พระยาพหลพลพยุหเสนา เชษฐบุรุษประชาธิปไตย

 

พระยาพหลพลพยุหเสนา เชษฐบุรุษประชาธิปไตย



พระยาพหลพลพยุหเสนา Phraya Phahonphonphayuhasena


(พจน์ พหลโยธิน)


29 มีนาคม พ.ศ. 2430 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490


หรือที่รู้จักกันในชื่อ พระยาพหล เป็นผู้นำทางทหารและนักการเมืองชาวไทย 


เขาได้กลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของประเทศไทยหลังจากทำการรัฐประหาร


เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 เพื่อล้มล้างรัฐบาลของพระยายมนูปกรณ์


ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร)  


พ่อเป็นชาวแต้จิ๋วจากประเทศจีนชื่อ กิมพระพรหมยุธิน (กิมพหลโยธิน) 


และแม่เป็นคนไทยจากประเทศไทยชื่อ ไชยพระพรหมยุธิน (จับพหลโยธิน)


หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าแล้ว เขาถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยปรัสเซีย


จากนั้นจึงไปเรียนต่อที่วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์โคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก


ในปี พ.ศ. 2475 เขาและสมาชิกพรรคราษฎรคนอื่นๆ คณะราษฎรได้ก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน


จัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ หลังจากสถาปนารัฐบาลใหม่ของพระยามนุปกรณ์ เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด


ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2476 เกิดวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญในสยามจากเหตุการณ์ "สมุดปกเหลือง"


ซึ่งเกิดจากร่างแผนเศรษฐกิจของปรีดี ซึ่งมีกลุ่มสังคมนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี 


จึงขับพระยาพหลออกจากคณะรัฐมนตรีและสั่งระงับรัฐธรรมนูญ 


เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พระยาพหลได้ลาออกจากคณะรัฐมนตรีด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ 


วันที่ 20 มิถุนายน พระยาพหลได้ก่อรัฐประหารโดยไม่นองเลือด พระยาพหลได้แต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสยาม


เดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 เกิดกบฏบวรเดชเพียงสี่เดือนหลังจากที่พระยาพหลขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี


หลังจากการต่อสู้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ กองกำลังของรัฐบาลก็ได้รับชัยชนะ


 พ.ศ.2475 ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง 


จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย


24 มิถุนายน 2476  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา


16 ธันวาคม 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2


22 กันยายน 2477 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 3 * ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย


พ.ศ.2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม


พ.ศ. 2478  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง


9 สิงหาคม 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 4 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน)


21 ธันวาคม 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 5


พ.ศ. 2481 ยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


และยุติบทบาททางการเมือง


หลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกพระยาพหลได้เกษียณอายุราชการ แม้ว่าจะดำรงตำแหน่ง


ผู้ตรวจการกองทัพบกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ตาม


พลเอกพระยาพหลเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 จากอาการเลือดออกในสมอง 


ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 รวมอายุได้ 60 ปี


ถนนพหลโยธิน ซึ่งเดิมเรียกว่าถนนประชาธิปัตย์ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อถนนดังกล่าวเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา


โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ในจังหวัดกาญจนบุรี ก็ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาเช่นกัน


ฐานทัพปืนใหญ่ของกองทัพบกในจังหวัดลพบุรีใช้ชื่อว่าพลเอกพระยาพหล จ.ลพบุรี พ.ศ. 2562 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นฐานทัพพระยาพหล






แผนกต่างๆในโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง ทำหน้าที่อะไร

 


แผนกต่างๆในโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง ทำหน้าที่อะไร





1. แผนกผู้ป่วยนอก : Outpatient Department


หรือ OPD เพื่อการรักษาผู้ป่วยนอก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เข้ามาที่โรงพยาบาลทำหน้าที่เริ่มตั้งแต่

การสอบถามซักประวัติเพื่อรับการวินิจฉัยหรือการรักษา แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เตียงหรือเข้ารับการ

รักษาค้างคืน 



2. แผนกฉุกเฉินและอุบัติเหตุ : Emergency Room


แผนก ER ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน หน้าที่ให้บริการ ดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและภาวะวิกฤต 

ตลอด 24 ชั่วโมง



3. แผนกผู้ป่วยใน : Inpatient Department


IPD ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ตามการวินิจฉัยและ

อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด



4. แผนกผู้ป่วยหนัก / หอผู้ป่วยวิกฤต Intensive Care Unit หรือ ICU 


เป็นห้องที่ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต   ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง เสี่ยงต่อการ

เสียชีวิต  แผนกพิเศษที่จัดไว้เพื่อรักษาดูแลอาการผู้ที่ป่วยหนัก ไม่ว่าจะเป็นการประสบอุบัติเหตุ 

หรือโรคอื่นใด ที่มีโอกาสที่จะสูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียชีวิตได้เสมอ



5. แผนกรังสี : Radiology Department


ให้บริการรังสีวิทยา ด้วยระบบเอกซเรย์ทั่วไป (General X-Ray) ระบบ DR (Digital Radiography) 

ใช้ประเมินความผิดปกติของอวัยวะภายในแม่นยำและรวดเร็ว



6. แผนกห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ : Laboratory Department


ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ใช้วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเคมี ได้แก่ กลูโคส คอเลสเตอรอล BUN 

ครีเอตินิน โพแทสเซียม เอนไซม์ตับและหัวใจ การทดสอบไทรอยด์และฮอร์โมน โลหิตวิทยา, 

ภูมิคุ้มกันวิทยา, เคมีคลินิก, จุลชีววิทยา, ธนาคารเลือด ทำการทดสอบผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับ

การวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรค 



7. อายุรกรรมโรคมะเร็ง : Oncology


ให้บริการโปรแกรมการดูแลรักษามะเร็งอย่างครอบคลุม การดูแลและจัดการโรคมะเร็งตั้งแต่

การคัดกรองและการวินิจฉัยระยะเริ่มต้นจนถึงการรักษาและการดูแลระยะยาว



8. แผนกเภสัชกรรม : Pharmaceutical Department


ให้บริการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการรักษา บริการเภสัชกรรมผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษา

ในหอผู้ป่วยต่างๆ ภายในโรงพยาบาลมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการวางแผนการรักษา

และการดูแลผู้ป่วย จัดซื้อ จัดเก็บ และจ่ายยาให้กับหน่วยจ่ายยาติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา



9. แผนกศัลยกรรม : Surgical Department


บริการทางด้านวิสัญญีวิทยา ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมประสาท 

ศัลยกรรมเด็ก ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ศัลยกรรมหลอดเลือด และอื่นๆ ผ่าตัดได้ทุกอย่าง

ตั้งแต่เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดอุดตัน ไปจนถึงกระดูกหัก



10. แผนกจิตเวช : Psychology Department / Psychiatry Department


บริการคำปรึกษาและการประเมินต่างๆ รวมไปถึงการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตเวช การใช้ยา 

และกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและ

คลินิกเฉพาะทาง



11. แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู : Physical Therapy Department / Physical Medicine and Rehab


บริการเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยป้องกันการบาดเจ็บ ฟื้นฟูความพิการทางร่างกายและการทำงานของผู้ป่วย

จากวัยชรา การบาดเจ็บ โรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและความแข็งแรง และลดความเจ็บปวด ครอบคลุม

ถึงการทำงาน กีฬา และการพูด และความบกพร่องทางกายภาพ



12. แผนกกุมารเวช : Pediatrics Department


ทำหน้าที่วินิจฉัย รักษาการดูแล เด็ก ศูนย์สุขภาพเด็ก มีผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก พยาบาลเฉพาะทาง 

และจัดการสุขภาพเด็ก รวมถึงการดูแลฉุกเฉิน การตรวจสุขภาพประจำ การฉีดวัคซีน และการ

รักษาโรคเรื้อรัง



13. แผนกอายุรกรรม : Medicine Department


เป็นแผนกที่ให้การรักษาโรคทางอายุรกรรมทั่วไป  โรคภูมิเเพ้  โรคปอดเเละโรคระบบทางเดินหายใจ 

ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคไต วัณโรค เป็นต้น 



14. แผนกหู คอ จมูก : Ear nose and throat Department


ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคและความผิดปกติทาง หู คอ จมูก และอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น 

การประเมินและรักษาอาการเวียนศีรษะและสูญเสียการทรงตัว จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ก้อนเนื้อที่คอ 

ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น



15. แผนกวิสัญญี : Department of Anesthesia / Anesthesiology Department


เป็นส่วนหนึ่งของการผ่าตัด มีทีมวิสัญญีในการดูแลผู้ป่วยตลอดการผ่าตัด ประกอบด้วยวิสัญญีแพทย์

วิสัญญีพยาบาล พยาบาลประจำห้องพักฟื้น พนักงานผู้ช่วย มีบทบาทในการให้คำปรึกษาและให้ข้อมูล

เกี่ยวกับการระงับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย

ช่วยลดความกังวลของผู้ป่วย หมอวิสัญญี ไม่ใช่แค่ดมยาสลบแล้วจบหน้าที่ ต้องอยู่กับคนไข้ตลอด

ระหว่างการผ่าตัด



16. แผนกอายุรกรรมหัวใจ : Cardiology Department


ดูแลด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น ปัญหาเกี่ยวกับ

ระบบหลอดเลือดและหัวใจประเมินเบื้องต้นถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจ  วางแนวทางการรักษาให้บริการ

ดูแลด้านโรคหัวใจอย่างครอบคลุม



17. แผนกจักษุ : Ophthalmology Department


ตรวจรักษาและให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา  ตั้งแต่อาการทั่วไปจนถึงการรักษา

ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้ยาหรือการผ่าตัด สั่งประกอบแว่นตาให้ผู้ป่วย รวมถึงตรวจ

วินิจฉัยหาสาเหตุ การรักษาโรค การตรวจสายตาเพื่อให้ทราบข้อบกพร่อง



18. แผนกสูตินรีเวช : Obstretric – Gynecology Department


ให้บริการตรวจรักษาโรคทางนรีเวช เช่น การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การผ่าตัด การผ่าตัดโดยการ

ส่องกล้อง ให้คำปรึกษาเรื่องการวางแผนครอบครัว คุมกำเนิด ฮอร์โมน รักษาสตรีวัยหมดระดู 

บริการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPVเพื่อตรวจและป้องกันโรคของสตรี ให้บริการดูแลปัญาหาสุขภาพสตรี

ทุกวัย ประจำเดือนผิดปกติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามาก ตกขาวผิดปกติ 



19. แผนกประสาทวิทยา : Neurology Department


ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทครบวงจร  โรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง 

สมองเสื่อม ลมชัก ตรวจเพื่อป้องกันโรคทางด้านสมองและระบบประสาท วินิจฉัยรักษาฟื้นฟูเพื่อป้องกัน

โรคทางระบบประสาท สมองและไขสันหลัง



20. แผนกกระดูกและข้อ : Orthopedics Department


ห้บริการสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก และข้อ ทั้งด้านการรวินิจฉัย การรักษา และการผ่าตัด 

ผ่าตัดส่องกล้อง ดูแลรักษาความผิดปกติกระดูก ข้อ เส้นเอ็น กระดูกหักและข้อเคลื่อนจากอุบัติเหตุ 

หรือเล่นกีฬา ศัลยกรรมเกี่ยวกับเนื้องอกของกระดูกและกล้ามเนื้อ หรือ โรคกระดูกซึ่งสืบเนื่องมาจาก

ความผิดปกติของการทำงานของเซลล์ 



21. แผนกพยาธิวิทยา : Pathology Department


ให้บริการวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยา วินิจฉัยโรคโดยการตรวจชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดหรือการเจาะดูด

 วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ เนื้อเยื่อหรือ

เซลล์  ไปถึงการตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ หรือเนื้อเยื่อจากผู้ป่วย รวมถึงสารคัดหลั่ง 



22. ศัลยกรรมทั่วไป : General Surgery


บริการสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา ในระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัด ตรวจรักษา 

ผ่าตัด และให้คำปรึกษาโรคทางศัลยกรรมทั่วไป เช่น ก้อน หรือเนื้องอก มะเร็งเต้านม ,มะเร็งลำไส้ 

,มะเร็งตับ ,ไส้ติ่งอักเสบ ,ไส้เลื่อน ริดสีดวง คอพอก เป็นต้น 



23. แผนกโรคทางเดินปัสสาวะ : Urology Department


ตรวจวินิจฉัย และ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะโดยแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ 

มะเร็งต่อมลูกหมาก  มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะเพศ 



24. แผนกผิวหนัง / ตจวิทยา : Dermatology Department


ปัญหาทางผิวหนัง และปัญหาระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดูแลและรักษาปัญหาทางผิวหนังต่าง ๆ ทั้งในเด็ก

และผู้ใหญ่ 



25. ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ : GI and Liver Center / Gastrointestinal and Liver 


ให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาปัญหา โรคระบบทางเดินอาหารและตับ อายุรกรรมระบบ

ทางเดินอาหารและตับ รวมถึงแพทย์ในการผ่าตัด รักษาโรคทางเดินอาหาร ตับ ตับอ่อน ท่อน้ำดี 

กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ มะเร็งทางเดินอาหาร และส่องกล้องตรวจ



26. แผนกอายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ : Gastroenterology and Hepatology Department


ระบบทางเดินอาหาร ตับ ตับอ่อน และ ทางเดินน้ำดี. ประกอบไปด้วยศูนย์รักษาเฉพาะทาง  ปัญหา

ความผิดปกติ และตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องทางเดินอาหาร ดูแลและ

รักษาโรคระบบทางเดินอาหารทั้งหมด 



27. แผนกอายุรกรรมโรคไต : Nephrology Department


สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงของโรคไต เพื่อป้องกันและชะลอการเสื่อมไต เพื่อยืดระยะเวลาของการล้างไต

ดูแลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตอักเสบ ลูปัส เม็ดเลือดแดงรั่วในปัสสาวะ โปรตีนรั่ว

ในปัสสาวะ โรคถุงนิ่วในไต ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง



28. ศูนย์โรคปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ : Pulmonology Department


ดูแลรักษาสมรรถภาพของปอด โรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคปอด ไอ ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด 

หายใจเหนื่อย หายใจไม่สะดวก  รักษาโรคปอดและโรคระบบทางเดินหายใจทุกชนิด 



29. แผนกต่อมไร้ท่อ : Endocrinology Department


ปัญหาทางด้านต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนต่างๆ เช่น การเจริญเติบโตผิดปกติ การเป็นหนุ่มสาวผิดปกติ 

ประเมินคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย สืบค้นโรค โรคของต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต เบาหวาน โรคอ้วน 

โรคกระดูก เช่น กระดูกพรุน 



30. แผนกอายุรกรรมโรคไขข้อ : Rheumatology Department


ตรวจรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง โรคข้ออักเสบรูมาติสซั่ม 

โรคแพ้ภูมิตัวเอง  และรูมาติกเฉพาะที่โรคเนื้อเยื่ออ่อน โรคเกาต์ โรคข้อเสื่อม โรคหนังแข็ง 



31. แผนกโรคติดเชื้อ : Infectious Disease Department


 ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อปรสิต  โรคติดเชื้อทั่วไป โรคติดเชื้อ

ที่มีความซับซ้อน โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ  ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ รวมไปถึงโรคติดเชื้อร้ายแรง  



32. แผนกอายุรกรรมโรคเลือด : Hematology Department


ด้านโลหิตวิทยา ให้การตรวจวินิจฉัยโรค การเจาะตรวจไขกระดูกวินิจฉัยโรค  ความผิดปกติของ

ระบบเลือด รักษาโรคเกี่ยวกับเลือดทุกชนิด



33. แผนกรังสีวินิจฉัย : Diagnostic Imaging Department 


ถ่ายและบันทึกภาพด้วยรังสีและคลื่นเสียงความ ถี่สูงแก่ผู้ป่วย โดยรังสีเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

และเครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเครื่องอัลตราซาวนด์ตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง ตรวจวินิจฉัย

โดยใช้รังสีเอกซ์ในการ 



34. ภาควิชาจุลชีววิทยา : Department of Microbiology


 ตรวจวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และภูมิคุ้ม การตรวจวิเคราะห์เกี่ยวกับแบคทีเรียวิทยา 

ราวิทยา ไวรัสวิทยา



35. แผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด / ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต  : (NICU) หรือ Neonatal Intensive Care Unit 


พร้อมดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติตลอด 24 ชั่วโมง และ พร้อมสำหรับคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง เช่น 

เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต ครรภ์เป็นพิษ เคยคลอดบุตรก่อนกำหนด ความผิดปกติ

ของทั้งมารดาและทารก




36. ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร : Department of Nutrition and Dietetics


งานโภชนาการ โภชนาการและการรับประทานอาหารแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลทั้งในผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

 โภชนาการทางการแพทย์ แก่ผู้ป่วยตามโรคหรืออาการทางการแพทย์ ช่วยเหลือด้านโภชนาการ

ที่ครอบคลุมเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย



37. แผนกกายภาพบำบัด : Physical Therapy Department


ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ลดปวด  เพิ่มการเคลื่อนไหว

ของข้อต่อที่ยึดติด การฟื้นฟูความแข็งแรง  ฟื้นฟูสุขภาพของร่างกาย บำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ

ร่างกาย