การล่มสลายของสหภาพโซเวียต






การล่มสลายของสหภาพโซเวียต 



  การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้น เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 1991

ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะมีกลุ่มประเทศ CIS เล็กน้อยรัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจาก

สหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 และได้มี

การมอบอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียตให้กับ

ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียต

ได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่าง

สมบูรณ์ .. เราจะมาลองไล่เรียงรายละเอียดเป็นข้อๆกันดูครับว่า

การล่มสลายของโซเวียตนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต


สาเหตุการล่มสลายของโซเวียต


1.การดำเนินนโยบายปฏิรูป : เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้

ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน

"เปเรสตรอยกา" ที่ให้อิสระเสรีแก่ประชาชน ในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้อิสระ

แก่สื่อ ซึ่งเป้นครั้งแรกที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีผู้นำคนใดเคยกระทำการแบบนี้มาก่อน


2.เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives Law on Cooperatives : ซึ่งพลิกโฉม

เศรษฐกิจไปอีกแบบซึ่งเป็นการขัดกับ ลัทธิมาร์ก ( มาร์กซิสต์) คือกฎหมายนี้ได้

อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้อย่าง

อิสระ


3.การลดอำนาจหน่วยเคจีบี : ซึ่งเป็นหน่อยสืบราชการลับที่มีความสำคัญมาก

ต่อความมั่นคงของโซเวียตรวมถึงตัวผู้นำเอง เป็นหน่อยงานทางการเมืองที่

สำคัญอีกหน่อยนึงในสมัยโซเวียต


4.มติที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ : ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุม

พรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์

นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการ

เลือกตั้ง


5.ความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพ : 

โดยมีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของ

รัฐนั้น ๆ


6.รัฐต่างๆพยายามแยกตัว : รัฐที่พยายามแยกตัวก่อนหน้านโยบายปฏิรูปอย่าง

ชัดเจนคือ สาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย 

ที่มีความเป็นชาตินิยมและถือว่าไม่ได้เข้าพวกกับรัฐเซียมาแต่เก่าก่อน มีความ

แตกต่างกันทาง ประวัติศาสตร์  เชื้อชาติ  สังคม  วัฒนธรรมหลังจากนั้นชาตินิยม

ต่างๆก็ถูกปลุกขึ้นในดินแดนอย่าง ยูเครน จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน


7.ปัญหาเศรษฐกิจ : เศรษฐกิจที่ย่ำแย่มานานของโซเวียตนั้น ทำให้เรื่องนี้ยิ่ง

ทวีความเป็นไปได้มากสุดเพราะรัฐต่างๆ ก็สามารถใช้ข้ออ้างนี้ในการขอแยกตัว

เองออกมาจากโซเวียต เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก่อนหน้านั้นได้รับผลเสีย

จากอัตราเงินเฟ้อแฝงและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการบริหารที่ไม่มี

ประสิทธิภาพรวมถึงการทำสงครามเย็นซึ่งไม่ได้เปิดหน้ารบขนาดใหญ่แต่ก็ต้อง

ใช้ทรัพยากรของประเทศจำนวนมากซึ่งเป็นเรื่องที่สูญกำลังเป็นอย่างยิ่ง


8.การแก้ปัญหาสะสม : เป็นการหาทางลงในปัญหาต่างๆที่กัดกินสหภาพโซเวียต

มาเนิ่นาน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การบริหาร ทุจริต สงครามเย็น ฯลฯ


  ในที่สุด บทสรุปสุดท้ายคือรัฐต่างๆก็ได้แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียตอย่าง

สมบูรณ์ 15 รัฐ และ 12 รัฐได้รวมตัวกันตั้งเป็นองกรณ์ระหว่างประเทศเป็นกลุ่ม

ประเทศ CIS ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่ไม่ร่วมและภายหลัง

จอร์เจียก็ออกมาจากกลุ่ม CIS


ผลของการล่มสลายของสหภาพโซเวียต


1. สงครามเย็นสิ้นสุดลง

2. สหรัฐกลายเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก

3. รัฐต่างๆในโซเวียตเดิมต้องเริ่มต้นสร้างเศณษฐกิจขั้นพื้นฐานกันใหม่

4. กลุ่มอำนาจโลกขยับตัวมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะจีนที่เห็น คอมมิวนิสต์

 สุดโต่งอย่างรัสเซียเจอปัญหา จึงขยับปรับเปลี่ยนสภาพให้ดีขึ้นผ่อนคลาย

นโยบายภายใน พัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี รวมไปถึง ด้านการต่างประเทศ

5. เกิดกลุ่ม CIS เครือรัฐเอกราช (Commonwealth  of  Independent  States-CIS)

ที่หลุดมาจากสหภาพโซเวียต