บันทายมาศ
ในสมัยรัชกาลที่ 2 หลังจากที่รัชกาลที่ 1 สวรรคตในปี พ.ศ. 2352 เจ้าผู้ครองญวน
พระเจ้าญาลอง (องเชียงสือ) หมดความเกรงกลัวต่อสยามเนื่องจากทางสยามนั้นกำลัง
ผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน
พระเจ้าญาลอง (องเชียงสือ) GiaLong |
และสงครามกับพม่าที่เมืองถลาง จึงได้เข้ามายึดเอาไปแล้วขับไล่ข้าราชการสยาม
ออกตั้งขุนนางญวนมาว่าราชการแทนและได้มีการราชทูตญวนเข้ามาถวายราชสาส์น
และเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งทูลขอเมืองบันทายมาศคืน ซึ่งพระองค์ก็พระราช
ทานคืนให้พระองค์ทรงเห็นว่ามิสามารถต่อกรกับญวณในขณะนั้นได้จึงได้ยอมไป เพราะ
ญวนกลับมาจากเรื่องวุ่นวายภายในได้จึงอยากจะเข้ายึดครองเขมรอีกครั้งทาง
บันทายมาศเป็นเหมือนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ( คล้าย ตราดกับ จันทบุรีในตอนที่
ฝรั่งเศสยึดไป) ญวนจึงต้องการและขอยึดไว้ทางสยาม จะยกทัพไปปราบก็เกรงว่าศึกกับ
พม่า พระเจ้าปดุงยังไม่เรียบร้อยดีนักเพราะพม่าได้เข้ารุกไล่หัวเมืองทางใต้ชายฝั่งอันดามัน
อย่างตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ภูเก็ต จึงจำเป็นต้องยกกำลังไปรักษาตีคืนมาก่อนจึงได้ยอมยกให้
จนมีเหตุในพ.ศ. 2376 รัชกาลที่ 3 ที่ญวนเข้ามาตีเขมร ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราช
ของสยามทำให้ ทรงตัดสินใจส่งกองทัพโดย โปรดเกล้าฯ ให้
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปรบกับญวน
และชิงบันทายมาศคืนมาให้ได้ สงครามนั้นเรียกว่าสงคราม " อานามสยามยุทธ "
รบกันนานนับ 10 ปี จนต่างฝ่ายต่างอ่อนกำลังลง จนต้องทำสัญญาสงบศึกกัน ทางสยาม
ยังมีสิทธิบนดินแดนเขมรอยู่แต่ก็ไม่สามารถเอาบันทายมาศคืนมาได้ปัจจุบัน บันทายมาศ
เป็นส่วนนึงของจังหวัด กัมปอต ของกัมพูชา