การล่มสลายของอาณาจักรออตโตมัน
(ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยมีคอนสแตนติโนเปิล
(อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง จักพรรดิเมห์เหม็ดที่ 2เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรก
ที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น
เมืองอิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิด
ในศาสนาอิสลามซึ่งเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกอีกด้วย สวยงามวิจิตรยิ่งนัก
ออตโตมันกว้างขวางใหญ่โต มีอาณาเขตกว้างขวางมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป
ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทาง
ตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้
ถึงแม้ออตโตมันจะยิ่งใหญ่เพียงใด แต่ก็ไม่ต่างจากจักรวรรดิใหญ่ๆ ที่อื่น อย่าง
โรมันตะวันตก ไบแซนไทน์ ที่ต้องมีการเสื่อมอำนาจ คริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหา
อำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้นและมีการ
จะจัดการกับอาณาจักรแห่งนี้อยู่พอสมควร แต่อาณาจักรด้วยรากฐานก็ยังคงอยู่มา
ได้จนถึง ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรป
ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียด
หยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและ
ฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854)
(เอาจริงๆ พระเจ้าซานิโคลัส เองก็ทรงหลงเชื่อคำรัสปูตินจนเป็นเหตุความไม่พอใจ
ของประชาชนจนพระองค์ต้องถูกยึดอำนาจไปด้วยเช่นกัน) เรียกว่าพอๆกันมาดูกัน
ว่าด้วยสาเหตุอะไรที่ทำให้ ออตโตมันล่มสลายลง
1. การปกครอง : ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่เลยของทุกๆอาณาจักร อยุธยาสมัย
เสียกรุงครั้งที่ 2 ก็มีเรื่องการปกครองที่เน้นค้าขายมากจนไม่สนใจการทหารพอมีศึก
ก็ไม่สามารถเกณฑ์ไพร่พลได้ตามเป้าที่ต้องการ รวมถึงแย่งอำนาจกันอีกด้วยการ
ปกครองของผู้นำ ออตโตมัน ก็อ่อนแอมาโดยตลอดเรื่อยๆานปกครองที่ไม่มี
ประสิทธิภาพของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมาน
ทำให้ออตโตมันอ่อนแอขึ้นอย่างมาก
2. ดินแดน : ยิ่งใหญ่ยิ่งดูแลจัดการ ปกครองยากโดยเฉพาะดินแดนที่ห่างไกล รวม
ปัญหาการปกครองด้วยยิ่งแล้วใหญ่เลย
3. การแย่งชิงอำนาจ : เหมือนหลายๆจักรวรรดิ รวมถึงกรุงศรีของไทยเราด้วย
ก่อนเสียกรุงมีการแย่งชิงอำนาจมาจาก กษัตริย์หลายๆพระงอค์ต่อเนื่อง ส่งผลให้
บุคลากรที่มีความสามารถ แต่มีนายเป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้มีอำนาจถูกตัดตอน ตาย
ไปก็เยอะ ทรัพยากรคนที่มีประสิทธิภาพคนเก่งๆจึงหายไปเยอะเช่นกันออตโตมันคง
ไม่ต่างกันแย่งชิงอำนาจกันวุ่นวาย ฆ่าพี่น้องเพื่อนป้องกันการชิงอำนาจกัน ซึ่งต่อมา
ภายหลังเปลี่ยนจากการฆ่ามาเป็นกักบริเวณแทน
4. ปัญหาภายใน : ของเชื้อพระวงศ์ หรือชนชั้นปกครองที่มีการกักบริเวณจำกัด
ขังมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครอง
ราชย์ในภายหลังทำให้องค์สุลต่านหลายพระองค์ ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน ส่งผลต่อการบริหารจักรวรรดิและ เป็นช่อง
ให้พวกเห็นแก่ประโยชน์ทำเรื่องทุจริตได้
5. ขุนนางมีอำนาจ : คงไม่ต่างจากราชวงศ์ไทยในอดีตของกรุงศรี หรือแม่แต่
ราชวงศ์ถัง ที่มีทั้งสตรีเป็นสนมพาญาติพ่น้องเข้ามามีอำนาจในวัง หรือพระนาง
บูเช็คเทียนที่มีอำนาจมากกว่าฮ่องเต้ ขันทีทั้ง ราชวงศ์ถัง หรือราชวงศ์หมิงหรือแม้
แต่วงศ์อื่นที่มีอำนาจมากกว่าฮ่องเต้ ขุนนางจีน ก็ไม่ต่างจากขุนนางออตโตมันที่
บางคนมีอำนาจมากกว่า สุลต่านเองด้วยจึงเกิดปัญหาพรรคพวก ตัดตอน ทุจริต
6. ทุจริต : จากผู้มีอำนาจ ชนชั้นปกครองทำให้อาณาจักรอ่อนแอลงไปด้วยเช่นกัน
7. เล่นพรรคเล่นพวก : ส่งผลให้ผู้มีความรู้ความสามารถไม่ได้เข้ามาทำงานเพราะ
โดนกีดกัน กันที่ไว้ให้พวกเดียวกันเองที่จ้องจะเข้ามาทุจริต สืบต่ออำนาจกันเอง
8. สะสม : ปัญหาต่างๆมากมายสะสมรวมกันทุกด้านจนทำให้จักรวรรดิออตโตมันนั้น
ถึงการล่มสลายลงแม้ว่าจักรวรรดิออตโตมันจะเสื่อมอำนาจ แต่ชาติตะวันตกก็ยังลังเล
ที่จะเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ
9. เศรษฐกิจ : ประสบปัญหาอย่างมากในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จ ในการ
ปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิ
ออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ
10. แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 : เป็นจุดจบหลังจากEnver Pasha ผู้นำกลุ่มเติร์กหนุ่ม
ได้รวบอำนาจปกครองประเทศไว้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและนำประเทศเข้าสู่สงคราม
โลกครั้งที่1 ในปี ค.ศ. 1914 โดยเข้าร่วมกับเยอรมัน งครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงโดย
เยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จักรวรรดิออตโตมันจึงตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามด้วย ต้องยอม
ลงนามสนธิสัญญา Sevres ในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นผลให้จักรวรรดิ
ออตโตมันต้องสูญเสียดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นที่เหลือในบอลข่านและ ตะวันออกกลาง
และที่ปวดร้าวที่สุดคือ อานาโตเลีย (ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป อานาโตเลียเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมอันหลากหลาย
มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์) ถิ่นที่อยู่ของชาวเติร์ก และอิสตันบูลได้ถูกกองกำลัง
ของชาติยุโรปที่ชนะสงครามเข้ายึดครอง การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่พวก
ชาวเติร์กก็ไม่ยอมที่จะสูยเสียดินแดนเหล่านั้น โดยเฉพาะอนาโตเลีย ถึงแม้รัฐบาล
ออตโตมันจะไม่มีน้ำยาจัดการอะไรได้แล้วแต่ชาวเติร์กก็พร้อมจับอาวุธขึ้นสู้โดยมี
มุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) เป็นผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ
สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation) จึงอุบัติขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1919
– ค.ศ. 1923 ด้เกิดรัฐบาลขึ้น 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลของสุลต่านออตโตมัน ซึ่งตั้ง
อยู่ที่นครอิสตันบูล และรัฐบาลแห่งสมัชชาใหญ่ตุรกี ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงอังการา การต่อสู้
เพื่ออิสรภาพก็สิ้นสุดลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาโลซานน์ (Lausanne) เมื่อวันที่
24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 ซึ่งนำไปสู่การรับรองเขตแดนของประเทศตุรกีในปัจจุบัน
และการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งมีกรุงอังการาเป็นเมืองหลวง และได้มีการยกเลิก
ระบบสุลต่าน สุลต่านเมห์เมตที่ 6 สุลต่านพระองค์สุดท้ายของออตโตมันได้เสด็จไป
ลี้ภัยในต่างประเทศ ปิดฉากประวัติศาสตร์อันยาวนานของอนาโตเลีย หรือออตโตมัน
กว่า 600 ปีลง