เทคนิคการเขียนบทความ
เขียนบทความเทคนิคในการเขียนบทความและแบบแผนนี้จะช่วยให้ผู้เขียนหลายๆ
ท่านลำดับการกระทำที่จะเขียนบทความเป็นขั้นเป็นตอน ไว้เป็นเหมือนตัวอย่าง
ว่าควรจะทำอะไรมั่งในการเขียนบทความของผู้ที่เริ่มต้นใหม่ในการเขียนบทความ
1.หัวข้อโดนๆ คนสนใจ
การหาเรื่อง คือ เห้ยอยากมีเรื่องหรอ!!! แป่วไม่ใช่อย่างนั้นหาหัวข้อที่คนสนใจจะ
เป็นเว็บหรือบล็อกเฉพาะต่างก็แล้วแต่กลุ่มของตัวเองว่าทำเรื่องอะไรและเรื่องที่ทำ
มีอะไรที่น่าสนใจจับมาเขียนเป็นบทความตั้งชื่อเรื่องให้ตรงประเด็น
2.ข้อมูลถูกต้องและสดใหม่
ข้อมูลนั้นต้องถูกต้อง และหาข้อมูลที่แตกต่างกันเพื่อเปรียบเทียบและหลากหลาย
ของข้อมูลเพราะการนำข้อมูลมาจากแหล่งเดียวกันเหมือนกันทำให้บางครั้งอาจมี
ความผิดพลาด เช่นปี วันที่ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ
3.อัพเดทบ่อยๆ
หมั่นอัพเดทบทความต่างๆให้สดใหม่มีบทความใหม่ๆมาให้ผู้อ่านได้อ่านอยู่เรื่อยๆ
ไม่ขาด(ต้องทำด้วยความตั้งใจและใช้พลังเป็นพิเศษที่จะหาเรื่องเขียนได้ทุกวัน)
หรือถ้าไม่ทุกวันก็ขอให้บ่อยครั้งอย่าทิ้งไว้นานเกินไป
4.ตัวหนา เน้นคำ
ทำตัวหนาหรือใช้สีที่แตกต่างในหัวข้อย่อยของบทความหรือใช้กับคำที่เราเน้น
คำสำคัญที่เป็นจุดที่เราอยากให้ผู้อ่านสนใจที่สุด
5.อย่ายืดเยื้อ
อย่าลากยาวเรื่องไร้สาระ ปูพื้นเรื่องแค่พอน่าสนใจไม่จำเป็นต้องลากยืดยาวให้ผู้
อ่านเบื่อ
6.สอดแทรก
ควรมีการสอดแทรกทั้ง มุขตลกหรือ เนื้อหาเชิงคำถามกลับ รูปภาพ หรือ เรื่องที่เป็น
ความรู้ ที่เป็นประโยชน์อาจจะนอกเรื่องนิดหน่อย ถือว่าเป็นเกร็ดความรู้ให้ผู้อ่าน
7.ถามกลับ
ควรจะมีเสียงสะท้อนถามกลับไปยังผู้อ่านว่าคิดเห็นอย่างไรกับบทความเหมือนกับ
ว่าบทความของเรานั้นกำลังสื่อสารกับผู้อ่านทำให้ผู้อ่านได้คิดได้พิจารณาสนใจใน
ตัวบทความของเรามากขึ้นหรือจะหยิบยกบางส่วนของบทความนำกลับมาถามผู้อ่าน
เชื่อสิต้องมีคนอยากตอบแล้วกลับขึ้นไปอ่านให้ละเอียดอีกที
8.โปรโมท
นำเสนอลงบนโลกอินเตอร์ในโซเชี่ยลในระบบ เว็บบอร์ดฝากบทความไว้ตามเว็บ
ฝากลิ้งลงบทความนำเสนอเรื่องราวให้กว้างขวางเพื่อชักจูงผู้อ่าน
9.สร้างสรรค์
เขียนเรื่องราวที่สร้างสรรค์ไม่วิ่งเข้าหาความขัดแย้ง หรือเรื่องที่กล่าวหาใครอาจจะ
เป็น สาระ ความรู้รอบตัว มากกว่าเรื่องที่ไปเสี้ยมให้ใครเขาทะเลาะหรือเข้าใจผิดใน
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
10.ตรวจสอบ
ดูความถูกต้องของบทความ การเขียนว่าเขียนผิดหรือถูก ตรวจสอบข้อมูลภาพ และ
ความถูกต้องโดยรวมทั้งหมดของบทความ เพราะถ้าบทความนั้นผิดพลาดหมายถึง
ความน่าเชื่อถือของผู้เขียนจะลดลงด้วย ในด้านของข้อมูล