เสียดินแดนครั้งที่ 11 ฝั่งขวาแม่น้ำโขง





ฝั่งขวาแม่น้ำโขง


       เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง  : ในช่วงรัชกาลที่ 5 พื้นที่รวม  25,500 ตร.กม.

เสียให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อเอาไปแลกเอาจันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส


   สาเหตุ : หลังจากวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบมาปิดอ่าวไทยและแม่น้ำ

เจ้าพระยาโดยการวางแผนของนายโอกุสต์ ปาวี ซึ่งอ้างสิทธิเหนือดินแดนลาวฝั่งซ้าย

แม่น้ำโขงทำให้สยามต้องเสียดินแดนส่วนนั้นพร้อมกับจ่ายค่าเสียหายให้แก่ฝรั่งเศส

เป็นเงินจำนวนมากอีกด้วย

นายโอกุสต์  ปาวี

    ซึ่งมาในรอบนี้เป็นการเสียแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 2 จุดห่างกันแต่เสียพร้อมกัน

ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ.122 (พ.ศ.2446) ซึ่งการเสียดินแดนครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก

วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสเล่นแง่กับสยามโดยหลังจากที่สยามยอมทำสนธิสัญญา

ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสไปแล้วนั้น ทางฝรั่งเศสยังไม่ยอมลดละที่

จะหาเรื่องไทย หรือสยามในขณะนั้นด้วยการไปยึดเอาเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน เพื่อ

ให้สยามยอมทำตามได้ปฏิบัติตามสัญญาแต่เมื่อสยามทำตามสัญญาครบถ้วนแล้ว

ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารออกไปฝรั่งเศสทำการยึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 10 ปี

สาเหตุหลักใหญ่ใจความเลยคือ ดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงนั้นแหละที่ฝรั่งเศส

ยังไม่ได้ไปหลังจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112  ทำให้ฝรั่งเศสเล่นแง่กับทางสยาม เพราะใน

พื้นที่นั้นมีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารอยู่พอสมควรและที่สำคัญเลยคือ

บ่อเกลือที่มีอยู่มากมาย ฝรั่งเศสเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนเหล่านั้นและจะเป็น

การจัดระเบียบพื้นที่ผลประโยชน์ของตัวเองได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเลยต้องการอยากจะ

ได้ไปจากสยามหรือไทยซึ่งดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสได้ไปนั้น

อยู่ในเขตที่ติดกับภาคเหนือของไทยตรงข้ามกับหลวงพระบาง ปัจจุบันคือแขวง

ไชยบุรีของลาวกับที่อยู่ตรงภาคอีสานตรงข้ามกับจำปาศักดิ์ของลาว (ปัจจุบีนมีพื้นที่

อยู่ในแขวงจำปาศักดิ์) ซึ่งมีพื้นที่ติดเขมรคือจังหวัดสตึงแตรงอยู่ทางตอนเหนือสุด

ของเขมรและจังหวัดพระวิหารด้วยเหตุที่สยามยอมแลกเพราะจันทบุรีเป็นเมืองสำคัญ

เมืองใหญ่และเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางทะเลที่ไม่ควรจะต้องตกเป็นของศัตรู รวม

ถึงง่ายต่อการจัดระเบียบการปกครองในมณฑลพายัพอีกด้วยทำให้เขตแดนทางทะเล

เพิ่มขึ้นและอีกเหตุผลสำคัญคือในจันทบุรีคนส่วนใหญ่เป็นไทย ซึ่งสำคัญต่อประเทศ

มากกว่าเลยต้องยอมแลก โดยมีการทำสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 (พ.ศ.2446)

ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเรื่องการกำหนดเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดน

ในปกครองของฝรั่งเศส การลงนามฝั่งไทยคือ พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)

พระยาสุริยานุวัตร (เกิดบุนนาค)


และทางฝรั่งเศสคือ  เธโอพีล เดลกาสเซ (Theophile Delcasse) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

การต่างประเทศของทางฝรั่งเศสการเจรจามีขึ้น ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 (พ.ศ.2446)  และมีการลงนามในวันที่ 13 กุมภาพันธ์

ร.ศ. 122 (พ.ศ.2446)