ข้อตกลงออสโล สนธิสัญญาออสโล Oslo Accords



สนธิสัญญาออสโล Oslo Accords



ข้อตกลงออสโล สนธิสัญญาออสโลเป็นข้อตกลง ระหว่างอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ได้แก่ 


ข้อตกลงออสโลที่ 1 ลงนามในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี พ.ศ. 2536 


และข้อตกลงออสโลที่ 2 ลงนามในเมืองตาบา อียิปต์ พ.ศ. 2538


ข้อตกลงออสโล



เป็นกระบวนการสันติภาพที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุสนธิสัญญาสันติภาพตามมติที่ 242 และ

มติที่ 338 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กระบวนการออสโลเริ่มต้นขึ้นหลังจาก

การเจรจาลับในออสโล ประเทศนอร์เวย์


ข้อตกลงสันติภาพออสโล  การประชุมลับระหว่างนายกรัฐมนตรีราบินแห่งอิสราเอลกับอาราฟัต 

ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ในออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2536 

ผลลัพธ์ของสนธิสัญญาออสโลคือการจัดตั้งหน่วยงานแห่งชาติปาเลสไตน์ ซึ่งได้รับมอบหมายให้

รับผิดชอบในการดำเนินการปกครองตนเองของชาวปาเลสไตน์ อาราฟัตได้รับอนุญาตให้กลับปาเลสไตน์

ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในปฏิญญาหลักการการจัดการการปกครองตนเองชั่วคราว 13 กันยายน ค.ศ. 1993

 (คำประกาศหลักการ) ณ สนามหญ้าของทำเนียบขาว ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์สำคัญใน

กระบวนการสันติภาพหลังจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล


และปาเลสไตน์มานานหลายทศวรรษ โดยมี บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ คอยเป็นสื่อกลาง

อย่างไรก็ตาม สองปีหลังจากการลงนามในข้อตกลง ยิตส์ฮัก ราบิน ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มหัวรุนแรง

ฝ่ายขวาของอิสราเอลจากการลงนามในสนธิสัญญาออสโล


ที่ลงนาม  

วอชิงตัน ดี.ซี. (ออสโล 1)

ตาบา อียิปต์ (ออสโล 2)


ผู้ไกล่เกลี่ย นอร์เวย์



โดย 


ยิตส์ฮัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล 


ยัสเซอร์ อาราฟัต ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์


บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ


ความรู้ต่างๆ

✅ สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น Russo-Japanese War

✅ เมื่อตะวันตกล่าอาณานิคม ศตวรรษที่ 15-19

✅ ประวัติความเป็นมา กลุ่ม G7

✅ หนังสือสมองซีกซ้ายฉับไว ไหวพริบดี : ความรู้รอบตัว

✅ 36 กลยุทธ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2


++++