน ในพื้นที่เพาะปลูก


- เขื่อนราษีไศล เขื่อนคอนกรีต  กั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย-บ้านดอน ตั้งอยู่ อำเภอราษีไศล 

           จังหวัดศรีสะเกษ ใช้ประโยชน์จากการผันน้ำ ผลิตไฟฟฟ้า


- เขื่อนเมฆา ตำบล ปราสาท อำเภอ บ้านกรวด บุรีรัมย์ เพื่อใช้น้ำในทางการเกษตร 




ภาคใต้


- เขื่อนรัชชประภา : เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน สร้างปิดกั้นคลองแสงลำน้ำสาขาของแม่น้ำพุมดวง 

           ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ติดอุทยานแห่งชาติเขาสก

           เกือบทั้งหมด ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร บรรเทาอุทกภัย  การประมง การท่องเที่ยว ผลิตไฟฟ้า

           แก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง


- เขื่อนบางลาง  : เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำหลายวัตถุประสงค์ในอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา,

           ประเทศไทย ใช้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำปัตตานี ใช้ประโยชน์  ผลิตไฟฟ้า, ชลประทาน, ป้องกันน้ำท่วม

           , การประมง และกิจกรรมท่องเที่ยว


- เขื่อนปัตตานี แม่น้ำปัตตานี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี  เขื่อนทดน้ำ  เป็นเขื่อนที่สร้างปิดกั้นแม่น้ำ

           ปัตตานี เขตติดต่อระหว่าง อ.เมืองยะลา จว.ยะลา กับ อ.ยะรัง และ อ.โคกโพธิ์ จว.ปัตตานี



ภาคตะวันออก 


- เขื่อนคีรีธาร ตั้งอยู่ที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี   เป็นเขื่อนกั้นน้ำเอนกประสงค์ ใช้ประโยชน์

           ในการ ผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน การประมง และการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในฤดูฝน