บทความตัวอย่างเชิงคุณภาพ






บทความตัวอย่างเชิงคุณภาพ 




      บทความตัวอย่างเชิงคุณภาพ ผู้เขียนหลายท่านต้องการให้บทความที่

ตัวเองเขียนนั้นมีคุณภาพให้ผู้อ่านได้รับความรู้รอบตัว  ในเรื่องราวที่ตัวเองเขียน

ใช้ทั้ง เทคนิคในการเขียนบทความความพยายามต่างๆนานาเพื่อที่จะให้ผู้อ่านได้

เห็นคุณภาพของงานทั้งความตั้งใจของผู้เขียนและข้อมูลที่หามาได้คอนเท้นท์

หรือเนื้อหานั้นสำคัญอย่างยิ่งกับบทความที่จะนำเสนอและเนื้อหาดี



     ทำให้บทความคุณภาพ น่าเชื่อถือ แต่ถึงอย่างนั้นนอกจากเนื้อหาดีมีชัยไปกว่า

ครึ่งแล้ว ยังต้องมีส่วนประกอบอย่างอื่นตามมาด้วยเรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่จะเป็น

ส่วนประกอบที่สำคัญให้เรามีบทความคุณภาพเอาไว้ประดับบารมี ฮ่าๆ

การเขียนบทความ


ตัวอย่างบทความคุณภาพมีอะไรมั่ง


1.ชื่อเรื่องที่ดี


การตั้งชื่อเรื่องเป็นเหมือนการบันไดขั้นแรกที่เราจะสื่อกับผู้อ่านว่าเราต้องการจะ

เขียนบทความอะไรจะสื่ออะไรกับผู้อ่านการใช้ชื่อเรื่องที่ดี ไม่ดัก มีความสัมพันธ์กับ

เนื้อหา ใช้คำเด็ดๆให้คนสนใจเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้บทความคุณ



2.บทนำ


มีบทนำปูพื้นเรื่องมาซักนิดเป็นการเกริ่นนำเรื่องราวหรือแสดงให้เห็นเรื่องราวรอบ

ข้างหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นำเสนอเพื่อเชิญชวนให้ผู้อ่านอ่านบทความ

ของเราต่อไป



3.ภาษาที่ถูกต้อง


การใช้ภาษาที่ถูกต้องและสุภาพเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้และความเข้าใจ

ในด้านภาษาของผู้เขียนควรใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของผู้อ่าน

และความสบายในการอ่านผู้อ่านบางคนเห็นการเขียนผิดมากๆถึงกับมีอคติไปถึง

ตัวผู้เขียนเลยก็เป็นได้



4.สุภาพ


ถ้าบทความนั้นไม่ใช่บทความที่จะเอาความตลกโปกฮา ควรใช้ภาษาที่สุภาพ

ไม่หยาบคายโดยเฉพาะถ้าเป็นบทความที่พูดถึงบุคคลอื่นยิ่งต้องระวังในการ

เรื่องนี้เป็นอย่างมาก



5.เนื้อเรื่องที่นำเสนอ


เนื้อเรื่องที่เหมาะสมกับบทความคุณภาพนั้น ต้องเป็นความจริงไม่บิดเบือน

แก้ไขหรือเอาความจริงมาครึ่งเดียวควรนำข้อมุลมาแสดงให้ครบถ้วนการเล่า

เรื่องและเนื้อหาไม่ควร "วกไปวนมา"จนผู้อ่านงง แยกข้อมูลและเปรียบเทียบ

ตามประเภทของบทความให้ถูกต้อง



6.ส่วนเสริมของบทความ


ส่วนเสริมของบทความ บทความคุณภาพมักมาพร้อมกับส่วนประกอบที่ดีของ

บทความเช่นรูปภาพเพื่อความเข้าใจในเรื่องที่นพเสนอเพิ่มขึ้นหรือ วิดิโอคลิป

เป็นสื่ออีกอย่างที่สามารถเอามาประกอบบทความของเรา จะอะไรก็แล้วแต่ที่จะ

เอามาช่วยเสริมให้บทความดียิ่งขึ้นไปได้ มันคือสิ่งที่ดีทั้งนั้น



7.เกร็ดความรู้


เรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทความแต่ไม่ใช่เนื้อหาสำคัญอาจจะเป็นแค่ความรู้เพิ่มเติมที่

จะทำให้เข้าใจในตัวบทความได้ดียิ่งขึ้นหรือส่วนที่จะเพิ่มเติมความรู้ให้แก่ผู้อ่านให้

ได้สาระและอรรถรสในการอ่านมากกว่าเดิม เช่น พูดเรื่อง การล่มสลายอาณาจักร

โบราณ บางทีอาจเสริมไปว่าเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยไปว่าอาณาจักรเหล่านั้นมี

อาถรรพ์จากการนับถือ..... ทำให้เกิดการล่มสลายเหมือนกัน ก็ว่าไป

(เป็นข้อสังเกตุข้อกล่าวอ้างให้ดูน่าสนใจเพิ่ม)



8.บทปิด


เป็นการสรุปรวมบทความที่เขียนหรือจะเป็นการให้ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนสื่อ

ไปถึงผู้อ่านอาจจะเป็นการชี้ให้เห็นหรือเน้นย้ำบางสิ่งบางอย่างในบทความให้ผู้อ่าน

ได้อ่านอีกรอบนึง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านจดจำและให้ความสำคัญได้มาก

ยิ่งขึ้น



9.ตรวจความเรียบร้อย


ตรวจสอบดูความรียบร้อยของบทความที่เราเขียน ทั้งภาษาที่ใช้ ความถูกต้อง

ของภาษาความถูกต้องของข้อมูล การเว้นวรรค การดำเนินเรื่องอ่านเพื่อขัดเกลา

คำให้สวยงามหรือให้เข้าใจง่ายอีกครั้งนึง ทั้งเป็นการขัดเกลาคำให้สวยงามและ

หาจุดบกพร่องของบทความว่าตรงไหนสมควรเพิ่มหรือลดบทความเนื้อหา วกไป

วนมาหรือไม่อ่านแล้วเราเองเข้าใจรึเปล่าเป็นต้น



 ทั้งหมดทั้งมวลถ้าท่านทำได้รับรองว่าบทความของท่านจะมีมาตราฐานที่ดีแต่ที่

สุดแล้วทุกอย่างอยู่ที่ เนื้อหา (Content) ที่มีคุณภาพเป็นตัววัดคุณภาพที่ดีที่สุดว่า

บทความของคุณสมควรได้ชื่อว่าบทความคุณภาพ ที่มีประโยชน์สาระ

และข้อคิดให้แก่ผู้อ่านได้มากแค่ไหน