พระนามจักรพรรดิ ราชวงศ์ถัง (ฮ่องเต้กษัตริย์จีน)




พระนามจักรพรรดิ ราชวงศ์ถัง


พระนามจักรพรรดิ ราชวงศ์ถัง (ฮ่องเต้กษัตริย์จีน)

   ชื่อเท่ๆ ดูดีๆวันนี้เรามาดูว่าพระนามของจักรพรรดิแต่ละพระองค์ของราชวงศ์ถัง นั้นมี

พระองค์ใดบ้าง ราชวงศ์ถังมีฮ่องเต้ปกครองกี่พระองค์ราชวงศ์ถังปกครองแผ่นดินจีน

คริสต์ศตวรรษที่ 7 - 10 หรือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 15 ปีพ.ศ. 1161 - 1450 เป็น

เวลา 289 ปีแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ราชวงศ์ถัง และ ฟื้นฟูราชวงศ์ถัง เพราะไปสะดุดตรงช่วง

ราชวงศ์ราชวงศ์โจว(อู่โจว) ของพระนางบูเช็กเทียนสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน

ที่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนทรงสถาปนาราชวงศ์ของพระนางเอง จึงต้องยกไว้และต่อมา

หลังจากสมัยของพระนางก็ได้มี การฟื้นฟูราชวงศ์ถังขึ้นมาใหม่ รวมทั้งสิ้น ราชวงศ์ถังมี

ฮ่องเต้ หรือองค์จักรพรรดิทั้งสิ้น 21 พระองค์ 23 รัชสมัย


1. จักรพรรดิถังเกาจู่ : มีพระนามเดิมว่า หลี่ยวน เมื่อราชวงศ์สุยใกล้ล่มสลายลง

หลี่ยวน ที่รักษาแดนไท่หยวน จึงประกาศตัวเป็นอิสระต่อราชสำนักและสามารถเข้า

ยึดครองนครฉางอันเป็นฐานที่มั่น และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิถังเกาจู่

ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถังเมื่อพระชนม์ได้ 52 พรรษา

จักรพรรดิ ราชวงศ์ถัง
จักรพรรดิถังไท่จง : หรือหลี่ซื่อหมิน
2. จักรพรรดิถังไท่จง : หรือหลี่ซื่อหมิน ในยุคของพระองค์นั้นเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุด

ของราชวงศ์ถังเลยทีเดียว สามารถรวบรวมดินแดนแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นการปกครอง

เป็นไปได้ด้วยดี มีการถามความเห็นโต้แย้งความเห็นฮ่องเต้ได้อย่างเสรีไม่มีความผิด

แต่ห้ามไม่ให้มีการไปพูดลับหลังเพราะให้มีสิทธิ์โต้แย้งต่อหน้าพระพักต์ได้แล้วก็ควรจะ

พูดตรงนั้น ถ้าใครมีการไปนินทาว่าร้ายหรืออะไรลับหลังแล้วโดนจับได้พระองค์ก็จะ

ทรงลงพระอาญา เพราะถือว่าให้ได้วิจารณ์ได้อย่างเปิดเผยแล้วกลับไม่ทำแต่ไปทำ

ลับหลังพระองค์จงต้องโดนลงโทษให้เข็ดหลาบ


3. จักรพรรดิถังเกาจง : ถังไท่จงพระราชบิดาทรงเลือกองค์ชายหลี่จื้อเป็นรัชทายาท

แทน รัชทายาทหลี่เฉิงเฉียน และ วุ่ยหวังหลี่ไท่ ที่แย่งชิงอำนาจกันจึงโดนปลดจาก

รัชทายาทส่วน วุ่ยหวังหลี่ไท่ โดนถอดยศเป็นสามัญชน รัชกาลของพระองค์ส่วนใหญ่

จะยุ่งกับการแก้ไขปัญหาในวังหลังเสียมาก


4. จักรพรรดิถังจงจง : เมื่อพระบิดา คือฮ่องเต้ถังเกาจง สิ้นพระชนน์ พระนาง

บูเช็กเทียนมารดาของพระองค์ก็ได้ยึดอำนาจไว้แล้วตั้งพระองค์ขึ้นเป็น จักรพรรดิ

แต่ให้หลัง 1 ปีก็โดนพระมารดาปลดลงแล้วตั้งให้พระอนุชาของพระองค์ คือ

จักรพรรดิถังรุ่ยจง ครองราชย์ต่อไป


5. จักรพรรดิถังรุ่ยจง  : พระนามเดิมว่า หลี่ตั้น เมื่อ จักรพรรดิถังจงจง พระเชษฐา

ถูกพระราชมารดาปลดออกจากราชสมบัติ พระนางบูเช็กเทียนก็ตั้งพระองค์ให้ขึ้น

ครองราชย์แทนแล้วก็เหมือนคนพี่อย่าง ถังจงจง เพราะถังรุ่ยจงก็โดนปลดอีกหลัง

จากครองราชย์ได้ไม่ถึง 1 ปี เพราะอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่พระนางบูเช็คเทียน


6. จักรพรรดิถังจงจง : จักรพรรดิถังจงจงได้ขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่

ปลดไปเพราะพรนางบูเช็กเทียนที่ครองราชย์สถาปนาราชวงศ์โจวทรงสละราชสมบัติ

ด้วยวัย 85 ปี


7. จักรพรรดิถังชาง : ชางตี้ พระโอรสในจักรพรรดิถังจงจงเมื่อพระราชบิดาสวรรคต

ในปีค.ศ. 710พระองค์จึงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาเมื่อพระชนม์เพียง 15 พรรษาแต่

ครองราชย์ได้ไม่ถึงปีก็ทรงถูกปลดและสวรรคตเมื่อพระชนม์เพียง19พรรษาในปี

ค.ศ. 714


8. จักรพรรดิถังรุ่ยจง : ได้กลับมาทรงราชย์อีกครั้ง แต่ถังรุ่ยจงทรงครองราชย์ได้

เพียง 2 ปี ก็สละราชสมบัติให้องค์ชายขึ้นทรงราชย์เป็น จักรพรรดิถังเสวียนจง


9. จักรพรรดิถังเสฺวียนจง : หลังจากครองราชย์ต่อจากพระบิดาก็ทรงกวาดล้าง

อำนาจเก่า ปราบขุนนางกังฉิน (เหมือนจะดี) แต่เมื่อพระองค์รับสนมซึ่งได้ชื่อว่า

4 ยอดหญิงงามแห่งแผ่นดินจีน (บ้างก็บอก นางล่มเมือง) เท่านั้นแหละครับไม่ทรง

ปฏิบัติงานราชกิจอะไรเลย ลุ่มหลงแต่นางสนุมกุ้ยเฟย จนบ้านเมืองอ่อนแอหนำซ้ำ

ยังให้ญาติๆของ หยางกุ้ยเฟยเข้ามารับราชการโกงบ้านกินเมืองกระจุยกระจายใช้

อำนาจกร่างไปทั่วจนขุนนางทั้งบุ๋นและบู๊ไม่พอใจบุกเข้ายึดพระราชวังถังเสวียนจง

และหยางกุ้ยเฟยจึงต้อง อพยพย้ายหนีไปที่อื่นแต่ก็โดนตามทัน เหล่าทหารบังคับ

ให้หยางกุ้ยเฟยฆ่าตัวตายเพื่อลดความแค้นแก่ทหารและสนับสนุนหลี่เฮิงให้ขึ้นเป็น

จักรพรรดิถังซู่จง (นับจากสมัยของพระองค์ก็เข้าสู่ความตกต่ำของราชวงศ์ถังไป

เรื่อยๆ)


10. จักรพรรดิถังซู่จง : ขึ้นครองราชย์แทนจักรพรรดิถังเสวียนจง พระราชบิดาที่ถูก

เหล่านายทหารและขุนนางข้าราชการโค่นราชบัลลังก์ ในรัชกาลนี้มีกบฏอันลู่ซันตลอด

รัชกาลของเขานั้นอำนาจทั้งหมดตกอยู่ที่หลี่ ฝู่กั๋ว ขันทีมีชื่อ


11. จักรพรรดิถังไต้จง : ทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 762 (พ.ศ. 1305) เป็นจักรพรรดิ

ที่อ่อนแอและไร้อำนาจ เพราะอำนาจทั้งหมดอยู่ในกำมือของขันทีหลี่ฝู่กั่วจักรพรรดิ

ถังไต้จงสวรรคตลงในปี ค.ศ. 779 (พ.ศ. 1322) ครองราชย์ได้ 17 ปี ขณะพระชนม์

ได้ 53 พรรษา


12. จักรพรรดิถังเต๋อจง : ทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา ถังไต้จง ในปี ค.ศ. 779

(พ.ศ. 1312) ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดเป็นอันดับ 3 ในราชวงศ์ถังคือ 26 ปี


13. จักรพรรดิถังชุนจง : ทรงครองราชย์เพียง 6 เดือน ก็สละราชสมบัติให้องค์

รัชทายาทหลี่ซุน เนื่องจากทรงมีปัญหาเรื่องพระสุขภาพ


14. จักรพรรดิถังเสียนจง : พระองค์ทรงควบคุมอำนาจต่างๆโดยเฉพาะการทหาร

จากผู้ว่ามาไว้ที่พระองค์เองและราชสำนัก กวาดล้างอำนาจเก่าๆ ที่มีอยู่ให้อำนาจ

กลับมาอยู่ที่ราชสำนักแต่เหมือนเดิม ช่วงขันทีรุ่งเรืองอำนาจของราชสำนักที่พระองค์

นำกลับมา ตกอยู่ในมือขันทีชั่วซะเยอะ ต่อมาจักรพรรดิเสียนจงก็ถูกลอบปลงพระชนม์

โดยขันทีนามว่าเฉินหงจี ขณะพระชนม์ได้ 42 พรรษา


15. จักรพรรดิถังมู่จง : พระราชโอรสในจักรพรรดิถังเสียนจง ในสมัยของพระองค์นั้นมี

การทุจริตโกงกินกันเป็นอย่างมากส่งผลต่อความเป็นอยู่ของราษฎร รวมไปถึงสภาพ

เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ


16. จักรพรรดิถังจิงจง : โอรสองค์โตในจักรพรรดิถังมู่จงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาขณะ

พระชนม์เพียง15พรรษาแต่ทรงครองราชย์ได้เพียง2ปี ก็ถูกปลงพระชนม์โดยขันทีชื่อ

หลิวเคอหมิง (จะเห็นได้ว่าหลังจากสมัยของถังเสวียนจง ขันทีจะมีบทบาทมากมีอำนาจ

มากเนื่องจากกษัตริย์และบ้านเมืองอ่อนแอ) ทำให้ราชวงศ์ค่อยๆอ่อนแอตามไปด้วย


17. จักรพรรดิถังเหวินจง : พระราชโอรสองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิมู่จง


18. จักรพรรดิถังหวู่จง :


19. จักรพรรดิถังซวนจง : เป็นพระราชโอรสใน จักรพรรดิถังเสียนจง เป็นพระอนุชา

ของจักรพรรดิถังมู่จง ครองราชย์สืบต่อจาก จักรพรรดิถังหวู่จง พระราชนัดดา


20. จักรพรรดิถังยี่จง :


21. จักรพรรดิถังซีจง : เป็นสมัยที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอเป็นอย่างมากโดนกบฏหวงเฉา ลุกฮือ

แต่ได้จูเหวียนจง ทำให้อำนาจทั้งหมดตกอยู่ที่จูเหวียน (ซึ่งต่อมาเขาก็ได้เป็นปฐมกษัตริย์

แห่งเหลียงยุคหลัง)


22. จักรพรรดิถังเจาจง : แน่นอนในสมัยพระองค์ทรงตกอยู่ในอำนาจของจูเหวียนจง

(ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิถังซีจง) พระองค์จึงจำเป็นต้องยืมอำนาจของจูเหวียนให้มาปราบขันที

ที่มีอำนาจต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังยุคของ ถังเสวียนจงจนปราบได้ราบคาบแต่ในปีถัดมา

 ถังเจาจงทรงถูกสังหารโดยจูเหวียนจง (น่าจะมาจากที่จูเหวียนจงไม่ต้องมาคานอำนาจกับ

ขันทีแล้วเพราะมีอำนาจเต็มที่กว่าแต่ก่อนมาก)


23. จักรพรรดิถังไอ : หรือจักรพรรดิไอตี้ เขาถูกจูเหวียนจง ตั้งขึ้นมาตอนพระชนม์เพียง

13 พรรษา เพื่อเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของเขา ต่อมาทรงครองราชย์ได้เพียง 3 ปีใต้อำนาจ

ของ จูเหวียนจง  จักรพรรดิไอตี้ ก็โดนปลด เมื่อพระชนม์เพียง 16 พรรษา จูเหวียนจง

ได้ตั้งราชวงศ์โฮ่วเหลียงขึ้น ทำให้ราชวงศ์ถังล่มสลายลงไปในที่สุด

** ถึงราชวงศ์ถังจะยิ่งใหญ่อยู่ช่วงนึงแต่ก็ไม่ได้แข็งแกร่งมาตลอดในช่วงยุคหลังๆนั้น

ก็ไม่มีอะไรโดดเด่น การสร้างกำแพงเมืองจีนต่อเนื่องจึงไม่มีในยุคนี้จนไปถึงยุคของ

ราชวงศ์ซ้องก็ไม่ได้ ทำการต่อเติมในจุดของกำแพงเมืองจีน มาต่อเติมก็ช่วงเด่นๆหลักๆ

คือในราชวงศ์หมิงอีกที (เกร็ดเล็กน้อยจ้า) ส่วนเจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง ก็สร้างใน

ยุคของราชวงศ์หมิงเช่นกัน ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์สุดท้ายของชาวฮั่นด้วยนะจ๊ะ

ก่อนจะโดนแมนยูเอ้ย แมนจูยึดครอง ปละกลายเป็นราชวงศ์ชิง




ประวัติศาสตร์จีน




ประวัติศาสตร์จีน


   ประวัติศาสตร์จีน หน้านี้เป็นหมวดของประวัติศาสตร์จีน เราจะพยายามรวบ

รวมเหตุการณ์เรื่องราว ที่เกี่ยวกับประเทศจีน ในประวัติศาสตร์ที่เป็นอดีต ที่น่าสนใจมา

ให้ผู้อ่านได้ลองอ่านหรือเรื่องราวที่คิดว่าน่าจะเอามาแนะนำที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีน

มาให้ ท่านผู้อ่านได้ติดตามกันครับ เพราะประวัติศาสตร์เรื่องราวในอดีตของจีนนั้นมีสิ่ง

ประวัติศาสตร์จีน














14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

>>> หน้าถัดไป

ถ้ามีบทความเกิน 20  จะขึ้นบรรทัดใหม่ในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์จีนนี้ ก็จะขึ้นหน้าใหม่

ให้ครับ




การเขียนบทความกับงานที่ทำ




การเขียนบทความกับงานที่ทำ


    การเขียนบทความกับงานที่ทำ เขี่ยนเกี่ยวกับงานที่ทำเป็นอีกทางเลือกเป็นอีกไอเดีย

หนึ่งของผู้ที่ทำบล็อกหรือเขียนบทความใช้ได้ผลดีมากเพราะสิ่งที่เราเขียนนั้นมาจาก

งานที่เราทำมาจากงานที่ทำบ่อยๆทำจนเชี่ยวชาญ บทความจึงออกมาจากสมองล้วนๆ

ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรมันให้มากมายนัก

การเขียนบทความกับงานที่ทำ


  เขียนได้ลื่นปรื้ดเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถเจาะลึก เอาประสบการณ์จากงานมาถ่าย

ทอดให้ผู้อ่านได้อย่างดีอีกด้วย รวมถึงเคล็ดลับ สูตรลับในการทำงานอะไรก็แล้วแต่

ออกมาคุยออกมาแนะนำในเรื่องนั้นๆทำให้บล็อกหรือบทความของคุณดูเจาะลึกและ

โปรมากขึ้นไปอีกแน่นอนการเขียนบทความ จากงานที่ตัวเองทำนั้นยังมีความน่าเชื่อ

ถือที่สุงมากอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นหมอ เขียนบทความเรื่องการรักษาโรค....

การดูแลร่างกาย ย่อมได้รับความน่าเชื่อถือกว่าเด็ก 18 ไปเขียนแน่นอน หรือเซฟร้าน

อาหารโรงแรมเขียนสูตรทำอาหารวิธีทำอาหารสูตรเด็ด ย่อมดีกว่าแม่ค้าออนไลน์เขียน

อย่างนี้เองครับมันเป็นความน่าเชื่อถือของวิชาชีพ นอกจากจะสามารถเขียนได้อย่าง

คล่อง มีเคล็ดเด็ดๆ มีประสบการณ์ให้ผู้อ่านแล้ว ยังมีความน่าเชื่อถือ ต่อยอดทำเงิน

ให้ได้อีกมากมาย ทั้งยังหมดปัญหาการหาไอเดียในการเขียนบทความหาเรื่องที่จะ

เขียนไปได้อีกด้วยเนื่องจากงานที่เราทำนั้นทุกๆเรื่องราวสามารถนำมาเป็นบทความ

ให้แก่ผู้อ่านที่สนใจได้ติดตามกันทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะนำสเนอให้น่าสนใจแค่ไหน

และเลือกประเด็นไหนเอามานำเสนอรวมถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้อ่าน ผู้ชม บทความ

ของคุณว่าต้องการประมาณไหน ตัวอย่างเช่นเซฟ เขียนบทความเรื่องอาหารสุขภาพ

แน่นอนเป้าหมายคือคนรักสุขภาพ หมอเขียนบทความเรื่องการกิน อย่างไรให้ไม่อ้วน

แน่นอนกลุ่มเป้าหมายคือ คนอ้วนหรือคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก การเขียนบทความ

จากงานที่เราทำประจำนั้นมันง่ายตรงที่ เรามีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ แต่

มันไม่ง่ายที่จะจับประเด็นหรือเลือก หัวข้อที่จะเล่นในนบทความให้ผู้คนนั้นสนใจติด

ตามในวิธีเขียน เทคนิคการเขียนบทความ หรือการเลือกประเภทของบทความ ว่า

ต้องการบทความให้ความรู้รอบตัว ของงานที่ทำ บทความวิจารณ์ต่างๆ บทความแนว

วิชาการ เราต้องเลือกรูปแบบที่เหมาะกับเราหรือที่ผู้อ่านต้องการจะอ่านครับไม่งั้น

บทความจะดีอย่างไรแต่ถ้าไม่ตอบโจทย์ไม่น่าสนใจ ก็ไม่มีคนอ่าน




เขียนบทความ สั้น-ยาว (ไม่ต่างกัน)




เขียนบทความ สั้น-ยาว (ไม่ต่างกัน)

การเขียนบทความ เคยมีคนที่ทำบล็อกชอบวิตกกงวลว่า บทความในบล็อกของ

เรานั้นต้องมีมากกว่า 300 คำ หรือ 500 คำกำลังดี การเขียนบทความที่ดีต้องมีคำประมาณ 

300 - 500 คำเพื่อให้ถูกหลัก SEO (เขาว่ามางั้น) ถ้าสั้นเกินไปจะดูไม่ดีจะทำให้เว้บบล็อก

หรือบทความเราด้อยลงไปผมเคยได้ยินเขาพูดกันมาแบบนั้นหลายคนเลยแหละที่พาดหัว

ไปว่าไม่ต่างกันคือมันต่างกันครับ ต่างกันตรงที่ว่า คุณทำบทความให้ใครอ่านกันหละ 

คุณทำให้ search engine อ่าน หรือทำให้คนอ่านกันแน่ครับ แน่นอนครับทำให้โดนใจถูกใจ

search engine นั้นย่อมดีตรงที่คุณจะได้รับการจัดอันดับในหน้าค้นหาต้นๆทำให้คนเข้าเว็บ

คุณเยอะ



  แต่ถ้าบทความคุณไม่ตอบโจทย์ของผู้อ่านหละครับ อย่าลืมนะครับสุดท้ายแล้วความ

สำคัญของเนื้อหาในบทความ หรือ Content นั้นมีผลมากกว่าสิ่งอื่นใดถ้าคุณทำแค่ล่อให้

ได้ประโยชน์ในการจัดอันดับแต่เนื้อหาไม่ตอบโจทย์ผู้อ่านเขาก็แค่เปิดมาแล้วปิดกลับไป

ยิ่งเว็บไหนหลอกดักควาย ชื่อเว็บนั้นจะถูกจดจำไปในทางที่ไม่ดีอีกด้วย บทความยาวๆ

นั้นบางครั้งก็ยาวจนน่ารำคาญ หาสาระสำคัญไม่ได้เลยทำให้หาข้อมูลที่ต้องการได้ยาก

เย็นมากขึ้นในกรณีที่ผู้อ่านต้องการจะหาคำสำคัญแค่ไม่กี่อย่างแค่ต้องการคำตอบของ

เรื่อง เช่น เขาต้องการแค่ว่า แรร์ไอเทม คืออะไร

           คุณอาจจะใช้คำตอบเพื่อขยายความไปประมาณ 150 คำก็พอ เอาให้รู้ว่ามันคือ

อะไร แต่ในเมื่อ 150 คำมันดูไม่ดี (ในความคิดคุณ) คุณเลยลากยาวบทความที่ต้องการ

คำตอบไม่เกิน 3 บรรทัดไปเป็น 300-500 คำซึ่งมันค่อนข้างเกินความจำเป็นผู้อ่านต้อง

มานั่งอ่านสิ่งที่พรรณาลงไปเพื่อหาคำตอบในสิ่งที่ต้องการแค่ 2 บรรทัดเท่านั้น คิดดู

ครับว่าจะเซ็งแค่ไหนบทความสั้นละ แล้วถ้าเรื่องๆนั้นต้องการความเข้าใจในระดับสูงแต่

คุณใช้คำตอบในบทความนั้นแบบสั้นๆ ไม่ได้ช่วยอธิบายสิ่งที่เขาอยากรู้ได้เลยไม่ไขข้อ

สงสัยได้เลยก็ไม่ต่างอะไรกับข้อมุลที่ไร้ประโยชน์เหมือนกัน ประเด็นสำคัญที่ผมจะสื่อ

คือ บทความจะสั้นจะยาวนั้นไม่ได้อยู่ที่ความเชื่อว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่อยู่ที่ประเด็นของ

มันว่าตรงจุด ตอบคำถามคนที่ถามได้มั้ย ตรงประเด็นที่ผู้อ่านต้องการหรือเปล่า นั่นคือ

การจับประเด็นครับ เช่น เมียน้อยของต้วนเจิ้นฉุน มีใครบ้าง -- คุณสามารถตอบได้

หรือไม่


 อย่างน้อยบทความที่เกี่ยวข้องก็ต้องเป็นเกี่ยวกับตัวละครเรื่อง 8 เทพอสูรมังกรฟ้า

แต่คุณมีประเด็น เมียทั้งหมดของพี่ต้วนไหม อันนี้อีกเรื่องคำค้นหามีมามายอยู่ที่ว่า

คำตอบของคุณจะครอบคลุมคำค้นหาเหล่านั้นไหม จะตรงประเด้นที่เขาต้องการจะ

ถามหรือเปล่าง่ายๆคือบทความของคุณตอบตรงคำถามของผู้อ่านหรือไม่ ต่อให้คุณ

มี SEO ที่ดี คนเจอหน้าแรกๆแต่คำตอบที่คุณมีในบทความไม่ตอบโจทย์ของผู้อ่าน

เขาก็ปิดทิ้งไปหาอันใหม่อยู่ดี ส่วนบทความไหนตอบโจทย์ของผู้อ่าน นอกจากได้

ความเชื่อมั่นแล้วว่าเขาจะอ่านบทความของเราอย่างจริงจังเพราะต้องการคำตอบ

ผลพลอยได้อาจจะได้แชร์ไปในโซเชี่ยล ได้เอาไปอ้างอิงส่งลิ้งกลับมาจากเว็บบอร์ด

ต่างๆเว้บต่างๆอีกด้วย (ถือเป็นการทำSEO แบบที่เราไม่ต้องออกแรง) หรืออาจจะมี

การบุ๊คมาร์คเว็บคุณไว้เพื่อไว้อ่านข้อมูลเรื่องอื่นทีหลังกลายเป็นลูกค้าประจำของ

บล็อกของเว็บคุณก็ได้ใครจะรู้ เพราะอย่างนี้บทความจะยาวจะสั้นก็อย่าไปใส่ใจมาก

ครับ ใส่ใจแค่ว่าบทความเราตอบตรงคำถามหรือไม่เท่านั้นพอ คำถามมีมากมายแสน

ล้านคำถาม เราเลือกจะตอบคำถามที่มีคนถามเยอะหรือน้อยก็อยู่ที่เราแล้วครับ สำคัญ

คือตอบให้ตรงคำถามเท่านั้นพอและมีวิธีหาไอเดียในการเขียนบทความ มากน้อย

เพียงใด


 ปล. สำหรับผู้ที่ติดโฆษณา บทความที่สั้นมากๆเกินไปก็ไม่เหมาะครับจะโดนข้อหา

เนื้อหาน้อยเกินไป อย่างที่บอกแหละครับถ้าตอบตรงคำถามมันจะต้องมีบทความที่

เนื้อหาทั้งสั้น กลาง และยาวๆคละกันไปแน่นอน จะสั้นหมดคงไม่มี


*คำถามก็คือคำค้นหานั่นแหละครับ เลือกเอาครับว่าคนใช้อินเตอร์เน็ตชอบถามคำถาม

ไหนมากกว่ากัน เราก็แค่ตอบเขาไปให้ตรง และก็เลือกคำถามที่จะตอบได้ตามสบาย

ไม่ว่าคำถามนั้นจะมีคนถามมากหรือคนถามน้อย(คำค้นหามากหรือน้อย) ยังไงก็เป็น

คำถามที่ต้องการให้มีคนตอบอยู่ดี




การเขียนบทความเส้นทางสู่ความรวย




การเขียนบทความเส้นทางสู่ความรวย


     การเขียนบทความ ทำให้เรารวยได้อย่างไรทำได้งั้นหรือเยอะแยะไปครับคนที่

ใช้บทความทำเงินเอาละไม่เสียเวลามาดูกันว่าเขียนบทความนำพาไปสู่ความร่ำรวย

เงินทองได้อย่างไร

การเขียนบทความเส้นทางสู่ความรวย


1. ติดโฆษณา : เขียนบทความแล้วติดโฆษณา Adsense , BumQ ,Nipa , Adyim และ

อื่นๆอีกมากมายครับ เขียนบทความให้ดี หาไอเดียในการเบียนบทความให้แปลกใหม่

เพื่อให้คนสนใจ ประเภทของบทความ จะเป็นประเภทไหนก็ได้ครับขอแค่สามารถทำให้

คนเข้ามาเรียกทราฟฟิกเข้ามา(ถ้าเขียนบทความลงบล็อก) แค่นี้ก็อยู่ที่การวางรูปแบบ

และทำอย่างไรให้คนสนใจคลิ๊กโฆษณาของเรา


2. สำนักพิมพ์ : หลายๆคนเริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนบทความลงในพันทิปเว็บที่เป็น

อันดับต้นๆของไทยและใครเขียนดีเขียนได้โดนผู้คนสนใจหรือให้ความรู้รอบตัว สาระ

น่ารู้แก่ผู้อ่านมีสำนวนการเขียนเป็นของตัวเองก็มักจะมีสำนักพิมพ์ติดต่อให้เขาไปเขียน

คอลัมน์ หรือบางท่านได้เขียนหนังสือเป็นของตัวเองเลยทีเดียว


3. ขายสินค้า : การโปรโมทสินค้าผ่านทางบล็อกหรือโลฏโซเชียลก็มาจากการเขียน

บทความให้โดยใจให้คนเชื่อว่าสิ้นค้าที่เราขายนั้นดีอย่างไรเป็นการนำเสนอให้โดนใจ

ลูกค้าให้มากที่สุดเพื่อการค้าไปด้วยในตัว


4. ตัวโฆษณา : เช่นพวกสินค้าแบรนด์ดัง   พวกเว็บใหญ่ๆมาลงโฆษณาผ่านเราเอง

ติดต่อกับตัวผู้เขียนและแทนที่จะผ่านตัวแทนแบ่งเปอร์เซ็นแบบข้อ 1 ซึ่งผมต้องการ

แยกออกจากกันเพราะการโฆษณาแบบนี้รายได้ไม่หลุดมาก ส่วนใหญ่จะนิ่งเพราะเป็น

การทำสัญญาหรือจ่ายล่วงหน้าแบบกำหนดราคาไว้ซึ่งต่างจาก ข้อ 1 เพราะแบบข้อ 1

นั้นจะนับรายได้ตามจำนวนคลิ๊กหรือจำนวนวิว(view)ซึ่งรายได้จะขึ้นลงไม่นิ่งเหมือน

โฆษณาตรงๆผ่านตัวเจ้าของแบบนี้ พูดง่ายๆก็เหมือนหลักการของป้ายโฆษณาตาม

ข้างถนนที่ตรงไหนคนมีโอกาศเห็นเยอะก็แพงหน่อยทำเลดีก็แพงหน่อยบทความบน

บล็อกหรือเว็บก็เช่นกันเว็บไหนบล็อกไหนดังหน่อยคนเข้าเยอะก็สามาเรียกค่าโฆษณา

ได้เยอะเช่นกัน  โฆษณาแบบนี้กับแบบข้อ 1 สามารถติดร่วมกันได้ครับถือว่าเป็นการหา

รายได้ทั้ง 2 ทางที่ดีเลย (แต่ต้องระวังเรื่องการวางป้ายไม่ให้ผิดกฏของตัวแทนและ

รำคาญต่อผู้อ่านด้วย)


5. รับจ้างเขียน : รับจ้างเขียนบทความส่งให้ไม่ว่าจะเป็นใครจ้างส่งเว็บบล็อกหรือส่ง

หนังสือพิมพ์สำนักพิมพ์ แต่ก่อนจะทำแบบนั้นได้เราต้องมีบทความคุณภาพเอาไว้

ประดับบารมีก่อนเขียนบทความให้ดีให้เด่นแล้วค่อยเอาดีทางด้านนี้ได้ไม่ยาก เริ่มจาก

ได้เงินน้อยก็เขียนให้เยอะ ถ้าเราเชี่ยวชาญสามารถทำบทความได้คุณภาพดีๆก็จะเปลี่ยน

เป็นทำน้อยได้มาก

    ยกตัวอย่างเมื่อก่อนบทความทั่วไป ได้บทความละ 50บาท ต้องทำ 4 ชิ้นถึงได้ 200

แต่ถ้าเราเก่งเชี่ยวชาญทำบทความดีๆ มีคุณภาพดีๆได้บทความเดียวอาจได้ถึง 500 หรือ

 5หมื่นเลยก็เป็นได้ ต้องหาไอเดียในการเบียนบทความให้เยอะ สำนวนดีๆ และที่สำคัญ

ใฝ่รู้ + ประสบการณ์


 * และยังมีอีกมากมายเช่น รีวิวสินค้า (คล้ายๆการโปรโมทสินค้านั่นแหละครับ แต่จะ

ได้ดีตรงที่อาจจะไม่ได้แค่เงินอาจจะได้สินค้ามาช้หรือได้เครดิตจากผู้อ่านผู้ชมก็ว่าไป)

มันสร้างเป็นชื่อเสียงได้หนะ หรือจะเป็นการทำ How to สอนนั่นสอนนี่ กลายเป็นสามารถ

จัดสัมนาเปิดเก็บค่าสัมนาได้อีกแหนะ มันพลิกแพลงกันได้จ้า




บทความอยู่รอบตัวเรา (ไอเดียมีมากมาย)




บทความอยู่รอบตัวเรา 



  ไอเดีย บทความ  วันนี้ลองมาดูบทความนี้กันครับ ว่าบทความอยู่รอบตัว การนำเสนอ

บทความการเขียนบทความ รวมไปถึงการตั้งคำถามล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุดิบชั้นดีของเรา

ในการนำไปเขียนบทความทั้งนั้นเป็นวิธีการหาไอเดียในการเขียนบทความ รวมเข้าไปกับ

คำถาม เรื่องราวที่เราถกเถียงกัน เรื่องที่เราไปเจอ ดราม่าที่เราไปเสพ เรื่องชาวบ้านที่เรา

ไปเผือก สิ่งเหล่านี้แหละครับมันคือที่มาของบทความทั้งนั้นเลย เราเรียกว่าวัตถุดิบ หรือ

ข้อมูลสุขๆดิบๆ (เอ๊ะยังไง) อยู่ที่ว่าเราจะใส่เทคนิคในการเขียนบทความของเราลงไป

อย่างไรครับ เดี๋ยวผมลองยกตัวอย่าง ว่าบทความอยู่รอบตัวเราอย่างไรมาให้ดูกันนะครับ

บทความอยู่รอบตัวเรา (ไอเดียมีมากมาย)


- ดราม่าในพันทิป : ดูได้จากบทความเรื่องมนุษย์ป้าสิครับ ผมก็เอามาจากการเรียกกระทู้

หลายเดือนก่อนในพันทิปจนบัดนี้บทความมนุษย์ป้ามีคนให้ความสนใจเยอะเพราะมันกลับ

มาฮิตอีกครั้งนึงลองพิมในช่องค้นหาด้านขวาดูครับ ในบล็อกผมมีบทความนิยามของเรื่อง

มนุษย์ป้าอยู่แหนะ


- พวกเน็ตไอดอล หรือพวกโชว์นมบ่นกันในเฟส : บางทีอาจจะดูไร้สาระนะครับแต่

ถ้าเราจับประเด็นได้ว่าเขาบ่นเขาโวยวายหรือคอมเม้นท์เกี่ยวกับเรื่องอะไรอันนี้เกิด

ประโยชน์ชัวร์ๆเลยจ้า สามารถเอามาต่อยอดแตกเป็นบทความได้เลย ขอแค่จับประเด็น

ให้โดนแค่นั้น


- ความรู้รอบตัว ที่มีอยู่มากมาย : ทั้งในเว็บบอร์ดต่างๆ บอร์ดเกม บอร์ดไร้สาระ

บอร์ดนั่นนี่ ล้วนมีข้อมูลหรือต้นเรื่องให้เรานำมาเขียนได้ทั้งนั้นครับ เช่ยเคยจับประเด็น

ให้ได้ จับได้ เอาหัวข้อมาหาเพิ่มแล้วเขียนลงมาเป็นบทความเท่านั้นแหละจ้า


- หนังที่เราดูในทีวี : ในทีวีในหนังก็มีสาระสำคัญหลายอย่างครับที่เราสามารถนำมา

เป็นประเด็นในการเขียนบทความได้ทั้งเรื่องที่เขาเสนอในหนัง ชื่อหน่อวยงาน สถานที่

ล้วนแล้วแต่นำมาเป็นประเด็นให้เขียนได้ทั้งนั้น


- เพลงที่เราฟัง  : เพลงพูดเกี่ยวกับอะไร ปรัชญาชีวิต สำนวน ข้อคิดต่างๆจากเพลง

ล้วนแล้วแต่มีความหมาย


- บทความที่เราอ่าน : ตามเว็บตามเฟสบุ๊คพวกนี้ก็นำเอาเรื่องราวมาทำเป็นบทความ

ได้แค่แตกต่างจากเขา และนำเสนอในแบบของเราเอง


- คำถามที่สงสัย : เริ่มจากที่ตัวเรานี่เลยครับ เราอยากรู้เรื่องอะไร สงสัยเรื่องไหน

ต้องการความรู้จากเรื่องอะไรก็หาความรู้ใส่สมองตัวเองพร้อมกับทำคึวามเข้าใจมัน

เขียนบทความมันลงมาสิครับง่ายๆนิดเดียวเริ่มจากตัวเองต้องการอะไร ก็สนองความ

ต้องการของตัวเองและวนำความรู้มาเผยแพร่ต่อบอกต่อกับผู้อ่านผู้อื่นในสิ่งที่เรา

สงสัยและหาคำตอบของมันมาด้วยเสียเลย


     สิ่งที่ผมเน้นเรื่องการหาเรื่องมาทำบทความก็คือการจับประเด็นครับ และสงสัย

ให้เยอะเป็นคนขี้สงสัยเข้าไว้ ประเด็นเป็นสิ่งสำคัญครับ





ทำอย่างไรเมื่อเขียนบทความไม่ออก




ทำอย่างไรเมื่อเขียนบทความไม่ออก


      จะทำอย่างไรดีนะถ้าเราต้องการจะเขียนบทความแต่เขียนไม่ออก หรือไม่มีไอเดีย

อะไร สมองตื้อไปซะอย่างนั้นเชื่อว่าหลายๆท่านที่เขียนบทความก็เคยเป็นเราเองก็เคย

เป็นแน่นอน วันนี้ลองมานำเสนอวิธีคลายสมองให้โล่งๆ ปลอดโปล่ง ให้หัวแล่น และมา

หาวิธีหาไอเดียในการเขียนบทความ หรือทำอย่างไรให้นึกออกว่าจะเขียนบทความอะไร

เขียนแบบไหน (นี่เป็นวิธีส่วนตัวของเรานะ) อาจจะใช้ได้กับหลายท่านและใช้ไม่ได้เลย

เราแค่มานำเสนอเผื่อเป็นทางเลือก

ทำอย่างไรเมื่อเขียนบทความไม่ออก





1. อย่าสนใจมัน : เฉยๆไปซะในเมื่อคิดไม่ออกแล้วจะพยายามคิดไปก็ไม่ได้อะไร เมิน

ใส่มันซะเลย


2. นอนคิด : เอาท่าสบายๆพัดลมเย็นๆ หรือแอร์ฉ่ำๆ นอนแผ่หลับตาแล้วก็ฝันดี เอ้ย

ไม่ใช่ละ


3. ทำงานไรไปเรื่อย : คือเหมือนกับข้อแรกๆอะครับไม่สนใจมัน เวลาไม่สนใจมันชอบ

ผุดขึ้นมาให้นึกได้ให้ตายสิ ฮ่าๆ


4. เล่นอินเตอร์เน็ต : ไอนี้ทำบ่อย รอฟีลลิ่ง รออารมณ์คงไม่ได้เข้าเน็ต เปิดพันทิป เข้า

facebook อะไรก็ว่าไปหาความรู้รอบตัว สาระน่ารู้มาอ่าน เผื่อจะได้แนวทางอะไรดีๆมา

บ้างและก็เป็นเช่นนั้นได้มาเพียบประจำเลย


5. ทำงาน : ถ้าทำไรไม่ได้คิดไม่ออกก็ทำงานอย่างอื่นไปก็แต่สุดท้ายมันก็วกมาคิด

จนออกอยู่ดี ไม่รู้เพราะอะไรสงสัยมันโล่งจากเรื่องหาเรื่องทำบทความพอโล่งเลยคิด

ออกละมั้งนะ


6. เดินไปมา : ดินวนไปมา เพื่อหาสมาธิใช้ได้ผลเหมือนกันไม่อยากบอกมันเหมือนเดิน

จงกรม แต่ของเราวนรอบรถ วนไปวนมา คิดไปคิดมาได้หลายเรื่องเลยอะครับ


7. หยุดสิ่งรอบกาย : อยู่เฉยๆ บางทีก็คิดได้เอง


8. ไปอาบน้ำ : ร่างกายสดชื่นรีเฟรชร่างกายให้ กระชุ่มกระชวย โอ้โห รู้สึกโปร่งโล่ง

สบายคิดไรได้เยอะแยะเลย (แต่พออาบน้ำเย็นๆมันก็ง่วงด้วยนะสิ)


9. กิน : มีความสุขที่ได้กิน พอมีความสุขก็คิดอะไรออกสมองโลดแล่นน


10. โซเดมาคอม : อันนี้น่าจะเพี้ยนๆ ฮ่าๆ หลังจากโซเดมาคอม ตับๆ เสร็จมันรู้สึกว่า

สมอง

โล่งไม่มึนตึ๊บ คิดอะไรออกง่ายๆ สมองแล่นฉิว แต่ที่ยากนิดคือ พอคิดออกในช่วงนั้น

มักจะขี้เกียจทำบทความเขียนบทความขนาดว่าลุกขึ้นมาเอาสมุดมาจดไอเดียยังขี้เกียจ

เลย ฮ่าๆๆ


*อีกข้อนึงซึ่งไม่น่าถือว่าเป็นการหาวิธีนะครับคือการหลับ ฮ่าๆ คือตอนจะนอนช่วงก่อน

จะหลับเนี้ยมันต้องมีไอเดีย ความคิดอะไรผุดขึ้นมาตลอดเลย จะว่าชอบก็ชอบไม่ชอบก็

ไม่ชอบ เพราะมันต้องลุกขึ้นมาเปิดไฟ จดไว้กันลืมอีก ทำไมไม่คิดให้ออกก่อนจะหลับ

ตานอนด้วยนะเห้ยหวังว่าจะมีประโยชน์กันนะกับวิธีของเรา ท่านอื่นๆมีวิธีไหนเด็ดๆบ้าง

หละ



ข้อดีของการเขียนบทความในสิ่งที่ชอบ




ข้อดีของการเขียนบทความในสิ่งที่ชอบ


1. ดีกับตัวเรา : เราทำสิ่งที่เราชอบบทความที่โดนจริตตัวเองใครบ้างจะไม่ชอบถูกมั้ยครับ

ทำสิ่งที่เราชอบนั้นมีความสุขที่สุดแล้วหละ


2. ไอเดีย : คือมันง่ายเพราะสิ่งที่เราชอบเราทำมันเพราะความชอบเราต้องมีข้อมูลหรือ

เนื้อหาในสิ่งนั้นอยู่ในหัวมาหลายร้อยพันประการแล้วทำให้ง่ายต่อการเขียนบทความได้

เป็นอย่างดีซึ่งสามารถนำไอเดียต่างๆมาประยุกใช้เป็นไอเดียในการเขียนบทความอย่าง

เช่นมังกรหยกเราชอบเกี่ยวกับมังกรหยกเราก็มีไอเดียมากมายที่จะเขียนเรื่องราวของ

มังกรหยก จากคนที่เฉยๆกับมันเขียนไปก็คือพื้นๆทั่วไป กับคนที่ชอบอย่างเราสนใจอ่าน

เป็นบ้าเป็นหลัง ก็สามารถหาหัวข้อสร้างไอเดียในการเขียนแยกย่อยออกมาได้อีกเยอะ

แยะเพราะข้อมูลเรามีเต็มไปหมดเลยในสมอง (สมมุติเอานะว่าชอบมังกรหยก)


3. โลดแล่น : ความคิดโลดแล่นเขียนบทความได้อย่างน้ำไหลไฟดับไม่หยุดไม่ติดไม่

ขัด ไปได้เรื่อยๆ ทั้งเรื่องราวสำคัญของเนื้อหา เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหรือ ความรู้รอบตัวที่

เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราเขียนมันจะออกมาอย่างไม่จำกัด แน่นอนถ้าเราทำในสิ่งที่เราชอบ


4. ข้อมูลแบบเจาะลึก : เพราะเป็นสิ่งที่เราชอบไง ข้อมูลบางอย่างมันเลยเจาะลึกมาก

กว่าบทความเดียวกันจากคนทั่วไปเขียน บางอย่างอาจไม่เคยมีใครเขียนมาแต่เราอาจ

จะไปแงะแคะข้อมุลไปสืบมาจนได้ นี่แหละเขาเรียกว่า วงใน ชอบจริงจังมันต้องมีหลุด

มาให้เราเชยชมบ้างแหละพวกลับเฉพาะ


5. คอเดียวกัน : เราจะได้พบปะพูดคัยสนทนากับผู้อ่านที่เป็นพวกคอเดียวกันชื่นชอบ

ในแบบเดียวกันอย่างแน่นอนครับ ไม่ต้องสืบเลยเรื่องนี้


6. หาข้อมูลง่าย : ข้อมูลง่ายเพราะเรารู้ว่าจะหามันมาอย่างไร หามาจากที่ไหน หรือ

ที่จริงมันอยู่ในสมองเราหมดแล้วก็ได้ใครจะไปรู้ จริงมะ???


7. เพิ่มพูลประสบการณ์ : การเขียนการอ่าน การหาข้อมูลเพิ่มเติมทำให้เราได้เพิ่ม

พูนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่เราชอบแต่ก็เรื่องอื่นๆด้วย


8. ไม่เบื่อ : ทำสิ่งที่เราชอบจริงจัง มันอาจจะเหนื่อยไปบ้างแต่อย่างน้อยมันก็ไม่เบื่อ

แน่นอน ถ้าเบื่อมันก็หมายความประมาณว่า คุณชอบมันจริงหรือเปล่า หรือยังหาตัวเอง

ไม่เจอว่าชอบอะไรกันแน่


9. ดีเด่น : ไม่รู้จะอธิบายยังไงการทำสิ่งที่ชอบมันย่อมต้องทำให้มันดีอยู่แล้วใช่รึเปล่า

 ก็ตามนั้นแหละ


10. รักมัน : ไม่ต้องอธิบายมากสิ่งที่ชอบทำมันมาก็ต้องรักมันอยู่แล้ว รู้สึกว่ามันคือ

ผลงานที่มีคุณค่า ที่เราภูมิใจไปกับมันนั่นเอง




บทความที่ดีควรเป็นอย่างไร




บทความที่ดีควรเป็นอย่างไร


   บทความที่ดี มีประโยชน์ให้ความรู้น่าสนใจ ในความหมายของผู้อ่านเป็นอย่างไร

กันครับจะเป็นเหมือนบทความนี้รึเปล่ามาดูกัน

บทความที่ดีควรเป็นอย่างไร


1. ไม่ดักควาย : เช่นตั้งหัวข้อชื่อเรื่อง แบบดักให้คนเข้ามาอ่านแต่เนื้อหาที่แท้จริงกลับ

ไม่ใช่เลยเหมือนการหลอกลวงเขาให้มาอ่านเท่านั้นไม่ได้ใส่ใจถึงว่า  เขาต้องการอ่าน

อะไรแบบนี้เขาเรียกตบหน้ากันและดูถูกผู้อ่านมากๆ (มันแตกต่างกับเทคนิคการตั้งชื่อ

เรื่องโดยสิ้นเชิง)


2. ไม่เอียง : ถ้ารักจะเขียนบทความคุณภาพบทความดีๆก็อย่าใส่ความเอนเอียงลง

ในฝั่งใดฝั่งนึงใส่ข้อมูล ข้อดีข้อเสียให้ครบถ้วนให้ผู้อ่านตัดสินใจเอาเอง

(แบบนี้ใช้กับการโปรโมทสินค้าไม่ได้แน่ๆ ฮ่าๆ)


3. ไม่อคติ : การเขียนบทความที่ดีได้นั้นผู้เขียนจะต้องไม่มีอคติกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง

เช่นจะเขียนบทความเกี่ยวกับ กลุ่ม ฮามาส ประทะเดือด กับอิสราเอล แต่ผู้เขียนอคติ

ต่ออิสราเอลหรือ ฮามาส ส่งผมมายังบทความที่ออกมาในแนวอคติ แนะนำว่าส่วนตัว

ผู้เขียนอาจจะอคติก็ได้แต่บทความออกมาต้องเสนอความจริงและถูกต้องไม่มีอคติใดๆ

ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


4. ข้อมูลถูกต้อง : อันนี้สำคัญมากนะ ข้อมูลต้องน่าเชื่อถืออ้างอิงได้และถูกต้อง หรือ

คิดว่าถูกแต่ถ้าไม่แน่ใจว่าถูกก็ควรตั้งข้อสังเกตุเอาข้อมูลมารวมๆกันให้ผู้อ่านตัดสินใจ

เอาเองว่าควรเชื่อแบบไหนเพราะในโลกนี้มีสิ่งที่คนอื่นมาว่าถูกแต่อีกคนบอกผิดแม้จะ

มาจากแหล่งเดียวกันก็ตาม เราควรนำมาเสนอทั้ง 2 ด้านเลยยิ่งดี  ถ้าไม่แน่ใจว่ามัน

ถูกต้องหรือมีข้อสงสัยประการใดก็ควร วงเล็บหรือทำคอมเม้นท์เอาไว้ให้ชัดเจน


5. ไม่ทำให้คนดีเสียหาย : อย่าพาดพิงถึงคนอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องหรือลากเขามาพูด

โดยมิใช่มีความจริงนอกจากจะทำให้เขาเสียหายแล้วยังจะโดนเขาฟ้องตูดบานอีกด้วย

นะจ๊ะ


6. หยาบคายไม่ให้เกียรติ : อันนี้ก็ไม่ควรนะครับ จะหยาบคายในบทความหรือหยาบ

คายต่อคนที่พูดถึงยังไงก็ไม่สมควรเพราะบทความเราใช่ว่าจะมีแต่คนที่บรรลุนิติภาวะ

ที่อ่านได้ เด็กๆเล็กๆก็อ่านได้อย่าเอาแค่สะใจของอิฉันส่วนตัว ความมันส์ในอารมณ์

ที่ได้หยาบมาทำให้อนาคตของชาติหรือคนที่ถูกกล่าวถึงต้องรู้สึกแย่ เคยได้ยินมั้ย

ว่าถ่อยแล้วเท่ ?? เท่ด้วยความคิดก็ได้ไม่ต้องถ่อยหรอก


7. ให้ความรู้ เกร็ดความรู้ : ขยายความในหัวข้อหรือเรื่องที่ผู้อ่านน่าจะไม่เข้าใจเช่น

ชื่อเรียกเฉพาะทางหรือความหมายอย่างอื่น ความรู้รอบตัวเสริมเข้าไปในบทความด้วย

จะดีมากแต่อย่าเยอะเกินไปจนหลงประเด็น การให้ความรู้แก่คน ทำให้บทความเรามี

คุณค่า นับว่าเป็น บทความที่ดี มากๆครับ


8. ไม่ชี้นำ : ถ้าจะแสดงความเห็นส่วนตัวก็ขอให้แยกชัดเจนรวมถึง แสดงให้ชัดว่านี่คือ

ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนมิใช่ข้อมูลที่ได้มาแต่เป็นความเห็นส่วนตัว


9. อยู่ในประเด็น : ไม่พูดเพ้อพร่ำเพ้อจนออกจากประเด็กของบทความ ไม่แวะออก

จากประเด็นบ่อยหรือหลงประเด็นทำให้บทความนั้นเสียไปเลยเพราะไม่ได้อยู่ในตัว

เนื้อหาซักเท่าไหร่


10. นำเสนออย่างสร้างสรรค์ : เช่นวลี สำนวนของผู้เขียนที่แปลกแตกต่างและ

ดีงาม (ดีงามคือสร้างสรรค์ไม่ใช่หยาบคาย) จะทำให้บทความนั้นน่าอ่านมากยิ่งขึ้น




16 เทคนิคการตั้งชื่อเรื่อง (เขียนบทความ)




เทคนิคการตั้งชื่อเรื่อง

เทคนิคการตั้งชื่อเรื่อง (เขียนบทความ)

       วันนี้เรามานำเสนอเทคนิคการตั้งชื่อเรื่องในการเขียนบทความกันดีกว่าครับว่า

ทำอย่างไรให้โดนใจให้น่าสนใจ ตั้งชื่ออย่างไรให้ได้รับความสนใจจากผู้อ่านเข้า

มาเปิดอ่านบทความ และเป็นจุดเริ่มต้นการเขียนบทความ


1. ใช้วลีกระแส : ใช้คำหรือวลีที่ยังอยู่ในกระแสช่วงนั้นกำลังเป็นที่พูดถึงช่วงนั้น หรือ

เป็นวลีที่คนทั่วไปชอบ อย่างเช่น ช่วงปีนี้ ลิเวอร์พูลซื้อนักเตะจากทีมเซาท์แธมตัน

เยอะมาก  เซาท์แธมตัน ฉายานักบุญ ลิเวอร์พูลไปดึงนักเตะจากทีมนี้มา 4-5 คนแล้ว

วลีหัวข้อเรื่องที่สำนักข่าวใช้ก็คือ หงส์แดงแสวงบุญ (ผู้อ่านชอบมาเชียวละ) 

กับหัวข้อแนวนี้หรือ ลูกผู้ชายตัวจริง ผบ.ขบ (ผัวยอมรับให้เมียเป็นผู้บัญชาการของ

บ้าน) 555 +อะไรก็ว่าไป


2. ใช้สำนวน สุภาษิต : การใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพยมาใช้ตั้งชื่อเรื่องก็มีเหตุผล

สื่อความหมายได้ดีและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ยกตัวอย่าง " วัวหายล้อมคอก

การศีกษาไทยรั้งท้ายอาเซียน " , ตามใจปากมากหนี้ ใช้จ่ายไม่ดีหนี้สินรุงรัง ...

อะไรประมาณนี้เป็นต้นเลือกใช้ สำนวน อะไรให้ตรงกับความหมายที่เราจะสื่อออกมา

ในบทความละครับง่ายที่สุด ช่วยเป็นไอเดียในการเขียนบทความ* ของเราได้ด้วย


3. ใช้เรื่องราวของบทความ : อาจเรียกว่า นาฏการ หรืออะไรก็แล้วแต่ เช่น เรื่อง

เกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด ก็เขียนว่า ล้างบางให้สิ้น ยาเสพติด หรือ เรื่องราว

ความรักไม่สมหวัง เช่น รักร้าวของคนเจ้าชู้ประมาณว่าใช้คำสื่อแทนความหมายของ

บทความของเราออกมา


4. สั้นแรง : เช่นคำว่า ต่ำตม , น่าไม่อาย , อมนุษย์ , ตัวถ่วง , สังคมเลว ใช้คำแรงๆ

ประกอบไปในหัวเรื่องสั้นๆ จั่วหัวให้น่าสนใจแก่ผู้อ่าน ที่ชอบแนวนี้ อาจดูแรงแต่ถ้า

สื่อให้ดีก็ตรงใจกับผู้อ่านได้เช่นกันเพราะถ้าบทความมันบ่งบอกเรื่องราวแรงๆจริง

การจั่วหัวนี้ก็ไม่ได้เป็นการหลอกลวงผู้อ่านแต่อย่างใด แต่จะกลายเป็นการสื่อความ-

หมายที่ตรงประเด็นเสียมากกว่า


5. ยาวเล่าเรื่อง : เช่น สงครามยังไม่สงบกลุ่มก่อการร้ายเริ่มลรุกอิรัค หรือ ยาเสพติด

ให้โทษชนิดใหม่ อันตรายกว่าเดิม 10เท่า ..เป็นการแสดงให้เห้นว่าในเนื้อเรื่องบทความ

ของเรานั้นจะมีเรื่องราวพูดถึงเรื่องอะไรแนวใดบ้างเพื่อเป็นการอธิบายบทความโดยย่อ

ผ่านหัวเรื่องซะทีเดียวผู้อ่านที่สนใจตัดสินใจว่าเป็นเรื่องที่เขาต้องการอ่านก็จะเข้ามา

อ่านได้ทันที เพราะจากหัวเรื่องสื่อได้ตรงว่าเราจะพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างในบทความ


6. แสดงอารมณ์ : เช่น อย่างเซ็งอียูลดความช่วยเหลืออาเซียน , นี่หรือมนุษย์เด็กวัยรุ่น

เผาโหดคนไร้บ้าน , น่ารำคาญเด็กแว๊นซ์ตอนกลางคืน , สุดท้อกับการศึกษาไทยเป็นการ

สื่อหัวเรื่องโดยใช้อารมณ์ของตัวผู้เขียนหรืออารมณ์โดยรวมของสังคมมาจั่วเข้าไปใน

หัวเรื่องเพื่อแสดงระดับของบทความไปด้วยในตัว


7. สัญลักษณ์แทน : ชายอกสามศอก , ผ้าพับไว้  , ไม่มียาง  , นักสู้  ออกแนวคล้ายๆ

สำนวนคือเป็นคำแทนความหมาย แต่แบบนี้ต้องเสริมคำอื่นไปด้วยเยอะกกว่าแบบ

สำนวน


8. วลีอมตะ : พวก ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว , ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น


, (พี่เบิร์ด)รักทุกคน , พระเอกขี่ม้าขาว , รักดีหามจั่ว..


9. ตั้งคำถาม : อย่างเช่น ดีแล้วหรือ การเรียนไทย , เพราะเหตุใดถึงต้องเบิกงบเยอะ ,

ทำไมต้องรีบกลับฐาน  ตั้งคำถามให้ไปหาคำตอบเอาในบทความนั่นๆเอง


10. ทำปริศนา : ไอเท็มนี้ท่านได้แต่ใดมา , ใครหนอผู้ชายในฝัน , ศัตรูที่รัก , น้ำใสใจขุ่น

 ออกแนวให้ผู้อ่านเดาทางบทความเราได้ยากว่าเนื้อหาเราจะพูดถึงอะไรเรื่องไหนให้เขา

เข้าไปหาคำตอบอ่านเอาเอง


11. ตำหนิ ว่ากล่าว : ไร้น้ำใจ โพลล์เผยกิ่งก่าไม่ช่วยเหลือกันปล่อยตกน้ำตายหมู่  ...

อะไรที่แบบตำหนิเอาไว้ให้น่าสนใจเข้าไปอ่านต่อ


12. ตักเตือน เตือนสติ : พ่อแม่ระวังไม่มีเวลาให้ลูกอาจติดเกม , สบายตอนนี้ลำบาก

ตอนไหน , ป่าไม้หดหายภัยร้ายภาคกลาง


13. ยาวแต่คล้องจอง  : เช่น สู่ฝันวันของเรา , เมืองไทยไม้ไร้เกียรติ  , สะดุดรักที่พักใจ  ,

ฝนตกขี้หมูไหล คนจั..ไรมาพบกัน  , รักแรกแปลกนัก


14. สิ่งใหม่ แปลกใหม่ : นำเสนอหัวข้อที่ขึ้นต้นแสดงถึงสิ่งใหม่ แปลกใหม่ สิ่งที่เพิ่งเกิด

และยังไม่มีใครพบมาก่อนหน้านี้ เช่นขึ้นต้นด้วยว่า เทรนด์ใหม่สาวจีน Selfieกับขนรักแร้

หรือ ของเล่นใหม่เมกัน ... // เปิดโลกนักวิจัยค้นพบสัตว์ดึกดำบรรพ์...


15. สำนวนเฉพาะตัว : ยาเทพติด(ยาตัวใหม่สำหรับคนรวยช่วยบำรุงอะไรก็ว่าไป) ,

ดีออก (แขวะคำว่าEดอก)  , ฝากสวัสดีท่านหมอแทนข้าด้วย (ประมาณว่าคนพูดเป็นคน

ทำร้ายอีกคนแล้วเวลาเขาไปหาหมอจากการโดนทำร้ายก็ให้ไปสวัสดีแทนด้วย เชิงล้อ

นะครับ)  


16. ประชด : เช่นเนื้อข่าวหรือเนื้อบทความออกมาอีกแนวทางแต่หัวข้อ ออกไปแนว

ประชด ตัวอย่างคือ บทความเรื่องผู้ตัดสินกรรมการฟุตบอลประเทศแห่งนึงทำผิดแต่

ไม่ยอมรับไม่แก้ไขเราก็ทำบทความตีแผ่ แต่จั่วหัวให้คนเอะใจเล่นว่ามันใช่หรอ เช่น

สุดยอดกรรมการ.... อะไรก็ว่าไป แต่ยังไงก็ควรคำนึงถึงข้อควรระวังในการเขียนบทความ

อย่าให้ไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยนะครับ



หวังว่าจะได้ประโยชน์บ้างนะครับ บทความนี้ผมเขียนเองยัง งงเองสงสัยจะสื่อสาร

ไม่ค่อยรู้เรื่องแต่เพื่อนๆน่าจะพอได้อะไรไปบ้าง (มโนเอา ฮ่าๆ)




บล็อกดีกว่าเฟสบุ๊คอย่างไร (BLOG)




บล็อกดีกว่าเฟสบุ๊คอย่างไร

1. จัดข้อมูลง่าย : ข้อมูลที่ได้มานำมาเขียนบทความเราสามารถนำมาลงได้สะดวก

กว่า(ไม่ใช่ความเร็วนะ) คือจัดหน้า เว้รวรรค ย่อหน้า คาดสีเน้นคำได้ดูดีกว่าเฟสบุ๊ค

เพราะในเฟสบุ๊ค ต้องใช้ # เน้นเอา แต่ของบล็อกเน้นครับที่คิดว่ามีความสำคัญทั้ง

ตัวเอียง คาดกลาง ตัวหนา เน้นสี ซึ่งจะทำให้บทความมีประโยชน์ในการสื่อสารมาก

ขึ้นในการให้ความรู้ เรื่องต่างๆ ทั้งความรู้รอบตัว  ความรู้เฉพาะทาง หรือเรื่องราวที่

จะสื่อออกไปและเน้นให้ชัด


2. เป็นหมวดหมู่กว่า : อันนี้จริงๆเลย ครับจัดหมวดหมู่หาง่ายกว่า ตามอ่านได้ง่ายกว่า

เฟสบุ๊คเยอะเลย


3. สวยงามกว่า : รูปที่เอามาแต่งบล็อก ทำนู่นทำนี่ มันอิสระกว่าเฟสที่แต่งได้ไม่กี่

อย่าง


4. อ่านง่ายกว่า : สำหรับผมนะ มันดูเป็นระเบียบและการจัดวางมันดูอ่านง่ายกว่า

รวมถึงการวางโฆษณาเพื่อหาเงินจากบล็อก ก็จัดรูปแบบได้ง่ายกว่า


5. หาข้อมูลง่าย : ก็เพราะว่ามันเป็นหมวดหมู่เลยหาข้อมูลง่ายแถมยังสามารถติด

โค้ดของ google search ไว้ในบล็อกเพื่อช่วยค้นหาได้อีกด้วย


6. วางรูปได้ง่าย : ในเฟสบุ๊คมันมีแค่มิติเดียวอะครับคืออัพรูปแล้วใส่บทความข้อความ

ลงไป แต่ในบล็อกสามารถจัดได้หลายรอบใน 1 บทความแบบที่ว่าเอาให้ตรงกับข้อความ

ได้เลย เช่น ในบทึวามมี 10หัวข้อก็จัดรูปอธิบายเสริมไปได้ทั้ง 10 ถ้าจะทำในเฟสต้อง

อัพ 10 รูปแล้วอธิบายทีละรูปๆ มันดูไม่ต่อเนื่องและเวลาจะอ้างอิงไปยังหัวข้อก่อนหน้า

ก็ต้องกดย้อนกลับเพื่อไปดูอีกไม่เหมือนในบบล็อก ที่อยู่ในหน้าเดียวกันเลยแค่เลื่อน

ดูเอง


7. ลิ้งข้อมูลหากันง่าย : เฟสบุ๊คลิ้งไม่ได้นะครับนอกจากเป็นลิ้งของเพจหรือชื่อคน

ไม่สามารถทำลิ้ง ตัวหนังสือ Anchor Text ได้นะครับบล็อกจะได้เปรียบตรงนี้มาก

เพราะสามารถทำไปยังหน้าที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกันได้สามารถดึงผู้อ่านไว้ในบล็อก

ได้นานกว่าเฟสบุ๊ค เป็นอีกเทคนิคการเขียนบล็อก ให้ผู้อ่านอยู่กับบล็อกนานที่สุดครับ


8. ปลั๊กอินอำนวยความสะดวก : plugins ต่างๆที่เฟสบุ๊คไม่มีอะครับอย่างจัดการวาง

ตำแหน่งโฆษณาเพื่อหาเงินจากบล็อก การแต่งรูปการจัดรูป หรือช่วยในการ SEO

ก็มีนะ


9. ค้นหาลิ้งที่เกี่ยวข้อง : เพื่อใช้ในการเขียนบทความอื่นๆต่อไป สามารถจัดเป็น

ระบบได้ง่ายโดยแบบหมวดหมู่และการลิ้งหากันแบบข้อที่ 7


10. ของแต่งเยอะ : พวกอย่างเช่นนาฬิกาติดเว็บ ราคาน้ำมัน ราคาหุ้น พยากรณ์

อากาศ อะไรทำนองเนี้ยะ หรือจะเป็น Chat box ตัววิ่งบอกข่าวสื่อสาร คือมันดิ้นได้

เยอะกว่าเฟสบุ๊คหนะครับ




บล็อกเด่นโดนใจ (ในสิ่งที่ผมคิด)





บล็อกเด่นโดนใจ 

          มาๆ บล็อกโดนใจในแบบของผม บทความที่แล้วเสนอเรื่องบล็อกน่าอ่านไป

มาบทความนี้ผมจะมาบอกเล่าว่าบล็อกที่ผมชอบและโดนใจมีลักษณะเป็นยังไงบ้าง

บทความ บล็อกน่าอ่านในบทความก่อนนั้นพูดแนวรวมๆว่าทำบล็อกให้น่าอ่านจะทำ

ยังไง ไม่ให้คนเบื่อ แต่บทความนี้ใช้ตัวเองเป็นหลักเลยครับว่าผมชอบบล็อกแนวนี้

ทำแบบนั้นแบบนี้นะ อะไรประมาณนี้ครับ ลองดูกันครับว่าท่านจะชอบแบบเดียวกัน

กับผมรู้เปล่า


1. สำนวนโดนใจ : สำนวนการเขียนดีๆมีวาทะศิลป์ มันพูดยากแหะ แต่ถ้าลองอ่าน

แล้วชอบในแนวทางการเขียนก็คือชอบเลยครับ


2. ไม่กั๊ก : ใส่ข้อมูลให้อย่างไม่กั๊ก เคล็ดลับแบบจัดเต็มใครๆก็ชอบใช่ป่ะครับ บล็อก

ไหนชอบกั๊กปล่อยไม่สุดบางทีผมก็ไม่อ่านอะประมาณว่าเห้ยยยมันไม่สุด มันคาใจ

บางทีก็ไม่อยากรู้ไอที่เขากั๊กไว้หรอกแค่มันรู้สึกว่ามันไม่สุด มันคาใจแค่นั้น


3. เข้าใจง่าย : บางครั้งเรื่องราววิชาการ ความรู้รอบตัวมันอาจจะเข้าใจยากในบาง

เรื่อง ถ้าบล็อกไหนที่อธิบายเรื่องที่เราคิดว่าเข้าใจยากให้มันเป็นเรื่องง่ายคงจะดี

ไม่น้อยมีบางเว็บบางล็อกข้อมูลแน่นมากแต่ผมอ่านจับต้นชนปลายเนื้อหาไม่ถูก

กับอีกบล็อกที่เนื้อหาไม่ได้เยอะจนเฟื่อ แต่เรียงลำดับเหตุการณ์และความเป็นมา

ของเรื่องจนเข้าใจผมเลือกแบบที่ 2 นะถ้าข้อมูลไม่ได้ผิดต่างจากกันมาก

(มันอยู่ที่วิธีการนำเสนอแหละผมว่านะ)


4. ชี้แนะแนวทาง : ประโยชน์ของการเขียนบล็อก ก็แบบนี้แลครับที่ผู้อ่านต้องการ

คือ หาข้อมูลและชี้แนะแนวทางให้แก่เราไงละ


5. ข้อมูลแน่นปั๊ก : แบบว่าข้อมูลแน่นมากอ่านทีเดียวไม่ต้องไปหาอ่านที่อื่นเลย

เช่นเป็นชุดข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ต่างๆที่เป็นเรื่องราวต่อๆกันมาแบบประมาณ

ว่าอยู่ในบล็อกนั้นบล็อกเดียวสามารถตอบในสิ่งที่เราต้องการอ่านได้ (แต่บางทีก็

ต้องหาข้อมูลจากที่อื่นมาเปรียบเทียบด้วยนะครับ)


6. มีในสิ่งที่คนอื่นไม่มี : มีข้อมูลหรือความรู้ในสิ่งที่บล็อกอื่นๆไม่มี แล้วเราไปเจอ

มีเพียงเว็บเดียวบล็อกเดียวที่มีข้อมูลเรื่องนี้ ความรู้สึกจะประมาณว่า เอื้อ ฟินกับ

บล็อกนี้มากมีได้ไง บางเรื่องไม่คิดว่าจะมีแต่มีที่นี่ที่เดียว (เกิดการมองในแง่ดีกับ

บล็อกนี้ขึ้นมาในตอนแรกเลย)


7. มีรูปประกอบสวยๆ : รูปมักเป็นสื่อที่ทำให้เราเข้าใจในตัวบทความได้ง่ายขึ้น

นะครับการมีรูปสวยๆน่าดูเป็นอะไรที่ส่งเสริมกันมากกับบทความดีๆ


8. เปิดโลก : เช่นเว็บบล็อกเกี่ยวกับเรื่องต่างประเทศ (เปิดโลกไหมละ) ไม่ใช่

แบบนั้นฮ่าๆ แบบช่วยสอนและแนะนำ เคล็ดลับ วิธีการเช่น วิธีเอาตัวรอดจาก

รถจมน้ำวิธีทำสเลอปี้ อะไรทำนองนี้น่าสนใจน่าอ่านมากครับ


9. มีทีเด็ดเทคนิค : แบบเทคนิคในการเขียนบล็อกรึเปล่า ฮ่าๆ ก็ประมาณช่วยทำ

ให้การใช้โปรแกรมง่ายขึ้น การปอกผลไม้เร็วขึ้น เคล็ดลับหน้าใส กินอาหารแบบ

ไหนไม่อ้วนวิธีการใช้งานโปรแกรมตัดต่อให้ได้ประสิทธิภาพ การคัดกรองโฆษณา

ใน Adsense อะไรทำนองนี้ครับ


10. ไม่เอนเอียงหรือชี้นำ : ต้องการอ่านข้อมูลที่เป็นกลางและถูกต้องที่สุดไม่ต้อง

การ ให้ใครมาชี้นำหรือบิดเบือนข้อมูลจ้า





บล็อกน่าอ่าน เป็นแบบไหน(BLOG)





บล็อกน่าอ่าน เป็นแบบไหน



   บทความก่อนหน้านี้พูดถึงบล็อกน่าเบื่อกันไปแล้ววันนี้บทความนี้เรามาพูดถึง

บล็อกน่าอ่านกันมั่ว่า มีออะไรทำไมถึงน่าอ่านกันละ มาดูกันครับ

บล็อกน่าอ่าน เป็นแบบไหน(BLOG)


1. สบายตา : พื้นสีขาว วรรคตอนชัดเจนตัวหนังสือเรียบๆไม่มีสีฉูดฉาดจนตาลาย


2. สวยงาม : การแต่งบล็อกสวยงาม หัวข้อรูปสวย Header สวยเข้ากับเนื้อหา แต่

ไม่โหลดช้าจนเกินไป หรือรูปที่ใช้ประกอบบทความสวยและเข้าใจง่าย สื่อ

ความหมายได้ดี


3. ข้อมูลเป็นระเบียบ : เว้นวรรคดี ข้อมูลในบทความจัดเป็นตอนๆอย่างสวยงาม

ไม่ปนกับและยาวติดกันจนเกินไป มีขึ้นบรรทัดใหม่ เว้นช่องไฟได้น่าอ่าน


4. อ่านง่าย :  ตัวหนังสือไม่เล็กจนเกินไป (เป็นเทคนิคในการเขียนบล็อก) เพราะ

ถ้าเล็กไปจะต้องใช้บทความที่มากกว่าเดิมในการทำให้มันเต็มหน้า ขนาดพอดีๆ

อ่านง่ายคนชอบและยังทำให้แต่ละบรรทัดใช้คำน้อยกว่า ทำให้บล็อกในพื้นที่วาง

เนื้อหายาวขึ้นได้ด้วย (ในกรณีที่บทความไม่ได้ยาวเกิน)


5. เป็นหมวดหมู่ :  จัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ เช่น ความรู้รอบตัว , เกร็ดความรู้ ,

สาระน่ารู้ , บทความน่าอ่าน จัดให้แยกชัดเจนจากกันจะทำให้หาบทความอ่านได้

ง่ายขึ้นครับ


6. ข้อมูลสัมพันธ์กัน :  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเชื่อมต่อกัน (แบบวิกิพีเดีย) ที่ข้อมูลนั้น

สามารถเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆถ้าในบล็อกมีบทความที่เกี่ยวข้องให้พูดถึง เป็น

เทคนิคในการเขียนบล็อกที่ทำให้ทั้งบอทของกูเกิ้ลและผู้อ่านวนเวียนอยู่ในบล็อก

ของเรานานที่สุด


7. เขียนถูกต้อง : เขียนผิดบางทีผู้อ่านอาจจะหงุดหงิดรำคาญ เอ็งจะเขียนผิดเยอะ

ไปไหนเนี้ยไม่ไหวไม่อ่านละ ประมาณนี้ พยายามเขียนภาษาไทยหรืออังกฤษให้

ถูกด้วยครับ


8. ไม่เอนเอียงหรือใส่ร้าย : ถ้าผู้อ่านต้องาการความรู้ ข้อมูลแบบจริงจังการเอนเอียง

หรือใส่ร้ายป้ายสีจะทำให้ทัศนคติของผู้อ่านที่มีต่อบล็อกแย่ลงทันที รอบหน้าถ้าค้นหา

แล้วเปิดมาเจอบล็อกเราเขาก็ปิดทิ้งทันทีเลยครับ อย่าอคติเอนเอียงนะจ๊ะ


9. ใช้คำที่สุภาพ : ใครๆก็ไม่ชอบคำหยาบคาย สุภาพธรรมดาแบบการเขียนทั่วไป

ดีกว่าครับ


10. ข้อมูลไม่อัดจนดูเยอะ : ถ้าข้อมูลเยอะแนะนำว่า ตัดเป็นตอนๆแยกกันลงทีละ

บทความครับ เช่นข้อมูล เรื่อง การเสียดินแดนของไทย มีตั้ง 13ครั้งถ้าลงจริงจัง

ก็เยอะมากก็แยกไปครับ อย่าง การเสียฝั่งขวาแม่น้ำโขง  การเสียเขมรส่วนนอก

การเสียบันทายมาศ อย่างนี้เป็นต้น และยังเป็นข้อดีคือ ไม่ยาวจนน่าเบื่อ สามารถ

แยกเป็นตอนๆให้ผู้อ่านได้ติดตาม(ปล่อยออกมาวันละตอนยังได้เลย) ได้เนื้อหา

เน้นๆเฉาพะเรื่องที่สามารถโยงเข้าหากันได้ในแต่ละตอน (ส่งผลดีต่อการทำ SEO )

เป็นการเพิ่มหมวดหมู่ย่อยเข้าไปได้อีก









บล็อกน่าเบื่อ (เป็นแบบไหน)






บล็อกน่าเบื่อ (เป็นแบบไหน)



          บล็อกที่น่าเบื่อ ประโยชน์ของบล็อกนั้นมีมากมายครับ แต่ก็มีบ้างบางคนที่

ทำให้บล็อกเป็นพื้นที่ ที่น่าเบื่อไปเลย เนื่องจากอะไรบ้างนะหรือลองไปดูครับว่า

บล็อกหรือเว็บที่น่าเบื่อทั้งหลายบางบล็อกแค่หงุดหงิด บางบล็อกอาจจะต้องปิด

ไม่ดูไปเลย ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นเขาทำอะไรทำไมถึงน่าเบื่อ ไปดูกันจ้า



10 แบบบล็อกน่าเบื่อ


1. โหลดช้า : โหลดหน้าเว็บเพจช้า รอนาน อืด ข้อมูลไม่มาซํกที อาจจะมาจาก

แต่งบล็อกมากเกินไป รูปเยอะเกินหรือโฆษณามากจนทิ้งภาระโหลดหน้าเว็บ

บล็อกอย่าอืด


2. ตาลาย : (อาจจะมีสาระแต่ข้อมูลเยอะจนท้อไม่เว้นวรรคไม่พักบรรทัด) หรือ

ใช้สีแสบตา สลับสีไปมาเยอะเกินความจำเป็นเล่นลวดลายเล่นสีกับตัวอักษร

จนคนอ่านมึนกันเลยทีเดียว


3. ปิดเพลงตรงไหน : เปิดมาปุ๊บเพลงขึ้นปั๊บ แบบเสียงดังน่ารำคาญเลย บ้าง

ก็เพลงที่ตั้งอาไว้ บ้างก็โค้ดวิทยุออนไลน์ (เอาเป็นว่าถ้าไม่ใช่เว็บฟังเพลงก็

อย่าไปเสี่ยงติดเลยครับ)มันอันตรายว่าผู้อ่านจะรำคาญแล้วยิ่งถ้าเขาหาที่ผิดไม่

เจอหรือคุณยัดไว้ในบล็อกไม่ให้ปิดยิ่งแย่เลยครับ เป็นเทคนิคการเขียนบล็อก 

ที่พลาดมากๆ เพราะถ้าเป็นผม จะหาที่ปิดเพลงก่อนถ้าไม่มีก็ปิดหน้าเว็บไปเลย


4. บังคับกดไลค์ : มี Box like เด้งขึ้นมาให้กดไลค์เพจเฟสบุ๊คก่อนเข้าเนื้อหา

ในบล็อก บางทีดีหน่อยมีให้กดปิดได้หรือ รอ 5 วิมันปิดเอง บางที่อย่างโหด

เลยครับบังคับว่าต้องกดไลค์ก่อนถึงจะอ่านข้อมูลได้ ผลสรุปคือ ปิดบล็อก

นั้นทิ้งเลยครับ ฮ่าๆๆ หรือถ้าสนใจเรื่องเนื้อหาในนั้นจริงๆก็กดไลค์ไปครับ

แล้วค่อยไปถอนไลค์คืนออกเชอะ !!!


5. โฆษณารอบทิศ : การที่เอาบล็อกมาหาเงิน ใช้บล็อกหาเงินนั้นเป็นเรื่อง

ที่ธรรมดามากครับ คนทำมาหากิน แต่บางทีก็ต้องระวังนิสนึง บางบล็อกท่านเล่น

วางโฆษณาด้านบน แถวยาว ด้านข้างแถวยาว ด้านล่าง อีกแถว ในเนื้อหาอีก 2

โอ้โห แม่เจ้าเยอะจนหน้าเพจโหลดช้า เยอะจนดูเละ ลายตาผู้อ่านถึงกับอึ้ง

นี่จะโฆษณา มากกว่าเนื้อหาซะอีก


6. ตัวเล็กมาก : ตัวหนังสือตัวเล็กมากๆเลย อ่านยากมากๆเลย


7. หลอกหาเงิน : พวกทำงานโดยการสมัครสมาชิกนั่นนี่ เก็บค่าแรกเข้า หรือ

ทำงาน 2-3 ชั่วโมง หรือพวกมานั่งคลิ๊กโฆษณา ต่างๆนานา ไม่ต้องสนครับ

เจอบ่อยไม่ได้ตังหรอกมันหลอกคุณ แล้วบล็อกพวกนี้เยอะด้วย คือพอเราจะหา

วิธีเพื่อหาเงินบทความผมโดนก๊อปเอาไปไว้ในบล็อกมันด้วยนะ แล้วมันใช้

บทความคนอื่นนี่แหละสร้างฐานบล็อกแนะนำการหาเงินของมัน พร้อมด้วย

วิธีการหาเงินของ(ที่หลอกลวง) ลงไปแจมกับเนื้อหาจากเว็บอื่นที่มีนขโมย

มาด้วย


8. มีแต่คีเวิร์ด tag : อันนี้ก็เป็นพวก SEO สายดำหวังผลให้ติดหน้า 1 อันดับต้นๆ

ในกูเกิ้ล เข้าไปไม่มีข้อมูลอะไรมีแต่ Tag นั่นนี่ ล้อบอทไม่ได้มีสาระประโยชน์แก่

ผู้อ่านเลยครับ


9. เขียนผิดๆถูกๆ : เขียนถูกๆผิดๆ (อันนี้บล็อกผมก็เป็นครับ ฮ่าๆๆ) ผู้อ่าน

บางท่านเขาค่อนข้างจะซีเรียสกับเรื่องนี้ เพราะมันเป็นภาษาไทยเขาคง

ไม่อยากให้เขียนผิดเขียนภาษาไทยให้ถูกกันเถอะครับ คำไหนไม่แน่ใจพิมพ์

ลงกูเกิ้ลดครับจะได้คำที่ถูกต้องมา ส่วนบล็อกผมที่ยังมีเขียนผิดอยู่บ้าง

จะพยายามปรับปรุงครับผม


10. ป๊อบอัพเด้งๆ : คือเปิดหน้าเว็บมา ป๊อปอัพเด้งมา อย่าน่าเบื่อ เช่น

เก็บหน้าเราไว้เป็นหน้าแรก  ไลค์เพจหน่อย หรือพอกดลิ้งไหนก็ตามจะเด้ง

โฆษณาไปอีกหน้านึงเปิดเพิ่มมาให้เฉยเลยอะไรทำนองนี้ มันทำให้

หงุดหงิดครับอย่าทำ







แนวทางการเขียนบล็อก






แนวทางการเขียนบล็อก



แนวทางการเขียนบล็อก การทำบล็อกถ้าใครยังไม่รู้จะหาหรือจะทำบล็อกยังไง

แบบไหนเรามานำเสนอกันซัก 12 แนวทางดูว่าท่านต้องการทำอย่างๆไร

แนวทางการเขียนบล็อก


1. บล็อกเฉพาะด้าน : เช่นฟุตบอล ตกปลา การ์ตูน เกม อะไรทำนองนี้เพื่อให้คน

ที่สนใจด้านนี้โดยเฉพาะใช้เป็นแหล่งข้อมูลกันครับ


2. เขียนมันทุกอย่าง : เขียนทุกเรื่องตามใจฉันในสำนวนของตตัวเองแนวนี้ก็ดี

เผื่อคนจะมีคนชอบ (ชอบในสำนวนของการเขียนเราก็เป็นได้)


3. กระแส : เรื่องที่มันเป้นกระแสข่าวในช่วงนั้นๆ เช่น มาดามเจนนี่ เอย  น้องโก้ย

กับโค้ชเช็ง หรือ ทักหมูทะ อะไรทำนองนี้


4. ความรู้รอบตัว : ให้ความรู้ผู้อื่นในทางที่ดีความรู้รอบตัว เป็นสิ่งที่ผู้ใช้อินเตอร์-

เน็ตผู้อ่านยังต้องการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเป็นอย่างมากเช่น บอยคอต มาจากอะไร

บุคคลสำคัญของโลก  - ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด 20 อันดับของโลก อะไร

ประมาณนี้


5. หาเงินหารายได้ : พวกสอนการหาเงินจากเกม  หาเงินจากAdsense หรือ

พวกขายตรงโปรโมทสินค้า สอนผู้อื่นหาเงินการเปิดธุรกิจอะไรทำนองนี้ยังไง

เรื่องเงินก็ยังเป็นปัจจัยหลักในการค้นหาในอินเตอร์เน็ต


6. สอน How to : เช่นสอนการตัดต่อโฟโต้ช็อบ หรือ สอนการใช้งานโปรแกรม

ต่างๆ การซ่อมมือถือ การลงแอฟ การใช้งานเว็บไซต์แก่ผู้ที่สนใจ หรือจะเป็นการ

สอนการทำอาหารทำขนมก็ดีไม่น้อย


7. เทคโนโลยี : แนะนำมือถือรุ่นใหม่ของใช้ ไอที IT ที่มาใหม่ๆ แทบเล็ดเอ้ย

แท็บเล็ต คอมพ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ คนสนใจค้นหาเยอะมากครับ

เรื่องพวกนี้


8. อาหาร : ทั้งแบบรูปอาหารโชว์ การไปแฮงเอาท์ ข้างนอกแนะนำร้านอาหาร

อร่อย บรรยากาศดี ใช้เทคนิคการเขียนบล็อกให้ดี มีคนสนใจอยู่ไม่น้อยเลยครับ

ยิ่งเรื่องกินนี่ไม่ต้องพูดถึงเลยใครๆก็อยากกินของอร่อยบรรยากาศดีๆ


9. นิยาย เรื่องสั้น : นักแต่งเรื่อง สร้างเรื่องเอ้ย นักเขียนนักแต่งที่มีจินตนาการ

ลำเลิศ วาทะศิลป์แจ่มๆ สำนวนการเขียนดีๆ ไม่ยากที่จะประสบความสำเร็จ


10. อย่างว่า : พวกรักๆใคร่ ติดเรท อะไรทำนองนี้มีคนสนใจไม่น้อย แต่ก็นะ

ต้องระวังแนวทางที่ไม่ถูกเท่าไหร่แต่คนทำกันเยอะ


11. ทำสิ่งที่ชอบ : เราจะสนใจและใส่ใจกับมันได้ดีกว่าในรูปแบบอื่น


12. ทำสิ่งที่ถนัด : เล่นเกมเก่งทำบล็อกแนะนำเกม หรือทำเรื่องที่เราทำทุกวัน

เกี่ยวกับงาน หรือทำสวนเก่ง ก็สอนวิธีปลูกผัก ปลูกหญ้า ทำอาหารในร้านอาหาร

ก็ทำบล็อกเคล็ดลับการทำ สูตรอาหาร หรือวิธีทำก็ว่าไป


ทำอะไรก็แล้วแต่นะครับขอให้ทำบล็อกที่ให้ความรู้หรือข้อมุลที่ถูกต้องแก่ผู้อ่าน

อย่าไปบิดเบือน สร้างกระแสหรือใส่ร้ายป้ายสีใคร