การเขียนบทความ (ฉบับมือใหม่)




การเขียนบทความ


               วันนี้นำเสนอการเขียนบทความลงบล็อกหรือที่ไหนก็แล้วแต่ครับ

สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยลองแล้วกล้าๆกลัวๆว่าจะทำอย่างไร ลองมาอ่าน

บทความนี้ดูครับว่าเราควรทำอย่างไรถ้าเราอยากจะเขียนบทความ



1.เรื่องที่ชอบและสนใจ : เมื่อได้ทำเรื่องที่เราชอบหรือเรื่องที่เราสนใจ ข้อมูล

เชิงลึกหรือความคิดเห็นรวมทั้งทัศนคติส่วนตัวที่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงของเรา

จะลงลึกไปยังบทความของเราด้วยทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนได้รับข้อมูลที่วิเคราะห์

วิจารณ์ในรูปแบบที่แตกต่างจากที่เขาคิดและมีประโยชน์มากขึ้นถ้าเรื่องนั้นเรามี

ความสนใจยิ่งรู้ลึกเจาะลึกรู้ถึงแก่นของมันยิ่งทำให้ผู้อ่านที่สนใจในเรื่องนั้นติดตาม

บทความของคุณต่อๆไปด้วยอย่างแน่นอน



2.นำเสนอแปลกออกไป : แตกต่างเพื่อเป็นที่สนใจเรื่องนี้ต้องพยายามทำไม่ใช่

เรื่องง่ายหรือบางทีนึดหลัก เราเป็นตัวเราก็พอ ไม่ก็ลองหาแนวทางจากนักเขียน

หรือเจ้าของเพจดังที่มีสไตล์ของตัวเองดูว่าเขามีวิธีการเทคนิคในการเขียน

บทความแบบไหนยังไงแต่สุดท้ายคงหนีไม่พ้น " ตัวตน " ของเราอยู่ดี



3.ร่างแบบลงกระดาษ : เขียนแบบร่างไว้บนกระดาษร่างซะก่อนที่จะเอาลงใน

กระดาษจริงหรือบนโซเชี่ยล ในบล็อกหรือที่ใดก็ตามแต่ให้เราได้กลั่นกรองลอง

เขียนลองซึมซับข้อมูลของตัวเองผ่านปากกาลงบนกระดาษว่าสิ่งที่เราเขียนไป

นั้นเราจดจำช่วงไหน ส่วนไหนต้องเน้นเรียบเรียงให้สวยได้บ้าง



4.เขียนเสร็จทิ้ง : เขียนเสร็จก็ทิ้งไว้ก่อนแล้วนำมาอ่านใหม่เพื่อปรับ เขียนแล้ว

กลับมาอ่านอีกทีเราจะได้มุมมองใหม่ๆเพิ่มเติมลงไปหรือแก้ไขให้บทความเรา

ลื่นขึ้น



5.ข้อมูลถูกต้อง : ความเชื่อมั่นของผู้อ่านสำคัญมากนะครับถ้าข้อมูลไม่ถูกต้อง

หรือตั้งใจป้อนข้อมูลผิดๆให้เข้าไป วันนึงเขารู้ทันและจับได้ คุณก็เป็นแค่นักเขียน

กากๆ ข้อมูลพลาดๆ หรือเป็นได้แค่พวกเสี้ยมยุแยงเท่านั้น



6.อย่าไปยึดติดกับรูปแบบ : อย่าไปยึดติดว่าเราต้องทำตามรูปแบบประเภท

บทความต่างๆให้เราฟรีสไตล์ไปก่อนในช่วงเริ่มต้นแล้วค่อยมาหาแนวทางของ

ตัวเองบางทีเมื่อเราเจอสไตล์ของตัวเองแล้ว เรากก็ไม่ต้องไป เดินตามรูปแบบ

ใครหรือทำให้บทความเราเป็นประเภทใดประเภทนึง ทำให้บทความเราเป็นแบบ

ที่เราอยากให้เป็น



7.สอดแทรก  : ข้อมูลเกร็ดเล็กๆน้อยๆไว้เป็นความรู้ และประกอบบทความให้

ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น(แต่อย่าเยอะจนออกทะเลไปเรื่องอื่นหล่ะ)



8.ไม่ต้องไปกังวล : ว่าคนจะอ่านเยอะหรือไม่ ชอบหรือเปล่า ไม่สำคัญเท่า

กับว่าเราพอใจมันหรือยัง มีตรงไหนที่ยังไม่ดีในสายตาเรา มีอะไรที่เราต้อง

ปรับปรุงในการเขียนครั้งหน้าอย่าไปกังวลต่อความผิดพลาด ให้เรื่องเหล่านั้น

เป็นข้อเตือนใจไว้ปรับปรุงแก้ไขในคราวหน้า ถือว่ามันเป็นประสบการณ์

ของเราในการทำให้บทความของเราเป็นบทความคุณภาพ



9.อ่านง่าย : คำที่ใช้อ่านง่าย เว้นบรรทัด เว้นวรรค เอาให้ผู้อ่านเข้าใจอย่าง

ให้มันดูน่ารำคาญการใช้สีกับตัวอักษรก็ให้ดูเป็นระบบอย่าเล่นสีซะเหมือนชุด

ลิเกมันดูสกปรกและรำคาญสายตาครับ



10.สนุกไปกับมัน : ถ้าเมื่อไหร่ที่การเขียนบทความของเราเป็นเรื่องเบื่อแต่

จำใจต้องทำ ความน่าสนใจของบทความจะลดลงผิดกับสิ่งที่เราลุ่มหลง

สนใจบทความที่เขียนออกมาจะเต็มไปด้วยความน่าสนใจ ที่ตัวเราถ่ายทอด

ลงมาบนตัวหนังสือและรับไปถึงผู้อ่าน



            อ่านแล้วก็เริ่มทำมันซะ !! บทความในนิยามง่ายๆที่ผมอยากจะสื่อเลย

คือเหมือนเราพูดคุยกับเพื่อนทุกคำพูดทุกสิ่งที่สื่อไปสามารถเอามาเขียนเป็น

บทความได้ทั้งหมดขอแค่ให้มันอยู่บนพื้นฐานความจริงไม่เสียดสีใส่ร้ายผู้ใด

คุณจะบ่น จะเพ้ออะไรอย่างไรสื่อออกมาให้ผู้อ่านรู้ในทุกตัวอักษรที่กลั่นออกมา

จากความคิดคุณเท่านี้มันก็เป็นบทความที่ดีได้แล้วครับไม่จำเป็นต้องเก่งเวอร์

เฟอร์เฟ็ค (เขียนถูกป่าวนิ ฮ่าๆ) ขอแค่มีใจรักที่จะเล่าจะเขียน จะแชร์ไม่ใช้มันเพื่อ

ทำร้ายทำลายใคร ก็พอ