Boston tea party คืออะไร



Boston tea party  งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน

   Boston tea party บอสตัน ที ปาร์ตี้  งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน คือเหตุการณ์ที่เป็น

ชนวนนำไปสู่สงครามการปฏิวัติอเมริกาโดยการที่ชาวอาณานิคมของอังกฤษได้ทำการ

ต่อต้านภาษีใบชาที่มาจากความไม่เป็นธรรม ชาวอาณานิคมของอังกฤษ ในเมืองบอสตัน

จึงได้ประท้วงรัฐบาลอังกฤษและเป็นชนวนสู่สงครามอิสรภาพของอเมริกา จากการที่

รัฐบาลอังกฤษได้ร่างและประกาศเรื่องนี้ใน พระราชบัญญัติทาวเซนต์ใต ค.ศ. 1767

และหนำซ้ำยังให้บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ขายใบชาแก่ชาว

อาณานิคมได้โดยตรง ทำให้พ่อค้าชาวอเมริกันเสียผลประโยชน์ การทำให้เสียประโยชน์

รวมไปถึงการขึ้นภาษีชาที่จะส่งไปขายยังอังกฤษ จนสร้างความไม่พอใจ ในปี ค.ศ. 1773

มีเรือสินค้า 3 ลำบรรทุกใบชามายังท่า



   เรือบอสตันชาวอเมริกากลุ่มหนึ่งประมาณ 50 คนที่ไม่พอใจได้ทำการปลอมตัวเป็น

อินเดียแดงขึ้นไปบนเรือของอังกฤษที่จอดทอดสมออยู่ที่อ่านบอสตันแล้วโยนใบชาทิ้ง

ลงไปในทะเลทั้งหมด ทำให้รัฐบาลอังกฤษทำการตอบโต้โดยการประกาศปิดท่าเรือ

บอสตันและเป็นจุดเริ่มต้นของการออกพระราชบัญญัติการใช้กำลังบีบบังคับอาณานิคม

ใน ค.ศ. 1774จึงเป็นเหตุที่มา ของการเริ่มต้น สงครามปฏิวัติอเมริกา  จนในที่สุด อเมริกา

ก็สามารถประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ที่เมืองฟิลาเดเฟีย

(วอชิงตัน ดี.ซี. ในปัจจุบัน) เกิดประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน

และการที่คนฝรั่งเศสเข้าช่วยอเมริกานี้เอง ทำให้ทหารที่เข้ามาร่วมรบในสงครามปฏิวัติ-

อเมริกา ได้ซึบซับแนวคิด วิธีการและความต้องการอิสรภาพของชาวอเมริกันทั้งมวล

เข้าไว้ จึงส่งผลเป็นแรงผลักดันไปจนเกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส และด้วยสภาพเศรษฐกิจ

ที่ย่ำแย่สถาบันกษัตริย์ที่อ่อนแอ ทำให้ฝรั่งเศสได้เข้าสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสจนกลายเป็น

แรงผลักและดันให้เกิดการปฏิวัติไปทั่วทั้งทวีปยุโรปในเวลาต่อมาอีกด้วย






ราชวงศ์สุดท้ายของ เวียดนาม จีน พม่า ลาว



ราชวงศ์สุดท้ายของ เวียดนาม จีน พม่า ลาว

ราชวงศ์สุดท้ายของ เวียดนาม จีน พม่า ลาว

มาดูเรื่องประวัติศาสตร์กันบ้างครับ ไว้เป็นความรู้รอบตัวกันนะจ๊ะ เรื่องราชวงศ์สุดท้าย

ของแต่ละประเทศ อย่าง จีน เวียดนาม ลาว และพม่า (เมียนมาร์)


ราชวงศ์สุดท้ายของ เวียดนาม 

  - ราชวงศ์เหงียน จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายคือ จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดิองค์ที่

13 และพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เหงียน ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2488

ทรงอยู่ในความคุ้มครองของฝรั่งเศสในช่วงตกเป็นอาณานิคม และเมื่อญี่ปุ่นขับไล่

ฝรั่งเศสไปในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็เข้าเชิดพระองค์อีกครั้งพระองค์ทรง

สละราชบัลลังก์ในเดือนสิงหาคมเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม


ราชวงศ์สุดท้ายของ จีน

  - ราชวงศ์ชิง หรือ ราชวงศ์แมนจู จักรพรรดิองสุดท้ายคือ จักรพรรดิ์ ปูยี (จักรพรรดิผู่อี๋)

จักรพรรดิองค์ที่ 13 ถ้านับ ตัวเอ่อร์กุ่นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในจักรพรรดิซุ่นจื้อ

โดยในช่วงต้นรัชกาลได้สถาปนาตนเองเป็น จักรพรรดิอี้  แต่ถูกถอดจากตำแหน่งในปี

ค.ศ.1651 ราชวงศ์ชิงได้ล่มสลายลงจากการเริ่มต้นด้วยความไม่พอใจในการบริการ

งานของพระนางซูสีไทเฮา ที่คุมอำนาจไว้หลังพระนางและ จักรพรรดิกวางสูสวรรคตใน

พ.ศ. 2451 จึงยิ่งเพิ่มความสั่นคลอนขึ้นเพราะ ผู่อี๋ โอรสขององค์ชายชุนที่ 2 ได้รับ

การอภิเษกให้เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปตั้งแต่พระชนมายุเพียง 2 ชันษา เท่านั้น

โดยให้พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ต่อมา นายพลหยวน ซื่อไข่ ถูกปลด

ออกจากตำแหน่งทางทหาร ทรงตั้งคณะรัฐมนตรีหลวงโดยให้พระญาติทั้งหมด

อยู่ในคณะนี้ซึ่งสร้างคงามไม่พอใจให้เหล่าขุนนาง ข้าราชการชั้นสูงตามไปด้วย

ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ได้เกิดจลาจลอู่จางขึ้น และต่อมา นายพลซุน ยัดเซ็น

ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลของตนขึ้นใหม่ ในนามสาธารณรัฐจีน ที่เมืองนานกิง

บรรดาหัวเมืองจึงตีห่างออกจากราชวงศ์ชิง เป็นการปฏิวัติซินไฮ่ ทำให้ฝ่ายชิง

เรียกนายพล หยวน ซื่อไข่ ที่เคยปลดไปเข้ามาช่วยกู้สถานการณ์แต่จนแล้วจนรอด

นายพล หยวนก็บอกให้องค์ชายชุนลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ตามคำแนะนำ

ของสมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่พระอัครมเหสีในจักรพรรดิกวางซวี หลังจากนั้น

หยวน ซื่อไข่ ก็กุมอำนาจเด็ดขาดในรัฐบาลชิง ไว้หมด จีนจึงกลายมาเป็น 2 ขั้วทันที

ขั้นของราชวงศ์ชิง รัฐบาลหยวน นำโดย หยวน ซื่อไข่ และ ขั้วรัฐบาลสาธารณรัฐ

ของ ซุน ยัดเซ็นแต่ด้วยความที่ หยวน ซื่อไข่ไม่ต้องการทำสงครามกับ ซุน ยัดเซ็น

เพราะสิ้นเปลือง ทั้งคู่เลยตกลงเจรจาหาทางออกกันจบกันได้ที่ พระพันปีหลวง

หลงยู่เป็นผู้ลงพระนามาภิไธยใน


"พระบรมราชโองการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง

จักรพรรดิ์ ปูยี เป็นจักรพรรดิ์องค์สุดท้าย และเป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนา

เป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของ เผ่าแมนจูเลีย


ราชวงศ์สุดท้ายของ พม่า

  - ราชวงศ์สุดท้ายคือ : ราชวงศ์คองบอง  กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของพม่า คือ

พระเจ้าธีบอ พระเจ้าธีบอถูกบังคับให้สละราชสมบัติและประกาศยกเลิกระบอบ

กษัตริย์ในพม่า  และองักฤษ ได้นำพระองค์ไปประทับที่รัตนคีรี ประเทศอินเดีย


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> กษัตริย์ และ ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า *

และ รายพระนาม กษัตริย์พม่าราชวงศ์คองบอง


ราชวงศ์สุดท้ายของ ลาว

  - ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง  กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของลาว คือสมเด็จพระเจ้า

ศรีสว่างวัฒนา มีพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าเชษฐาขัติยวงศา พระมหา

ศรีสว่างวัฒนา

เมื่อ พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตรวมถึง

คอมมิวนิสต์ในเวียดนามโดยการนำของ เจ้าสุภานุวงศ์ ก็สามารถทำการล้มล้างรัฐบาล

ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับ

การสนับสนุนจากฝั่งรัฐบาลฝรั่งเศส (เจ้าอาณานิคมเก่า)และสหรัฐอเมริกา

(ผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์) ได้สำเร็จ

จึงนำเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ และทำการสถาปนา

ประเทศลาวเป็น  "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.

2518

พระโอรสของพระองค์เจ้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่างเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์

ลาวถัดจากพระราชบิดา แต่หลังจากประเทศลาวเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว พระองค์ถูกจับไป

เข้าค่ายสัมมนาที่เมืองเวียงไซ แขวงหัวพัน และเสียชีวิตในค่ายสัมมนา  ( ค่ายกักกัน )

โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลาวคือ เจ้าสุลิวงศ์ สว่าง เป็นพระราชนัดดาใน พระบาท

สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา  เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาว

ทรงเป็นผู้อ้างสิทธิในพระราชบัลลังก์ลาว ปัจจุบันประทับในฐานะผู้ลี้ภัย ณ กรุงปารีส

สาธารณรัฐฝรั่งเศส






โภคาภิเษก คือ




โภคาภิเษก คือ 

    ผู้มีทรัพย์สินมั่งคั่ง รู้ราชธรรมขึ้นเป็นกษัตริย์ ผู้ที่มีชาติตระกูลดี อยู่ในธรรมบริสุทธิ์

(เป็นคนดีนั่นเอง) มียศศักดิ์เงินทอง เข้าขั้นมหาเศรษฐี บริวารและทรัพย์สมบัติอันรุ่งเรือง

สมบูรณ์พร้อม ที่เหมาะสมแก่การขึ้เนเป็นกษัตริย์สมควรที่จะเป็นสมเด็จพระมหากษัตริย์

อันจะเป็นเจ้าพิภพปกครองอาณาประชาราษฎรทั้งหลาย  ซึ่งจะช่วยให้ราษฎรได้รับ

ประโยชน์มากมายจากการ โภคาภิเษก และต้องเป็นคนที่รู้จักราชธรรม ตราชูธรรม

ทศกุศล เช่น ราชธรรม 10 หรือ ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่

พระเจ้าแผ่นดินควรประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, ธรรมของนักปกครอง

ดังนี้


1. ทาน การให้ คือ สละทรัพย์สิ่งของ บำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือประชาราษฎร์


2. ศีล  มีคสามประพฤติอันดีงามไม่ให้มีความเสื่อมเสีย


3. ปริจจาคะ การบริจาค คือ เสียสละความสุข เพื่อประชาชนและบ้านเมือง


4. อาชชวะ  ซื่อตรง ซื่อสัตย์สุจริต


5. มัททวะ มีความอ่อนโยน   มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด้างถือองค์

งามสง่าเรียบร้อย


6. ตปะ   ยับยั้งอารมณ์ไม่มัวเมาลุ่มหลงกิเลสตัณหาไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นใน

ความสุขสำราญและความปรนเปรอ


7. อักโกธะ  ไม่โมโก โกรธ กริ้วกราด ระงับความขุ่นเคืองในใจได้


8. อวิหิงสา  ไม่เบียดเบียน กดขี่ ขูดรีด ราษฎร


9. ขันติ มีควสามอดทน อดกลั้น ต่อความยากลำบากทั้งทางกายและใจ เช่น

การทำงานหนัก การโดนดูถูกเหยียดหยามเสียดสี


10. อวิโรธนะ  วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรม มีควมยุติธรรม เที่ยงธรรม

ไม่เอนเอียงหวั่นไหวต่อคำพูดและการกระทำ






อินทราภิเษก คือ




อินทราภิเษก คือ 

การให้เทวดารับรองว่าเป็นกษัตริย์  บางทีก็ใช้คำว่าเทวาภิษก  ซึ่งแยกได้ 3 ลักษณะคือ


สมเด็จอมรินทราธิราชเอาเครื่องปัญจกกุธภัณฑ์ ทั้งห้ามาถวายเมื่อจะได้ราชสมบัติ

เสี่ยงทายบุษยพระพิชัยราชรถมาจรดฝ่าพระบาทด้วยฤทธิอำนาจวาสนาบุญนั้น

เหาะเหินมาโดยนพดลอากาศมีฉัตรทิพย์โอภาสมากางกั้น


อินทราภิเษก คือพระราชพิธีเกี่ยวกับความเป็นพระจักรพรรดิราช  เพื่อสถาปนา

พระอินทร์ให้กลับคืนอีกครั้งเป็นพระราชาแห่งทวยเทพเหนือจอมเขาพระสุเมรุ

ถือเป็นสัญลักษณ์ของพิธีอภิเษกพระจักรพรรดิราชให้ปกครองโลก เสมือนเทพ

กลับมาครอง เป็นการเปรียบเหมือนได้รับการยอมรับจากเทพ ซึ่งแน่นอนแตกต่าง

จากคำว่าปราบดาภิเษกที่ต้องผ่านการสู้รบ อย่างห้าวหาญเพื่อขึ้นอำนาจ


พระราชพิธีอินทราภิเษกเป็นงานใหญ่ของยุคอยุธยา นั้นต้องมีการละเล่นโรงมหรสพ

นับเดือน และมีพิธีสำคัญได้แก่


1. ตั้งเขาพระสุเมรุเป็นสัญลักษณ์พระอินทร์


2. ตั้งเขาไกรลาสเป็นสัญลักษณ์พระอีศวร (พระศิวะ)


3. ที่ตีนเขาพระสุเมรุ สร้างรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์


4. เล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เรียกว่าเป็นการกวนเกษียรสมุทร


กวนเกษียรสมุทรตามคติฮินดูในศาสนาพราหมณ์ เพื่อสถาปนาพระอินทร์ให้กลับคืน

อีกครั้งเป็นพระราชาแห่งทวยเทพเหนือจอมเขาพระสุเมรุหลังจากกวนเกษียรสมุทร

ถือได้เป็นสัญลักษณ์ของพิธีอภิเษกพระจักรพรรดิราชให้ปกครองโลก





ปราบดาภิเษก คืออะไร




ปราบดาภิเษก คืออะไร

 ปราบดาภิเษก คือ การขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ ที่ได้มาด้วยเลือด บังลังค์เลือด

(อาจจะดูแรงไปแต่ในความหมายคือ) พระราชพิธีอภิเษกของพระเจ้าแผ่นดินที่ได้

อำนาจมาจากการรบชนะข้าศึก ใช้กำลังอำนาจในการรบพุ่ง ได้บ้านเมืองหรือ

สามารถจัดการกับผู้ต่อต้านผู้ที่ขัดตนเองจนสามารถขึ้นครองความเป็นใหญ่ได้และ

มีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรูทั้งปวง  ซึ่งต่างจากการราชาภิเษก ที่เป็นการเชิดชูขึ้นโดย

การแต่งตั้งตามสายเลือดหรือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การปราบดาภิเษกนั้น

อาจจะหมายถึง การที่จะต้องปราบกบฏก่อนครองราชย์ นั่นเรียกได้ว่าการครองราชย์

ที่ผ่านการปราบอริราชศัตรูมาแล้วเช่นกัน ซึ่งนับส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาหารรบแย่ง

ชิงดินแดน การเปลี่ยนราชวงศ์ ปฐมกษัตริย์ที่รบพุ่งชิงดินแดน หรือการแย่งอำนาจ

กันของชนชั้นปกครองจนเกิดการเปลี่ยนแปลงพระมหากษัตริย์ ผู้ชนะได้ขึ้นครองราชย์

จนเรียกว่าการ ปราบดาภิเษก