บล็อกน่าอ่าน เป็นแบบไหน(BLOG)





บล็อกน่าอ่าน เป็นแบบไหน



   บทความก่อนหน้านี้พูดถึงบล็อกน่าเบื่อกันไปแล้ววันนี้บทความนี้เรามาพูดถึง

บล็อกน่าอ่านกันมั่ว่า มีออะไรทำไมถึงน่าอ่านกันละ มาดูกันครับ

บล็อกน่าอ่าน เป็นแบบไหน(BLOG)


1. สบายตา : พื้นสีขาว วรรคตอนชัดเจนตัวหนังสือเรียบๆไม่มีสีฉูดฉาดจนตาลาย


2. สวยงาม : การแต่งบล็อกสวยงาม หัวข้อรูปสวย Header สวยเข้ากับเนื้อหา แต่

ไม่โหลดช้าจนเกินไป หรือรูปที่ใช้ประกอบบทความสวยและเข้าใจง่าย สื่อ

ความหมายได้ดี


3. ข้อมูลเป็นระเบียบ : เว้นวรรคดี ข้อมูลในบทความจัดเป็นตอนๆอย่างสวยงาม

ไม่ปนกับและยาวติดกันจนเกินไป มีขึ้นบรรทัดใหม่ เว้นช่องไฟได้น่าอ่าน


4. อ่านง่าย :  ตัวหนังสือไม่เล็กจนเกินไป (เป็นเทคนิคในการเขียนบล็อก) เพราะ

ถ้าเล็กไปจะต้องใช้บทความที่มากกว่าเดิมในการทำให้มันเต็มหน้า ขนาดพอดีๆ

อ่านง่ายคนชอบและยังทำให้แต่ละบรรทัดใช้คำน้อยกว่า ทำให้บล็อกในพื้นที่วาง

เนื้อหายาวขึ้นได้ด้วย (ในกรณีที่บทความไม่ได้ยาวเกิน)


5. เป็นหมวดหมู่ :  จัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ เช่น ความรู้รอบตัว , เกร็ดความรู้ ,

สาระน่ารู้ , บทความน่าอ่าน จัดให้แยกชัดเจนจากกันจะทำให้หาบทความอ่านได้

ง่ายขึ้นครับ


6. ข้อมูลสัมพันธ์กัน :  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเชื่อมต่อกัน (แบบวิกิพีเดีย) ที่ข้อมูลนั้น

สามารถเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆถ้าในบล็อกมีบทความที่เกี่ยวข้องให้พูดถึง เป็น

เทคนิคในการเขียนบล็อกที่ทำให้ทั้งบอทของกูเกิ้ลและผู้อ่านวนเวียนอยู่ในบล็อก

ของเรานานที่สุด


7. เขียนถูกต้อง : เขียนผิดบางทีผู้อ่านอาจจะหงุดหงิดรำคาญ เอ็งจะเขียนผิดเยอะ

ไปไหนเนี้ยไม่ไหวไม่อ่านละ ประมาณนี้ พยายามเขียนภาษาไทยหรืออังกฤษให้

ถูกด้วยครับ


8. ไม่เอนเอียงหรือใส่ร้าย : ถ้าผู้อ่านต้องาการความรู้ ข้อมูลแบบจริงจังการเอนเอียง

หรือใส่ร้ายป้ายสีจะทำให้ทัศนคติของผู้อ่านที่มีต่อบล็อกแย่ลงทันที รอบหน้าถ้าค้นหา

แล้วเปิดมาเจอบล็อกเราเขาก็ปิดทิ้งทันทีเลยครับ อย่าอคติเอนเอียงนะจ๊ะ


9. ใช้คำที่สุภาพ : ใครๆก็ไม่ชอบคำหยาบคาย สุภาพธรรมดาแบบการเขียนทั่วไป

ดีกว่าครับ


10. ข้อมูลไม่อัดจนดูเยอะ : ถ้าข้อมูลเยอะแนะนำว่า ตัดเป็นตอนๆแยกกันลงทีละ

บทความครับ เช่นข้อมูล เรื่อง การเสียดินแดนของไทย มีตั้ง 13ครั้งถ้าลงจริงจัง

ก็เยอะมากก็แยกไปครับ อย่าง การเสียฝั่งขวาแม่น้ำโขง  การเสียเขมรส่วนนอก

การเสียบันทายมาศ อย่างนี้เป็นต้น และยังเป็นข้อดีคือ ไม่ยาวจนน่าเบื่อ สามารถ

แยกเป็นตอนๆให้ผู้อ่านได้ติดตาม(ปล่อยออกมาวันละตอนยังได้เลย) ได้เนื้อหา

เน้นๆเฉาพะเรื่องที่สามารถโยงเข้าหากันได้ในแต่ละตอน (ส่งผลดีต่อการทำ SEO )

เป็นการเพิ่มหมวดหมู่ย่อยเข้าไปได้อีก