พื้นผิวถนน มีกี่ประเภท

 

พื้นผิวถนน มีกี่ประเภท 


1. ถนนคอนกรีต 

ถนนที่มีผิวหน้าจราจรทำจากคอนกรีตเสริมเหล็ก แข็งแรง ทนทานต่อการสึกหรอ

เหมาะกับพื้นที่ที่มีการใช้งานหนัก เช่น ถนนในเมืองหรือถนนอุตสาหกรรม

อายุการใช้งานยาวนาน แต่ค่าก่อสร้างสูง


2. ถนนแอสฟัลต์ 

หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าถนนยางมะตอย คือถนนที่พื้นผิวจราจรปูด้วยวัสดุที่เรียกว่าแอสฟัลต์

เป็นวัสดุผสมระหว่างยางมะตอย (asphalt)  กับหินหรือทราย ทำหน้าที่เป็นตัวประสาน

ผิวเรียบ ขับขี่นุ่มนวล เหมาะกับถนนทั่วไปและทางหลวง ก่อสร้างเร็ว แต่ต้องบำรุงรักษาบ่อย


3. ถนนลาดยาง

ถนนที่พื้นผิวถูกปูด้วยยางมะตอย (Asphalt) ซึ่งเป็นวัสดุผสมระหว่างหินและยางมะตอย 

มีคุณสมบัติทนทานต่อการสึกหรอ 


4. ถนนลูกรัง / ถนนหินคลุก

ถนนที่ไม่ได้ลาดยางหรือปูผิวด้วยวัสดุแข็งแรงทนทาน ทำจากดิน, หินคลุก, หรือวัสดุธรรมชาติอื่นๆ 

ที่ไม่ผ่านการปรับผิวหน้าให้เรียบ เหมาะกับพื้นที่ชนบทหรือถนนชั่วคราว ราคาถูก แต่เกิดฝุ่นและชำรุดง่าย


5. ถนนดิน

ถนน ที่ไม่ได้ลาดยาง ไม่ได้ปูด้วยยางมะตอย คอนกรีต อิฐ หรือหิน อาจมีการปรับระดับดินและบดอัดให้แน่นขึ้น

เหมาะกับพื้นที่ห่างไกลหรือใช้งานเบา ในพื้นที่ชนบท ไม่เหมาะกับฤดูฝน เพราะอาจเกิดโคลน


6. ถนนแบบซึมน้ำ

ถนนที่สามารถซึมผ่านน้ำได้ เป็นวัสดุปูพื้นผิวถนนที่ออกแบบมาเพื่อให้ น้ำฝนสามารถซึมผ่านลงสู่ชั้นดินด้านล่างได้

ออกแบบให้น้ำซึมผ่านพื้นผิวได้ ลดปัญหาน้ำท่วมขังและช่วยเติมน้ำใต้ดิน เหมาะกับพื้นที่เมืองที่ต้องการจัดการ

น้ำฝนอย่างยั่งยืน


7.  ถนนยางมะตอยเคลือบยาง

ถนนที่ใช้ยางมะตอยผสมกับยางรถยนต์รีไซเคิล ทำให้ได้วัสดุที่มีความยืดหยุ่น ทนทานต่อการแตกร้าว

มีคุณสมบัติลดเสียงและยืดหยุ่นดี แต่ต้นทุนสูง


8. ถนนอิฐ

ถนนที่ปูด้วยอิฐ โดยทั่วไปมักเป็นอิฐมอญ หรืออิฐที่ทำจากดินเหนียวที่เผาแล้ว แข็งแรงและทนทาน

สามารถรับน้ำหนักได้ดี ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว ระบายน้ำได้ดี ดีไซน์หลากหลาย


9. ถนนตัวหนอน 

บล็อกปูพื้น ที่มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน นิยมนำมาใช้ปูพื้นทางเดิน ทางเท้า ลานจอดรถ 

ติดตั้งง่ายและซ่อมแซมสะดวก ช่องว่างระหว่างบล็อกช่วยให้น้ำซึมผ่าน ลดปัญหาน้ำขัง

เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีรถวิ่งผ่านหรือใช้งานหนัก เช่น ลานจอดรถ


10. ถนนหิน

ถนนที่ปูผิวหน้าด้วยหิน ซึ่งอาจเป็นหินคลุก หินเกล็ด หรือหินชนิดอื่นๆ มีความแข็งแรง ทนทาน

ทนทานต่อสภาพอากาศและแรงกด มีอายุการใช้งานยาวนาน ซ่อมแซมเฉพาะจุดได้ง่าย


11. ผิวทางแบบผสม

ถนนที่มีโครงสร้างผิวทางมากกว่าหนึ่งชนิดมาประกอบกัน เช่น คอนกรีตและยางมะตอย

เพื่อให้ได้คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น การระบายน้ำ 

หรือการลดเสียงรบกวน เพิ่มความทนทานและลดการสึกหรอ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดการแตกร้าว


12. บิทูเมน : Bituminous surface

ใช้บิทูเมนเป็นส่วนประกอบหลักในการทำผิวถนน (Bitumen) หรือที่รู้จักกันในชื่อยางมะตอย

ผสมกับวัสดุอื่นๆ เช่น หิน ทราย หรือกรวด จะได้เป็นวัสดุที่ใช้ในการปูผิวถนน

มีคุณสมบัติในการยึดเกาะสูง ทนต่อน้ำและอุณหภูมิ