เสียดินแดนครั้งที่ 7 เขมรส่วนนอก





เขมรส่วนนอกและเกาะ 6 เกาะ


            ในรัชกาลที่ 4 พื้นที่มากถึง 124,000 ตร.กม. วันที่ 15 กรกฎาคม 2410

        สาเหตุ : เนื่องจากไทยกับญวนทำสงครามเพื่อแย่งชิงเขมรส่วนนอกกันมานาน

หลายปีสงครามครั้งนั้นเรียกว่า อานามสยามยุทธ สู้รบกันอยู่นานหลายสิบปีจนมีการ

สงบศึกกันโดยตกลงกันว่าจะให้เขมรเป็นประเทศราชของสยามต่อไปแต่ก็ต้องส่ง

บรรณาการไปให้ญวนเสมือนประเทศราชของญวนด้วย (แต่ไทยมีสิทธิในการสถา

ปนากษัตริย์เขมรดั่งเดิม)



ต่อมารัชกาลที่ 3 พรบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรง โปรดเกล้าฯ สถาปนา

กษัตริย์แห่งเขมรโดยให้ นักองด้วง ขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี

หรือสมเด็จพระหริรักษ์รามสุริยะมหาอิศวรอดิภาพ ในปี 2397 เขมรได้แอบส่งสารลับ

ไปยังฝรั่งเศส โดยขอให้ฝรั่งเศสนั้นช่วยกู้ดินแดนที่เสียไปให้ญวณ ให้กลับมาอยู่กับ

เขมรอีกครั้งและมาช่วยคุ้มครองเขมรให้พ้นจากทั้งอำนาจของสยามและญวน แต่

ไม่กี่ปีถัดมาสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็กพระจอม

เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯให้ นักองราชาวดี หรือสมเด็จพระนโรดมพรหม

บริรักษ์ ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมรองค์ต่อไป หลังจากที่โดนน้องชายอย่างพระสีวัตถาและ

ลุงคือ สนองสู จ้องและได้ทำการแย่งบัลลังค์แต่ด้วยความช่วยเหลือจากทางสยาม

จึงได้ครองราชย์สำเร็จในช่วงก่อนปี 2406 นั้นฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจในดินแดน

แถบอินโดจีนหรือ ญวนมากขึ้นและได้เข้ามาบีบบังคับโดยใช้กำลังทั้งทางกองเรือ

และทางการทูตให้สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ ยอมให้อำนาจแก่ฝรั่งเศสในการ

เข้ามาปกครองและให้เขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสและพระองค์ยังคงเป็น

กษัตริย์อยู่ และได้ทำสัญญากันในปี 2406ฝรั่งเศสเข้ามาเอาผลประโยชน์โดยเอา

เปรียบทางการค้ากับไทยและต้องการดินแดนเพื่อเข้าไปใกล้กับแม่น้ำโขงเพราะ

ต้องการจะล่องเรือเข้าไปยังจีนผ่านทางนั้นและเมื่อรู้ว่าไทยได้ทำสัญญาลับกับ

เขมรว่าดินแดนเขมรส่วนนอก

ยังเป็นของไทยไม่ใช่ของฝรั่งเศสทางฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดกับไทยให้ยกเลิกสัญญา

ฉบับนั้นและยอมสละดินแดนเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศสเสียฝรั่งเศสจึงได้ส่งกองเรือ

เข้ามาประชิดเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข่มขุ่ทางฝ่ายสยามหลายครั้งทางไทย

เห็นว่าไม่มีทางจะต่อสู้กับฝรั่งเศสได้ จึงต้องยอมไปในพ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) -

ไทยจำต้องยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส รับรองให้เขมรส่วนนอกด้าน

ติดกับโคชินไชนารวมเกาะอีก 6 เกาะเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศส

บังคับกษัตริย์นโรดมพรหมบริรักษ์แห่งเขมรให้ยอมยกดินแดนดังกล่าวไปอยู่ใต้การ

ปกครองของตนในปี พ.ศ. 2406